ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โรงเรียนจิตรลดา

โรงเรียนจิตรลดา เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นสำหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรข้าราชบริพารในพระราชวัง ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ร่วมเรียน ตั้งอยู่ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เปิดสอนชั้นอนุบาลขึ้น ณ ห้องชั้นล่างของพระที่นั่งอุดร บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 ด้วยมีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาได้ทรงเรียนร่วมกับเด็กอื่นๆ อีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียน โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ทรงมีเลขประจำตัวนักเรียน หมายเลข 1

ต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนชั้นเดียวในบริเวณสวนจิตรลดา และพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนจิตรลดา และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ และได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ปีการศึกษา 2511 โดยรับนักเรียนทั่วไป ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน นักเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเรียนในโรงเรียนจิตรลดา จึงไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดรภาค ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 1 เนื่องด้วยขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เจริญ พระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียน โดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวายการสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา

กันยายน พ.ศ. 2499 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ เจริญ พระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก 4 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้ โปรดเกล้าฯให้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่งคือ น.ส.อังกาบ ประนิช (ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนอนุบาล 2 ระดับ ระดับละ 8 คน

28 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนจิตรลดา

โรงเรียนจิตรลดามีจุดกำเนิดจากความรักและความห่วงใยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ "ความรัก" ในฐานะผู้ปกครองแผ่นดิน พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีต่อพสกนิกรในทุก ๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องพัฒนาการศึกษา "ความรัก" และในฐานะผู้ให้กำเนิด ทั้งสองพระองค์ทรงให้ความใส่พระราชหฤทัย ในการเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ทรงทำหน้าที่พระราชมารดาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ทรงทำอาหารว่าง หรือทรงเล่านิทานพระราชทานแก่ พระราชโอรส และพระราชธิดา ก่อนบรรทมด้วยพระองค์เอง

ด้วยความรักทั้งสองประการได้หลอมรวมให้เกิดแนวพระราชดำริที่จะตั้งโรงเรียน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนอนุบาลขึ้นในเขตพระราชฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) รับสนองพระบรมราโชบายเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498

" ...สอบไล่แล้ว ก็ออกไปเรียนต่อในชั้นอุดมศึกษา หรือจะไปเรียนที่ไหน หรือจะไม่เรียนก็ตาม ขอให้พิจารณาว่า ได้ผ่านโรงเรียนนี้เป็นเกียรติและเป็นประโยชน์ ขอให้สำนึกในคำนี้ว่าสำคัญแค่ไหน คืออย่าไปถือว่าเป็นเกียรติหรือเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นคำที่กลาง ๆ เกียรติที่พูดถึงนี้มีความรับผิดชอบติดตัวอยู่ตลอด เพราะเกียรติเมื่อมีแล้วจะต้องรักษา รักษาด้วยการปฏิบัติตนให้ดีทุกทาง หมายถึงว่าถ้าไปเรียนชั้นอุดมศึกษาในสถาบันใด จะเป็นในประเทศ หรือนอกประเทศก็ตาม ตัวต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ได้ผ่านโรงเรียนมัธยมที่โรงเรียนจิตรลดา แล้วก็เกียรตินี้จะต้องทำให้เกิดความรับผิดชอบ เพื่อนใหม่ที่จะได้พบในสถาบันที่จะศึกษาต่อไปนั้น เขาจะทราบว่ามาจากไหน ถ้าทำตนให้เป็นที่น่านับถือ มีความคิดที่ดี รอบคอบมีความเป็นผู้ดี หมายความว่ารู้จักคิด รู้จักพิจารณา ถ้าสักแต่จะปล่อยให้จิตใจของตนไปตามความคะนองของวัย หรือไปตามความสนุกสนาน โดยที่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบแล้ว นั่นแหละจะทำให้เกียรติของโรงเรียนจิตรลดาเสียไปและเกียรติของตัวก็หายไป เหมือนกัน....."

".......ที่ได้บอกว่า ได้มีโอกาสมาเรียนวิชาความรู้ในโรงเรียนนี้ ก็ขอให้เอาวิชาความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นก้าวหนึ่งต่อไปในการศึกษาที่จะสูงขึ้นไป ทีได้รับการอบรมให้เป็นผู้ที่มีมารยาทดี มีไหวพริบดี มีความฉลาดนั้น ก็เอาไปใช้ในทางการเรียน แต่ว่าต้องไปใช้ในทางการวางตัวด้วย มิใช่ว่าก้มหน้าก้มตาที่จะเรียนให้ได้แล้วก็ไม่นึกถึงการวางตัว ความจริงการวางตัวกับการเรียนนั้นคู่กัน ถ้าวางตัวให้ดีทำให้เรียนได้ดี ถ้าวางตัวไม่ดีเป็นอันธพาล ก็จะทำให้การเรียนนั้นมีอุปสรรคอย่างยิ่ง แม้ตอนต้นจะสามารถเรียนได้บ้าง แต่ทีหลังความเป็นอันธพาล ความเป็นผู้ไร้ความคิด จะนำไปสู่หายนะ จะทำให้ผู้อื่นสามารถชักนำเราในทางที่ผิดได้ จึงต้องใช้ทั้งความรู้ที่ได้จากโรงเรียนนี้ ทั้งที่ได้อบรมแล้วอย่าไปว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญทุกอย่าง การวางตัวเป็นพลเมืองดี คือเป็นเยาวชนที่ดีก่อนแล้วเป็นพลเมืองดีต่อไปนั่นแหละที่เป็นหน้าที่อันสำคัญ และโดยเฉพาะต่อไปเมื่อไปอยู่สำนักศึกษาชั้นอุดมศึกษาแล้ว ตัวจะมีความรับผิดชอบยิ่งขึ้น เพราะว่าถือกันทั่วโลกว่าผู้ที่เป็นนักศึกษา ผู้ที่เป็นนักค้นคว้า ผู้ที่เป็นนักเรียนนั้น เป็นผู้ที่เป็นปัญญาชน หมายความว่าผู้ที่ใช้สมอง คำว่านักศึกษาเป็นปัญญาชนนี้ ขอให้พิสูจน์ให้เป็นจริง ส่วนข้อเท็จจริงทุกอย่าง ขอให้จำเอาไว้ และปฏิบัติ จึงจะไปสู่ความเจริญ ความสำเร็จ ความพอใจได้ทุกประการ และจะเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตในทางที่ถูกที่ต้อง เป็นผู้ที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง เมื่อเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และสังคม ก็เป็นประโยชน์แก่ตัวเองอย่างยิ่ง เพราะว่าสามารถที่จะหาความสุขใจที่แท้จริง คือความก้าวหน้า ความมั่นคงของประเทศ และความสุขของส่วนรวม... "

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เริ่มทรงพระอักษรชั้นอนุบาล1 ณ พระที่นั่งอุดร ณ วันที่ 10 มกราคม 2498

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เริ่มทรงพระอักษร ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2501

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เริ่มทรงพระอักษร ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2504

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จมาทรงพระอักษรระดับอนุบาล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2528

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จมาทรงพระอักษรในระดับอนุบาล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2530


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406