โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (Mathayom Wat Benchamabophit School) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 42 ตารางวา อยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย (โรงเรียนชายล้วน) ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชกำเนิดเมื่อ ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443) พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2446 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรงไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ร่วมกันวางแผนปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ที่สำคัญยิ่งก็คือ พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารถาวรเป็นตึกทรงยุโรปสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic และทรงห่วงใยในเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง แม้ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องได้รับพระราชทาน บรมราชานุญาตทุกอย่าง โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรปัจจุบันเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า วัดเบญจมบพิตรตั้งอยู่ห่างไกล บรรดาศิษย์วัดซึ่งต้องอุปฐากรับใช้ภิกษุสามเณร ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเล่าเรียนที่ห่างไกล จึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเพื่อ "สอนศิษย์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดเมื่อ ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443) ในชั้นต้นที่อาคารชั่วคราวหลังมุงจากใช้เสื่อลำแพนกั้นเป็นประตูและหน้าต่างเพียงหลังเดียว พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง และเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2444 มีนักเรียน 40 คน เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น
หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ร่วมกันวางแผนปรับปรุงโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร อาทิเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)จัดทำหลักสูตรโรงเรียนตามพระราชดำริ ที่สำคัญยิ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารถาวรซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างเป็นตึกทรงยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง แม้ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องได้รับพระราชทาน บรมราชานุญาตทุกอย่าง ขณะที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปนั้นได้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถเสด็จมาทรงควบคุมแทนพระองค์ และพระราชทานนามจารึกที่หน้าบันมุขกลางว่า "โรงเรียนเบญจมบพิตร สร้าง รัตนโกสินทรศก ๑๒๑" เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121 ตรงกับ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2445 แล้วได้โปรดเกล้าฯให้นักเรียนขึ้นเรียนบนอาคารถาวรหลังใหม่หลังจากฉลองอาคารแล้ว ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2447 เป็นต้นมา
แล้วต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนมัธยมเบญจมบพิตร" เป็น "โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร" ตามลำดับ และสุดท้ายทางการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร" ในปัจจุบัน ส่วนชื่อ "โรงเรียนเบญจมบพิตร ได้นำไปใช้กับ โรงเรียนประถม"
(ซึ่งเป็นคติธรรมที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) อดีตสมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามประทานให้แก่โรงเรียน)
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เป็นโรงเรียนเดียวของประเทศไทยที่ใช้ชื่อคณะสีจากหน้าบันพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ซึ่งเป็น "สมบัติของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาเกสร " อาคารพุทธเจ้าหลวงหลังนี้อยู่ด้านทิศตะวันตกของแนวกุฏิสงฆ์ ติดรั้ววัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราคาก่อสร้าง 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างอาคารหลังนี้ อาคารเรียนหลังนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารอนุรักษ์อาคารสถานที่ราชการอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่รางวัล และประกาศนียบัตรแก่โรงเรียนเมื่อพ.ศ. 2527 อาคารพระพุทธเจ้าหลวงได้รับการซ่อมแซมหลายครั้ง อาทิเช่น กรมสามัญศึกษาได้ทำการซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2525 ใช้งบประมาณ 2.4 ล้านบาท และครั้งหลังสุด ในพ.ศ. 2556 โรงเรียนได้ทำการบูรณะอาคารด้วยงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน 21 ล้าน และได้มีการปรับปรุงสนามกีฬาหน้าอาคาร 1 ด้วยงบประมาณ 1.9 ล้านบาท
ราคาก่อสร้าง 250,000 บาท ปัจจุบันได้ใช้เป็นห้องพักครู แล้วได้ย้ายห้องพยาบาลไปยังอาคารพระพุทธเจ้าหลวงชั้น 1
องค์ผู้อุปการะโรงเรียน คือ เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทุกรูปตั้งแต่เมื่อครั้ง แรกสถาปนา
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เคยร่วมจัดงานสมานมิตร เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับโรงเรียนเพื่อนบ้าน โดยมี 3 โรงเรียนดังนี้โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนวัดน้อยนพคุณ
นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ต้องเข้าพิธีปฏิญาณตน และมอบตัวเป็นศิษย์องค์พระพุทธชินราช พระพุทธเจ้าหลวง และพระพุทธวรญาณ เจ้าอาวาสวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเป็นประจำทุกปี
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร