ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย

ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย หรือบางครั้งอาจถูกเรียกว่า แขกมะหง่น, แขกมห่น, แขกมะห่น หรือแขกเจ้าเซ็น หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซียแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม โดยกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามชีอะห์ตั้งถิ่นฐานแถบฝั่งธนบุรี, เขตยานนาวา, เขตบึงกุ่ม, เขตสะพานสูง, เขตมีนบุรี และบางส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่หันไปนับถือศาสนาพุทธ คือ สกุลบุนนาค เป็นต้น

ชาวเปอร์เซียที่มีบทบาทคนแรกๆ ที่มีบทบาทในสยาม คือ เฉกอะหมัด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2086 ที่ตำบลปาอีเนะชาฮาร เมืองกุม เมืองได้เข้ามาในสยามในฐานะพ่อค้าเมื่อครั้งรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจจนมีฐานะมั่นคงและได้เข้ารับราชการในตำแหน่งกรมท่าขวาดูแลกิจการการค้ากับพ่อค้าชาวมุสลิม จนได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาบวรราชนายก ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง และลูกหลานของเขาก็มีบทบาทในตำแหน่งกรมท่าขวาเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ตำแหน่งดังกล่าวจึงตกเป็นฝ่ายซุนนีย์ เฉกอะหมัด เป็นบรรพบุรุษของสกุลบุนนาค อหะหมัดจุฬา อากาหยี่ และนนทเกษ เป็นต้น

นอกจากผู้สืบเชื้อสายจากเฉกอะหมัดแล้ว ก็ยังมีคนเชื้อสายเปอร์เซียคนอื่นๆ มีบทบาทในระดับสูงเช่นกัน โดยในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็มี อากามูฮัมหมัด อัครเสนาบดี, เจ้าพระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และเจ้าพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ก็มีเชื้อสายเปอร์เซียเช่นกัน

ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีลูกหลานของเฉกอะหมัดคือ พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ที่เป็นข้าราชการใกล้ชิดในตำแหน่งจางวางกรมล้อมพระราชวัง ทุกครั้งเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จไปไหนเขาก็จะตามเสด็จด้วย แต่ต่อมาพระยาเพ็ชรพิไชยไม่มีชื่อในหมายตามเสด็จเมื่อครั้งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท พระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการ "พระยาเพ็ชรพิไชยเปนแขกเปนเหลื่อ ก็ให้สละเพศแขกเสีย มาเข้ารีตรับศีลทางไทยในพระพุทธศาสนา" พระยาเพ็ชรพิไชยจึงสนองพระบรมราชโองการ และปฏิญาณเป็นชาวพุทธ จึงมีการแยกฝ่ายที่นับถือพุทธและอิสลามเกิดขึ้นตั้งแต่นั้น

เฉกอะหมัดได้เดินทางเข้ามาในสยามพร้อมด้วยน้องชายชื่อ มะหะหมัดสะอิด โดยเข้ามาตั้งภูมิลำเนาท้ายเกาะอยุธยาเรียกว่า ท่ากายี และละแวกที่แขกสองพี่น้องตั้งถิ่นฐานนั้น ชาวบ้านเรียกว่า บ้านแขก เฉกอะหมัดได้สมรสกับสตรีชาวไทยชื่อเชยมีบุตรด้วยกันสามคน ต่อมาเฉกอะหมัดได้สร้างกุฎี และขยายสุสาน ซึ่งปัจจุบันรากฐานของกุฎีดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ชาวเปอร์เซียในอยุธยาสร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่อปูนหลังคามุงกระเบื้อง โดยจะคับคั่งทางฝั่งคลองประตูจีนด้านทิศตะวันตก กำแพงเมืองด้านทิศใต้เกาะเมืองอยุธยาซึ่งอยู่ระหว่างประตูจีนกับประตูชัย เรียกว่าประตูเทพหมีซึ่งในแผนที่กรุงศรีอยุธยาเรียกว่าประตูเทพสมีซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่ของทั้งชาวอาหรับและเปอร์เซีย ในหนังสือแผนที่กรุงศรีอยุธยาเรียกว่าถนนบ้านแขก และชุมชนบ้านแขกทางฝั่งตะวันตกของคลองประตูจีนมีถนนตัดผ่านกลาง ซึ่งเป็นชุมชนชีอะห์เสียส่วนใหญ่น่าที่จะเป็นชาวเปอร์เซีย

เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซียบางส่วนถูกกวาดต้อนพร้อมกับเชลยชาวไทยเชื้อสายอื่นๆไปยังประเทศพม่า ส่วนชาวชีอะห์ที่ยังเหลือยู่ได้เดินทางเข้าสู่กรุงธนบุรี โดยที่ตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ของชาวชีอะห์คือ กุฎีเจริญพาศน์ ริมคลองบางหลวงฝั่งบางกอกใหญ่ ใกล้สะพานเจริญพาศน์ และปัจจุบันยังเป็นสถานที่มีสมาชิกหนาแน่นกว่าที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของชาวชีอะห์อีก เช่น กุฎีหลวง, กุฎีดิลฟัลลาห์ (กุฎีปลายนา) และสุเหร่าผดุงธรรม ในอดีตมีกุฎีที่บ้านบางหลวง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันชาวชีอะห์ที่นั่นได้ย้ายตั้งถิ่นฐานที่บ้านทวาย เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

ไทยและเปอร์เซียมีความสัมพันธ์กับไทยมากว่า 400 ปี หากแต่ว่ามิได้พบหลักฐานเอกสารการมาของชาวเปอร์เซียที่ชัดเจนก่อนหน้า แต่ก็ยังพบโบราณวัตถุจำนวนมากเช่น กษาปณ์ ดวงตรา ลูกปัด และประติมากรรมต่างๆ ที่ชาวเปอร์เซียได้ทิ้งไว้ ตลอดหลายร้อยปีชาวเปอร์เซียได้ทิ้งร่องรอยทางวัฒนธรรม ภาษา สถาปัตยกรรม อาหารที่ตกทอดมาเนิ่นนานจนชาวไทยบางคนคิดว่าเป็นของไทยมาแต่ดั้งเดิม แต่ในปัจจุบันลูกหลานชาวมุสลิมที่สืบเชื้อสายมาแต่เปอร์เซียนั้น ได้รับวัฒนธรรมไทยมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันพวกเขากลับรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองได้น้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชาวไทยมุสลิมกลุ่มอื่นในกรุงเทพมหานคร

ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย ได้ทิ้งมรดกทางภาษาไว้ เช่น คำว่า ปสาน ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งในสมัยสุโขทัย ซึ่งนักวิชาการให้ความเห็นว่ามาจากคำว่า บอซัร ในภาษาเปอร์เซียที่มีความหมายว่า ตลาดห้องแถว ตลาดขายของแห้ง คำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้ และคำว่าคำว่า โมล์ค ที่แปลว่าไก่ แต่คนไทยมุสลิมกลับใช้เรียกเป็น ข้าวหมก คำว่า ภาษี มาจาก บัคซี ที่มีความหมายว่า ของให้เปล่า ของกำนัล หรือรางวัล และคำว่า สนม มาจากคำว่า ซะนานะฮ เป็นต้น

แม้แต่เครื่องแต่งกายอย่าง ลอมพอก ก็เป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมของเปอร์เซีย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผ้าโพกหัวของชาวมุสลิมกับชฎาของไทย โดยลอมพอกถือเป็นหมวกสำหรับขุนนางในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรัชกาลเดียวกันก็ได้ส่งราชทูตไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีในปี พ.ศ. 2229 ลอมพอกจึงเป็นที่สนใจของชาวฝรั่งเศสอย่างมาก

ขณะเดียวสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็โปรดฉลองพระองค์อย่างชาวเปอร์เซียเช่นกัน ในหนังสือสำเภากษัตริย์สุลัยมานของอิบนิ มูฮัมหมัด อิบราฮิม ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์ ความว่า "เมื่อพระเจ้าแผ่นดินไทยได้ทอดพระเนตรภาพพระราชวังคาข่าน รวมทั้งภาพวาดพระเจ้ากรุงอิหร่านก็ทรงสนพระทัย และเมื่อรับสั่งให้คณะราชทูตเข้าเฝ้าฯ มักเห็นพระนารายณ์ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อผ้าอย่างอิหร่าน คือเสื้อคลุมยาว กางเกงขายาว เสื้อชั้นใน ถุงเท้ารองเท้า และเหน็บกริชเปอร์เซีย แต่พระองค์ไม่ได้คลุมผ้าบนพระเศียรดังเช่นแขกทั่วไป ด้วยเหตุที่ทรงหนัก" นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเสวยอาหารเปอร์เซียอีกด้วย

ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซียที่นับถือนิกายชีอะห์ มีพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ พิธีเจ้าเซ็น ซึ่งทำพิธีถึง 11 วัน โดยหลังจากครบ 11 วันแล้ว ได้มีการทำบุญครบรอบวันตาย 3 วัน 7 วัน 15 วัน 30 วัน และ 40 วัน ตามลำดับ พิธีกรรมดังกล่าวทำเพื่อระลึกถึงฮุเซน บุตรของอะลี ตลอดจนญาติคนอื่นๆที่ถูกลอบสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่เมืองกัรบะลาอ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก) ซึ่งเป็นที่มาของพิธีเจ้าเซ็น เหตุที่เรียกว่าเจ้าเซ็นนั้นมาจากทำนองภาษาเปอร์เซีย ที่กล่าวว่า "ยาอิมาม ยาฮุเซ็น ชาอฮะซัน ยาฮุเซ็น ยาเมาลา ยาชะฮีต ชาคะลีย ยาฮุเซน" มีความหมายว่า "โอ้ท่านผู้นำ โอ้ท่านฮะซัน โอ้ท่านฮุเซ็น โอ้นายผู้เสียสละตามแนวทางพระเจ้า" คนในอดีตคงได้ยินคำว่า ยาฮุเซ็น ที่มีคนขานหนักแน่นมากกว่า จึงถูกเรียกว่าแขกเจ้าเซ็น

ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้มีหมายรับสั่งให้นำพิธีกรรมดังกล่าวไปถวายให้ทอดพระเนตรในพระบรมมหาราชวังหน้าพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ติดต่อกันถึงสองปี (ในปี พ.ศ. 2358 และ พ.ศ. 2359) และมีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จชมพิธีดังกล่าวอยู่เสมอ ครั้งหลังสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทอดพระเนตร ณ กุฎีเจริญพาศน์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2496

ในอดีตทุกคนต้องนุ่งดำ งดงานรื่นเริงและการกินเนื้อสัตว์ ทานอาหารเปเรส (อาหารเจ ที่ทำจากผัก) และผู้ชายต้องโกนหัวไว้ทุกข์ด้วย ในประเทศไทยเองยังมีการควั่นหัว โดยใช้มีดโกนกรีดลงกลางศีรษะ ซึ่งผู้กรีดต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี เดิมใช้มีเหล็กแหนบรถไฟ แต่ปัจจุบันได้ใช้มีดเยอรมันตราตุ๊กตาคู่ ซึ่งการควั่นหัวเป็นการบนบาน (เหนียต) ตั้งจิตระลึกถึงฮุเซน และเชื่อกันว่ายิ่งควั่นแล้วเลือดออกมากเท่าใดก็ยิ่งแสดงถึงความศรัทธา แต่พิธีควั่นหัวดังกล่าวปรากฏในประเทศเลบานอน และซีเรีย ขณะที่ชาวชีอะห์ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และพม่า มีเพียงการลุยไฟเท่านั้น ส่วนในอิหร่านเองก็เคยมีการทรมานดังกล่าว แต่ภายหลังการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลเลาะห์ โคมัยนีให้ยกเลิกพิธีกรรมดังกล่าว

เปอร์เซียในยุคราชวงศ์ซาฟาวิยะห์เป็นยุคที่รุ่งเรืองทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานสถาปัตยกรรม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มีการส่งคณะทูตไปยังราชสำนักเปอร์เซียสมัยชาห์สุลัยมานแห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อกันระหว่างสยามกับเปอร์เซีย ในยุคนี้ไทยจึงมีการรับสถาปัตยกรรมของเปอร์เซียเข้ามา

ในเรื่องราวดังกล่าวศาสตราจารย์พิทยา บุนนาค ผู้ศึกษาอิทธิพลศิลปกรรมเปอร์เซียในสถาปัตยกรรมอยุธยา พบว่าโค้งยอดแหลมในอยุธยาเป็นโค้งแบบอิสลามไม่ใช่โค้งแบบกอธิค คือมีการโค้งด้วยการก่ออิฐให้รับน้ำหนักไปข้างๆ และลงสู่ผนัง และมีลักษณะพิเศษคือเป็นโค้งยอดแหลมแบบตวัดนิดหน่อย ซึ่งพบได้ในอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ แต่ไม่พบในการก่อสร้างลักษณะนี้ในอิหร่าน จึงมีการสันนิษฐานว่าโค้งลักษณะดังกล่าวคงถูกพัฒนาโดยชาวเปอร์เซียในอินเดียก่อนเข้ามาในสยาม

อาหารของชาวเปอร์เซียได้เป็นมรดกตกมาถึงยุคปัจจุบันแม้ว่าจะเป็นอาหารแบบเดียวกับมุสลิมกลุ่มอื่นไม่ว่าฮินดูหรือมุสลิม หริอ ชาวจาม อินเดีย ยะวา และมลายู ซึ่งหากินได้ทั่วไปจนเข้าใจว่าเป็นอาหารดั้งเดิมของไทย แต่อาหารเปอร์เซียในไทยนั้นจะมีรสชาติที่แตกต่างจากอิหร่าน ได้แก่ กะบาบ ในประเทศไทยเองก็มีเช่นกัน แต่ทำเฉพาะในงานบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย (บุญสี่สิบวัน) ถือเป็นอาหารพิเศษที่ทำไม่มากชิ้น รสชาติของกะบาบไทยจะอมหวานนิดๆ อาจเนื่องมาจากความมันของกะทิแกงกุรหม่าของไทยก็มีความแตกต่างจากแกงกุรหม่าของอิหร่านเช่นกัน เนื่องจากแกงกุรหม่าไทยมีกลิ่นเครื่องเทศมาก ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดียหรืออาจมาจากการผสมผสาน ฮะยีส่า หรือข้าวอาชูรอ ที่ทำกันทั้งนิกายซุนนีย์และชีอะห์ในวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม (มะหะหร่ำ) ที่กุฎีเจริญพาศน์นั้น ฮะยีส่ามีชื่อเสียงมากที่สุดจนกล่าวกันว่า "ข้าวฮะยีส่า สามกุฎีสี่สุเหร่า สู้ที่นี่ไม่ได้"

นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย เช่น ข้าวหมก, ข้าวเปียกนม, ข้าวแขก, อาลัว, มัศกอด และขนมไส้ไก่ เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406