"ไม่ควรจัดเก็บภาษีหากไม่จัดให้มีผู้แทน" หรือ "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน" (อังกฤษ: No taxation without representation) เริ่มเป็นสโลแกนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1750 และ 1760 ที่สรุปความเดือดร้อนของชาวอาณานิคมอังกฤษในสิบสามอาณานิคม ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการปฏิวัติอเมริกา กล่าวโดยสรุป ชาวอาณานิคมจำนวนมากเชื่อว่าการขาดผู้แทนโดยตรงในรัฐสภาอังกฤษที่ห่างเหิน ถือว่าเป็นการปฏิเสธสิทธิความเป็นชาวอังกฤษของพวกเขาอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น กฎหมายที่บังคับให้ชาวอาณานิคมจ่ายภาษี (ซึ่งเป็นกฎหมายประเภทที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากที่สุด) และกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณานิคมเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในเวลาปัจจุบัน ได้มีการใช้สโลแกนดังกล่าวในกลุ่มคนอื่น ๆ ในหลายประเทศในข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกัน
วลี No taxation without representation สามารถสืบไปได้ว่าเป็นสาเหตุของสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยจอห์น แฮมพ์เดน กล่าวว่า "พระมหากษัตริย์อังกฤษไม่มีสิทธิ์จะร้องขอ ประชาชนชาวอังกฤษต่างก็มีสิทธิ์ปฏิเสธได้" ในกรณีเรือเงิน
วลี "No Taxation Without Representation!" ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักบวช โจนาธาน เมย์ฮิว ระหว่างการเทศน์ครั้งหนึ่งในบอสตัน ค.ศ. 1750 ในปี ค.ศ. 1765 ได้มีการใช้วลีดังกล่าวในบอสตัน แต่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ใช้คนแรก นักการเมืองบอสตัน เจมส์ โอติส มักจะหยิบยกวลีดังกล่าวไปพูดเสมอ โดยว่า "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทนคือทรราช"
รัฐสภาอังกฤษได้ควบคุมการค้าอาณานิคมและตั้งภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกตั้งแต่ ค.ศ. 1660 ภายในคริสต์ทศวรรษ 1760 ชาวอเมริกันได้ถูกตัดสิทธิทางประวัติศาสตร์ ตาม พระราชบัญญัติสิทธิ ค.ศ. 1689 ไม่อนุญาตให้มีการเก็บภาษีนอกเหนือจากจะได้รับความยินยอมจากรัฐสภา นับตั้งแต่ชาวอาณานิคมไม่มีผู้แทนในรัฐสภาอังกฤษ ภาษีจึงได้ละเมิดการรับประกันสิทธิความเป็นชาวอังกฤษ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน