ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไถหนัน

ไถหนัน (จีน: ?? หรือ ??; พินอิน: T?in?n) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (??? T?in?n Sh? ?; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (??? F?nghu?ng Ch?ng ?; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง

เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (???? R?l?nzh? Ch?ng ?; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (??? Zh?ng Ch?ngg?ng ?) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (?? D?ngn?ng ?; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (?? T?ib?i ?; Taipei) เมื่อปี 1887

คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" (?? T?ib?i ?) คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" (?? T?izh?ng ?) ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" (?? T?id?ng ?) ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก

ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (?? D?yu?n ?; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน

การขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอสั่วเจิ้นทำให้ได้ข้อสันนิษฐานว่า มีผู้คนอยู่อาศัยในบริเวณไถหนันมาแล้วอย่างน้อยสองหมื่นปีถึงสามหมื่นหนึ่งพันปี จนคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวซีลาหย่า (??? X?l?y? ?; Siraya) ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง จึงได้เถลิงอำนาจเหนือกลุ่มอื่น ๆ ในบริเวณนี้ ในท้องที่นี้ยังมีชนพื้นเมืองอีกหลายกลุ่ม คือ ชาวซินกั่ง (?? X?ng?ng ?; Sinckan) ซึ่งตั้งถิ่นฐานกันอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นใจเมือง ตลอดจนชาวเซียวหลง (?? Xi?ol?ng ?; Soelangh) ชาวหมาโต้ว (?? M?d?u ?; Mattauw) และชาวมู่เจียลิว (??? M?ji?li? ?; Baccloangh) ซึ่งรวมกลุ่มกันอยู่บริเวณชานเมือง

ครั้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 พ่อค้าและชาวประมงจากจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มตั้งที่อยู่ที่ทำกินริมฝั่งตะวันตกของเกาะไต้หวัน รวมถึงบริเวณสันดอนคั่นหาดซินกั่ง และชาวจีนเหล่านั้นเรียกสันดอนดังกล่าวว่า "ต้า-ยฺเหวียน" มาจากภาษาซีลาหย่าแปลว่า ต่างชาติ ต่อมาชื่อนี้จึงใช้เรียกเกาะไต้หวันทั้งเกาะ ภายหลังมีผู้ถือว่า คำว่า "ไต้หวัน" มาจาก "ต้า-ยฺเหวียน" นี้เอง นอกจากชาวจีนดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งนิคมการค้าอยู่ด้านเหนือสันดอนต้า-ยฺเหวียน ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นทั้งหลายเหล่านั้นพากันค้าขายกับชนพื้นเมือง โดยเฉพาะเกลือ เขากวาง และเนื้อกวางแห้ง ชนพื้นเมืองจึงค่อย ๆ ได้รับอิทธิพลในความเป็นอยู่มาจากชนชาติทั้งสอง เช่น รับคำจีนเข้ามาในภาษาพวกตน และใช้มีดหมอญี่ปุ่นในพิธีกรรมของกลุ่ม เมื่อชนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาเรื่อย ๆ ชนพื้นเมืองจึงเคลื่อนเข้ามาในพื้นที่บกมากขึ้น ครั้นเมื่อฝรั่งเข้ามาก็ปรากฏว่า วัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่นกลืนกินเกาะซึ่งเคยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนนี้ไปทั้งสิ้นแล้ว

ฝรั่งพวกแรก ๆ ที่เข้ามา คือ ชาววิลันดาซึ่งเดิมประสงค์จะยึดครองเกาะมาเก๊า (?? M?ji?o ?; Macao) และเกาะเผิงหู (?? P?ngh? ?) แต่ไม่สำเร็จ ในเดือนกรกฎาคม 1622 คอร์เนลิส เรเยิร์ซ (Cornelis Reyersz) พ่อค้าชาววิลันดาจากบริษัทอินเดียตะวันออก จึงล่องเรือมายังเกาะไต้หวันเพื่อหาชัยภูมิสำหรับตั้งนิคมการค้า จนปี 1624 เขาได้ตั้งป้อมเล็ก ๆ บนสันดอนต้า-ยฺเหวียนดังกล่าว เรียกชื่อว่า "ป้อมออเรนจ์" (Orange) เพื่อใช้เป็นที่มั่นต่อต้านคู่แข่งชาวสเปนและเป็นแหล่งค้าขายกับชาวจีนและชาวปัตตาเวียในอินโดนีเซีย ภายหลัง ป้อมดังกล่าวได้ขยายไปมากและเปลี่ยนชื่อเป็น "ป้อมวิลันดา" ป้อมนี้จึงกลายเป็นศูนย๋กลางการค้าของชาววิลันดากับชาวจีน ญี่ปุ่น และฝรั่งชาติอื่น

เมื่อวิลันดาสถาปนาการปกครองขึ้นในนิคมการค้านั้นแล้ว ปีเตอร์ นุยส์ (Pieter Nuyts) ได้เป็นผู้ว่าการตั้งแต่ปี 1627 ถึง 1629 เวลานั้น เกิดความบาดหมางระหว่างพ่อค้าวิลันดากับพ่อค้าญี่ปุ่น นุยส์จึงถูกฮะมะดะ ยะเฮ (Hamada Yahee) พ่อค้าญี่ปุ่น จับเป็นตัวประกันไว้คราวหนึ่ง ครั้นช่วงปี 1635 ถึง 1636 จึงมีกิจกรรมทางทูตเพื่อหย่าศึกบนเกาะ และปราบปรามชนพื้นเมืองทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ในปี 1642 กองทัพวิลันดาจึงเข้ายึดป้อมสเปนที่เมืองจีหลง (?? J?l?ng ?; Keelung) ไว้ได้ เป็นเหตุให้ชาววิลันดามีอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือเกาะไต้หวันทุกหย่อมหญ้า และใช้ป้อมวิลันดาเป็นกองบัญชาการ

แต่การที่ชาววิลันดาเข้าปกครองชนอื่น ๆ บนเกาะไต้หวันนั้นเป็นไปอย่างรีดนาทาเร้น ประกอบกับที่ชาววิลันดาร่วมปล้นแผ่นดินจีนในระหว่างราชวงศ์หมิงล่มสลาย ชาวจีนซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะไต้หวันจึงจงเกลียดจงชังวิลันดา นำไปสู่การนองเลือดในเหตุการณ์กบฏกัว ไหฺวอี (??? Gu? Hu?iy? ?; Kuo Huai-i) เมื่อปี 1652 ครั้งนั้น ชาววิลันดามีชัยเหนือชาวจีนเพราะได้ความช่วยเหลือจากชาวซินกั่งชนพื้นเมือง การปกครองก็ดำเนินต่อไปอย่างสงบราบคาบ การค้าขายก็เป็นล่ำเป็นสันมากขึ้น ครัวเรือนบริเวณป้อมวิลันดาจึงขยายตัวด้วย ฉะนั้น ในปี 1653 ชาววิลันดาจึงตั้งป้อมใหม่ ณ ที่อยู่ของชาวซินกั่ง เรียก "ป้อมโปรวินเทีย" (Fort Provintia) เพื่อเป็นนิคมเกษตรกรรม และเชื้อเชิญให้ชาวไร่ชาวสวนจากจีนแผ่นดินใหญ่ย้ายมาตั้งรกรากที่นั้นเพื่อปลูกข้าวและอ้อย กิจกรรมของชาววิลันดาในภาคใต้ของเกาะไต้หวันนี้ประสบความสำเร็จมาก เป็นเหตุให้ชาววิลันดาสามารถยึดครองอินโดนีเซียได้ในคริสต์ทศวรรษที่ 1650 นั้นเอง

เมื่อราชวงศ์หมิงล่มสลายนั้น เจิ้ง เฉิงกง ขุนศึกจักรวรรดิหมิง ได้รวมกำลังหนีมายังเกาะไต้หวัน และเข้าโจมตีชาววิลันดาในปี 1661 หลังจากปิดล้อมป้อมวิลันดาไว้ถึงเก้าเดือน เฟรเดริก โกเย็ต (Frederik Coyett) ชาววิลันดาซึ่งเป็นผู้ว่าการไต้หวันอยู่ในขณะนั้น ก็ยอมแพ้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1662 เป็นอันสิ้นสุดการปกครองของวิลันดาซึ่งดำเนินมายาวนานสามสิบแปดปี จากนั้น เจิ้ง เฉิงกง ได้ใช้เกาะไต้หวันเป็นฐานที่มั่นสำหรับฟื้นฟูจักรวรรดิหมิงต่อไป เขาสถาปนาอาณาจักรขึ้นชื่อว่า "ตงตู" แปลว่า "กรุงบูรพา" (?? D?ngd? ?; East Capital) โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ป้อมโปรวินเทีย แล้วตั้งป้อมวิลันดาเป็นตำบลชื่อ "อันผิง" (?? ?np?ng ?) ซึ่งก็คืออำเภออันผิงในปัจจุบัน ครั้นแล้ว เขาก็ตั้งบ้านตั้งเมืองโดยรอบไว้เลี้ยงกองทัพ

เมื่อเจิ้ง เฉิงกง ตายในปี 1662 เจิ้ง จิง (?? Zh?ng J?ng ?) บุตรของเขา สืบอำนาจต่อ และเปลี่ยนชื่ออาณาจักรเป็น "ตงหนิง" ในสมัยปกครองของเจิ้ง จิงนั้น เฉิง หย่งหฺวา (??? Ch?ng Y?nghu? ?) อัครมหาเสนาบดี ได้จัดระเบียบการปกครองแบบจีนขึ้นบนเกาะไต้หวัน และก่อสร้างปูชนียสถานแห่งแรกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "วัดขงจื่อไต้หวัน" (???? T?iw?n K?ngmi?o ?; Taiwan Confucian Temple) กับทั้งยังคิดค้นวิธีผลิตเกลือในบริเวณชายฝั่ง อนึ่ง ช่วงนั้นยังมีการชวนเชิญให้ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นค้ากับชาวพื้นเมือง ชาวจีน และชาวเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ที่ตำบลอันผิง เกาะไต้หวันจึงสามารถดำรงความเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนี้ไว้ได้ต่อไป

เมื่อเจิ้ง จิง ตายในปี 1681 มีการชิงอำนาจกันสืบ ๆ มา ราชวงศ์ชิงจึงอาศัยความวุ่นวายนี้ส่งกำลังเข้ายึดครองเกาะไต้หวัน ชือ หลัง (?? Sh? L?ng ?) ผู้บัญชาการราชนาวีชิง นำทัพเรือเข้าหักเอาเกาะไต้หวัน และเอาชัยเหนือทัพเรือตงหนิงบนเกาะเผิงหูได้ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1683 สองวันถัดมา กองทัพชิงจึงขึ้นบกเพื่อปราบปรามการแข็งข้อที่ยังมีอยู่อีกประปราย ในที่สุด จักรวรรดิชิงก็สามารถผนวกอาณาจักรตงหนิงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนได้ในปี 1684 โดยรวมกับมณฑลฝูเจี้ยน (??? F?ji?n Sh?ng ?; Fujian Province) เป็นอันสิ้นสุดการปกครองของตระกูลเจิ้งซึ่งมีมาราวยี่สิบปี จากนั้น จักรวรรดิชิงได้ตั้งเมืองไต้หวัน (??? T?iw?n F? ?; Taiwan Prefecture) ขึ้น ณ บริเวณซึ่งเป็นไถหนันปัจจุบัน

ครั้นปี 1721 ชนชั้นรากหญ้าชาวจีนและชาวพื้นเมืองบนเกาะไต้หวันลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของราชวงศ์ชิงซึ่งดำเนินไปอย่างกดขี่ข่มเหง จู อีกุ้ย (??? Zh? Y?gu? ?; Tsu It-Kui) หัวหน้ากบฏ นำกำลังเข้ายึดเมืองไต้หวันได้โดยปราศจากการปะทะต่อสู้ แต่ภายหลังพวกกบฏแตกคอกันเอง ราชวงศ์ชิงจึงส่งกองทัพจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยได้โดยสะดวก จู อีกุ้ย ถูกจับและประหารชีวิต ราชวงศ์ชิงตรากฎหมายห้ามสร้างกำแพงเมืองไต้หวัน แต่ก็ปลูกป่าไผ่รายรอบเมืองไว้เป็นแนวกันภัยแทน อย่างไรก็ดี มีกบฏเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง ราชวงศ์ชิงจึงสร้างกำแพงเมืองไต้หวันขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1780

อุทกภัยในปี 1823 ทำให้โคลนเลนเจิ่งนองทั่วฝั่งแม่น้ำในเมืองไต้หวัน แต่นี้ก็ทำให้เกิดท้องดินกว้างขวางเหมาะแก่การเพาะปลูก ต่อมา มีการขุดลอกทะเลเพื่อสร้างระบบแม่น้ำเรียกว่า "คลองห้า" (??? W?ti?og?ng ?) สำหรับอำนวยความสะดวกแก่การสัญจรทางน้ำและกันมิให้เรือขนาดใหญ่เข้ามาได้

หลังจากที่เกาะไต้หวันงดติดต่อกับฝรั่งมายาวนานถึงหนึ่งร้อยเจ็ดสิบสี่ปี ราชวงศ์ชิงได้เปิดท่าเรือที่ตำบลอันผิงตามสนธิสัญญาเทียนจิน (???? Ti?nj?n Ti?oyu? ?; Treaty of Tientsin) เมื่อปี 1858 ครั้นปี 1864 ก็ตั้งด่านศุลกากรที่ท่าเรือดังกล่าว เหล่าพ่อค้าฝรั่งจึงจับกลุ่มกันอยู่ในท้องที่ที่เดิมเป็นป้อมวิลันดา

ในเดือนธันวาคม 1871 ชาวไผวัน (?? P?iw?n ?) ชนพื้นเมืองทางภาคใต้ของเกาะไต้หวัน สงสัยว่า ชาวญี่ปุ่นซึ่งเรือแตกเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยนั้นคิดไม่ซื่อ และจับตัดศีรษะเสียห้าสิบสี่คน จักรวรรดิญี่ปุ่นจึงส่งกองทัพเข้ารุกรานเกาะไต้หวันในปี 1874 รัฐบาลชิงส่งเฉิน เป่าเจิน (??? Ch?n B?ozh?n ?; Shen Pao-chen) ข้าหลวงใหญ่ เข้ามาจัดการป้องกันบนเกาะ เฉินปรับปรุงระบบป้องกันหลายประการที่เมืองไต้หวัน โดยตั้งเครือข่ายโทรเลขระหว่างเมืองไต้หวันกับเซี่ยเหมิน (?? Xi?m?n ?; Amoy) และให้ช่างฝรั่งเศสสร้างป้อมเรียก "หอทองคู่ฟ้า" (???? Y?z?i J?nch?ng ?; Eternal Golden Castle) ขึ้นที่ตำบลอันผิง มีการรื้ออิฐจากป้อมวิลันดามาใช้สร้างบางป้อมดังกล่าวบางส่วนด้วย

พัฒนาการตลอดสองร้อยปีที่ผ่านมาทำให้เมืองไต้หวันกลายเป็นชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะไต้หวัน วิลเลียม แคมป์เบล (William Campbell) อนุศาสนาจารย์ชาวสกอต พรรณนาสภาพเมืองในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1870 ไว้ว่า "เกี่ยวกับตัวเมืองไต้หวันนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า กำแพงอิฐรอบเมืองหนาราวสิบห้าฟุต สูงยี่สิบห้าฟุต และมีปริมณฑลราวห้าไมล์ มีการสร้างหอตรวจการณ์สูงตระหง่านบนประตูเมืองทั้งสี่ ส่วนพื้นที่กว้างขวางภายในเมืองนั้นใช้ประดิษฐานวัดหลวง และจวนหรือสำนักราชการบ้านเมืองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร แต่จำเป็นต้องดำเนินการตามแผนปรับปรุงเมืองไต้หวันอีกมาก แม้เดินทอดน่องไปเรื่อย ๆ ก็สุขใจได้ ส่วนห้างร้านทั้งหลายก็ช่างตกแต่งงามตายิ่งนัก ทว่า กฎระเบียบที่วางไว้ทำให้ถนนแคบเหลือเกิน ทั้งยังคดเคี้ยว ขรุขระ และเหม็นสาบเหม็นเน่าคละคลุ้ง"

ครั้นปี 1885 รัฐบาลชิงได้กำหนดให้เกาะไต้หวันเป็นมณฑลใหม่ต่างหากจากมณฑลฝูเจี้ยน เรียกว่า "มณฑลไต้หวัน" (??? T?iw?n Sh?ng ?; Taiwan Province) เพื่อให้พัฒนาได้เร็วขึ้น แล้วย้ายเมืองเอกจากเมืองไต้หวันไปยังไถจง (?? T?izh?ng ?; Taichung) ต่อมาในปี 1887 ก็เปลี่ยนเมืองเอกเป็นไทเป

ในปี 1895 รัฐบาลชิงรบกับรัฐบาลญี่ปุ่น นำไปสู่สงครามจีนญี่ปุ่นครั้งแรก และจีนแพ้ศึก รัฐบาลชิงจึงทำสนธิสัญญาหม่ากวัน (???? M?gu?n Ti?oyu? ?) ยกเกาะไต้หวันและเกาะเผิงหูให้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น ข้าราชการไต้หวันจึงพร้อมใจกันประกาศเกาะไต้หวันเป็นรัฐเอกราชเรียกว่า "สาธารณรัฐไต้หวัน" (????? T?iw?n M?nzh? Gu? ?; Republic of Formosa) เพื่อไม่ยอมอยู่ในอำนาจญี่ปุ่น โดยตั้งเมืองหลวงในท้องที่ซึ่งปัจจุบันเป็นไถหนัน แต่เมื่อกองทัพบกญี่ปุ่นขึ้นเกาะในเดือนตุลาคม 1895 ข้าราชการดังกล่าวทั้งหลายก็หนีหายไปสิ้น ทิ้งให้เกาะไร้ผู้ปกครอง บรรดาผู้ดีท้องถิ่นและพ่อค้าฝรั่งในไถหนันจึงเลือกทอมัส บาร์เคลย์ (Thomas Barclay) อนุศาสนาจารย์ชาวอังกฤษ ไปเจรจากับกองทัพญี่ปุ่น ได้ความว่า ไถหนันยอมจำนนโดยไม่ขัดขืน

ดังกล่าวมาแล้วว่า อาณาบริเวณซึ่งเป็นไถหนันในปัจจุบันนั้นเดิมมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ไต้หวัน" ก่อนที่ชื่อนี้จะกลายเป็นคำเรียกดินแดนทั้งเกาะ ส่วนชื่อ "ไถหนัน" นั้นใช้เรียกท้องที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการแต่เมื่อใดไม่ปรากฏชัด ทว่า เมื่อญี่ปุ่นได้ครองไต้หวัน ญี่ปุ่นใช้ไถหนันเป็นเมืองหลวงของเกาะไต้หวัน และเปลี่ยนชื่อเมืองนี้ในภาษาตนเองหลายครั้ง ในปี 1895 ใช้ว่า "ไทนังเก็ง" (Tainanken) ในปี 1901 ใช้ "ไทนันโช" (Tainanch?) และในปี 1920 ใช้ "ไทนันชู" (Tainansh?) ช่วงนั้น ไถหนันประกอบด้วยท้องที่ที่ปัจจุบันเป็นเทศมณฑลเจียอี้ (??? Ji?y? Xi?n ?; Chiayi County) และเทศมณฑลหยุนหลิน (??? Y?nl?n Xi?n ?; Yunlin County) นอกเหนือไปจากพื้นที่อื่น ๆ

อย่างไรก็ดี แม้ชนชั้นสูงจะยอมจำนน แต่ชนชั้นล่างไม่เห็นด้วยและสะสมความไม่พอใจเรื่อยมา ภายหลังก็ปะทุเป็นการลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 1915 โดยเริ่มที่ตำบลเจี้ยวปาเหนียน (??? Jia?b?ni?n ?; Tapani) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอยู่จิ่ง และมียฺหวี ชิงฟัง (??? Y? Q?ngf?ng ?) เป็นหัวหน้า การลุกฮือดังกล่าวขยายวงอย่างรวดเร็ว ในไม่ช้าก็มีผู้ร่วมก่อการทั่วเกาะ ทั้งได้รับความสนับสนุนจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะและจากชาวพื้นเมืองของเกาะเอง จักรวรรดิญี่ปุ่นปราบปรามกบฏอย่างรุนแรง ผู้คนจำนวนมากถูกฆ่า และสถานที่หลายแห่งถูกทำลาย ยฺหวี ชิงฟัง ถูกจับได้ในวันที่ 22 สิงหาคม 1915 และถูกพิพากษาประหารชีวิตพร้อมกับชาวไถหนันอีกมากกว่าแปดร้อยคน เมื่อประหารไปได้แล้วกว่าหนึ่งร้อยคน พระเจ้าไทโช (?? Taish? ?) แห่งญี่ปุ่นก็อภัยโทษคนที่เหลือ เหตุการณ์นี้ทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายที่มีต่อไต้หวันจากการบีบให้จำนนเป็นการผนวกเข้ากับญี่ปุ่นและพัฒนาให้ทันสมัยไปพร้อมกัน รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานหลายประการขึ้นในเมืองไถหนัน เช่น การศึกษา การศาล การบริหารราชการแผ่นดิน การคมนาคม การขนส่งทางราง การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ และการชลประทาน นอกจากนี้ ยังวางผังเมืองแบบสมัยใหม่ กับทั้งรื้อกำแพงเมืองเก่าทิ้ง และสร้างถนนอันกว้างขวางขึ้นแทน

ต่อมาในปี 1912 ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบสาธารณรัฐ พรรคชาตินิยม (??? Gu?m?nd?ng ?; Kuomintang) ได้เถลิงอำนาจในประเทศจีน และสามารถยึดเกาะไต้หวันคืนไปในปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เกาะไต้หวันจึงกลับไปเป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน และไถหนันมีสถานะเป็นเทศมณฑลหนึ่งของมณฑลไต้หวัน

ครั้นปี 1947 เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในเทศมณฑลไถหนัน คือ กบฏ 228 จนวันที่ 11 มีนาคม 1947 ทัง เต๋อจัง (??? T?ng D?zh?ng ?; Thng Tek-chiong) นักนิติศาสตร์ลูกครึ่งญี่ปุ่นซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นสมาชิกกบฏ และลงรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองไถหนัน ถูกจับและตั้งข้อหาแบ่งแยกดินแดน วันรุ่งขึ้น เขาถูกทรมานและประหารชีวิตต่อหน้าธารกำนัลในศาลากลางไถหนัน แต่เมื่อเขาตายแล้ว ศาลก็พิพากษาว่า เขาไม่มีความผิด ศาลากลางนั้นจึงจัดตั้งเป็น "อนุสรณ์สถานทัง เต๋อจัง" (??????? T?ng D?zh?ng J?ni?n G?ngyu?n ?; Tang Dezhang Memorial Park) ในภายหลัง

ในปี 1949 เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศจีน ส่งผลให้พรรคสังคมนิยม (??? G?ngch?nd?ng ?; Communist Party) ได้เป็นใหญ่ พรรคสังคมนิยมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบสังคมนิยม และเรียกประเทศเสียใหม่ว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน และจัดตั้งการปกครองบนพื้นที่ไต้หวันแยกเป็นประเทศต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกว่า "สาธารณรัฐจีน" แต่พรรคสังคมนิยมยังคงถือว่า พื้นที่ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับทั้งสาธารณรัฐจีนเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนปัจจุบัน

เมื่อจัดตั้งสาธารณรัฐจีนแล้ว รัฐบาลที่สถาปนาขึ้นได้จัดระเบียบการปกครองบนเกาะไต้หวันเสียใหม่ เทศมณฑลไถหนันเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและคณะเทศมนตรีจริง ๆ เป็นครั้งแรกในปี 1950 ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 มีการปรับปรุงท่าเกาสยฺง ทำให้เมืองเกาสฺยง (?? G?oxi?ng ?; Kaohsiung) เติบโตขึ้นเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจทางภาคใต้แทนไถหนัน แต่ไถหนันยังคงได้รับความสำคัญในลำดับต้น ๆ เพราะโครงการพัฒนาระดับชาติหลายโครงการเริ่มที่ไถหนันก่อน ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับทำให้เทศมณฑลไถหนันได้รับการยกระดับขึ้นเป็นเทศบาลพิเศษ เขตปกครองชั้นสูงสุด มาจนปัจจุบัน

ปัจจุบัน ไถหนันเป็นเทศบาลพิเศษซึ่งเป็นเขตปกครองชั้นสูงสุดตามกฎหมาย และใช้การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายบริหารมีนายกเทศมนตรี (?? Sh?zh?ng ?; Mayor) คนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งเป็นผู้นำ ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติมีสภานคร (??? Sh?y?hu? ?; City Council) ดำเนินการ

เทศบาลพิเศษแบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอ (? q? ?; district) และอำเภอแบ่งเป็นหมู่บ้าน (? l? ?; village) กับละแวก (? l?n ?; neighborhood) อำเภอในไถหนันไม่มีอำนาจปกครองตนเอง ขณะที่หมู่บ้านและละแวกปกครองตนเอง

เมืองเอกของไถหนัน คือ อำเภออันผิง กับอำเภอซิงอิ๋ง อำเภอทั้งสองเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการเทศมณฑลซึ่งบัดนี้ใช้เป็นศูนย์ราชการ (administration center) เพื่อบริหารงานพัฒนาทั่วไป เช่น การศึกษา และการผังเมือง ส่วนในอำเภอที่เหลือมีที่ว่าการอำเภอ (district office) เพื่อให้พลเมืองสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้

อนึ่ง ถือกันว่า ไถหนันเป็นฐานอำนาจของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (????? M?nzh? J?nb? D?ng ?; Democratic Progressive Party) โดยเฉพาะในการเลือกตั้งระดับชาติ

ไถหนันถือเป็นเมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของไต้หวัน เพราะเป็นแหล่งโบราณสถาน ศาสนสถาน และภูมิปัญญาซึ่งเก่าแก่ที่สุดบนเกาะไต้หวัน นอกจากนี้ ไถหนันยังรักษาของกินอันเป็นเอกลักษณ์เอาไว้มาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน

พลเมืองไถหนันจำนวนมากผูกพันใกล้ชิดกับวัดและเทพยดาจีน เช่น บิดามารดามักพาบุตรไปไหว้นางฟ้าเจ็ดดาว (??? Q?ni?ngm? ?) ซึ่งเป็นเทวีพิทักษ์เด็ก และตามประเพณีแล้ว ชาวจีนถือว่า เด็กเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุได้สิบหกปี ชาวไถหนันซึ่งได้รับอิทธิพลจากคตินี้ก็จัดพิธีกรรมใหญ่โตให้แก่บุคคลทั้งหลายที่อายุสิบหกปี พิธีกรรมดังกล่าวมีขึ้นในวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปีตามปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า "วันกำเนิดนางฟ้าเจ็ดดาว" (?????? Q?ni?ngm? De Sh?ngr? ?) อนึ่ง ในอดีต ครอบครัวชาวไถหนันที่บุตรหลานทำงาน ณ ท่าเรือจะอาศัยวันดังกล่าวเรียกให้เริ่มเพิ่มค่าจ้างเด็กเสมอค่าจ้างผู้ใหญ่ด้วย

นักเรียนนักศึกษาเมื่อจะสอบก็มักไปขอพรจากราชาเหวินชัง (???? W?nch?ng D?j?n ?) เทพแห่งการเล่าเรียน วัดเหวินชังซึ่งนิยมไปกันนั้นตั้งอยู่ ณ บริเวณซึ่งเดิมเป็นป้อมโปรวินเทีย นักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังมักพากันไปไหว้เหวินชังในเดือนมิถุนายนอันเป็นเดือนก่อนสอบ และผู้ต้องการโชคด้านความรักหรือชีวิตสมรสมักไหว้อาวุโสใต้จันทร์ (???? Yu?xi? L?or?n ?) ซึ่งเป็นกามเทพจีน ชาวไถหนันยังไหว้เจ้าเข้าวัดด้วยสาเหตุอีกหลายประการ เป็นต้นว่า ไปวิงวอนขอโชคลาภ ไปทำบุญวันเกิด หรือไปทำนายโชคชะตาราศี

ส่วนพิธีมงคลสมรสในไถหนันนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อเพราะขั้นตอนพิถีพิถัน ขบวนแห่อึงมี่ และหน้าที่ของบ่าวสาวในการเตรียมข้าวของสิบสองประการซึ่งสื่อความหมายต่าง ๆ ให้เป็นของหมั้นแก่กัน ผู้คนเชื่อว่า ความสลับซับซ้อนนี้เป็นเครื่องสำแดงความเป็นอารยชาติ

ชาวอำเภออันผิงยังมักติดรูปสิงห์คาบดาบ (?? ji?n sh? ?) ไว้หน้าบ้านเพื่อไล่ผี ประเพณีนี้มีที่มาจากสมัยอาณาจักรตงหนิง เมื่อไพร่พลรบทัพจับศึกกลับมา มักนำโล่รูปหัวสิงห์แขวนไว้หน้าประตูบ้าน แล้วสอดดาบไว้ในปากสิงห์ ชาวบ้านทั่วไปเห็นก็จดจำมาทำบ้างด้วยเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ส่วนที่นิยมปฏิบัติกันในท้องถิ่นนี้เพราะครั้งนั้นอันผิงเป็นฐานทัพเรือหลัก

อาหารไต้หวันชื่อดังหลายตำรับกำเนิดที่ไถหนัน และเนื่องจากไถหนันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลมาแต่โบราณกาล อาหารไถหนันจึงมักมีรสหวานกว่าอาหารในภูมิภาคอื่นของประเทศ ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ

อาหารที่โด่งดังในไถหนันหลายรายการทำจากปลานวลจันทร์ทะเล หรือที่ชาวไถหนันเรียก "ปลาราชสกุล" (??? Gu?x?ng Y? ?; Koxing's Fish) เพราะเชื่อว่า ชื่อปลานี้อย่างเป็นทางการในภาษาจีน คือ "ชือมู่-ยฺหวี" (??? Sh?m? Y? ?) อันแปลว่า "ปลาตาเล็น" นั้น เจิ้ง เฉิงกง หรือบรรดาศักดิ์ว่า "เจ้าราชสกุล" (??? Gu?x?ngye ?; Koxinga) ตั้งให้

อนึ่ง ภัตตาคารร้านรวงจำนวนมากในไถหนันยังมีความเป็นมาย้อนไปถึงสมัยที่ไถหนันเป็นเมืองขึ้นราชวงศ์ชิงและเมืองขึ้นญี่ปุ่นด้วย

ไถหนันขึ้นชื่อเรื่องมีวัดมาก และบางแห่งเป็นชนิดซึ่งไม่ปรากฏที่ใดในเกาะไต้หวันอีก ศาสนสถานเลื่องชื่อนั้นเรียกรวมกันว่า "เจ็ดวัดแปดอาราม" (???? q? s? b? mi?o ?; seven temples and eight shrines) วัดเจ็ดแห่งนั้นเป็นพุทธสถาน ส่วนอารามแปดแห่งเป็นศาสนสถานเต๋า

ไถหนันมีพิพิธภัณฑ์และอุทยานมากมายเพราะยังดำรงรักษาวัฒนธรรมหลายแขนงไว้เป็นอย่างดี ในบรรดาสถานที่เหล่านี้ ที่โด่งดังได้แก่

ไถหนันเป็นที่อยู่ของสิงห์ยูนิ-เพรสซิเดนต์เซเว่นอีเลฟเว่น (??7-Eleven? T?ngy? 7-Eleven sh? ?; Uni-President 7-Eleven Lions) ทีมบาสเกตบอลมืออาชีพซึ่งมักแข่งขันที่สนามเบสบอลเทศบาลไถหนัน นอกจากนี้ ไถหนันยังเป็นบ้านเกิดของนักเบสบอลผู้มีชื่อเสียงหลายคน เช่น หวัง เจี้ยนหมิน (??? W?ng Ji?nm?n ?; Wang Chien-Ming) กัว หงจื้อ (??? Gu? H?ngzh? ?; Kuo Hong-Chih) กัว ไท่-ยฺเหวียน (??? Gu? T?iyu?n ?; Kuo Tai-yuan) และหลิน เอิน-ยฺหวี่ (??? L?n ?ny? ?; Lin En-yu)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301