โรงเรียนราชินีบน เป็นโรงเรียนหญิงล้วนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ตั้งอยู่ที่ตึกถนนอัษฎางค์ ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระราชปิตุฉา เจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในขณะนั้นโรงเรียนราชินีบนมีนามว่า โรงเรียนศรีจิตรสง่า จนในปี พ.ศ. 2465 ได้ย้ายทำการสอนมาที่ตึกพระยามหิบาล เลขที่ 885 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้แม็คโคร สามเสน
จนในปี พ.ศ. 2496 สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเป็นจำนวนมากโปรดให้จัดซื้อที่ดิน บ้านพระยามหิบาลจำนวน 2 ไร่ 75 ตารางวา และขอพระราชทานที่ดินของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า บริเวณริมถนนเขียวไข่กา มาสมทบเพิ่ม อีกทั้งได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถมคูที่คั่นอยู่ตรงกลางนั้นเสีย จึงถมเนื้อที่ติดต่อกันรวม 4 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานนาม โรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เมื่อ พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป
โรงเรียนราชินีบนเดิมมีนามว่า โรงเรียนศรีจิตรสง่า อยู่ในความอุปถัมภ์ของหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล พ.ศ. 2450 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 ให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี ด้วยน้ำพระทัยใฝ่ค้นคว้า และพระอุตสาหะวิริยะที่จะสร้างความสามารถในการบริหารโรงเรียน เพื่อได้สามารถรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณได้ดียิ่งขึ้น จึงได้ทรงเสียพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น ที่ตึกถนนอัษฎางค์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2454 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่ 3 ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนศรีจิตรสง่า ” ด้วยวิธีร่วมทุน
พ.ศ. 2465 โรงเรียนย้ายมาเปิดสอนที่ตึกของพระยามหิบาล ถนนสามเสนแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บริเวณแยกบางกระบือและโรงไฟฟ้าสามเสน (สถานที่ปัจจุบัน)เมื่อตั้งอยู่ที่นี่ได้ 3 ปี ได้ขยายการสอนสูงขึ้นตามลำดับจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6
พ.ศ. 2469 สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเป็นจำนวนมากโปรดให้จัดซื้อที่ดิน บ้านพระยามหิบาลจำนวน 2 ไร่ 75 ตารางวา กับขอพระราชทานที่ดินของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตรงริมถนนเขียวไข่กา มาสมทบ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถมคูที่คั่นอยู่ตรงกลางนั้นเสีย จึงถมเนื้อที่ติดต่อกันรวม 4 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา โปรดให้กองช่างสุขาภิบาลอำนวยการสร้างสถานที่ศึกษาสำหรับสตรี ณ ที่แห่งนี้ ประทานเครื่องเรือนพร้อมเสร็จ โดยทรงสั่งทำที่โรงเรียนเพาะช่างทรงพระดำริว่านักเรียนชั้นมัธยม 7 และ 8 ของโรงเรียนราชินีที่ถนนมหาราช เป็นชั้นสูง ซึ่งจวนสำเร็จการเรียนอยู่แล้วควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่อันถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลบ้าง เมื่อออกไปอยู่บ้านจะได้รู้จักแต่งบ้าน และรักษาสุขาภิบาล และอนามัยเป็นอันดี ทรงปรึกษาหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล ท่านอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี ซึ่งท่านทรงเห็นด้วยและตัดสินพระทัยยุบโรงเรียนศรีจิตสง่า สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระกรุณาโปรดให้รับนักเรียนที่เคยเรียนที่โรงเรียนศรีจิตสง่านี้เข้าเรียนต่อไปในโรงเรียนใหม่นี้ จึงเป็นอันว่าโรงเรียนใหม่นี้รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 3 ขึ้นไป โปรดให้นักเรียนราชินีที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 มาเรียนชั้นมัธยม 7 – 8 ต่อ ณ โรงเรียนราชินีบนนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานนาม โรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ดังแจ้งในแผ่นจารึกหน้าตึกพิจิตรจิราภาว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์แรกที่ทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่งสตรี ซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปในภายหน้า ได้ทรงสละพระราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มตั้งแต่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป
สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธรเป็นพระองค์หนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณา จึงทรงสร้าง โรงเรียนราชินีบน แห่งนี้ขึ้นไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์นั้น สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โปรดให้ทำแผ่นศิลาจารึกคำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 ตอกไว้กับตึกแรก ที่ทรงสร้างในโรงเรียนราชินีบน
นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างห้องแถวไม้ไว้เก็บผลประโยชน์ไว้บำรุงโรงเรียนทุกปี ขณะที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็จะประทานเงินสำหรับใช้สอยประจำตลอดมา นอกจากนี้ยังได้พระราชทานวังสุคันธาวาสที่ตั้งอยู่ ถนนวิทยุ ให้แก่โรงเรียนราชินีบน
โรงเรียนราชินีบน ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันทื่ 17 พฤษภาคม 2472 มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( วัดเบญจมบพิตร ) ขณะนั้นเป็นพระเทพมุนีเป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์หญิง สุทธสิริโสภา เสด็จแทนพระองค์ สมเด็จพระราชปิตุจฉาฯ ทรงทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียน เมื่อแรกเปิด มีนักเรียน 63 คน ตึกเรียนหลังแรกเป็นตึกสีครีม ปีกหนึ่งเป็นสองชั้น อีกปีกหนึ่งเป็นชั้นเดียว ชั้นบนสำหรับนักเรียนประจำ ส่วนชั้นล่างเป็นห้องเรียน ปัจจุบันเรียกตึกนี้ว่า ตึกพิจิตรจิราภา
โรงเรียนราชินีบน สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยพระกรุณาของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ทรงสร้างห้องแถวไว้เพื่อเก็บผลประโยชน์ ตั้งทุนไว้บำรุงโรงเรียน และได้ประทานสิ่งของตลอดจนเงินค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียน
พ.ศ. 2508 ได้ขยายตึกเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนที่ตึก 4 ชั้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตึก 3 ชั้น เป็นตึกประถมและอนุบาล
พ.ศ. 2526 เปิดตึกใหม่ซึ่งใช้เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวิดีโอ ใต้ตึกเป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและห้องโภชนาการ
พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้สร้างอาคารเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น โดยรื้อห้องแถวฝั่งตรงข้ามถนนเขียวไข่กา จัดสร้างเป็นตึกอนุบาลและที่พักนักเรียนประจำ สระว่ายน้ำ โรงยิม และสโมสร
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 67 ห้อง เป็นอนุบาล ถึง มัธยม 3 ชั้นละ 5 ห้องเรียน และ มัธยม 4 ถึง มัธยม 6 ชั้นละ 5 ห้องเรียน (อาจมีห้อง6เมื่อเด็กเยอะ)