โลลิคอน (ญี่ปุ่น: ???? lolicon ?) เป็นศัพท์สแลงมาจากคำว่า โลลิตาคอมเพล็กซ์ (Lolita complex) ประโยคนี้อ้างอิงมาจากหนังสือชื่อ โลลิตา ของ วลาดิมีร์ นาโบคอฟ มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายที่อายุสูงกว่ามาก มีความรู้สึกเสน่หากับเด็กผู้หญิงอายุเพียง 12 ปี ในประเทศญี่ปุ่นคำๆนี้จะใช้แทนพฤติกรรม ของผู้ที่มีอายุสูงกว่ามาก ที่มีความรู้สึกเสน่หา หรือมีความรู้สึกส่วนตัวเป็นพิเศษ กับเด็กที่อายุราวๆ 10-20 ปี หรือต่ำกว่านั้นในบางกรณี ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น คำนี้มักหมายถึงประเภทของการ์ตูน หรือ อะนิเมะ ซึ่งตัวละครที่เป็นเด็กผู้หญิง จะสามารถแสดงออกถึงท่าทางที่เซ็กซี่เกินวัย
พวกโลลิคอน มักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกที่ส่งเสริมการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก และในหลายประเทศ มีความพยายาม ที่จะออกบทบัญญัติกำหนด ความผิดของพฤติกรรมโลลิคอน ว่าเป็นความผิดต่อเด็ก ซึ่งหมายรวมไปถึงรูปภาพ วิดีโอ วัตถุหรือพฤติกรรมอันหนึ่งอันใด ที่แสดงให้เห็นว่าละเมิดทางเพศ อย่างร้ายแรงต่อเด็ก แต่ฝ่ายโลลิคอนก็โต้แย้งว่า การที่ตัดสินว่าผู้มีพฤติกรรมโลลิคอน เป็นความผิดร้ายแรงนั้น เป็นการสรุปที่อ่อนด้อยทางความคิด เพราะฝ่ายโลลิคอนเองมีเสรีภาพ ที่จะแสดงออกทางความคิด หรือพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิด ความเสียหาย การปิดกั้นสิ่งเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อเด็กเสียมากกว่า อันเนื่องมาจากผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตประเภทเพโดฟิเลีย (pedophilia) นี้ถูกปิดกั้นแม้พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศผ่านทางการวาดเขียนการ์ตูน หรือเกมแอนิเมชัน
เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2006 มาตรการป้องกันหนังสืออันตราย ได้ถูกผลักดันให้มีผลบังคับใช้โดยโอซากะ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องโชโจะ มังงะ โดยถ้ามังงะหรือนิตยสารใด ถูกจัดว่าเป็นหนังสืออันตราย ต้องระบุเรทให้ชัดเจน ว่าผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ภายหลังได้มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับคดีคอรัปชั่น ภายในนิตยสาร Shogakukan's Shojo Comic ซึ่งนิตยสารโชโจะคอมมิค เริ่มสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ปี 1968 และจัดพิมพ์ 250000 ฉบับทุกๆ 2 สัปดาห์ ซึ่งกรณีบรรณาธิการนิตยสารโชโจะคอมมิคตกเป็นข่าวถูกไล่ออก เพราะทำบัญชีเบิกจ่ายเงินอันเป็นเท็จ ครั้งละราวๆ 100000 เยน ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 2003 ถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2006 คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านเยน ภายหลังจากไล่ออกแล้ว บรรณาธิการคนนั้นต้องชดใช้ เงินที่ทุจริตไปทั้งหมด แต่ทางฝ่ายสำนักพิมพ์ไม่ดำเนินคดีเอาผิด เพราะเขารับสารภาพตั้งแต่ เมื่อครั้งถูกสงสัย และถูกเรียกตัวไปสอบสวนภายในสำนักงาน ซึ่งฝ่ายสำนักพิมพ์ให้ความสนใจที่จะ ปรับปรุงระบบการทำงาน และตรวจสอบมากกว่าที่จะมุ่งเอาผิด
อย่างไรก็ตามบรรณาธิการคนนั้น ถูกสังคมภายนอกบางส่วนหมายหัวว่าเป็นอาชญากรระดับ A เพราะว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้าง นิตยสารสื่อลามกในรูปแบบโชโจคอมมิค ซึ่งทางฝ่ายผู้ผลิตก็ออกมาโต้แย้งว่า ทางเรามีเสรีภาพที่จะแสดงออก แต่จากรูปคดีแสดงให้เห็นว่า ทางฝ่ายบุคลากรในสำนักงานบางส่วนขาดจริยธรรม
ในช่วงปลายปี 2006 ได้มีกลุ่มที่ต่อต้านโลลิคอน มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้มีการระงับสื่อทุกชนิดที่เข้าข่ายโลลิคอน โดยเสนอรายงานที่มีใจความว่า 30% ของมังงะสำหรับผู้ใหญ่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ หรือล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก ซึ่งแม้แต่วัยรุ่นที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็สามารถเข้าถึงสื่อพวกนี้ได้ โดยสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต และในปีเดียวกันนี้เอง นิตยสารยูยู (Yu Yu Journal) ได้สร้างสรรค์บทความหลายคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุง (Asahi Shimbun) และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง และบทความดังกล่าวยังไปปรากฏที่โชโจะคอมมิค ซึ่งบรรณาธิการสูงสุดของของโชโจะคอมมิคกล่าวว่า
ความรักและความรู้สึกเสน่หา เป็นส่วนประกอบสำคัญของโชโจะมังงะ และมันเป็นไปไม่ได้ ที่จะเอากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศแยกออกมา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความรัก
นิตยสารโชโจคอมมิคจากสำนักพิมพ์โชงะกุกัง (Shogakukan) เป็นสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ และเป็นหนึ่งในแกนนำหลักของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นสำนักพิมพ์ที่พิมพ์ สื่อการเรียนการสอนหลายอย่างของประเทศญี่ปุ่น โชโจคอมมิคไม่ใช่นิตยสารเรตเอกซ์ แต่ก็ใกล้เคียงมากที่จะเรียกได้ว่าเป็นนิตยสารลามกหรือหนังสือการ์ตูนลามก ซึ่งทางสำนักพิมพ์โชงะกุกังเอง ก็สามารถเจาะกลุ่มตลาดสำคัญ ซึ่งนักอ่านส่วนใหญ่เป็นเป็นเด็กประถมและมัธยมต้น และเป็นผู้หญิงถึง 40.2% จากการสำรวจ คิดเป็นผู้อ่านประมาณ 120000 คน หรืออาจจะมากกว่านั้น จากยอดการพิมพ์จำหน่ายต่อครั้งอยู่ที่ 300000 ฉบับ จะเป็นกลุ่มนักอ่านเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีถึง 26%
ภายหลังจากนั้นมีเหตุการณ์ในวันที่ 29 มีนาคม ปี 2007 นักการเมืองที่ชื่อ เซะโกะ โนะดะ (Seiko Noda) ซึ่งเป็นบุคคลที่กลุ่มโลลิคอนและโอะตะกุหมายหัวไว้ เพราะว่านักการเมืองคนนี้ได้นำประเด็นเรื่อง การประชุมสัมมนาญี่ปุ่น-สวีเดน เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันการผลิตสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก และได้แสดงจุดยืนที่ว่าสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก รวมไปถึงมังงะและอะนิเมะ ต้องห้ามผลิตและทำลายให้หมด ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากในวงกว้าง ทำให้เซะโกะ โนะดะถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องบนกระดานสนทนา 2ch ซึ่งเป็นกระดานสนทนาที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่ญี่ปุ่น
ที่ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความขัดแย้งระหว่างมังงะกับกลุ่มผู้ปกครองทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ความพยายามของกลุ่มที่จะต่อต้านโชโจมังงะมีมากขึ้น แต่ในทางเดียวกันการพัฒนาขยายตัวของธุรกิจมังงะ ก็สูงขึ้นเป็นทวีคูณเช่นกัน
ในปี 1989 ก็เกิดคดีสะเทือนขวัญชาวญี่ปุ่น เกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่อง ที่เป็นโอตาคุที่ชื่อ มิยาซากิ สึโตะมุ (Miyazaki Tsutomu) ที่ก่อคดีฆ่าหั่นศพเด็กผู้หญิง 4 คน อายุ 4-7 ปี เป็นผลให้ความรู้สึกอคติต่อมังงะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะว่ามิยาซากิ สึโตะมุ ก็เป็นพวกโอตาคุ และคดีนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้น ของกลุ่มที่ต่อต้านโลลิคอน ที่พยายามต่อต้านในทุกวิถีทาง
ภายหลังจากนั้น 16 ปีนับจากเหตุการณ์คดีฆาตกรต่อเนื่องโอตาคุ นักข่าวที่ทำข่าวนั้นได้มาสารภาพความจริงว่า ภาพข่าวที่ลงหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ เป็นการจัดฉากของช่างภาพเอง โดยนำโลลิมังงะ มาวางชั้นบนสุดของกองนิตยสารในห้องของมิยาซากิ ซึโตมุ แล้วจึงเก็บภาพมาและได้ใช้วิธีที่คล้ายๆ กันนี้สร้างภาพขึ้นมา อย่างไรก็ตามมิยาซากิ ซึโตมุถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ จากข้อหาลักพาตัวและฆาตกรรมเด็ก 4 คน และใน 2 คนนั้น ยังถูกทำลายศพอีกด้วย ในปี 1999 พ่อของมิยาซากิ ซึโตมุตัดสินใจฆ่าตัวตาย
Mr Bao Peng Lin วัย 22 ปี ถูกจับได้จากเที่ยวบินประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2006 ในข้อหาลักลอบนำเข้าสื่อลามกเกี่ยวกับเด็ก และถูกปรับเป็นเงินถึง $9000 ซึ่งเขาได้รับสารภาพต่อศาลว่าได้นำเข้าอะนิเมะ ที่มีเนื้อหาความรุนแรงทางเพศต่อเด็กจริง เจ้าหน้าที่ของ Customs National Manager Investigations ได้กล่าวว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นอะนิเมะ แต่ว่าถ้ามีเนื้อหาที่ละเมิดทางเพศกับเด็ก การที่ลักลอบนำเข้าประเทศออสเตรเลีย ก็ถือว่ามีความผิดเหมือนกัน โทษสูงสุดของการลักลอบนำเข้าสื่อลามกเกี่ยวกับเด็กของประเทศออสเตรเลีย อยู่ที่ปรับเป็นเงิน $275,000 หรือจำคุก 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากการที่กลุ่มโลลิคอนและโอะตะกุที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับเสรีภาพในการแสดงออกและผลิตสื่อต่างๆ โดยไม่ปิดกั้นอย่างเด็ดขาด ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ธุรกิจมังงะ เกมสาวน้อย และอะนิเมะพัฒนาควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจในวงการนี้ทำรายได้มหาศาล และสร้างอาชีพให้กับชาวญี่ปุ่น ในทางกลับกันก็เป็นการสร้างปัญหาสังคมไม่น้อย ถ้ามองจากมุมมองของชาวต่างชาติ ที่แทบจะไม่ยอมรับให้มีการผลิตเกมสาวน้อย ได้อย่างประเทศญี่ปุ่นเลย
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้ อย่างเช่น จิตรกร (illustrator) นักพากย์ (seiyuu) รวมไปถึงโดจินชิ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงาน เกี่ยวกับอะนิเมะของนักวาดนิรนาม ซึ่งมักจะนำตัวละครที่ดังๆ มาแต่งเรื่องและวาดใหม่และขายกันโดยทั่วไป ซึ่งในมุมมองของชาวต่างชาติ จะเห็นได้ว่าละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน แต่ในสังคนญี่ปุ่นนักวาดโดจินกลับได้รับการยอมรับ และไม่ได้มีการกวาดล้างแต่อย่างใด
การแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างผู้ผลิตเกมสาวน้อย เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องของเหล่าโลลิคอนและโอะตะกุ ทำให้อาชีพ illustrator อยู่รอดได้ ถ้าเนื้อเรื่องและตัวละครใดที่เริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมา สามารถจับจิตใจของเหล่าโลลิคอนและโอะตะกุได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะได้สร้างเป็นอะนิเมะ หรือเกมสาวน้อยตามมาทันที อีกทั้งนักพากย์ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับดารา นักร้อง นักแสดง ถ้าอะนิเมะเรื่องใดมีชื่อเสียง นักพากย์คนนั้นก็จะมีชื่อเสียงตามไปด้วย อีกทั้งยังจะมีงานอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นถ่ายแบบ โฆษณา หรือแม้กระทั่งเป็นนักร้อง ทำให้อาชีพนักพากย์เป็นที่ใฝ่ฝัน ของใครหลายคนในประเทศญี่ปุ่น
คำๆ นี้เป็นคำที่ใข้เรียกลักษณะตัวละครที่มีลักษณะเฉพาะ ที่จะเป็นรูปร่างคน แต่มีหูแมวอยู่บนหัว อาจจะมีหางหรือไม่มีก็ได้ จากการผสมผสานระหว่างคนกับแมว มีความหมายแฝงคือ แมวเป็นสัตว์ที่ขี้อ้อน ชอบเอาใจเจ้านาย เนโกะมิมิก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ตัวละครที่นอกจากจะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของเหล่าโลลิคอนแล้ว การเพิ่มเนโกะมิมิเข้าไป ยิ่งเป็นการเพิ่มเอกลักษณ์ และเสน่ห์เข้าไปในตัว ทำให้ตัวละครนั้นเป็นที่จดจำได้ ดิจิคารัตเป็นเรื่องหนึ่ง ที่เหล่าโอะตะกุและโลลิคอนชื่นชอบมาก