ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไข้หวัด

คอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (อังกฤษ: Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (อังกฤษ: Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด

การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย

โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี

อาการทั่วไปของโรคหวัดมีทั้งไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก และเจ็บคอ บางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ความล้า ปวดศีรษะและสูญเสียความอยากอาหาร ในผู้ป่วยโรคหวัด 40% พบอาการเจ็บคอ และ 50% พบอาการไอ ขณะที่อาการปวดกล้ามเนื้อพบในผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่ง ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่มักไม่พบอาการไข้ แต่พบทั่วไปในทารกและเด็ก อาการไอมักไม่รุนแรงนักเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ ขณะที่อาการไอและไข้ในผู้ใหญ่มีแนวโน้มบ่งชี้ไข้หวัดใหญ่มากกว่า แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างโรคหวัดกับไข้หวัดใหญ่ ไวรัสหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดยังอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อไร้อาการ สีของเสมหะอาจมีได้ตั้งแต่ไม่มีสีไปจนถึงเหลือง เขียว และไม่บ่งชี้ถึงประเภทของตัวที่กระทำให้เกิดการติดเชื้อ

ตามปกติโรคหวัดเริ่มต้นจากความเหนื่อยล้า รู้สึกหนาวสะท้าน จามและปวดศีรษะ ตามด้วยอาการน้ำมูกไหลและไอหลายวัน อาการอาจเริ่มขึ้นใน 16 ชั่วโมงนับแต่การสัมผัส และมักมีอาการรุนแรงที่สุดสองถึงสี่วันหลังเริ่มมีอาการ โดยปกติอาการจะหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางรายสามารถมีอาการได้นานถึงสามสัปดาห์ 35-40% ของผู้ป่วยเด็กมีอาการไอนานกว่า 10 วัน และ 10% ของผู้ป่วยเด็กมีอาการไอนานกว่า 25 วัน

โรคหวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ไวรัสที่พบมากที่สุด คือ ไรโนไวรัส (30-80%) ซึ่งเป็นพิคอร์นาไวรัสที่มีเซโรไทป์รู้จักกัน 99 ชนิด ไวรัสชนิดอื่นมีโคโรนาไวรัส (10-15%) ฮิวแมนพาราอินฟลูเอ็นซาไวรัส ไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล อะดีโนไวรัส เอนเทอโรไวรัสและเมตะนิวโมไวรัส บ่อยครั้งที่ไวรัสมากกว่าหนึ่งชนิดก่อให้เกิดโรค รวมทั้งสิ้นแล้ว มีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัด

ไวรัสโรคหวัดโดยปกติแพร่เชื้อผ่านละอองจากอากาศ (ละอองลอย) การสัมผัสโดยตรงกับสิ่งคัดหลั่งทางจมูกที่ติดเชื้อ หรือวัตถุที่เป็นพาหะนำเชื้อ (fomite) แต่ยังไม่มีการระบุว่า ทางใดมีความสำคัญที่สุด แต่การสัมผัสมือต่อมือ และมือต่อพื้นต่อมือเหมือนจะสำคัญกว่าการติดต่อผ่านละอองลอย ไวรัสอาจมีชีวิตอยู่รอดเป็นเวลานาน มนุษย์ใช้มือหยิบจับไวรัสแล้วนำเข้าสู่ดวงตาหรือจมูกซึ่งเป็นที่เกิดการติดเชื้อ การแพร่เชื้อพบทั่วไปในสถานรับเลี้ยงเด็กและที่โรงเรียนเนื่องจากความใกล้ชิดของเด็กจำนวนมากซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำและมักมีอนามัยเลว จากนั้น สมาชิกครอบครัวคนอื่นเป็นผู้นำเชื้อเหล่านี้กลับมาบ้าน ไม่มีหลักฐานว่า อากาศที่ไหลเวียนอยู่ในเที่ยวบินพาณิชย์เป็นวิธีการแพร่เชื้อ อย่างไรก็ดี บุคคลที่นั่งใกล้ชิดดูเหมือนจะมีความเสี่ยงสูงกว่า โรคหวัดที่เกิดจากไรโนไวรัสติดเชื้อได้มากที่สุดระหว่างสามวันแรกของอาการ แต่จะติดเชื้อน้อยลงมากหลังจากนั้น

ทฤษฎีชาวบ้านดั้งเดิมมีว่า โรคหวัดสามารถ "ติด" ได้จากการสัมผัสอากาศหนาวเป็นเวลานาน เช่น สภาพฝนตกหรือฤดูหนาว จึงเป็นที่มาของชื่อโรค cold ในภาษาอังกฤษ บทบาทการเย็นตัวของร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหวัดนั้นยังถกเถียงกันอยู่ ไวรัสบางชนิดที่เป็นเหตุของโรคหวัดมีตามฤดูกาล ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าในอากาศที่หนาวหรือเปียก บางคนเชื่อว่า การติดโรคหวัดเป็นเพราะการอาศัยอยู่ในที่ร่มใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กลับจากโรงเรียน อย่างไรก็ดี โรคหวัดยังอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินหายในที่ส่งผลให้มีความไวเพิ่มขึ้น ความชื้นที่ต่ำสามารถเพิ่มอัตราการแพร่เชื้อไวรัสได้เนื่องจากอากาศแห้งทำให้ละอองไวรัสขนาดเล็กกระจายไปไกลขึ้นและอยู่ในอากาศนานขึ้น

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากการติดไวรัสไข้หวัดก่อนหน้านี้ มีบทบาทสำคัญในการจำกัดการแพร่ของไวรัส โดยสังเกตจากประชากรที่อายุน้อยมีอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจสูงกว่าประชากรอายุมาก ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานไม่ดียังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหวัด การนอนหลับไม่เพียงพอและทุพโภชนาการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการติดเชื้อหลังสัมผัสไรโนไวรัสที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากผลของมันทำงานของภูมิคุ้มกัน

อาการของโรคหวัดเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันสนองต่อไวรัสเป็นหลัก กลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันนี้จำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างเช่น ไรโนไวรัสติดต่อผ่านการสัมผัส ตัวเชื้อจะจับกับ ICAM-1 รีเซพเตอร์ของผู้ป่วย (ผ่านกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัด) แล้วกระตุ้นการปลดปล่อยสารตัวกลางการอักเสบ (inflammatory mediators) จากนั้น สารตัวกลางการอักเสบเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ โดยตัวไวรัสมิได้ก่อความเสียหายแก่เยื่อบุจมูกแต่อย่างใด ตรงข้ามกับไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล (RSV) ซึ่งติดต่อทั้งผ่านการสัมผัสโดยตรงและละอองจากอากาศ ไวรัสจะแบ่งตัวในจมูกและลำคอก่อนจะแพร่กระจายลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง และทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อเซลล์เยื่อบุไวรัสพาราอินฟลูเอนซาส่งผลให้เกิดการอักเสบในจมูก ลำคอและหลอดลม หากเด็กเล็กติดเชื้อเกิดท่อลม (trachea) อักเสบอาจทำให้เกิดอาการของโรคกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup) ได้ เพราะทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก

การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนชนิดต่าง ๆ แยกได้คร่าว ๆ จากตำแหน่งของอาการ จมูกได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคหวัด ลำคอได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคคอหอยอักเสบ และปอดได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคหลอดลมอักเสบ กระนั้นบริเวณที่ได้รับผลกระทบอาจทับซ้อนกันอย่างมีนัยสำคัญและเกิดได้หลายบริเวณ บ่อยครั้ง โรคหวัดนิยามว่าเป็นจมูกอักเสบโดยมีปริมาณการอักเสบของลำคอต่าง ๆ กัน พบการวินิจฉัยด้วยตนเองประจำ แต่แทบไม่เคยมีการแยกแยะตัวกระทำไวรัสที่เกี่ยวข้องแท้จริง และโดยทั่วไปก็ไม่สามารถระบุประเภทของไวรัสจากอาการได้

มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสหวัดทางกายภาพดูเป็นมาตรการป้องกันโรคหวัดที่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว มาตรการเหล่านี้ รวมถึงการล้างมือและสวมหน้ากากอนามัย ในสิ่งแวดล้อมสาธารณสุข มีการใช้เสื้อกาวน์และถุงมือใช้แล้วทิ้ง ความพยายามอย่างการกักกัน เป็นไปไม่ได้เพราะโรคนั้นแพร่ไปทั่วและอาการไม่จำเพาะ การให้วัคซีนนั้นยาก เพราะมีไวรัสหลายชนิดมาเกี่ยวข้องและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างวัคซีนที่ได้ผลอย่างกว้างขวางจึงยากจะเกิดขึ้น

การล้างมือเป็นประจำดูมีประสิทธิภาพลดการส่งผ่านไวรัสหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ส่วนการเพิ่มยาต้านไวรัสหรือสารต้านแบคทีเรียในการล้างมือปกติจะช่วยให้ผลประโยชน์ในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่ทราบกัน การสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับบุคคลที่ติดเชื้ออาจมีประโยชน์ กระนั้น มีหลักฐานไม่เพียงพอแก่การรักษาระยะสังคมที่มากขึ้น การเสริมธาตุสังกะสีอาจมีผลช่วยลดอัตราโรคหวัด การเสริมวิตามินซีเป็นประจำไม่ลดความเสี่ยงหรือความรุนแรงของโรคหวัด แต่อาจลดช่วงเวลาของโรค

ยังไม่มียาหรือสมุนไพรใด ๆ ที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าสามารถลดระยะเวลาของการติดเชื้อได้ ดังนั้นการรักษาจึงประกอบด้วยการบรรเทาอาการ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น เป็นวิธีรักษาแบบอนุรักษ์ที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ดี ประโยชน์ที่เห็นจากการรักษาเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ยาหลอกเสียมาก

การรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการ รวมถึง ยาระงับปวดและยาลดไข้ อย่างไอบูโปรเฟนและอะเซตามีโนเฟน/พาราเซตามอล หลักฐานมิได้แสดงว่ายาแก้ไอมีประสิทธิภาพมากกว่ายาลดไข้แต่อย่างใด และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเพราะขาดหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพและอาจเกิดอันตรายได้ ในปี 2552 แคนาดาจำกัดการใช้ยาแก้ไอและหวัดโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ในเด็กอายุหกปีหรือต่ำกว่า เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ในผู้ใหญ่ มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาแก้ไอไม่เพียงพอ การใช้เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (ยาแก้ไอชนิดหนึ่งหาซื้อโดยตรงได้ทั่วไป) ในทางที่ผิด นำไปสู่การห้ามใช้ในหลายประเทศ

ในผู้ใหญ่ อาการน้ำมูกไหลสามารถลดได้จากสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรก อย่างไรก็ดี สารเหล่านี้มีผลเสีย เช่น ความง่วงยาลดน้ำมูกอื่นอย่างซูโดอีเฟดรีน ยังมีประสิทธิภาพในประชากรนี้ด้วย ยาพ่นจมูกไอพราโทรเปียมอาจลดอาการน้ำมูกไหล แต่มีผลเล็กน้อยกับการคัดจมูก ส่วนสารต้านฮิสทามีนรุ่นที่สองนั้นไม่ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ

เนื่องจากยังขาดการศึกษา จึงไม่ทราบว่าการรับของเหลวเข้าไปเพิ่มขึ้นจะเพิ่มอาการหรือย่นระยะเวลาการเจ็บป่วยของระบบหายใจ และการขาดข้อมูลที่คล้ายกันยังมีสำหรับการใช้ที่ถูกทำให้ชื้นและร้อน การศึกษาหนึ่งพบว่า การนวดหน้าอก (chest vapor rub) มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการไอกลางคืน การคั่งและนอนหลับยากลงได้บ้าง

ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อไวรัสไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่มีผลต่อโรคหวัดซึ่งเกิดจากไวรัสเช่นกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดในภาพรวมจึงทำให้เกิดผลเสียมากกว่า กระนั้น ก็ยังมีการจ่ายยาบ่อยครั้ง สาเหตุบางประการที่ทำให้มีการจ่ายยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งเป็นเพราะประชาชนคาดหวังว่ามาพบแพทย์แล้วต้องได้ยา แพทย์รู้สึกอยากทำอะไรสักอย่าง และการคัดภาวะแทรกซ้อนออกที่อาจได้ประโยชน์จากการให้ยาปฏิชีวนะทำได้ยาก ไม่มียาต้านไวรัสใดที่ยืนยันได้ว่ามีประสิทธิภาพแก่โรคหวัด แม้จะมีงานวิจัยขั้นต้นบางชิ้นที่ศึกษาพบว่าอาจมีประโยชน์ก็ตาม

แม้จะมีการรักษาทางเลือกหลายอย่างที่ใช้กับโรคหวัด แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้การรักษาทางเลือกส่วนมากเพียงพอ จนถึงปี 2553 มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะแนะนำให้หรือไม่ให้ใช้น้ำผึ้งหรือการล้างจมูก มีการศึกษาเสนอว่า หากให้สังกะสีภายใน 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ จะสามารถลดช่วงเวลาและความรุนแรงของโรคหวัดในผู้มีสุขภาพดี อย่างไรก็ดีการศึกษาในเรื่องเดียวกันชิ้นอื่น ๆ ให้ผลที่แตกต่างกันออกไป จึงยังต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าสังกะสีจะมีประโยชน์อย่างไร และควรให้เมื่อไร ผลกระทบของวิตามินซีต่อโรคหวัดนั้น แม้จะมีการศึกษาวิจัยมานาน แต่ก็ไม่มีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ จะได้ผลเฉพาะในเพียงบางภาวะเท่านั้น เช่น ในผู้ป่วยไข้หวัดที่ออกกำลังกายให้ชีพจรเข้าเป้าในอากาศเย็น หลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของอิชิเนเซียนั้นขัดกัน การเสริมอิชิเนเซียประเภทต่าง ๆ อาจมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ยังไม่ทราบกันว่ากระเทียมมีประสิทธิภาพหรือไม่ การทดสอบวิตามินดีครั้งเดียวยังไม่พบประโยชน์

โรคหวัดโดยทั่วไปไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการส่วนมากโดยทั่วไปจะดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นเกิดขึ้นน้อย และถ้าเกิด มักเกิดในผู้สูงอายุมาก ๆ เด็กเล็กมาก ๆ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยบางรายอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนทำให้เกิดโพรงอากาศอักเสบ (ไซนัสอักเสบ) คอหอยอักเสบ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้ มีการประมาณเอาไว้ว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัดเหล่านี้ 8% เกิดโพรงอากาศอักเสบ และ 30% เกิดหูชั้นกลางอักเสบ

โรคหวัดเป็นโรคของมนุษย์ที่พบมากที่สุด และทุกคนบนโลกล้วนได้รับผลกระทบ ตามแบบผู้ใหญ่มีการติดเชื้อสองถึงห้าครั้งต่อปี และเด็กอาจเป็นโรคหวัดหกถึงสิบครั้งต่อปี ซึ่งอาจมากถึงสิบสองครั้งต่อปีสำหรับเด็กที่เรียนในโรงเรียน อัตราการติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้นในวัยสูงอายุเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมลง

ขณะที่สาเหตุของโรคหวัดเพิ่งจะมีการระบุเพียงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา แต่โรคหวัดอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ อาการและการรักษาโรคหวัดมีอธิบายในปาปิรุสอีเบอร์ (Papyrus Ebers) ของอียิปต์ ข้อความทางการแพทย์เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ เขียนขึ้นก่อนศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล ชื่อ "common cold" มีใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เนื่องจากความคล้ายกันระหว่างอาการกับการสัมผัสอากาศเย็น

ในสหราชอาณาจักร หน่วยโรคหวัดถูกตั้งขึ้นโดยสภาวิจัยการแพทย์ในปี 2489 และมีการค้นพบไรโนไวรัสที่นั่นเองในปี 2499 ในคริสต์ทศวรรษ 1970 หน่วยโรคหวัดสาธิตว่าการรักษาด้วยอินเตอร์เฟียรอนระหว่างระยะฟักของการติดเชื้อไรโนไวรัสป้องกันต่อโรคบ้าง แต่ไม่สามารถพัฒนาการรักษาภาคปฏิบัติ หน่วยดังกล่าวถูกปิดในปี 2532 สองปีหลังเสร็จสิ้นการวิจัยยาอมซิงค์กลูโคเนตในการป้องกันโรคและการรักษาโรคหวัดไรโนไวรัส เป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของหน่วย

ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคหวัด ในสหรัฐอเมริกา โรคหวัดทำให้มีการพบแพทย์ 75–100 ล้านครั้งต่อปี โดยประเมินราคาเบื้องต้น 7,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ชาวอเมริกันใช้เงิน 2,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์และอีก 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาตามใบสั่งเพื่อบรรเทาอาการ กว่าหนึ่งในสามของผู้ที่มาพบแพทย์ได้รับใบสั่งยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่อว่าอาจมีการดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นได้ มีการประเมินว่ามีการขาดเรียน 22–189 ล้านวันทุกปีเนื่องจากโรคหวัด ผลคือ ผู้ปกครองเสียวันทำงาน 126 ล้านวันเพื่ออยู่บ้านดูแลบุตรของตน เมื่อรวมกับวันทำงานอีก 150 ล้านวันที่ลูกจ้างป่วยเป็นโรคหวัด ผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมของงานที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัดเกิน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ซึ่งคิดเป็น 40% ของเวลาทำงานที่เสียไปในสหรัฐอเมริกา

มีการทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสกับโรคหวัด อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2552 ไม่มียาตัวใดที่ทั้งพบว่ามีประสิทธิภาพและได้รับอนุญาตให้ใช้ ปัจจุบันกำลังมีการทดสอบยาต้านไวรัสพลีโคนาริล ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จต่อพิคอร์นาไวรัส เช่นเดียวกับการทดสอบ BTA-798 พลีโคนาริลแบบรับประทานมีปัญหาด้านความปลอดภัย และแบบละอองลอยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา

ดราโค (DRACO) ยาต้านรีโทรไวรัสที่มีขอบเขตในการออกฤทธิ์กว้าง ที่กำลังพัฒนาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แสดงประสิทธิภาพเบื้องต้นในการรักษาไรโนไวรัส เช่นเดียวกับไวรัสติดต่ออื่นอีกจำนวนหนึ่ง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้ทำแผนที่จีโนมไวรัสทุกสายพันธุ์เท่าที่ทราบว่าก่อโรคหวัด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301