ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โรมันบริเตน

บริเตนสมัยโรมัน หรือ โรมันบริเตน (อังกฤษ: Roman Britain) หมายถึงบริเวณเกาะอังกฤษส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันระหว่าง ค.ศ. 43 ถึง ค.ศ. 410 โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า “บริทานเนีย” (Britannia) หรือบริทานยา ก่อนที่โรมันจะเข้ามารุกรานบริเตนยุคเหล็กก็มีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินใหญ่ยุโรปอยู่แล้ว แต่ผู้รุกรานก็ยังนำการการวิวัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรกรรม, การจัดระบบเมือง (urbanization), การอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเข้ามาเผยแพร่และยังทิ้งร่องรอยให้เห็นจนถึงทุกวันนี้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรุกรานเมื่อเริ่มแรกมีน้อย นักประวัติศาสตร์โรมันก็กล่าวถึงเพียงผ่านๆ ความรู้ส่วนใหญ่ของสมัยนี้มาจากหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะจากหลักฐานที่สลักไว้บนหินหรือวัตถุอื่นๆ (epigraphic evidence)

บริเตนเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ในสมัยกรีกโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมากรีก, ฟินิเชีย และคาร์เธจก็มีการติดต่อค้าขายกับดีบุกกับคอร์นวอลล์: ชาวกรีกเรียกบริเตนว่า “คาสซิเทอไรด์ส” (Cassiterides) หรือหมู่เกาะดีบุกและบรรยายว่าตั้งอยู่ราวทางฝั่งทะเลตะวันตกของยุโรป กล่าวกันว่านักเดินเรือชาวคาร์เทจฮิมิลิโคได้เดินทางมายังเกาะอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช และนักสำรวจชาวกรีกไพเธียส (Pytheas) ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ถือกันว่าเป็นดินแดนที่ลึกลับและบ้างก็ไม่เชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีอยู่จริง

การติดต่อกับโรมันโดยตรงเป็นการเดินทางมาสำรวจโดยจูเลียส ซีซาร์สองครั้งในปี 55 และอีกครั้งในปี 54 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเป็นการเดินทางที่เลยมาหลังจากได้รับชัยชนะต่อกอล เพราะซีซาร์เชื่อว่าชาวบริเตนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต่อต้านชาวกอล การเดินทางมาสำรวจครั้งแรกเป็นการมาลาดตระเวณมากกว่าที่จะเป็นการรุกรานเต็มตัวโดยมาขึ้นฝั่งที่เค้นท์ แต่มาถูกพายุทำลายเรือไปบ้างและขาดทหารม้าทำให้ไม่สามารถไปได้ไกลกว่านั้น การสำรวจครั้งแรกเป็นความล้มเหลวทางทหารแต่เป็นความสำเร็จทางการเมือง ที่สภาเซเนตโรมัน (Roman Senate) ประกาศหยุดราชการ 20 วันเพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จในการพบดินแดนใหม่ที่ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม

การเดินทางมาครั้งที่สองเป็นการเดินทางมารุกราน ซีซาร์นำกองทหารมาเป็นจำนวนมากกว่าเดิม และได้ชวนเชิญชนเผ่าเคลติคหลายเผ่ามาเกลี้ยกล่อมให้มอบบรรณาการให้แก่โรมเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคืนตัวประกันเพื่อความสงบ โรมันแต่งตั้งประมุขของเผ่าหนึ่งที่มาเป็นฝักฝ่ายกับโรมมานดูบราเซียส (Mandubracius) ให้เป็นผู้ปกครองและกำจัดคาสสิเวลลอนัส (Cassivellaunus) ผู้เป็นศัตรูของมานดูบราเซียส โรมันจับตัวประกันไปแต่นักประวัติศาสตร์ตกลงกันไม่ได้ว่าชาวบริเตนตกลงจ่ายบรรณาการหลังจากที่ซีซาร์กลับไปกอลพร้อมกับกองทัพหรือไม่

การรุกรานครั้งนี้ซีซาร์ไม่ได้อาณาบริเวณใดใดกลับไปด้วยและก็มิได้ทิ้งกองทหารไว้ดูแลแต่ได้ก่อตั้ง “Cliens” ในบริเตนซึ่งทำให้เกาะอังกฤษกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลในทางการเมืองจากโรม ในปี 34, 27 และ 25 ก่อนคริสต์ศักราชออกัสตัส ซีซาร์วางแผนที่จะมารุกราอังกฤษแต่สถานะการณ์ไม่อำนวย ความสัมพันธ์ระหว่างบริเตนกับโรมจึงเป็นแต่เพียงความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าขาย สตราโบนักประวัติศาสตร์/ภูมิศาสตร์/ปรัชญาชาวกรีกบันทึกไว้ในปลายสมัยออกัสตัส ซีซาร์ว่ารายได้จากภาษีและการค้ากับบริเตนเป็นรายได้ที่มากกว่ารายได้ที่ได้จากการได้รับชัยชนะอื่นๆ ของโรมัน ซึ่งสนับสนุนได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบสินค้าฟุ่มเฟือยทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นสตราโบก็ยังกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษผู้ส่งทูตไปยังสำนักของออกัสตัส และบันทึกของออกัสตัสเอง “Res Gestae Divi Augusti” ที่กล่าวถึงกษัตริย์สองพระองค์ที่ออกัสตัสได้รับในฐานะผู้ลี้ภัย ต่อมาใน ค.ศ. 16 เมื่อเรือบางลำของไทบีเรียสถูกพัดไปยังเกาะอังกฤษโดยพายุระหว่างการรณรงค์ในเจอร์มาเนียทหารโรมันก็ถูกส่งตัวกลับโดยผู้นำในท้องถิ่นในบริเตน ที่กลับไปเล่ากันถึงตำนานยักษ์ร้ายต่างๆ ที่พบที่นั่น

โรมดูจะสนับสนุนการสร้างความสมดุลทางอำนาจทางใต้ของบริเตนโดยสนับสนุนราชอาณาจักรสองราชอาณาจักรที่มีอำนาจ คาทูเวลลอนิ (Catuvellauni) ที่ปกครองโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากทาสซิโอวานัส (Tasciovanus) และอาเทรบาทีส (Atrebates) ที่ปกครองโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากคอมเมียส (Commius) นโยบายนี้ปฏิบัติติดต่อกันมาจนปี ค.ศ. 39 หรือ 40 เมื่อคาลิกูลา (Caligula) รับผู้ลี้ภัยจากคาทูเวลลอนิและวางแผนการรุกรานเกาะอังกฤษที่แตกแยกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย เมื่อคลอเดียสรุกรานอังกฤษสำเร็จในปี ค.ศ. 43 โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองบริเตนคนหนึ่ง--เวอร์ติคาแห่งอาเทรบาทีส

กองทัพที่นำมารุกรานอังกฤษใน ค.ศ. 43 นำโดยออลัส พลอเทียส (Aulus Plautius) แต่ไม่เป็นที่ทราบว่าโรมันส่งกองกำลังมาเป็นจำนวนเท่าใด นอกไปจาก “กองออกัสตาที่ 2” (Legio II Augusta) ที่นำโดยเวสเปเชียน (Vespasian) ผู้ต่อมาเป็นจักรพรรดิแห่งโรมที่กล่าวว่ามีส่วนร่วม ส่วน “กองฮิสปานยาที่ 9” (Legio IX Hispana), “กองเจมินาที่ 14” (Legio XIIII Gemina) และ “กองวาเลเรียเวทริกซ์ที่ 20” (Legio XX Valeria Victrix) มีส่วนร่วมในปี ค.ศ. 60/61 ระหว่างการปฏิวัติบูดิคา (Boudica) ซึ่งอาจจะเป็นกองที่ประจำอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่การรุกรานครั้งแรก แต่โดยทั่วไปแล้วกองทัพโรมันเป็นกองทัพที่มีความยืดหยุ่นในการโยกย้ายกองกำลังต่างๆ ไปยังที่ต่างๆ ในเวลาใดก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะสันนิษฐานโดยไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่ากองใดแน่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ที่แน่ก็มีแต่ “กองฮิสปานยาที่ 9” (Legio IX Hispana) เท่านั้นที่ประจำการอยู่ในบริเตนจนถูกกำจัดโดยสกอต

การรุกรานมาช้าลงเพราะการแข็งข้อภายในของทหารจนเมื่อได้รับสัญญาว่าจะได้รับเสรีภาพถ้ายอมข้ามทะเลไปต่อสู้ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย การข้ามแบ่งเป็นสามหน่วยที่อาจจะขึ้นฝั่งที่ริชบะระห์ (Richborough) ในเค้นท์ แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าบางส่วนขึ้นทางฝั่งทะเลด้านใต้ในบริเวณฟิชบอร์นในเวสต์ซัสเซ็กซ์

โรมันได้รับชัยชนะต่อคาทูเวลลอนิและพันธมิตรในยุทธการสองยุทธการๆ แรกยุทธการเม็ดเวย์ (Battle of the Medway) และยุทธการที่สองที่แม่น้ำเทมส์ โทโกดูมัส (Togodumnus) ผู้นำของคาทูเวลลอนิถูกสังหารแต่น้องชายคารัททาคัส (Caratacus) รอดมาต่อต้านที่อื่นต่อไป พลอเทียสหยุดยั้งอยู่ที่แม่น้ำเทมส์และส่งข่าวไปยังคลอเดียสผู้ตามมาพร้อมกับกองกำลังสนับสนุนที่รวมทั้งอาวุธและช้างเพื่อเดินทัพไปยังที่มั่นสุดท้ายที่เมืองหลวงคามุโลดูนัม (Camulodunum) (โคลเชสเตอร์ ในปัจจุบัน) เวสเปเชียนจึงปราบปรามทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริเตนได้ หลังจากนั้นโรมก็แต่งตั้งให้ ไทบีเรียส คลอเดียส โคกิดูบนัส (Tiberius Claudius Cogidubnus) ผู้เป็นพันธมิตรกับโรมเป็นผู้ปกครองอาณาบริเวณหลายอาณาบริเวณ และภายนอกบริเวณที่ปกครองโดยโรมันโดยตรงก็มีการลงนามในสนธิสัญญากับกลุ่มต่างๆ

อะเคีย  ? อียิปต์  ? แอฟริกา  ? แอลพิสคอตทิเอ  ? แอลพิสแมริทิเม  ? แอลพิสพีนิเน  ? อาระเบียเพเทรีย  ? อาร์มีเนีย  ? เอเชีย  ? อัสซีเรียบิทิเนียและพอนทัส  ? บริทาเนีย  ? แคปพะโดเชีย  ? ซิลิเชีย  ? คอร์ซิกาและซาร์ดิเนีย  ? เครตาและไซริเนกา  ? ไซปรัสเดเชีย  ? ดัลเมเชีย  ? อิไพรัส  ? กาเลเชีย  ? แกลเลียแอควิเทเนีย  ? แกลเลียเบลจิกา  ? แกลเลียลุกโดเนนซิส  ? แกลเลียนาร์โบเนนซิสโลว์เออร์เจอร์เมเนีย  ? อัปเปอร์เจอร์เมเนีย  ? ฮิสเปเนียเบทิกา  ? ฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส  ? อิตาเลีย  ? ยูเดีย  ? ลูซิเทเนียลิเชียและแพมฟิเลีย  ? มาซิโดเนีย  ? มอริเตเนียซีซาเรียนซิส  ? มอริเตเนียทินจิแทนา  ? เมโสโปเตเมีย  ? โลว์เออร์มีเชีย  ? อัปเปอร์มีเชีย  ? นอริคัมโลว์เออร์พันโนเนีย  ? อัปเปอร์พันโนเนีย  ? รีเชีย  ? ซิซิเลีย  ? ซีเรีย  ? เทรเชีย  ?


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406