ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไต้หวัน

ประเทศไต้หวันในภาษาไต้หวัน หรือ ไถวาน ในชื่อท้องถิ่น (จีนตัวย่อ: ??; จีนตัวเต็ม: ??/??; พินอิน: T?iw?n; ภาษาไต้หวัน: T?i-o?n) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐจีน (????; Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (??), ไต้หวัน, เผิงหู (??), หมาจู่ (??), และอูชิว (W?qi?) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ทั้งหมดดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (????)

ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้

เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (???) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (??) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (????) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (???) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ (???) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน ยังคงใช้ชื่อสาธารณรัฐจีนแล้วเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐบาลจีนโดยชอบธรรมจนถึงปีค.ศ.1971 ซึ่งหลังจากนี้ถูกแทนที่โดยสาธาณรัฐประชาชนจีนที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่โดยพฤตินัย อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไม่ยอมรับว่าประเทศไต้หวันเป็นรัฐเอกราช เพราะฝ่ายไต้หวันยังคงอ้างตนเป็นรัฐบาลจีนโดยชอบธรรมมาตลอดจนถึงบัดนี้

ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วย

ประเทศสาธารณรัฐจีน มีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะ ทำให้ภูมิประเทศติดกับทะเล ไม่ติดกับประเทศใดเลย ห่างจากเกาะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้เป็นประเทศฟิลิปปินส์และทะเลจีนใต้ ส่วนทิศตะวันออกเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก

บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าขึ้นที่หมู่เกาะเผิงหูในปี พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) แต่ในภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้แพ้สงครามกับจีนและถูกขับไล่ออกไปโดยราชวงศ์หมิง

ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) บริษัทได้สร้างฐานที่มั่นซึ่งมีชื่อว่าป้อมซีแลนเดียบนเกาะชายฝั่งเถา-ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเขตอานปืง เมืองไถหนัน และบริษัทได้เริ่มนำเข้าแรงงานมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและเผิงหู

ในปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) ชาวสเปนเดินทางมาถึงและได้เข้ายึดครองบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน ที่ท่าเรือของนครจีหลงและบริเวณชายฝั่งของนครนิวไทเปในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานในการขยายการค้า กลายเป็นยุคอาณานิคมของสเปนอยู่ 16 ปีจนกระทั่ง พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เมื่อป้อมปราการสุดท้ายของสเปนถูกกองทัพเนเธอร์แลนด์เข้าตีได้สำเร็จ

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) -การจลาจลอู่ฮั่นในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป

ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่เหมา เจ๋อตงมีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:???) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะประเทศตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจี่ยง จิ้งกว๋อ (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย

ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยสนับสนุนของเจี่ยง จิ้งกว๋อ (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน นาย รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่(รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป

ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐอเมริกาออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ

ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที

ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน

แต่ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน มาเยือนจีนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) นักวิจารณ์การเมืองเริ่มประเมินกันว่าอนาคตทางการเมืองของไต้หวันเริ่มไม่มั่นคง

การปกครองสาธารณรัฐจีนนั้นสถาปนาขึ้นตามรัฐธรรมนูญและลัทธิไตรราษฎร์ซึ่งระบุว่า สาธารณรัฐจีน "เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน ประชาชนปกครอง และเป็นไปเพื่อประชาชน"

การปกครองนั้นแบ่งออกเป็น 5 ฝ่าย เรียกว่า "สภา" (yuan) คือ สภาบริหาร (Executive Yuan) ได้แก่ คณะรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารทั้งสิ้น, สภานิติบัญญติ (Legislative Yuan), สภาตุลาการ (Judicial Yuan), สภาควบคุม (Control Yuan) เป็นฝ่ายตรวจสอบ, และสภาสอบคัดเลือก (Examination Yuan) มีหน้าที่จัดสอบคัดเลือกข้าราชการ

ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นจอมทัพไต้หวัน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ มาและไปพร้อมกับรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ หม่า อิงจิ่ว

ประธานาธิบดีมีอำนาจเหนือสภาบริหาร เพราะแต่งตั้งสมาชิกสภาบริหาร ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานสภาบริหารโดยตำแหน่ง ส่วนสมาชิกสภาบริหารนั้นรับผิดชอบนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน

สภานิติบัญญัตินั้นใช้ระบบสภาเดียว มีสมาชิก 113 คน 73 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยระบบแบ่งเขต 34 คนมาจากการเลือกตั้งของพรรคการเมืองตามระบบสัดส่วน ที่เหลือ 6 คนนั้นมาจากการเลือกตั้งตามเขตชนพื้นเมือง 23 เขต สมาชิกสภานิติบัญญัติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่ก่อนยังมีสมัชชาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นคณะผู้เลือกตั้งและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจนิติบัญญัติบางประการด้วย แต่ภายหลังสมัชชานี้ยุบเลิกไปในปี 2005 อำนาจหน้าที่ของสมัชชาก็โอนต่อไปยังสภานิติบัญญัติและผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งแสดงออกด้วยประชามติแทน

นายกรัฐมนตรีมาจากการสรรหาของประธานาธิบดี โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ ขณะเดียวกัน สภานิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายโดยไม่ต้องคำนึงประธานาธิบดี ส่วนประธานาธิบดีก็ดี นายกรัฐมนตรีก็ดี ไม่มีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉะนั้น จึงมีน้อยครั้งที่ประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติจะเจรจากันเกี่ยวกับร่างกฎหมายในยามที่เห็นแย้งกัน

ตามประวัติศาสตร์แล้ว สาธารณรัฐจีนมีผู้ปกครองจากพรรคการเมืองที่เข้มแข็งอยู่พรรคเดียวมาตลอด ทั้งรัฐธรรมนูญก็มิได้จำกัดอำนาจของประธานาธิบดีได้โดยแจ้งชัด เป็นเหตุให้อำนาจบริหารตกอยู่ในเงื้อมมือของประธานาธิบดียิ่งกว่านายกรัฐมนตรี

สำหรับสภาที่เหลือ คือ สภาควบคุม และสภาสอบคัดเลือกนั้น สภาควบคุมมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสภาอื่น ๆ บางทีทำหน้าที่เป็นองค์คณะไต่สวนคดีปกครองด้วย อาจเทียบได้กับศาลตรวจสอบ (Court of Auditors) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานเพื่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล (Government Accountability Office) ในสหรัฐอเมริกา

ส่วนสภาสอบคัดเลือกรับผิดชอบการตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการ วิธีสอบคัดเลือกยังคงเน้นตามการสอบขุนนางของจีนโบราณ สภานี้อาจเทียบได้กับสำนักงานสรรหาบุคลาการยุโรป (European Personnel Selection Office) ของสหภาพยุโรป หรือสำนักงานบริหารจัดการบุคลากร (Office of Personnel Management) ของสหรัฐอเมริกา

สำหรับฝ่ายตุลาการนั้น สภาตุลาการเป็นองค์กรสูงสุด มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และกฎ กับทั้งพิจารณาคดีทุกประเภท ไม่ว่าคดีปกครอง คดีรัฐธรรมนูญ หรือคดีอื่น ๆ ประธานสภาตุลาการ รองประธานสภาตุลาการ และตุลาการอื่นอีก 13 คน ประกอบกันเป็น "ที่ประชุมใหญ่ตุลาการ" (Council of Grand Justices) ตุลาการ ณ ที่ประชุมใหญ่เหล่านี้มาจากการเสนอชื่อและแต่งตั้งของประธานาธิบดีเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ

ศาลชั้นสูงสุดของประเทศ คือ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ประกอบด้วย แผนกคดีแพ่งและคดีอาญาจำนวนหนึ่ง แต่ละแผนกมีตุลาการหัวหน้าแผนก 1 คน กับตุลาการสมทบอีก 4 คน ทั้ง 5 คนนี้อยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีวาระกำกับ อนึ่ง เคยมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นเอกเทศในปี 1993 เพื่อจัดการข้อพิพาทบางประการในทางรัฐธรรมนูญ รวมถึงจัดระเบียบพรรคการเมือง และเร่งรัดกระบวนการประชาธิปไตย

สาธารณรัฐจีนไม่ใช้ลูกขุน แต่สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอันเป็นธรรมนั้นได้รับความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดทั้งในทางกฎหมายและทางปฏิบัติ คดีบางประเภทให้ตุลาการมากคนพิจารณาก็มี

โทษประหารยังคงใช้อยู่ในสาธารณรัฐจีน แต่ฝ่ายปกครองพยายามลดการประหารลงให้ได้ กระนั้น ในปี 2006 มีการสำรวจและพบว่า ชาวสาธารณรัฐจีนกว่าร้อยละ 80 ประสงค์ให้รักษาโทษประหารไว้

ปัจจุบันไต้หวันได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 25 ประเทศ (เบลีซ คอสตาริกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์ลูเซีย บูร์กินาฟาโซ แกมเบีย มาลาวี เซาตูเมและปรินซิปี สวาซิแลนด์ คิริบาส หมู่เกาะมาร์แชลล์ นาอูรู ปาเลา หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู และนครรัฐวาติกัน) ไต้หวันมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากกรอบนโยบายจีนเดียว ไต้หวันจึงให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ในกรอบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับประเทศต่างๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่)

สำหรับนโยบายต่างประเทศของไต้หวันต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไต้หวันได้ดำเนิน “นโยบายมุ่งสู่ใต้” (Go South Policy) เป็นนโยบายส่งเสริมให้ชาวไต้หวันมีการลงทุนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไต้หวันต้องพึ่งพาจีนและใช้เศรษฐกิจเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ กรอบเวทีระหว่างประเทศที่ไต้หวันเป็นสมาชิก ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperartion - APEC) ซึ่งเป็นสมาชิกในฐานะเขตเศรษฐกิจ (economy) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) โดยเป็นการเข้าร่วมในฐานะที่เป็นเขตศุลกากรพิเศษ (custom territory) การเข้าร่วมในเวทีทั้งสองของไต้หวันจึงเป็นการเข้าร่วมในสถานะที่ไม่ใช่รัฐ

หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งถอยหนีมาอยู่บนเกาะไต้หวัน ประเทศส่วนใหญ่ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเอาไว้ แต่การรับรองสถานะก็ลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีหลายประเทศได้เปลี่ยนไปรับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน ในปัจจุบัน สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันยังคงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก 25 ประเทศซึ่งนอกจากทำเนียบสันตะปาปาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในแถบอเมริกากลางและแอฟริกา ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายที่จะไม่สานสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศที่รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีน และทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยจะต้องมีแถลงการณ์รับรองสถานะของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน

ในทางปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศส่วนใหญ่จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน และแถลงการณ์ที่ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนต้องการนั้นก็ได้เขียนขึ้นโดยใช้คำกำกวมอย่างยิ่ง ประเทศสำคัญ ๆ บางประเทศที่ไม่ได้รับรองสถานะของสาธารณรัฐจีนก็จะมี "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป" หรือ "สำนักงานตัวแทนไทเป" ซึ่งปฏิบัติงานต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกับสถานทูต เช่น การออกวีซ่า เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน หลายประเทศก็ได้จัดตั้งสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจขึ้นในสาธารณรัฐจีนเช่น สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย และสถาบันอเมริกาในไต้หวัน ซึ่งโดยพฤตินัยแล้วก็คือสถานทูตของประเทศต่าง ๆ นั่นเอง

สาธารณรัฐจีนเคยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในฐานะสมาชิกก่อตั้ง โดยได้อยู่ในตำแหน่งของประเทศจีนในคณะมนตรีความมั่นคงจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ที่ถูกขับออกโดย "มติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2758 (General Assembly Resolution 2758)" และตำแหน่งทั้งหมดในองค์การสหประชาชาติก็ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางสาธารณรัฐจีนได้แสดงความพยายามหลายครั้งเพื่อกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ (ดูที่ จีนและองค์การสหประชาชาติ)

นอกจากความขัดแย้งกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือดินแดนบนแผ่นดินใหญ่แล้ว สาธารณรัฐจีนยังมีความขัดแย้งกับมองโกเลียอีกด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่สาธารณรัฐจีนได้อ้างสิทธิเหนือพื้นที่มองโกเลีย แต่ก็ถูกกดดันจากสหภาพโซเวียตจนกระทั่งยอมรับรองอิสรภาพของมองโกเลียในที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้กลับคำรับรองนั้น และกล่าวอ้างสิทธิเหนือมองโกเลียอีกครั้งจนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานนี้ นับจากช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์กับมองโกเลียได้กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้ง ความเคลื่อนไหวใด ๆ ในการยกเลิกอำนาจอธิปไตยเหนือมองโกเลียจะเกิดการโต้แย้งทันที เนื่องจากทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อ้างว่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพไต้หวัน

สาธารณรัฐจีนมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่14ของโลก หน่วยเงินตราที่ใช้ คือ ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ทรัพยากรธรรมชาติส่วนใหญ่มีจำนวนน้อย แต่เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นสูงอุตสาหกรรมนั้นเป็นเน้นไปที่การผลิต มีการนำเข้าน้ำมันดิบและแร่เหล็ก เพื่อนำไปผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ส่งออกไปจำหน่าย ถือเป็นการค้าโดยผลิต ในปัจจุบันมีการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนคุ้มครองเสรีภาพทางศาสนาและสิทธิในการปฏิบัติตามความเชื่อของประชาชน ตามสถิติในปี ค.ศ. 2005 ประเทศไต้หวันมีพุทธศาสนิกชน 8,086,000 คน (35.1%) ศาสนิกชนเต๋า 7,600,000 คน (33.0%) คริสต์ศาสนิกชน 903,000 คน (3.9%) โดยเป็นโปรเตสแตนต์ 605,000 คน (2.6%) และโรมันคาทอลิก 298,000 คน (1.3%) และศาสนิกชนลัทธิอนุตตรธรรม 810,000 คน (3.5%) เป็นต้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301