ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไอซ์แลนด์

ไอซ์แลนด์ (อังกฤษ: Iceland; ไอซ์แลนด์: ?sland) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (อังกฤษ: Republic of Iceland; ไอซ์แลนด์: L??veldi? ?sland; IPA: [?li?v?lt?? ?istlant]) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก

ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

คำว่า "ไอซ์แลนด์" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Iceland" ส่วนชื่อในภาษาไอซ์แลนด์คือ "?sland" (อีสลันต์) คำว่า ?s แปลว่าน้ำแข็ง และ land แปลว่าแผ่นดินหรือประเทศ

ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14 และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา พวกไวกิงเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 1417 การตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ถูกบันทึกในหนังสือการตั้งถิ่นฐาน (Landn?mab?k) จากหนังสือนี้ โดยระบุว่า Ing?lfur Arnarson เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก และตามมาด้วยชาวไวกิงอีกจำนวนหนึ่งในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1417 ถึง 1473 ชื่อส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นชื่อชาวเคลติก และได้กล่าวถึงการนำทาสชาวเคลติกเข้ามาด้วย ภายในปี พ.ศ. 1473 ไอซ์แลนด์ได้เขียนรัฐธรรมนูญ และก่อตั้งอัลทิงกิ (Al?ingi) ซึ่งเป็นรัฐสภาขึ้น ใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นศูนย์กลางของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์รับคริสต์ศาสนาในปี พ.ศ. 1543

ไอซ์แลนด์เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในช่วง พ.ศ. 1763 ถึง 1805 ส่งผลทำให้ไอซ์แลนด์ถูกผนวกไปอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์นอร์เวย์ในปี พ.ศ. 1805 และต่อมา กษัตริย์เดนมาร์ก หลังจากที่นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กรวมกันภายใต้สหภาพคาลมาร์ กษัตริย์เดนมาร์กประกาศคริสต์ศาสนานิกายลูเทอรันเป็นศาสนาของอาณาจักรประมาณปี พ.ศ. 2093 ส่งผลมาถึงการยึดทรัพย์ของโบสถ์โรมันคาทอลิกในไอซ์แลนด์ และบิชอปคาทอลิกคนสุดท้ายถูกตัดหัว

เดนมาร์กควบคุมการค้าในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 2145 ระหว่าง พ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2252 เกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ประชากรลดลงจาก 50 000 เหลือเพียงราว 35 000 คน ในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2328 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างมากอีก จากเหตุภูเขาไฟระเบิดและภาวะขาดแคลนอาหาร

ไอซ์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กหลังการแยกตัวของสหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ได้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2417 ปีที่เฉลิมฉลองหนึ่งสหัสวรรษการตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ รัฐธรรมนูญใหม่นี้ให้ไอซ์แลนด์มีอำนาจในกิจการภายใน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งให้อำนาจปกครองตัวเองกับไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ได้เป็นรัฐเอกราชในปี พ.ศ. 2461 โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กเป็นประมุข โดยไอซ์แลนด์ยังให้เดนมาร์กจัดการกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศให้ หลังจากเยอรมนียึดครองเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2483 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อัลทิงกิจึงตัดสินใจบริหารการต่างประเทศเองและประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองในเวลาต่อมา โดยเริ่มต้นเป็นกองทัพสหราชอาณาจักร และต่อมาเป็นกองทัพสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสัมพันธมิตรคงกองกำลังในไอซ์แลนด์จนกระทั่งจบสงคราม ไอซ์แลนด์ประกาศเป็น สาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2487 มี สเวน ปีเยิร์นสซอน (Sveinn Bj?rnsson) เป็นประธาธิบดีคนแรก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) และนาโต ไอซ์แลนด์ทำข้อตกลงทางกองทัพกับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2494 โดยให้สหรัฐตั้งฐานทัพในไอซ์แลนด์ ซึ่งคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2549 ไอซ์แลนด์เกิดความขัดแย้งหลายครั้งกับสหราชอาณาจักรในเรื่องการขยายน่านน้ำประมงของไอซ์แลนด์ในช่วงปี พ.ศ. 2501 2515 และ 2521 รู้จักกันในชื่อสงครามปลาคอด (?orskastr??in; Cod War) ไอซ์แลนด์เข้าร่วมสมาคมการค้าเสรียุโรปและเป็นสมาชิกก่อตั้งของเขตเศรษฐกิจยุโรป

ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐ ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยเป็นระบอบรัฐสภา ไอซ์แลนด์มีรัฐธรรมนูญแบบเป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไอซ์แลนด์ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2417 ในสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2487 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วหกครั้ง

ประธานาธิบดีแห่งไอซ์แลนด์ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระสี่ปี ตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีไม่ใช้อำนาจบริหารเอง แต่เป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่หลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีมีอำนาจในส่วนนิติบัญญัติร่วมกับรัฐสภา โดยหากประธานาธิบดีไม่รับรองกฎหมายที่ผ่านสภามา จะต้องจัดการประชามติและหากผลประชามติไม่เห็นชอบ กฎหมายนั้นก็จะเป็นโมฆะ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไอซ์แลนด์คือโอลาฟือร์ รักนาร์ กริมส์ซอน ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 2543 และ 2547

รัฐสภาของไอซ์แลนด์เรียกในภาษาท้องถิ่นว่าอัลทิงกิ (Al?ingi) โดยอัลทิงกิสมัยใหม่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2388 ทำหน้าที่ถวายคำแนะนำต่อกษัตริย์เดนมาร์ก โดยดั้งเดิมทั้งอัลทิงกิเป็นสภานิติบัญญัติและตุลาการซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1473 เป็นรากฐานของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ต่อมาอัลทิงกิเปลี่ยนแปลงหน้าที่ตามยุคสมัยมาจนการยุบในปี พ.ศ. 2343 อัลทิงกิกลับมาทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกครั้งในปี พ.ศ. 2417 ปัจจุบัน อัลทิงกิเป็นสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 63 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี ประชากรที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีมีสิทธิเลือกตั้ง โดยทั่วไป หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาหลังการเลือกตั้งเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งคนปัจจุบันคือJ?hanna Sigur?ard?ttir

ไอซ์แลนด์ใช้ระบบพหุพรรค ปัจจุบันมีพรรคการเมืองห้าพรรคที่มีที่นั่งในอัลทิงกิ ได้แก่ พรรคอิสรภาพ พันธมิตรสังคมนิยมประชาธิปไตย ขบวนการฝ่ายซ้าย-กรีน พรรคก้าวหน้า และพรรคเสรีนิยม

ในระดับท้องถิ่น ไอซ์แลนด์แบ่งออกเป็นเขตเทศบาล 79 เขต เรียกในภาษาไอซ์แลนด์ว่า sveitarf?lagi? (พหู. sveitarf?l?g) นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์ยังมีการแบ่งแบบดั้งเดิมเป็นมณฑล (s?slur) 23 แห่ง เมืองอิสระ (kaupsta?ir) 8 แห่ง เมือง (b?ir) 7 แห่ง และการแบ่งแยกแบบอื่นๆ อีก 5 แห่ง การแบ่งการปกครองในระดับนี้แทบไม่มีความสำคัญแล้วในปัจจุบัน

เกาะไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ ถัดลงมาทางใต้เล็กน้อยจากอาร์กติกเซอร์เคิล ไอซ์แลนด์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปเหนือ ไม่ใช่อเมริกาเหนือ โดยเป็นเกาะที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับสองของยุโรปรองจากบริเตนใหญ่

ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ทั้งหมด 102,775 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งยาว 4970 กิโลเมตร ระยะทางใกล้ที่สุดไปยังประเทศอื่นๆ คือ 287 กิโลเมตรถึงกรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) 798 กิโลเมตรถึงสกอตแลนด์ (สหราชอาณาจักร) และ 970 กิโลเมตรถึงนอร์เวย์แผ่นดินใหญ่ 62% ของพื้นที่ประเทศเป็นที่รกร้าง มีเพียง 23% ที่พืชเจริญเติบโตได้ อีก 11% เป็นธารน้ำแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของไอซ์แลนด์เป็นที่สูง มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร จุดที่สูงที่สุดคือยอดเขาฮวันนาตัลสนูกือร์ (Hvannadalshn?kur)

ในทางธรณีวิทยา ไอซ์แลนด์เป็นผืนดินที่ยังใหม่ โดยไอซ์แลนด์ตั้งอยู่บนจุดร้อนไอซ์แลนด์และสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกแยกตัวระหว่างแผ่นทวีปอเมริกาเหนือและแผ่นทวีปยูเรเชีย ไอซ์แลนด์มีภูเขาไฟมากกว่าร้อยแห่ง หลายแห่งยังคงคุกรุ่นอยู่ เช่น ภูเขาไฟเฮกลา (Hekla) ซึ่งปะทุครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2543 ปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เกิดภูเขาไฟนี้ ยังทำให้ไอซ์แลนด์มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสูง ไอซ์แลนด์มีแหล่งน้ำพุร้อนจำนวนมาก และยังได้ไฟฟ้าพลังน้ำด้วย ไอซ์แลนด์ครอบครองเกาะซึร์ทเซย์ ซึ่งขึ้นมาจากเหนือน้ำทะเลหลังการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลในปี พ.ศ. 2506

ไอซ์แลนด์มีภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรกึ่งอาร์กติก ค่อนข้างอบอุ่นจากอิทธิพลของกัลฟ์สตรีม อุณหภูมิเฉลี่ยที่เรคยาวิกในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 0 องศาเซลเซียส ขณะที่เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส วันที่อากาศอบอุ่นที่สุดในฤดูร้อนของไอซ์แลนด์มีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ที่สูงตอนกลางของประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าที่ต่ำตามชายฝั่งพอสมควร โดยในฤดูหนาว ที่สูงของประเทศมีอุณหภูมิประมาณลบ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส

พื้นฐานเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์เป็นรูปแบบทุนนิยม แต่ก็สนับสนุนรัฐสวัสดิการอย่างกว้างขวาง ลักษณะเดียวกับประเทศนอร์ดิกอื่นๆ ไอซ์แลนด์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากร (GDP per capita) ในระดับสูง ไอเอ็มเอฟประเมินจีดีพีต่อประชากรที่ราคาปัจจุบัน (nominal) ของปี พ.ศ. 2550 ที่ 62,976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 4 ของโลก) และจีดีพีต่อประชากรเทียบด้วยกำลังซื้อ (PPP) ที่ 41,680 ล้านดอลลาร์สากล (อันดับที่ 5 ของโลก) นอกจากนี้ไอซ์แลนด์ยังมีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจสูง โดยมีดัชนีจีนีเท่ากับ 25 จากข้อมูลของซีไอเอ

อุตสาหกรรมหลักของไอซ์แลนด์คืออุตสาหกรรมประมง โดยสินค้าทะเลมีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 1.2 แสนล้านโครนาไอซ์แลนด์ จากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดสามแสนล้านในปี 2550 สินค้าส่งออกสำคัญอื่นๆ ได้แก่อะลูมิเนียม เฟร์โรซิลิคอน ดินเบา และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีประเทศคู่ค้าส่งออกที่สำคัญคือเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และสเปน ไอซ์แลนด์มีสินค้านำเข้าสำคัญคือเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหาร และสิ่งทอ โดยประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ 70% ของแรงงานในไอซ์แลนด์ทำงานในภาคการบริการ

สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (kr?na – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP) และนับได้ว่าใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยพลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์

ในปี 2551 ไอซ์แลนด์มีถนนยาวทั้งหมด 13,058 กิโลเมตร ไม่มีทางรถไฟหรือแม่น้ำที่เดินเรือได้ ถนนวงแหวน หรือทางหลวงหมายเลข 1 (Hringvegur หรือ ?j??vegur 1) เป็นถนนสายหลักของประเทศ วนรอบเกาะไอซ์แลนด์ เชื่อมต่อพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประเทศ มีความยาว 1339 กิโลเมตร จากสถิติปี 2550 ไอซ์แลนด์มีรถยนต์ 227,321 คัน โดยเป็นรถยนต์นั่ง 197,305 คัน คิดเป็นประชากร 1.6 คนต่อรถหนึ่งคันไอซ์แลนด์มีสนามบิน 99 แห่ง โดยห้าแห่งเป็นสนามบินที่มีทางวิ่งลาดยาง สนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานนานาชาติเคฟลาวิก ใกล้กับเมืองเคฟลาวิก ห่างจากเรคยาวิก 50 กิโลเมตร ในขณะที่ท่าอากาศยานเรคยาวิกเป็นท่าอากาศยานในประเทศ สายการบินแห่งชาติของไอซ์แลนด์คือไอซ์แลนด์แอร์ (Icelandair)

ไอซ์แลนด์มีประชากร 313,376 คน (ประมาณการ 1 มกราคม 2551) เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเรคยาวิก มีประชากรประมาณ 1.2 แสนคน ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรในไอซ์แลนด์เป็นพลเมืองต่างประเทศ โดยมีพลเมืองนอร์ดิกอื่นๆ 1.7 พันคน ชาวยุโรปอื่นๆ 1.2 หมื่นคน ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นชาวโปแลนด์ ชาวเอเชีย 2.9 พันคน ส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์ (778) จีน (755) และไทย (546)

ไอซ์แลนด์มีศาสนจักรประจำชาติ เป็นคริสตจักรเอวานเจลิคัลลูเทอรัน ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุน โดยรัฐบาลเคารพเสรีภาพทางศาสนาซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 82 ของประชากรเป็นสมาชิกของคริสตจักรไอซ์แลนด์ มีคริสตจักรลูเทอรันเสรีอื่นๆ มีสมาชิกรวมกัน 4.7 เปอร์เซนต์ของประชากร มีองค์กรทางศาสนาอื่นๆ ที่ได้ลงทะเบียนรับรอง มีสมาชิกรวมกัน 5.1 เปอร์เซนต์ของประชากร กลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดคือ เอาซาตรูอาร์เฟลายิท (?satr?arf?lagi?) ซึ่งเป็นกลุ่มนีโอเพแกน

ภาษาหลักของไอซ์แลนด์คือภาษาไอซ์แลนด์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ โดยยังคงลักษณะใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากกว่าภาษาสแกนดิเนเวียอื่นๆ ภาษาอังกฤษและภาษาเดนมาร์กเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษา

สังคมไอซ์แลนด์ไม่ได้ใช้ระบบสืบทอดนามสกุลเหมือนวัฒนธรรมตะวันตกทั่วไป แต่ใช้ชื่อตามเป็นชื่อของบิดา หรือบางครั้งเป็นมารดาของบุคคลนั้นๆ โดยใช้รูปสัมพันธการกของชื่อบิดาหรือมารดาตามด้วย son (ลูกชาย) หรือ d?ttir (ลูกสาว) ชาวไอซ์แลนด์บางส่วนที่มีนามสกุลและชาวต่างชาติสามารถสืบทอดนามสกุลของตนได้ แต่การจดใช้นามสกุลใหม่ไม่สามารถกระทำได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 เป็นต้นมา ธรรมเนียมปฏิบัติของไอซ์แลนด์จะใช้ชื่อตัวเป็นชื่อหลักเสมอ และใช้ชื่อตามในการขยายเท่านั้น การเรียงลำดับชื่อเช่นในสมุดโทรศัพท์หรือทะเบียนประชากร จะเรียงตามชื่อตัว

นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์ยังมีระบบการตั้งชื่อที่เข้มงวด โดยชื่อตัวที่ไม่เคยใช้ในภาษาไอซ์แลนด์มาก่อนจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการการตั้งชื่อ โดยชื่อที่ตั้งจะต้องสามารถเข้าได้กับการผันคำในไวยากรณ์ที่ซับซ้อนของภาษาไอซ์แลนด์

วัฒนธรรมไอซ์แลนด์มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมแบบสแกนดิเนเวียโบราณ (นอร์ส) ไอซ์แลนด์มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับวรรณกรรมในยุคของการตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะเอดดาและซากา ชาวไอซ์แลนด์ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระอย่างมาก โดยในการสำรวจยูโรบารอมิเตอร์ของคณะกรรมการยุโรป 85 เปอร์เซนต์ของชาวไอซ์แลนด์เห็นว่าความเป็นอิสระ "สำคัญมาก" เทียบกับเฉลี่ยของ 25 ชาติอียู (2547) 53 เปอร์เซนต์ เดนมาร์กและนอร์เวย์ 49 และ 47 เปอร์เซนต์ตามลำดับ

วรรณกรรมของไอซ์แลนด์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานบนไอซ์แลนด์ โดยเป็นส่วนสำคัญของวรรณกรรมนอร์สโบราณ วรรณกรรมไอซ์แลนด์ที่มีชื่อเสียงมากคือซากาในยุคกลาง โดยเป็นเรื่องเล่าในรูปแบบของร้อยแก้วเล่าถึงวีรบุรุษของไอซ์แลนด์และสแกนดิเนเวียในยุคนั้น โดยมีซากานับร้อยถูกเขียนขึ้น นอกจากนี้ยังมีเอดดา มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้า แบ่งออกเป็นเอดดาร้อยกรอง และเอดดาร้อยแก้ว

วรรณกรรมของไอซ์แลนด์ตกต่ำลงหลังการสูญเสียเอกราชทางการเมืองในปี พ.ศ. 1805 ในช่วงห้าร้อยปีถัดมา มีผลงานด้านวรรณกรรมเกิดขึ้นน้อยมาก โดยเฉพาะในรูปแบบร้อยแก้ว นอกจากการแปลคัมภีร์ไบเบิลในพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในด้านร้อยกรอง มีผลงานบทกวีทางศาสนา และ r?mur บทกวีรูปแบบหนึ่งของไอซ์แลนด์

วรรณกรรมของไอซ์แลนด์ฟื้นฟูขึ้นในในช่วงหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 หนึ่งในนักเขียนคนสำคัญของไอซ์แลนด์ยุคใหม่ คือฮัลโตร์ คิลยัน ลักซ์เนส ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี พ.ศ. 2498

ดนตรีดั้งเดิมของไอซ์แลนด์ไม่ได้รับอิทธิพลการพัฒนาจากต่างประเทศนัก จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล โดยส่วนใหญ่เป็นดนตรีพื้นบ้านและดนตรีศาสนา ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีมากนัก ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้เสียงประสาน r?mur จัดเป็นดนตรีดั้งเดิมของไอซ์แลนด์ด้วย

ไอซ์แลนด์ตั้งสถาบันดนตรีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 และตั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตราไอซ์แลนด์ในปี 2493 ไอซ์แลนด์มีนักดนตรีร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เช่น ปีเยิร์ก (Bj?rk) และ ซีกือร์โรส (Sigur R?s) งานดนตรีที่สำคัญของไอซ์แลนด์คือไอซ์แลนด์แอร์เวฟส์ในเรคยาวิก

ส่วนประกอบหลักในอาหารของไอซ์แลนด์คือปลา เนื้อแกะ และผลิตภัณฑ์นม ไอซ์แลนด์มีชุดอาหารดั้งเดิมที่เรียกว่าทอร์รามาทือร์ (?orramatur) รับประทานในเดือนทอร์ริ (?orri) ตามปฏิทินดั้งเดิมของไอซ์แลนด์ ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลากชนิด เช่น เนื้อแกะเค็มรมควัน ปลาแห้ง และขนมปังต่างๆ เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301