ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล (อังกฤษ : Udonpittayanukoon School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี ประเภทสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีสุข ตรงข้ามสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี บนถนนเส้นเดียวกับโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ และโรงเรียนบ้านหมากแข้ง ด้านหลังติดกับถนนศรีชมชื่น มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า อุดรพิทย์

สื่อให้เห็นว่า "ลูกน้ำเงินชมพู ต้องเป็นผู้มีความน่ารัก สุภาพอ่อนน้อม หนักแน่น เข้มแข็ง กล้าหาญ และอดทน"

ชื่อ "อุดรพิทยานุกูล" มีปรากฏครั้งแรกในใบบอกมณฑลอุดรที่ 121/1207 ลงวันที่ 9 ตุลาคม ร.ศ.121 ที่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องขอถวายพระราชกุศลในการจัดสร้างโรงเรียนหนังสือไทยบ้านหมากแข้ง

โรงเรียนหนังสือไทยที่แต่เดิมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ในขณะนั้น) ทรงสร้างไว้นั้นเกิดเพลิงไหม้ การฝึกสอนนักเรียนต้องอาศัยสอนอยู่ที่เรือนพักข้าราชการ พระองค์เจ้าวัฒนาจึงได้ให้พนักงานจัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่ด้านเหนือที่ว่าการมณฑลข้างวัดมัชฌิมาวาส เป็นอาคารหนึ่งหลัง ยาว 10 วา 2 ศอก กว้าง 4 วา พื้นกระดาน ฝากระดานมุงแฝก

ครั้นวันที่ 20 กันยายน ร.ศ.121 พระองค์ได้อาราธนาพระสงฆ์ 7 รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล้วในวันรุ่งขึ้น ได้ถวายอาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองโรงเรียน โดยพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ได้ประทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล" และได้เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ร.ศ.121 (พุทธศักราช 2445) เป็นต้นมา

ในโอกาสเดียวกัน ข้าราชการ พ่อค้า ราษฎร ได้พร้อมใจกันออกเงินบำรุงอุดหนุนซื้อเครื่องเล่าเรียน วัสดุใช้สอยในโรงเรียน และเป็นค่าจ้างครูสำหรับสอนนักเรียน รวมเงิน 1,146 บาท 24 อัฐ ผู้ที่ออกทรัพย์ได้พร้อมใจกันขอพระราชทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระองค์ทรงอนุโมทนาในการกุศลนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 หน้า 739 ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 121 นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานที่มีการออกทรัพย์และบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงโรงเรียนเรื่อยมา ทั้งใน ร.ศ. 126 ร.ศ. 129 และใน พ.ศ. 2469 เป็นต้น

เวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นปีพุทธศักราช 2477 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลได้รับอนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดสอนระดับดังกล่าว ทั้งนี้ ก็โดยผลักดันของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ศึกษาธิการภาคและครูใหญ่ในขณะนั้น

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2478 มีการสร้างอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารไม้ใต้ถุนโล่ง ลักษณะเป็นรูปตัวอี สร้างอาคารไม้ 2 ชั้นจำนวน 8 ห้องเรียน โรงฝึกพลศึกษา อาคารห้องสมุด อาคารสังคม และดนตรี หอประชุม และโรงอาหาร (ทั้งหมดนี้รื้อถอนไปหมดแล้วในช่วงต่อมา)

ช่วงนี้โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม - Comprehensive School(คมส.) แบบ 1 รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2511) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการพัฒนาการของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้เอื้อเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ มีการสร้างอาคารเพิ่ม เช่น อาคารวิทยาศาสตร์และห้องสมุด (อาคาร 5 เดิม) อาคารธุรกิจศึกษา (อาคาร 2) โรงฝึกพลศึกษา โรงฝึกงานช่างทั่วไป ช่างเขียนแบบ ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างยนต์และช่างกล (กลุ่มอาคารโรงฝึกงานในปัจจุบัน) รวมทั้งบ้านพักครูและเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ มีการสร้างห้องสุขาเพิ่มเติม และปรับปรุงรั้วและประตูโรงเรียนอีกด้วย มีการสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 24 ห้องเรียน (อาคาร 4 ในปัจจุบัน) โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเป็น 2 ตอน ครึ่งแรกสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 ครึ่งหลังสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2520

โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2518 นี้เองโรงเรียนได้รับความกรุณาจากกระทรวงมหาดไทยยกที่ดินบริเวณบ้านพักอัยการพิเศษประจำ เขต 4 เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ด้านทิศตะวันตกของโรงเรียน เพื่อขยายบริเวณที่จะปรับปรุงเป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐาน จากนั้น ได้ปรับปรุงและสร้างสนามบาสเก็ตบอล อัฒจันทร์เชียร์ และสร้างหลังคาสำหรับทางเดินเชื่อม ระหว่างอาคารเรียนตามลำดับ

ได้ดำเนินการสร้างอาคารสหกรณ์โดยได้รับการอนุเคราะห์เงินบริจาคสมทบส่วนหนึ่งจากคณะครู-อาจารย์ และ ผู้ปกครองนักเรีย รวมทั้งอาคารธรรมสถาน หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งเป็นอาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถานศึกษาตามนโยบายนำวัดและศาสนาเข้ามาสู่โรงเรียน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแบบแปลนให้แก่ทางโรงเรียน และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานแห่งธรรมสถานนี้ว่า "พระพุทธศรีอุดรมงคล ทศพลธรรมะประภัสสร"

ในช่วงนี้มีการสร้างอาคาร"รัตนโกสินทร์สมโภช 2525" ขึ้น และได้มีการจัดสร้างสนามหญ้าและสวนหย่อมขนาดใหญ่หน้าอาคารรัตนโกสินทร์สมโภชฯ ในบริเวณอาคารไม้รูปตัว อี ที่ถูกรื้อถอนย้ายไปปลูกสร้างใหม่ (อาคาร 3 ในปัจจุบัน) และได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ เป็นอาคารห้องสมุดและหอประชุม แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2531

ช่วงนี้ มีการสร้างอัฒจรรย์ขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันตก และติดตั้งหลอดไฟสปอตไลท์รอบสนามฟุตบอล สร้างทางเดินระหว่างอาคารเพิ่มเติม พ.ศ. 2533 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารอาคาร 6 ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกตามแนวรั้วโรงเรียน ด้านถนนอุดรพิทย์ ท้ายที่สุดของช่วงนี้ ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์กีฬาแบบมาตรฐาน ในบริเวณอาคารเกษตรและอาคาร คหกรรมเดิม

พ.ศ. 2544 โรงเรียนจัดงานฉลอง "100 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่ มีการสร้างอาคารโรงอาหารแห่งที่สอง บริเวณหลังโรงฝึกพลศึกษา

พ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารเรียนสามชั้น บริเวณสนามเทนนิสด้านทิศเหนือ ให้ชื่อว่า "อาคาร 100 ปี อุดรพิทยานุกูล" โดยศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ร่วมกันสมทบทุนก่อสร้าง หลังจากนี้ ได้มีการรื้อถอนอาคาร 5 และสร้างอาคารเรียนสามชั้น เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ เริ่มใช้ปีการศึกษา 2549 นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงทางเดินระหว่างอาคาร ถนนทางเข้า-ออกโรงเรียน และสร้างที่จอดรถเพิ่มเติม รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลพระภูมิประจำโรงเรียน

พ.ศ. 2550-2551 ได้ปรับปรุงโรงอาหารใหม่ให้เป็นโรงอาหารสองชั้น ปรับปรุงอัฒจรรย์เชียร์และปะรำพิธีบริเวณสนามฟุตบอลแล้ว และล่าสุด ในปี 2552 ก็ได้จัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คืออาคาร 8 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) ตั้งอยู่หลังอาคาร 5 ทางประตูด้านทิศตะวันออก บนสระมรกตเดิม เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่มากขึ้นในปัจจุบัน และสร้างอาคารเพิ่มเติมข้างอาคารอเนกประสงค์ แทนที่ร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อใช้เป็นสำนักงานของสหกรณ์ออมทรัพย์เสมาธรรมจักร

พ.ศ. 2556 โรงเรียนจัดงานฉลอง "111 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่และได้จัดตั้งมูลนิธิ "111ปีอุดรพิทย์เพื่อการศึกษา"ภายใต้การนำของ ฯพณฯ อำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายประยูร ธีระพงษ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล และนายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301