ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไททานิก

2 ชุดเครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบไอน้ำ Triple Expansion ขับเคลื่อนโดยตรงกับใบจักรข้างซ้าย-ขวา ให้กำลัง 30,000 แรงม้า 75 รอบ/นาที และไอน้ำความดันต่ำที่ผ่านการใช้เครื่องยนต์กระสอบสูบทั้งสองชุดเข้าสู่เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ขับเคลื่อนผ่านชุดเกียร์สู่ใบจักรกลาง ให้กำลัง 16,000 แรงม้า 165 รอบ/นาที

อาร์เอ็มเอส ไททานิก (อังกฤษ: RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หลังชนภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 ศพ นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ไททานิก เคยเป็นสิ่งของเคลื่อนได้ที่ใหญ่ที่สุดที่ทำด้วยฝีมือมนุษย์ในขณะการเดินทางเที่ยวแรก เป็นหนึ่งในสามเรือโดยสารชั้นโอลิมปิกซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ในเบลฟาสต์ บรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน

ผู้โดยสารบนเรือมีบรรดาบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น ซึ่งกำลังแสวงหาชีวิตใหม่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรือได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร เช่นเดียวกับการใช้เชิงปฏิบัติการ แต่แม้ ไททานิก จะมีคุณลักษณะความปลอดภัยที่ก้าวหน้า เช่น ห้องกันน้ำและประตูกันน้ำที่ทำงานด้วยรีโมต ก็ยังขาดเรือชูชีพที่เพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารทุกคนบนเรือ เนื่องจากระเบียบความปลอดภัยในทะเลที่ล้าสมัย จึงมีเรือชูชีพเพียงพอสำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เกินครึ่งของผู้ที่เดินทางไปกับเรือในเที่ยวแรกเล็กน้อย และหนึ่งในสามของความจุผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเท่านั้น

หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ไททานิก ถูกเรียกที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ โคฟ, Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมุ่งสู่นิวยอร์ก วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิก ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเมื่อเวลา 11.40 น. (ตามเวลาเรือ GMT-3) การชนแฉลบทำให้แผ่นลำเรือไททานิก งอเข้าในตัวเรือหลายจุดบนฝั่งกราบขวา และเปิดห้องกันน้ำห้าจากสิบหกห้องสู่ทะเล อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อยๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ "ผู้หญิงและเด็กก่อน" ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อน 2.20 น. เล็กน้อย ไททานิก แตกและจมลงโดยยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง

ภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ทั่วโลกตกตะลึงและโกรธจากการสูญเสียชีวิตอย่างใหญ่หลวง และความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัตินั้น การไต่สวนสาธารณะในอังกฤษและสหรัฐอเมริกานำมาซึ่งพัฒนาการหลักในความปลอดภัยในทะเล หนึ่งในมรดกสำคัญที่สุด คือ การจัดตั้งอนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS) ใน ค.ศ. 1914 ซึ่งยังควบคุมความปลอดภัยในทะเลตราบจนทุกวันนี้ ผู้รอดชีวิตหลายคนสูญเสียเงินและทรัพย์สินทั้งหมดและถูกทิ้งให้อดอยากแร้นแค้น หลายครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสมาชิกลูกเรือจากเซาท์แทมป์ตัน สูญเสียเสาหลักของครอบครัวไป พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากความเห็นใจสาธารณะและการบริจาคของมูลนิธิที่หลั่งไหลเข้ามา

สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ผู้ผลิต ไททานิก ได้ต่อเรืออาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown ใน ค.ศ. 1907 เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น และในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้างอาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside ได้ออกบริการในปีเดียวกัน เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน ลูซิทาเนีย ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความเร็ว 24 นอต (44.448 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด ล้ำหน้ากว่าเรือ 4 ลำของไวต์สตาร์ ทั้งด้านความเร็ว และขนาด

ปีเดียวกันนั้น บุคคลสำคัญของสายการเดินเรือไวต์สตาร์ได้ร่วมจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้าน downshire Belgrave Square ในกรุงลอนดอน เพื่อร่วมกันคิดรูปแบบเรือลำที่ดีกว่าเรือแฝดคู่นั้น และนั่นก็เป็นสาเหตุในการต่อเรือไททานิก

หลังอาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกมาราว 4 ปี เรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำของไวต์สตาร์ไลน์ (เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลัก) ชื่อ RMS Olympic สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1911 มีขนาดใหญ่กว่าเรือ RMS Mauretania มากกว่า 40% ทำให้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และต่อมา เรือลำที่สองในโครงการ ชื่ออาร์เอ็มเอส ไททานิก สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกแทนโอลิมปิก

ไททานิกเป็นเรือที่เปิดศักราชใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร เนื่องจากเป็นเรือลำแรก ๆ ของโลกที่สร้างโดยโลหะและรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,435 คน ยาว 269.0622 เมตร กว้าง 28.194 เมตร ขนาดของเรือ 46,328 ตัน แบ่งเป็น 9 ชั้น เรียงจากชั้นบนลงชั้นล่างได้ดังนี้

ไททานิก มีลิฟต์ 4 ตัว ในจำนวนนี้ 3 ตัว ถูกสงวนไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง อีก 1 ตัว มีไว้สำหรับผู้โดยสารชั้นสอง ส่วนผู้โดยสารชั้นสามไม่มีสิทธิ์ใช้ลิฟต์[ต้องการอ้างอิง]

ในการบรรจุผู้โดยสาร โดยปกติ เรือไททานิก สามารถจุผู้โดยสารได้ 2,435 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นสาม 1,026 คน , ชั้นสอง 674 คน และชั้นหนึ่ง 735 คน และลูกเรีออีก 892 คน รวมผู้โดยสารและลูกเรือ 3,327 คน แต่ถ้าในอนาคต ถ้าสายการเดินเรือต้องการเพิ่มความจุผู้คน จะสามารถดัดแปลงเรือให้จุผู้โดยสารและลูกเรือได้มากขึ้นอีก 220 คน เป็น 3,547 คน (แต่ยังไม่ได้รับการดัดแปลง) แต่ในการเดินทางเที่ยวแรก มีผู้โดยสารประมาณ 2,208 คน

แต่ว่าเรือสำรองช่วยชีวิตหรือเรือบดนั้นเพียงพอสำหรับผู้โดยสารเพียง 1,178 คนเท่านั้น โดยจะแบ่งเป็น 20 ลำ ในจำนวนนี้ 14 ลำ จุได้ 65 คน , 4 ลำ จุได้ 47 คน และอีก 2 ลำ จุได้ 40 คน

การเดินทางครั้งแรก เริ่มการเดินทางที่เมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ควบคุมโดยกัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ (Edward J. Smith) เพื่อเดินทางไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางครั้งนั้น มีผู้เดินทางรวมทั้งหมด 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 891 คน , ผู้โดยสารชั้นสาม 708 คน , ผู้โดยสารชั้นสอง 285 คน และผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 324 คน

ภายในเรือไททานิก จะกั้นอาณาเขตไว้อย่างชัดเจนว่าบริเวณใดเป็นส่วนของผู้โดยสารชั้นใด และผู้โดยสารในเรือจะต้องอยู่ในบริเวณที่เป็นชั้นของตนเองเท่านั้น

ชั้นนี้ เป็นชั้นที่ราคาตั๋วต่ำ แต่ค่าตั๋วของเรือจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ท่าเรือที่ขึ้นโดยสาร (เรือออกท่าแรกที่เซาธ์แธมป์ตัน แวะรับที่เชอร์เบิร์ก และแวะรับอีกที่ควีนส์ทาวน์) อายุผู้โดยสาร ตำแหน่งที่ตั้งของห้อง ลักษณะห้อง บริการ สิทธิต่าง ๆ บนเรือ และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ค่าตั๋วแม้ในชั้นเดียวกันสามารถแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก จากบันทึกการจองตั๋ว ราคาตั๋วชั้นสามที่ถูกสุดที่ขายในการเดินทางเที่ยวแรก เป็นตั๋วเด็ก ขายในราคา 3 ปอนด์ 3 ชิลลิง 5 เพนนี (3.17 ปอนด์ คิดเป็นประมาณ 297 ปอนด์ หรือ 14,900 บาทในปัจจุบัน) สำหรับตั๋วผู้ใหญ่ทั่วไปมักจะมีราคาระหว่าง 7-9 ปอนด์ (650-840 ปอนด์ หรือ 33,000-42,000 บาทในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นราคาที่นับว่าประหยัด เมื่อเทียบกับการเดินทางทางทะเลด้วยระยะเวลากว่าสัปดาห์ แต่ก็มีผู้โดยสารชั้นสามพอสมควรที่ค่าตั๋วมากกว่าสิบปอนด์

บริเวณของผู้โดยสารชั้นสามส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้น F กับชั้น G ผู้โดยสารชั้นประหยัด สิทธิหลายอย่างถูกจำกัด เช่น สิทธิในการใช้ลิฟต์ สิทธิในการขึ้นชั้นดาดฟ้า

ห้องของชั้นสามมีตั้งแต่ห้องขนาด 2 เตียงนอน ไปจนถึง 8 เตียงนอน ห้องพักแม้จะแคบ แต่สะอาดเรียบง่าย และดูสว่างสดใส อยู่ในท้องเรือลึกๆ ทำให้อากาศอุ่นสบายกว่าอาณาเขตชั้นอื่น

ห้องของชั้นสามที่มีราคาถูกที่สุด จะอยู่ท้ายเรือ เพราะห้องเหล่านั้นจะอยู่ใกล้ใบจักรขับเคลื่อนเรือมาก ๆ ดังนั้นในบริเวณนั้น จะโคลงเคลงและสั่น ผู้ที่ไม่ชินกับทะเล จะเกิดอาการเมาเรือได้ถ้าอยู่ในบริเวณนั้นนาน ๆ

เช่นเดียวกับราคาตั๋วขั้นอื่น ๆ ราคาตั๋วชั้นสองมีความหลากหลาย โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 10.5-16 ปอนด์ (49,500 - 75,400 บาทในปัจจุบัน) แต่ห้องชั้นสองบางส่วนก็มีราคาแพงกว่า โดยอยู่ที่ราคาประมาณ 30 ปอนด์ ใกล้เคียงราคาตั๋วห้องชั้นหนึ่งแบบมาตรฐาน

บริเวณของผู้โดยสารชั้นสองส่วนใหญ่ จะอยู่ในชั้น E ผู้โดยสารชั้นสองจะได้รับความหรูหราพอ ๆ กับโรงแรมทั่วไป แม้จะยังไม่หรูหราเท่าชั้นหนึ่ง ห้องของชั้นสองมี 2 ขนาด คือขนาด 2 กับ 4 เตียงนอน ภายในห้องไม่แออัด มีเฟอร์นิเจอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้น โซฟาพักผ่อนในห้องส่วนตัว

ราคาตั๋วชั้นหนึ่งมีช่วงกว้างมาก ไม่สามารถกำหนดช่วงออกมาได้ เริ่มต้นที่ 26 ปอนด์ (2,400 ปอนด์ หรือ 122,000 บาทในปัจจุบัน) ไปจนถึงหลายร้อยปอนด์ ราคาตั๋วที่สูงสุดที่จำหน่ายจริงในการโดยสารเที่ยวแรกมีราคา 512 ปอนด์ 6 ชิลลิง 7 เพนนี (48,000 ปอนด์ หรือ 2,400,000 บาทในปัจจุบัน ซึ่งตั๋ว 512 ปอนด์นี้ขายได้ถึง 4 ใบ โดยเป็นสามี-ภรรยา พร้อมซื้อตั๋วให้ผู้รับใช้และแม่บ้านส่วนตัวมาพร้อมกัน) ผู้โดยสารชั้นนี้จะได้รับความหรูหราเต็มพิกัด

บริเวณของผู้โดยสารชั้นหนึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้น A , B , C, D และบางส่วนของชั้น E ห้องพักแบบธรรมดายังมีการจัดระดับแยกอีก 2 แบบอีกด้วย คือ แบบห้องสวีท (ห้องชุด) บนชั้น B และ C ผู้โดยสารจะได้รับความหรูหรามากกว่าโรงแรมแทบทั้งหมดในอังกฤษหรือสหรัฐเมริกา ผู้โดยสารสามารถเลือกลักษณะห้องพักของตนได้ เพราะห้อง First Class ถูกเตรียมไว้ถึง 11 รูปแบบ ตั้งแต่สไตล์อิตาเลียนเรเนอซองส์, ดัตช์โบราณ , ดัตช์สมัยใหม่ , รีเจนซี่, อดัมส์, อิมพีเรียล, หลุยส์ที่ 14, หลุยส์ที่ 15, หลุยส์ที่ 16 ควีนแอน และจอร์เจียน นอกจากนี้ ยังมีการตกแต่งในรูปแบบพิเศษอีก 2 ที่ออกแบบโดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟ์อีกด้วย โดยใช้ชื่อว่า Bedroom A ที่ดัดแปลงมาจากสไตล์ฝรั่งเศสลดทอนรายละเอียดลง ใช้ผนังไม้โอ๊ก และ Bedroom B คล้ายรูปแบบอดัมส์ โดยผนังไม้ส่วนบนแกะสลักเรียบง่ายสีขาว ผนังไม้ส่วนล่างจากพื้น 3 ฟุตเป็นมะฮอกกานี

และห้องพักชั้นหนึ่งแบบธรรมดาจะมีการแตกแต่งแบบเรียบง่าย อีกทั้งขนาดห้องเล็กกว่า ซึ่งทุกห้อง ถูกผสมผสานเข้ากับความเป็นสมัยใหม่ได้ลงตัวมาก ทุกห้องมีเทคโนโลยีทำความร้อนจากไฟฟ้าและหลอดไฟฟ้า โดยห้องพักแบบนี้พบตามชั้น A ถึง D และมากสุดชั้น E

ห้องที่แพงที่สุดบนเรือคือชั้นหนึ่งแบบห้องชุดพิเศษ (Parlor Suite) นั้น ในฤดูกาลท่องเที่ยว (High-Season) จะราคาสูงถึง 870 ปอนด์ (81,530 ปอนด์ หรือ 3,970,000 บาทในปัจจุบัน) คุณภาพที่ได้รับก็สมราคา เพราะผู้โดยสารที่ซื้อตั๋ว จะมีห้องนอน 2 ห้อง ห้องนั่งเล่นพักผ่อนส่วนตัว ห้องแต่งตัว ห้องน้ำส่วนตัว โดยห้องพัก Millionair Suite บนเรือไททานิกมีอยู่ 4 ห้องโดย 2 ห้องแรกบนชั้น B จะมีระเบียงชมทะเลส่วนตัวขนาดยาว 50 ฟุต และอีก 2 ห้องบนชั้น C

เรือไททานิกถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก โดยใช้เวลาเพียง 62 วินาที เรือก็ลงสู่น้ำเป็นที่เรียบร้อย ไททานิกที่ต่อเสร็จแล้วได้กลายเป็นพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น มีความยาว 268 เมตร กว้าง 28 เมตร และความสูงวัดจากท้องเรือถึงสะพานเดินเรือ (สะพานเดินเรือหมายถึงห้องควบคุมเรือที่อยู่บนดาดฟ้า) 30 เมตร พิธีปล่อยเรือถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าชมถึง 100,000 คน

หลังจากใช้เวลาตกแต่งหลายเดือน ในที่สุด ไททานิกก็กลายเป็นเรือเดินสมุทรสุดหรูหรา ไททานิกมีระวาง 46,300 ตัน ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก 1,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้เต็มที่ถึง 3,547 คน มีเครื่องยนต์ที่มีพลังแรงถึง 46,000 แรงม้า ค่าก่อสร้าง 7,500,000 ดอลลาร์และค่าตกแต่งอีก 2,500,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากเทียบเป็นค่าเงินในปัจจุบันจะเป็น 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สายการเดินเรือไวต์สตาร์จัดการเดินทางรอบปฐมฤกษ์ของเรือไททานิกในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 โดยเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางรอบปฐมฤกษ์นี้เป็นแผนการประชาสัมพันธ์เรือไททานิกด้วย ดังนั้นจึงมีบุคคลสำคัญและบุคคลในวงสังคมชั้นสูงทั้งของอังกฤษ ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริการ่วมเดินทางไปด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เจ. พี มอร์แกน เจ้าของไวต์สตาร์ เจ. บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ รวมทั้งยังมีโทมัส แอนดรูวส์ จูเนียร์ วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์ และวูลฟฟ์ ผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือไททานิก แต่ต่อมามอร์แกนยกเลิกการเดินทางกะทันหันเนื่องจากล้มป่วย

กัปตันเรือไททานิก คือ เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ เขาเป็นกัปตันเรือที่เก่งกาจและมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น การเดินทางเที่ยวนี้จะเป็นเที่ยวสั่งลาในอาชีพกัปตันเรือเพราะหลังจากนั้นกัปตันสมิทก็จะเกษียณแล้ว

แม้ไททานิกจะถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่ใช้ในได้ในทุกฤดูกาล แต่การเดินทางในช่วงนี้ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะธารน้ำแข็งแถบกรีนแลนด์จะละลายและก่อให้เกิดภูเขาน้ำแข็งเคลื่อนตัวลงมาในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและลอยตามกระแสน้ำในมหาสมุทรลงมาทางใต้

ในเช้าวันเดินทาง ตามกฎการเดินเรือ เจ้าหน้าที่ประจำเรือต้องฝึกซ้อมการใช้เรือชูชีพเผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การฝึกซ้อมในเช้านั้นแค่พอเป็นพิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีลูกเรือมาฝึกซ้อมเพียงไม่กี่นาย แต่เดิมไททานิกถูกออกแบบมาให้มีเรือชูชีพ 32 ลำ แต่ต่อมาถูกตัดออกเหลือ 20 ลำซึ่งจุผู้โดยสารรวมกันได้ 1,178 คนเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าเกะกะ อีกทั้งเห็นว่าจำนวนเพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วตามกฎหมายการเดินเรือในยุคนั้นที่กำหนดจำนวนเรือชูชีพตามน้ำหนักเรือเป็นเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งในกรณีของไททานิก เรือชูชีพเพียงแค่ 962 ที่ก็เป็นการเพียงพอแล้ ตามกฎหมาย

ครั้นเวลาเที่ยง เรือไททานิกก็ออกเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พนักงานเหมืองถ่านหินประท้วงและนัดหยุดงาน ส่งผลให้เรือหลายลำต้องจอดแช่อยู่ที่ท่าเรือเนื่องจากไม่มีถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง แต่เนื่องจากไวต์สตาร์เป็นสายการเดินเรือใหญ่ จึงมีถ่านหินตุนอยู่บ้างทำให้ไททานิกสามารถออกเดินทางได้

จากการที่ท่าเรือค่อนข้างคับคั่ง เมื่อไททานิกอันเป็นเรือขนาดใหญ่มหึมาออกจากท่า ผลจากการเคลื่อนตัวของเรือทำให้น้ำกระเพื่อมและเกิดแรงดูดอันมหาศาลดึงเรือที่อยู่ใกล้เคียงเข้าหาเรือไททานิก เรือเอสเอส ซิตีออฟนิวยอร์ก ถูกกระแสน้ำดูดจนเกือบชนเรือไททานิกโดยห่างเพียงหนึ่งเมตรกว่าๆ เ ท่านั้นเอง โชคดีที่เบนเรือออกทัน อุบัติเหตุในครั้งนี้ก็เป็นสาเหตุเดียวกับที่เรือโอลิมปิกเกิดอุบัติเหตุชนกันจนต้องซ่อมใหญ่ก่อนหน้านี้

เมื่อออกจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ไททานิกมุ่งหน้าไปยังเมืองแชร์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส เพื่อแวะรับผู้โดยสาร

ไททานิกแวะที่ท่าเรือเมืองควีนส์ทาวน์ ไอร์แลนด์ และในเวลา 13.30 น. ไททานิกก็ถอนสมอและมุ่งหน้าไปยังสหรัฐอเมริกา

ทะเลสงบและอากาศแจ่มใส การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้โดยสารบนเรือต่างรื่นเริงกับการเดินทางอันหรูหราในครั้งนี้

ตามกำหนดการเดิม เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 นี้จะต้องมีการซ้อมการใช้เรือชูชีพโดยมีผู้โดยสารร่วมฝึกซ้อมด้วย แต่การฝึกซ้อมได้ถูกยกเลิกไป

แม้ในสมัยนั้นจะมีระบบโทรศัพท์เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่การติดต่อด้วยเสียงพูดระหว่างเรือกับเรือหรือเรือกับแผ่นดินยังไม่สามารถทำได้ ระบบที่มีอยู่ในตอนนั้นคือวิทยุโทรเลขซึ่งเป็นการส่งรหัสมอร์สด้วยคลื่นวิทยุ ในเรือแต่ละลำจะมีห้องวิทยุโทรเลขซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยรับส่งข้อความโดยเฉพาะเพราะต้องเป็นผู้ที่รู้จักรหัสมอร์ส

ห้องส่งวิทยุโทรเลขบนเรือเดินสมุทรในยุคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ผู้โดยสารเป็นหลัก เพราะการเดินทางโดยทางเรือนั้นต้องใช้เวลานาน จากหลายวันถึงเป็นเดือน ดังนั้นการติดต่อกับผู้ที่อยู่บนบกจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการใช้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือนั้นเป็นวัตถุประสงค์รอง

ในเรือไททานิกนี้ก็เช่นกัน ห้องวิทยุโทรเลขมีไว้เพื่อบริการผู้โดยสารเป็นหลัก เจ้าหน้าที่วิทยุโทรเลขนี้ไม่ใช่พนักงานประจำเรือ แต่เป็นพนักงานของบริษัทมาร์โคนีซึ่งเป็นต้นตำรับในการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข แม้แต่ใบโทรเลขในยุคนั้นที่จริงก็ไม่ได้เรียกว่า โทรเลข (telegram) แต่เรียกว่า มาร์โคนีแกรม (marconigram) อัตราค่าส่งวิทยุโทรเลขบนเรือไททานิกคิดเป็นเงิน 3.12 ดอลลาร์หรือเทียบเท่ากับ 36 ดอลลาร์ในปัจจุบัน

เนื่องจากไททานิกเป็นเรือขนาดใหญ่ จุผู้โดยสารได้มาก ดังนั้นปริมาณการใช้บริการส่งวิทยุโทรเลขก็ต้องมากเป็นธรรมดา พนักงานรับส่งวิทยุโทรเลขจึงต้องทำงานค่อนข้างหนักมาก เมื่อว่างเว้นจากงานบริการผู้โดยสารแล้วจึงค่อยมาสะสางเรื่องการติดต่อเพื่อการเดินเรือ อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีขั้นตอนการนำส่งข้อความแก่กัปตันเรืออย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดว่าข่าวสารจะถึงมือกัปตันหรือไม่ หรือถึงช้าเร็วเพียงใด

เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิทสั่งเดินเครื่องเรือไททานิกเต็มที่ สำหรับสาเหตุของการเร่งเครื่องครั้งนี้มีผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าเป็นไปตามความต้องการของอิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ ที่ต้องการทำเวลาเพื่อให้ไปถึงนครนิวยอร์กก่อนกำหนดและลบสถิติที่เรือโอลิมปิกซึ่งเป็นเรือพี่ในชุด 3 ใบเถานี้เคยทำไว้ ไททานิกจึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 นอต ซึ่งเกือบถึงความเร็วสูงสุดของเรือ (23 นอต)

และในวันเดียวกันนี้เอง ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือถึง 7 ครั้ง (เอกสารบางแหล่งระบุว่า 6 ครั้ง) จากเรือเดินสมุทรในสายแอตแลนติกเหนือ อาทิ จากเรือ อาร์เอ็มเอส แคโรเนีย (RMS Caronia), อาร์เอ็มเอส บอลติก, เอสเอส อเมริกา (SS Amerika) , เอสเอส แคลิฟอร์เนียน (SS Californian) และ เอสเอส เมซาบา (SS Mesaba) ฯลฯ และที่ร้ายก็คือ เมื่อเวลา 21.45 น. ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งและน้ำแข็งกระจัดกระจายอยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุโทรเลขไม่ได้ส่งข้อความนั้นให้แก่กัปตันหรือเจ้าหน้าที่เรือคนใดเลย ทั้งนี้ เพราะมัวยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลขให้แก่ผู้โดยสาร

วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ขณะเดินทางอยู่ทางใต้ของแกรนด์แบงค์ของนิวฟันด์แลนด์ 22 นาฬิกา 45 นาที อุณหภูมิภายนอกเรือลดลงอย่างรวดเร็วจนเกือบถึงจุดเยือกแข็ง และน้ำทะเลรอบ ๆ ก็นิ่งลงจนแทบไม่มีคลื่นเลย แต่ก็ไม่มีใครในเรือที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ผู้โดยสารที่อยู่บนดาดฟ้าก็กลับลงไปในเรือและใช้ชีวิตต่อตามปกติ

22 นาฬิกา 50 นาที เรือเดินสมุทร แคลิฟอร์เนียน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ได้ส่งข่าวเตือนไททานิก ว่าเรือ แคลิฟอร์เนียน ต้องหยุดเรือ เพราะถูกน้ำแข็งล้อม

23 นาฬิกา 39 นาที เวรยามที่เสากระโดงแจ้งว่าได้พบภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าเรือ ลูกเรือจึงเลี้ยวลำเรือเพื่อหลบ แต่เนื่องจากใบจักรและหางเสือที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเรือ ทำให้ผู้บังคับเรือซึ่งยังไม่ชินกับการบังคับเรือใหญ่ขนาดนี้ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด

ไม่กี่นาทีต่อมาวิศวกรเดินลงไปตรวจดูความเสียหาย และรายงานมาว่า เรือได้ชนกับภูเขาน้ำแข็งทางกราบขวาด้านหัวเรือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนทนรอยแตกได้ไม่ทนทานเท่าจุดอื่น ๆ และห้องเครื่องส่วนหัว 5 ห้องเครื่องแรกก็เกิดรอยรั่ว ซึ่งวิศวกรบอกว่า หัวเรือเป็นจุดอ่อนที่สุดในเรือที่สามารถรับรอยแตกต่อเนื่องจากหัวเรือได้ 4 ห้อง ไม่ใช่ 5 ห้องดังที่เป็น ดังนั้นน้ำจะท่วมห้องเครื่องทั้งห้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อท่วมมิดชั้น F เริ่มไหลขึ้นชั้น E น้ำก็จะล้นกำแพงกั้นน้ำเข้าท่วมห้องเครื่องที่ 6 และท่วมไปทีละห้องกระทั่งจมในที่สุด ดังนั้น เรือกำลังจะจมจากหัวเรือก่อน โดยเรือเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง

0 นาฬิกา ของวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 น้ำเริ่มท่วมส่วนห้องพักของผู้โดยสารชั้นสาม ทำให้เริ่มเกิดข่าวลือว่าเรือกำลังจะจม แต่ผู้โดยสารส่วนมากยังไม่เชื่อ เพราะก่อนหน้านี้เรือไททานิกถูกโฆษณาว่าไม่มีวันจม

0 นาฬิกา 5 นาที กัปตันสั่งให้เตรียมเรือสำรองไว้ เตรียมอพยพผู้คนโดยด่วน, บอกเจ้าหน้าที่วิทยุให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ และบอกพนักงานให้ไปปลุกผู้โดยสาร ให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ และทำร่างกายให้อบอุ่น และไปที่ดาดฟ้า ทำให้ข่าวลือเรื่องเรือกำลังจะจมแพร่ไปทั่วเรือ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อ ส่วนใหญ่ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างใจเย็น และเมื่อขึ้นไปที่ดาดฟ้า เจออากาศหนาวภายนอก ก็กลับเข้าไปข้างในอีก ในช่วงเวลานี้ ผู้โดยสารดูไม่ตื่นตัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะพบนั้นเลวร้ายเพียงใด

ต่อมาราว 5-15 นาที เรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย ของสายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) รับสัญญาณขอความช่วยเหลือของไททานิกได้ และตอบกลับ โดยบอกว่าเร่งเครื่องเต็มที่แล้ว และคาร์พาเธียจะไปถึงเรือไททานิกภายใน 4 ชั่วโมง แต่ไม่ทันกาล วิศวกรบอกว่าเรือลอยอยู่ได้ไม่ถึง 4 ชั่วโมงแน่ ดังนั้น ไททานิก จึงต้องพึ่งตนเอง

0 นาฬิกา 25 นาที เรือสำรองทุกลำพร้อมอพยพผู้โดยสาร กัปตันสั่งให้เริ่มอพยพโดยให้สตรีและเด็กลงเรือไปก่อน แต่ลูกเรือไม่รู้ว่าเรือสำรองจุผู้คนได้เท่าไร จึงปล่อยเรือบดออกทั้งที่ยังใส่คนไม่เต็มที่ ทำให้แทนที่เรือสำรองจะช่วยชีวิตได้ 1,178 คนตามที่ถูกออกแบบ กลับรับผู้โดยสารมาเพียง 712 คนเท่านั้น

0 นาฬิกา 45 นาที เรือสำรองลำแรกถูกปล่อยลงมา และเมื่อผู้โดยสารได้รับข่าวการปล่อยเรือชูชีพ และเห็นเจ้าหน้าที่ต่างทำงานอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ก็เริ่มเชื่อข่าวที่ลือกันในเรือว่า เรือกำลังจะจม

1 นาฬิกาตรง ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่เชื่อว่าเรือกำลังจะจม เกิดความวุ่นวายและตื่นตระหนกขึ้น ลูกเรือที่ทำหน้าที่ปล่อยเรือสำรองเริ่มเผชิญแรงกดดันจากการที่ผู้โดยสารแย่งกันเป็นคนถัดไปที่จะได้ขึ้นเรือสำรอง เกิดเป็นความวุ่นวายเล็ก ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารชายหลายคนแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ โดยให้ภรรยาและลูกขึ้นเรือ แล้วตนเองถอยไป

1 นาฬิกา 15 นาที น้ำท่วมขึ้นมิดหัวเรือ และข่าวการที่น้ำท่วมมาจนมิดหัวเรือ ทำให้ผู้โดยสารเริ่มตื่นตระหนก เพราะเคยเห็นว่าหัวเรือนั้นสูงเพียงใด ดังนั้นผู้โดยสารและลูกเรือจึงตื่นตระหนกมากขึ้นเมื่อรู้ข่าว เพราะเรือจมเร็วกว่าที่คิด ทำให้ผู้โดยสารแย่งกันขึ้นเรือ ทำให้ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้น

1 นาฬิกา 25 นาที ความวุ่นวายทวีความรุนแรงขึ้นมาก เจ้าหน้าที่เริ่มใช้ปืนควบคุม เรือบดถูกเจ้าหน้าที่ปล่อยลงอย่างรีบร้อน เพราะความวุ่นวายจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรจุคนลงเรือ และในการปล่อยเรือสำรองลงไป ในขณะที่เรือเองก็จมลงเรื่อย ๆ เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริต พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต เพลงสุดท้ายที่บรรเลงเป็นเพลงช้าในชื่อ “Nearer, My God, to Thee” หรือแปลว่า “ใกล้ชิดพระเจ้า” ซึ่งเป็นเพลงที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ร้องเพื่อแสดงความไว้อาลัย

1 นาฬิกา 45 นาที น้ำเริ่มเข้าท่วมบริเวณระเบียงด้านหัวเรือ ในขณะนี้ ชั้น A ด้านหัวเรือ เหลือความสูงจากผิวน้ำ 3 เมตร

1 นาฬิกา 55 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปหมด เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเรือสำรองแบบพับได้ และเริ่มลำเลียงผู้คนออกจากเรือต่อ

2 นาฬิกา น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมดาดฟ้าเรือบริเวณส่วนหัว ท่วมห้องบังคับการเรือ และเริ่มเข้าท่วมลึกเข้าไป ไม่นานปล่องควันปล่องที่ 1 ก็หักโค่นเพราะแรงดันน้ำที่อัดฐานปล่องควัน จึงเปิดทางให้น้ำทะลักเข้าไปในตัวเรือส่งผลให้เรือเริ่มยกตัวสูงขึ้นและเริ่มเอียงไปทางซ้ายมากขึ้น

2 นาฬิกา 5 นาที เรือสำรองทุกลำถูกปล่อยออกไปจนหมด แต่ยังเหลือคนมากกว่า 1,500 คนบนเรือ และท้ายเรือเริ่มยกตัวขึ้น เห็นใบจักรขับเคลื่อนลอยขึ้นมาอย่างชัดเจน และยกขึ้นเรื่อย ๆ และทางด้านหัวเรือ น้ำก็เข้าท่วมสูงมิดห้องบังคับการเรือ ท้ายเรือยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เรือเอียงอย่างน่ากลัว ผู้โดยสารหวาดกลัว บางคนถึงกับโดดลงมาจากเรือเพื่อหวังจะว่ายไปขึ้นเรือชูชีพด้านล่าง แต่ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนจะว่ายไปถึง

เพราะในเวลานั้น เจ้าหน้าที่ที่อยู่บนเรือสำรองได้นำเรือสำรองทุกลำให้ออกห่างจากตัวเรือไททานิกให้ไกลที่สุด เพราะไททานิกที่กำลังจมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดแรงดูดของน้ำบริเวณใกล้ลำเรือซึ่งอาจจะดูดเรือสำรองจมลงไป หรืออาจเกิดอันตรายอย่างอื่น ที่สามารถทำให้เรือสำรองจมได้ เหล่าเจ้าหน้าที่พยายามนำเรือสำรองออกไปให้ไกลที่สุด และน้ำทะเลในบริเวณดังกล่าวเย็นเกือบเป็นน้ำแข็ง ดังนั้น ผู้ที่ตัดสินใจในการโดดมาจากเรือไททานิก แล้วคิดว่ายไปขึ้นเรือสำรอง ส่วนใหญ่จึงถูกน้ำที่เย็นยะเยือกทำให้แข็งตาย

2 นาฬิกา 18 นาที ระบบไฟฟ้าบนเรือหยุดทำงาน ไม่นานต่อมา เรือก็ขาดออกเป็นสองท่อน (จุดที่ฉีกขาดอยู่ระหว่างปล่องไฟปล่องที่ 3 กับปล่องที่ 4) แต่พื้นของชั้นล่างสุดยังไม่ขาดออกจากกัน การหักครั้งนี้ ทำให้ส่วนหัวเรือจมดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ดึงส่วนท้ายเรือขึ้นมา ส่งผลให้ส่วนท้ายเรือยกเกือบตั้งฉากกับพื้นน้ำ และเริ่มจมลงในแนวดิ่ง

2 นาฬิกา 20 นาที เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผู้โดยสารจำนวนมากลอยคออยู่ด้วยเสื้อชูชีพ แต่น้ำทะเลในขณะนั้นเย็นจัด ผู้โดยสารและลูกเรือที่ขึ้นเรือสำรองไม่ทันถูกทิ้งให้ลอยคอบนน้ำที่เย็นยะเยือก ในขณะที่ทางเรือสำรองที่ลอยอยู่ด้านนอกก็พยายามจะเข้าไปช่วย แต่ไม่ได้ เพราะหากผลีผลามเข้าไป คนที่ลอยคออยู่ในน้ำที่เย็นเยือกจะแย่งกันขึ้นเรือสำรองเพื่อหลุดพ้นจากน้ำอันเย็นหนาว ซึ่งนั่นจะทำให้เรือสำรองถูกผู้ที่ลอยคออยู่รุมจนจมลงไปด้วย ดังนั้น จึงต้องรอให้ผู้ที่ลอยคอหนาวตายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเหลือผู้รอดน้อยพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้โดยที่เรือสำรองจะไม่ถูกรุมจนจม[ต้องการอ้างอิง]

3 นาฬิกาตรง เสียงหวีดร้องขอความช่วยเหลือเงียบลง รวมเป็นเวลา 40 นาที ที่ผู้ที่ลอยคออยู่ตายไปจนเกือบหมด เจ้าหน้าที่จึงส่งเรือสำรองมาช่วย แต่ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่ตายหมดแล้ว เรือสำรองที่เข้าไปช่วยเหลือนั้น นำผู้โดยสารที่ยังไม่เสียชีวิตขึ้นมาได้เพียง 14 คนในสภาพหนาวสั่นทรมาน และในจำนวนนี้ 3 คนเสียชีวิต รวมแล้วเหลือผู้ที่รอดจากการถูกนำมาจากน้ำเย็นเฉียบเพียง 11 คน

4 นาฬิกา 10 นาที อาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิตบนเรือสำรองทั้งหมด และพาสู่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1912 จากนั้น ได้มีการสรุปยอดและรายชื่อของผู้รอดและผู้เสียชีวิต ดังนี้

18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น. เรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงนครนิวยอร์ก มีผู้ที่มารอที่ท่าเรือถึงหนึ่งแสนคนเพื่อรอฟังข่าวภัยพิบัติทางเรือครั้งร้ายแรงนี้

จากนั้นทั้งฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างพยายามสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติภัยครั้งนี้ รวมทั้งสรุปยอดผู้เสียชีวิต ซึ่งทำให้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าในคืนเกิดเหตุ เรือแคลิฟอร์เนียนอยู่ใกล้ไททานิกยิ่งกว่าเรือคาร์เพเทียเสียอีก แต่เหตุที่เรือแคลิฟอร์เนียนไม่ได้มาช่วยเหลือเพราะพนักงานวิทยุโทรเลขหลับจึงไม่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ

ยังมีปริศนาอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับความกระจ่าง เป็นต้นว่า เรือลึกลับที่มีผู้รอดชีวิตเห็นขณะ ไททานิก กำลังอับปางนั้นคือเรือลำใดแน่ บ้างเชื่อว่าเป็นเรือแคลิฟอร์เนียน แต่บ้างคิดว่าอาจไม่ใช่เพราะหลักฐานเท่าที่สอบสวนได้ยังไม่เพียงพอที่จะชี้ชัดลงไปเช่นนั้น รวมทั้งเรื่องที่ว่าไททานิกอับปางในลักษณะใดกันแน่ จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่ว่าไททานิกหักเป็น 2 ท่อนนั้น ผู้เชี่ยวชาญสมัยนั้นรวมทั้งคนทั่วไปไม่ค่อยให้ความเชื่อถือนัก คิดว่าผู้เล่าเห็นเหตุการณ์ไม่ชัดและเล่าผิดพลาดมากกว่า ส่วนใหญ่คงเชื่อว่าเรือไททานิกจมลงไปทั้งลำ

ผลจากการที่พนักงานวิทยุโทรเลขของเรือแคลิฟอร์เนียนหลับ เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปช่วยไททานิกได้ทัน ทำให้ต่อมามีการเพิ่มเติมกฎเกี่ยวกับการเดินเรือขึ้นมา นั่นคือเรือทุกลำต้องมีพนักงานวิทยุอยู่ประจำหน้าที่ตลอดเวลา และในปี ค.ศ. 1913 หน่วยเรือลาดตระเวนสำรวจภูเขาน้ำแข็งก็ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสำรวจเส้นทางและแจ้งเตือนเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือสายแอตแลนติกเหนือ

ภัยพิบัติ ไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้น 710 คน แต่มีผู้เสียชีวิต 1514คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ

บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขารอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด[ต้องการอ้างอิง]

มอลลี บราวน์ (Molly Brown) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้นำโดยให้สั่งคนในเรือช่วยกันพายเรือมุ่งไปยังเรือคาร์เพเทีย และพยายามช่วยคนที่ตกน้ำ หลังจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ชีวิตของนางบราวน์ก็รุ่งเรืองขึ้น จากเดิมที่สังคมชั้นสูงในเมืองเดนเวอร์ไม่ยอมรับเธอ แต่จากวีรกรรมอันกล้าหาญทำให้เธอก้าวไปไกลถึงขนาดได้รับเสนอการชื่อให้เข้าชิงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาทีเดียว รวมทั้งยังมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ดี ในบั้นปลายของชีวิต เธอก็เปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อต้นปี ค.ศ. 1997 เอดิท ไฮส์แมน ผู้รอดชีวิตจากเรือไททานิกที่มีอายุมากที่สุดเสียชีวิตลง เธออยู่ในเหตุการณ์เมื่ออายุ 15 ปีและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 100 ปี และผู้ที่รอดชีวิตรายสุดท้ายจากเหตุการณ์เรือไททานิกอับปาง คือ มิลล์วินา ดีน (Millvina Dean) ชาวอังกฤษ ซึ่งเธอได้เสียชีวิตลงเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 รวมอายุได้ 97 ปี ซึ่งในขณะเกิดเหตุ เธอมีอายุเพียง 9 สัปดาห์เท่านั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301