โรงเรียนสตรีวิทยา เป็นโรงเรียนรัฐบาลสำหรับนักเรียนหญิง ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
เป็นรูปโล่ บริเวณพื้นที่สีแดงมีรูปคบเพลิง บริเวณพื้นที่สีขาวมีอักษรเขียนว่า"โรงเรียน"และ"สตรีวิทยา"
ไม่ว่าอยู่ ณ ที่ใด สีแดงจะสด-เด่น เปรียบคุณค่าลูกสตรีวิทยาที่มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และพร้อมที่จะทำประโยชน์แก่สังคมฉันนั้น
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ฐานกว้าง1เมตร สูง4เมตรขนาดหน้าตัก29นิ้วเบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มมหาโพธิ์ยอดมีรูปพระมหามงกุฏ มีทรวดทรงอย่างคนสามัญแต่คงมีรัศมีตามแบบพระพุทธรูปทั่วไป ประดิษฐาน ณ ด้านขวามือของอาคารเก้าทศวรรษ
พระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฉลองพระองค์แบบสามัญชนดังที่เคยทรงขณะเป็นนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ฯ ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2543
พระยาทรงสุรเดชรับราชการอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เดิมชื่อยม ชาวสตรีวิทยาเคารพบูชาเทพารักษ์ท่านพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างมากมักจะนำหมากพลูไปนมัสการกราบไหว้ท่าน
เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพบูชาอย่างมากสำหรับชาวสตรีวิทยา ในช่วงสอบไล่-สอบเข้า นักกีฬาไปแข่งขัน หรือทัศนศึกษานอกโรงเรียน มักจะมีการนมัสการกราบไหว้เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิมเพื่อความเป็นสิริมงคล
โรงเรียนสตรีวิทยาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่เดิมตั้งอยู่ที่วังพระองค์เจ้าอลังการหลังโรงหวย กข.ตำบลสามยอด(ปัจจุบันเป็นตึกของบริษัทสามมิตรสงเคราะห์) กรมศึกษาธิการได้แต่งตั้ง มิสลูสี ดันแลป เป็นครูใหญ่คนแรกของสตรีวิทยา ต่อมาโรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกสองชั้น ถนนเจริญกรุง หลังวังบูรพาภิรมย์ ในช่วงนั้นคนทั่วไปนิยมเรียกโรงเรียนสตรีวิทยาว่า"โรงเรียนแหม่มสี"สมัยนั้นโรงเรียนเปิดรับทั้งชายและหญิง ซึ่งนักเรียนชายต้องอายุไม่เกิน 12 ปี สอนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ส่วนชั้นประถมมีการสอนภาษาอังกฤษด้วย เมื่อโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ มิสลูสี ดันแลป ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่ต้องพัฒนาในระดับสูงขึ้น จึงแจ้งความประสงค์ยกโรงเรียนสตรีวิทยาให้แก่กรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ และ มิสลูสี ยินยอมรับราชการต่อไป
กระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้ลงแจ้งความเปิดโรงเรียนสตรีวิทยาประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นโรงเรียนของรัฐบาล ให้สอนตามหลักสูตรของกรมศึกษาธิการและได้จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับมัธยมศึกษา
มิสลูสี ดันแลป ลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี กรมศึกษาธิการจึงให้ครูทิม กาญจนาโอวาท ครูใหญ่โรงเรียนศึกษานารี เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมากระทรวงธรรมการรวมโรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนศึกษานารีเข้าด้วยกันแล้วย้ายมาอยู่ที่ตึกดิน มุมถนนดินสอและถนนราชดำเนินกลาง(ปัจจุบันคือบริเวณ บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด) โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีวิทยาตั้งแต่พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องการที่ดินคือเพื่อสร้างอาคารตามโครงการปรับปรุงถนนราชดำเนินใหม่ กระทรวงศึกษาธิการโดย พล.ร.อ.หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งให้หาที่สร้างโรงเรียนสตรีวิทยาใหม่ อาจารย์สิริมา จิณณาสา อาจารย์ใหญ่ ตกลงเลือกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ริมถนนดินสอ พื้นที่9ไร่อยู่ตรงข้ามสถานที่เดิม การก่อสร้างโรงเรียนใหม่ของสตรีวิทยา พล.ร.อ.หลวงสินธุ์สงครามชัย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ชุบชีวิตสตรีวิทยา มีความประสงค์จะให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างในเชิงก่อสร้าง โดยวางแผนผังให้เหมาะสมโอ่โถงงดงาม รายการปลูกสร้างได้แก่ ตึกเรียน2ชั้น1หลัง หอประชุมหรือโรงอาหารเป็นโรงโถงชั้นเดียว มีเวทีสำหรับการแสดง ห้องส้วม ห้องพยาบาล เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ต่อมามีการสร้างหอการฝีมือ โรงครัว บ้านพักครูใหญ่ เรือนภารโรง การก่อสร้างใช้เวลา 17เดือน เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484
หลังสงครามโลกได้เปิดสอนต่อแต่ไปเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชาลัยเพราะอาคารเรียนสตรีวิทยาใช้เป็นที่ตั้งหน่วยพยาบาล ของทหารพันธมิตรจนเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ทหารย้ายออกไป จึงกลับมาเรียนที่เดิม
เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมเป็นรุ่นแรกมีแผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนเตรียมแผนกอักษรศาสตร์สอบไล่ได้เป็นที่1ของทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังสอบได้เป็นที่2 และที่19ในจำนวนนักเรียน50คนแรกที่ได้รับประกาศชื่อนับเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนรัฐบาลสามารถทำได้ โรงเรียนสตรีวิทยาจึงได้ริเริ่มคิดป้าย เกียรตินิยมเรียนดี ขึ้นเพื่อประกาศชื่อนักเรียนที่เรียนดีติดไว้ที่หอประชุมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จัดตั้งสตรีวิทยาสมาคม เพื่อเป็นที่พบปะติดต่อกันของศิษย์เก่าและให้ศิษย์เก่าร่วมแรงร่วมใจกันทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียน ได้ทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม
สมาคมได้มอบทุนให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ที่สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเพณีซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้
โรงเรียนได้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์โรงเรียนได้จัดงานฉลองโรงเรียนครบครึ่งทศวรรษ เพื่อฉลองอาคารวิทยาศาสตร์ไปด้วยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2496 งานครั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโดยทรงพระกรุณาเสร็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงาน ยังความปลาบปลื้มปิติแก่คณะครูนักเรียนสตรีวิทยาอย่างหาที่สุดมิได้
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครู ตลอดจนเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาของเยาวชนร่วมกัน
โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารดังนี้ - สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 40 ห้องเรียน พร้อมหอประชุมใหญาลานเอน จุคนได้ประมาณ1200คน ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 - สร้างอาคาร5ชั้นด้านถนนราชดำเนิน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร เป็นอาคารที่มีห้องเรียนประมาณ40ห้อง และมีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องพักครู ห้องฝ่ายปกครอง ห้องพิมพ์ดีด และห้องสหกรณ์โรงเรียน
โรงเรียนสตรีวิทยาได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น 3 ปีซ้อน และโรงเรียนพระราชทาน นักเรียนพระราชทานปี 2533
มิสลูสี ดันแลปหรือ"แหม่มสี"เป็นธิดากัปตันเรือ เป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสตรีวังหลังก่อนจะตั้งโรงเรียนสตรีวิทยาขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2443 สมัยนั้นเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิง หลักสูตรและวิธีการสอนของแหม่มสีทำให้โรงเรียนสตรีวิทยามีชื่อเสียงตั้งแต่แรกเริ่ม โรงเรียนสตรีวิทยาสมัยแรกย้ายที่ตั้งหลายแห่ง จากหลังโรงหวย ก.ข.สามยอด ไปตึกแถวหลังวังบูรพา(มุมด้านตะวันออกของถนนถนนทหารบกทหารเรือและถนนเจริญกรุง) และย้ายไปอยู่ข้างโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ริมถนนราชบพิธ ในพ.ศ. 2446 นักเรียนชื่อ"นิล"อายุ 13 ปีได้รับเงินรางวัล 5 ตำลึงจากรัฐบาล เนื่องจากสอบไล่ปลายปีระดับประถม วิชาธรรมจริยาได้คะแนนสูงสุด นักเรียนผู้นี้ต่อมาได้สมัครเป็นนักเรียนสอนโรงเรียนสตรีวิทยา เริ่มเป็นครูน้อยที่โรงเรียนเสาวภา ครูทิมซึ่งขณะนั้นเป็นครูใหญ่โรงเรียนเบญจมราชาลัยได้ขอตัวให้ไปสอนที่นั่น ต่อจากนั้นได้ย้ายโรงเรียนอื่นๆและดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆท้ายที่สุดได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
ครูทิม กาญจนาโอวาท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อ่างทองเรียนหนังสือกับแหม่มโคล์ที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง จนจบหลักสูตรแล้วเป็นครูที่โรงเรียนนั้นมาจนสมรสจึงลาออก พ.ศ. 2449 เริ่มรับราชการเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนศึกษานารีเมื่อตั้งอยู่ที่ถนนข้าวสาร และต้องรับตำแหน่งครูใหญ่สตรีวิทยา อีกแห่งหนึ่งจึงเสนอให้รวมทั้งสองโรงเรียนเข้าด้วยกันที่ตึกดินใช้ชื่อว่า"สตรีวิทยา"
นางผจงวาด วายวานนท์จบการศึกษาชั้นต้นทั้งประถมและมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา แล้วศึกษาต่อทางวิชาชีพครู ตลอดจนวิชาการสาขาต่างๆที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ตามระเบียบการแต่งกายของนักเรียนรัฐบาลตั้งแต่พ.ศ. 2476 นักเรียนต้องใช้เข็มเครื่องหมายที่มีอักษรย่อชื่อโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงขอใช้ ส.ว.
นางสาวสังวาลย์ ปุคคละนันท์ เป็นคนคลองบางหลวง เรียนที่โรงเรียนวัดอนงคารามและศึกษานารี และศึกษาต่อจนจบครูมัธยม ตำแหน่งสูงสุดคือเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยา ในสมัยอาจารย์โรงเรียนมีชื่อเสียงด้านกีฬาและอนุกาชาดได้ครองถ้วยชนะเลิศกีฬาและดัดตนหลายชนิด นอกจากนั้นยังเป็นสมัยที่โรงเรียนเริ่มสอนชั้นม.7 และม.8 ด้วย
ในพ.ศ. 2482 รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงขยายถนนราชดำเนิน กระทรวงศึกษาธิการลงมติให้ยุบไม่ก็ย้ายนักเรียนไปเรียนรวมกับเบญจมราชาลัยเสีย อาจารย์สิริมาจึงขอร้องกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการจึงไม่ยุบโรงเรียนเพียงแต่ให้ย้ายที่ตั้งใหม่ที่ริมถนนดินสอ
คุณหญิงอาภรณ์ กฤษณามระสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอยู่ 8 ปี ในยุคของคุณหญิงอาภรณ์ สตรีวิทยาเด่นทั้งด้านกีฬาและการเรียน ได้รางวัลบ่อยครั้ง
คุณหญิงบรรจง นิวาศะบุตรจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสหายหญิง ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสระบุรี เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีวิทยาและจบการศึกษาระดับสูงสุดคืออักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สืบเนื่องจากการปรับระบบชั้นเรียนเมื่อพ.ศ. 2521 นักเรียนชั้นม.ศ.5 ในปีการศึกษา 2525 และจบการศึกษาพ.ศ. 2526
20 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำโรงเรียน"พระนิรันตราย"ซึ่งสรี้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ60พรรษาและทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ และพระราชทานเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ต่อมา 16 กันยายน พ.ศ. 2536 จึงประกอบพิธีเบิกเนตร
โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงและพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยให้แก่นักเรียน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมทั้งลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษ ที่ส่งผลกระทบทั้งภายในโรงเรียนและชุมชนรอบข้างโรงเรียนจึงนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาใช้ในโรงเรียน ผลจากการร่วมมือกันทุกฝ่ายทำให้โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด บรรยากาศร่มรื่น สวยงามน่าอยู่และปลอดภัยตามหลีกมาตรฐานสากล โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 จากสถาบัน UKAS และประกอบพิธีเปิดป้าย ISO14001 อย่างเป็นทางการในวันครบรอบ 100 ปี 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกด้าน
ปีการศึกษา 2545 เป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโรงเรียนได้เปิดสอน Intensive course ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง ได้รับความนิยมและชื่นชมจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ปีการศึกษา 2546 จะเปิดในระดับม.4 จำนวน 2 ห้อง นอกจากนี้ยังมีโครงการโอลิมปิกทางวิชาการ โดยเชิญวิทยากรจากภายในและภายนอกมาให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ อีกทั้งขยายห้องสืบค้นข้อมูล(IT) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 60 เครื่อง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทั้งภายในและต่างประเทศ ผลจากการแข่งขันด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 84 รายการ ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนโครงการความเป็นเลิศด้านวิชาการ(คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) จำนวน 2 ห้องเรียน (80 คน)
โดยแต่งตั้งฝ่ายแผนงานวิจัยและพัฬนาจัดทำคอมพิวเตอร์ระบบบริหารจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร ได้แก่ระบบงานทะเบียน วัดผล ระบบงานปกครอง ระบบงานพยาบาล ระบบงานแนะแนว โปรแกรมโอนคะแนนจากเครื่องตรวจกระดาษคำตอบ โปรแกรมรูดบัตรการมาโรงเรียน โปรแกรมรูดบัตรแสดงผลการเรียน
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงเข้าศึกษาเมื่อมีพระชนมายุ 8 พรรษา ในสมัยนั้น ครูทิม กาญจนาโอวาทเป็นอาจารย์ใหญ่ จนเมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา จบชั้นประถมศีกษาปีที่ 3 จึงทรงลาออกไปศึกษาต่อในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์