ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไทยเชื้อสายจีน

ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยแต่งงานข้ามเชื้อชาติ

ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ

ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณ 8 ล้านคน ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ประมาณ 56% รองลงมา ได้แก่ แคะ 16% ไหหลำ 11% กวางตุ้ง 7% ฮกเกี้ยน 7% และอื่นๆ 12%

แต้จิ๋ว (?? ; Teochew ; ภาษาจีนกลาง: Ch?ozh?u) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบๆแม่น้ำเจ้าพระยาและตามภาคกลาง ได้มาที่สยามตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยมาจาก มณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก

แคะ (?? ; Hakka ; ภาษาจีนกลาง: k?ji?) เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจาก มณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนมาก จะอพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี และ จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนมากจะชำนาญทางด้านหนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่งอาทิเช่นธนาคารกสิกรไทย

ไหหลำ (?? ; ภาษาจีนกลาง: H?in?n) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน ชาวไหหลำจะมีเป็นจำนวนมากที่ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ และสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวจีนกลุ่มนี้จะชำนาญทางด้านร้านอาหาร และโรงงาน

ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน (?? ; Hokkien ; ภาษาจีนกลาง: F?ji?n) จะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือ หรือรับราชการ และชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนมากใน พังงา,กระบี่,ตรัง,สตูล,ชุมพร,ระนอง,สงขลา, ปัตตานี,นครศรีธรรมราช และจังหวัดทั่วๆไป

ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนดอย หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย (?? ; ภาษาจีนกลาง: Hu?z?) ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือนชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นนับถือบรรพบุรุษ

เปอรานากัน (มาเลย์:Peranakan) บาบ๋า-โนนยา (Baba-Nyonya ; จีน: ???? ; ฮกเกี้ยน: B?-b? Ni?-li?) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูแต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากในอดีตชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งสมรสกับชาวมาเลย์ท้องถิ่น และภรรยาชาวมาเลย์จะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่

สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมาเลย์ หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋า หรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า โนนยา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ต่างจากเดิมของบรรพบุรุษมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวมๆว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese ; จีน:????) โดยในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนัง และมะละกา คนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์.

กวางไสหรือกวางสี (จีน: ?? ; ภาษากวางตุ้ง: gwong2-sai1) เป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ส่วนใหญ่มาจากอำเภอหยง (??) และแถบอำเภอใกล้เคียง ช่วงแรกอพยพมาอยู่แถบประเทศมาเลเซียก่อนแล้วค่อยๆเดินเท้าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่มากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พูดภาษาจีนกวางตุ้ง (ภาษาจีน:??) สำเนียง G?ul?u (ภาษาจีน:????) เป็นภาษาหลัก ชาวจีนกวางไสเป็นเกษตรกร ทำสวนยางพารากันเป็นส่วนมาก ไม่สันทัดเรื่องการค้าขาย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก

แต่ยังมีของที่พอเป็นที่รู้จัก ก็คือ ไก่กวางไสหรือ"ไก่เบตง"เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีน มีลักษณะพิเศษกว่าไก่ชนิดอื่น ๆ ,เคาหยก (??) หมูสามชั้นต้มสุก ทอดส่วนที่เป็นหนังและนำไปหมักด้วยเต้าหู้ยี้ เหล้าจีน น้ำขิง กระเทียมเล็กน้อย แล้วนำมานึ่งเผือก กินคู่กับผักดอง

ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก

ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่มาก โดยส่วนมากจะมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า

เมื่อครั้นเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม "สิน" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นคนจีน

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล]

การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า "ลูกจีน" แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง

การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ

ในรัชสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วย

การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบร้อยละ 10 ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว

ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มในประมาณพ.ศ. 2475 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฎการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย ซึ่งในช่วงนี้รัฐบาลได้มีนโยบายรัฐนิยม ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้รับผลกระทบอย่างมากในเรื่องของการดูถูกและเหยียดเชื้อชาติ เช่น การไม่ส่งเสริมให้พูดภาษาจีน อันเป็นภาษาต่างด้าว ในที่สาธารณะ ทำให้ก่อนและหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน มีการทะเลาะวิวาทแบบยกพวกเข้าตีกันหลายต่อหลายครั้งระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสายจีน หรือคนจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเยาวราช ซึ่งเรียกกันว่า "เลี๊ยะพ่ะ" ซึ่งความขัดแย้งอันนี้ได้ลุกลามบานปลายจนจะกลายเป็นปัญหาเชื้อชาติ แต่ได้ยุติลงเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ได้เสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรที่เยาวราช ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ก่อนเสด็จสวรรคตไม่นาน

และหลังจากที่จอมพล ป. หวนสู่อำนาจอีกครั้งในปี พ.ศ. 2490-พ.ศ. 2491 ทางรัฐบาลจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนได้จับตาดูทีท่าของจอมพล ป. แต่ในรัฐบาลชุดหลังนี้ ได้มีการสานสัมพันธ์กับทางการจีนอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีการส่งผู้แทนของรัฐบาลดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลจีนอย่างลับ ๆ

ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน ในปี พ.ศ. 2513 ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่าร้อยละ 90 ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้ แต่หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ไม่นาน รัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ก็มีนโยบายในแบบอนุรักษนิยมและขวาตกขอบ ซึ่งเป็นผลมาจากความหวาดกลัวในการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ชาวไทยเชื้อสายจีนได้รับการเหยียดหยามอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. 2522 นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎหมายให้ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในประเทศไทย จะมีสิทธิเลือกตั้งได้ก็ต่อเมื่อได้ไปลงทะเบียนก่อนและต้องมีการศึกษาขั้นต่ำมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) ซึ่งต่อมากฎหมายฉบับนี้ก็ได้รับการยกเลิกในที่สุด

กลุ่มภาษาไทย และกลุ่มภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่ใกล้กันโดยกลุ่มภาษาไทยจะวางคำวิเศษณ์ใว้ข้างหลังและวางกริยาวิเศษณ์ใว้ข้างหลังกรรมในขณะที่กลุ่มภาษาจีนจะวางใว้ด้านหน้าทั้งคำนามและกริยา จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำภาษาหมิ่นใต้จำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาหมิ่นใต้ในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาหมิ่นใต้กับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาเหล่านี้กับลูกหลาน อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะหลายประการที่ภาษาไทยถิ่นกรุงเทพแท้เทียบกับภาษาไทยถิ่นสุพรรณบุรีแล้วมีหลักภาษาไม่ตรงกันเช่นหลายครั้งวางกริยาวิเศษณ์ใว้หน้ากริยาหรือรูปขยายความก็วางใว้หน้าบทประธานและบทกรรมซึ่งเป็นการลอกลักษณะทางภาษามาจากภาษาหมิ่นใต้โดยเฉพาะบางสำนวนคือนำคำในภาษาหมิ่นใต้มาเป็นคำไทยอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเรื่องสำเนียงก็เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาไทยถิ่นกรุงเทพจะต่างจากภาษาไทยสำเนียงอื่นชัดเจนรวมถึงการผันวรรณยุกต์เพราะเมื่อเทียบกับภาษาหนังสือแล้วจะไม่ตรงกันเท่าไหร่ ทำให้เกิดความลำบากกับต่างชาติในการเรียนภาษาไทย ปัจจุบันประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติตาม ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

ชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือเป็นชายไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้ภาษาจีน พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม

ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาษาจีนแบบไต้หวันหรือกว๋อยวี่ก็ยังเป็นวงแคบ เพราะภาษาจีนถิ่นนี้ใช้ระบบจู้อินแทนพินอินและใช้อักษรตัวเต็ม ดังนั้นการเรียนภาษาจีนกลางหรือผู่ทงฮว่าจึงเป็นที่นิยมกว่า ปัจจุบันประชากรชาวไทยประมาณร้อยละสองรู้ภาษาจีนในระดับกลาง

ในปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์ภาษาหมิ่นใต้ในประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน

ในประเทศไทยมีโรงเรียนจีนหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนเผยอิงซึ่งตั้งอยู่ในย่านเยาวราช เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุงในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว จังหวัดภูเก็ต เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของไทย

ที่มาของสำนวนว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" ที่หมายถึง เรียบร้อย, ราบคาบ นั้น มาจากการบุกตรวจค้นโรงเรียนจีนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งซ่องสุมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในสมัยอดีต

ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นแรกที่เข้ามาในไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และศาสนาเต๋า ครั้นในเวลาต่อมาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลายเป็นหนึ่งในศาสนาบนความเชื่อคนชนเชื้อสายจีนในไทยจากการจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรม โดยมากชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบพิธีกรรมดั้งเดิมแบบความเชื่อของจีนและเถรวาทไทยไปด้วยกัน งานเทศกาลของจีนที่สำคัญอย่าง ตรุษจีน, วันไหว้พระจันทร์ หรือวันเชงเม้ง ก็ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองอื่น ๆ ที่มีชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่

อย่างไรก็ตามชาวไทยเชื้อสายจีนจึงไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าตามประเพณี และเข้าวัดไทยเหมือนชาวไทยทั่วไป ส่วนเรื่องงานศพ ชาวไทยเชื้อสายจีนยึดถือแบบจีนดั้งเดิม เช่น การทำกงเต๊กและฝังศพน้อยลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และนิยมการเผาศพแบบไทยมากขึ้น

ขณะเดียวกันมีชาวจีนฮ่อบางส่วนในภาคเหนือที่นับถือศาสนาอิสลามตามบรรพบุรุษอยู่แล้ว พวกเขามีการรวมกลุ่มที่หนาแน่นกว่าชาวจีนฮ่อที่ไม่ใช่มุสลิม ในจังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดของชาวจีนมากถึงเจ็ดแห่ง หนึ่งในมัสยิดที่สำคัญของจีนฮ่อคือมัสยิดบ้านฮ่อ นอกจากชาวจีนฮ่อแล้วก็มีชาวจีนกลุ่มอื่นที่นับถือศาสนาอิสลาม อาทิ ชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านกรือเซะในจังหวัดปัตตานี ซึ่งใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร โดยมุสลิมเชื้อสายจีนที่บ้านกรือเซะนั้น บางส่วนนับถือเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวด้วย บ้างก็ขอพรบ้างก็บนบาน เมื่อมีงานมงคลก็ต้องมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ด้วยเชื่อว่าหากไม่กระทำเช่นนั้นก็จะเกิดเภทภัย ในวันฮารีรายอก็จะมีการเซ่นสรวงเจ้าแม่ และเมื่อพิธีแห่เจ้าแม่เดือนสาม ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนก็จะไปชมขบวนเพื่อระลึกถึงท่าน

วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเลในไทยนั้นจะต่างกับชาวจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์และมาเลเซียบางส่วน ซึ่งจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และพูดภาษาจีนกลาง ชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนกลับไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนักและนิยมวัฒธรรมที่กลมกลืนไปกับคนไทย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406