โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (อังกฤษ: Bangkok Christian College ย่อ: ก.ท, BCC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยคณะคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2395 เป็นโรงเรียนแห่งแรกในเครือสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 28 โรงเรียน กับ 2 มหาวิทยาลัย ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 164 ปี เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นโรงเรียนโปรแตสแตนท์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่ เลขที่ 35 ถนนประมวญ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โรงเรียนมีศิษย์เก่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งองคมนตรี 4 คน นายกรัฐมนตรีไทย 2 คน รัฐมนตรีหลายกระทรวง นักร้อง นักแสดง ผู้จัดรายการหลายคน
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
และในปีเดียวกันนั้นเอง อาจารย์จอห์น.เอ.เอกิ้น และคณะทั้งสามของท่านได้สมัครเข้าสังกัดของคณะเพรสไบธิเรียนแล้ว และในเวลาเดียวกันท่านศาสนทูตเอส.อาร์เฮ้าส์ ท่านศาสนทูตเจ.เอม.คัลเบริ์ทซัน ท่านศาสนทูตเอน.เจ.แมคโดนัล และท่านศาสนทูต เจ.แวนได๊ก์ ได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของท่าน ณ สหรัฐอเมริกา ทำให้ทางฝ่ายมิชชันในกรุงเทพฯ ขาดผู้บริหารด้านการศึกษาไปที่ประชุมจึงได้มีมติให้อาจารย์เจ.เอ.เอกิ้น เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะบริหารงานด้านการศึกษาของมิชชันต่อไป ดังนั้นท่านต้องแบกภารกิจเป็น 2 เท่าคือทั้งงานส่วนตัวที่"บางกอกคริสเตียนไฮสกูล"ที่กุฎีจีน และโรงเรียนของคณะมิชชันที่สำเหร่
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษามูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย บนเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา ประกอบไปด้วยหอธรรม อาคารอารีย์ เสมประสาท อาคาร เอ็ม .บี. ปาล์มเมอร์ อาคารสิรินาถ อาคารบีซีซี 150 ปี สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และอาคารจอห์น เอ เอกิ้น ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 16 ชั้นและชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ชั้น 12 เป็นหอประวัติศาสตร์โรงเรียน
บูรพกษัตริยาธิราชและราชกุลแห่งบรมราชจักรีวงศ์ทรงมีคุณอันใหญ่หลวงต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมาโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) มีพระบรมราชานุญาตให้คณะมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบธีเรียนมิชชั่นซื้อที่ดินในประเทศสยามไว้ 2 แห่ง และสร้าง โรงเรียนแห่งแรกที่ตำบลกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี (อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 ต่อมาได้เปิดดำเนินการสอนอีกแห่งที่ตำบลสำเหร่ ฝั่งธนบุรีเช่นกัน
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสนับสนุนโครงการขยายการศึกษาของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่นมายังฝั่งกรุงเทพฯ พระองค์พระราชทานเงินจำนวน 20 ชั่งเพื่อสมทบในกองทุนที่จัดซื้อที่ดินที่ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นใหม่ มีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เริ่มทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2445 นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานนาฬิกาประดับพระปรมาภิไธยย่อ"จ.ป.ร."ไว้ที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสอนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย จะเน้นหนักที่ภาษาอังกฤษโดยจะใช้ภาษาอังกฤษสอนในทุกรายวิชา (ยกเว้นวิชาภาษาไทย) นักเรียนจะต้องพูดภาษาอังกฤษทั้งในเวลาเรียนและเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ที่เป็นเช่นนี้เพราะการปลูกฝังทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน หากนักเรียนคนใดพูดภาษาไทยในเวลาดังกล่าวจะต้องถูกทำโทษโดยให้อยู่เย็นและท่องงานตามที่อาจารย์มอบหมาย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) มีพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีวิทยฐานเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2463 นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้รับเกียรตินี้ และแตรวง (วงดุริยางค์) ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นตัวแทนของเขตพระนครใต้ เป็นกองเกียรติยศบรรเลงร่วมกับแตรวงโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและวงดุริยางค์กองทัพบก บรรเลงนำขบวนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2469
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่7) มีพระมหากรุณาธิคุณต่อโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดยพระราชทานโต๊ะทรงพระอักษรประดับตราพระลัญจกร "วชิราวุธ" (โต๊ะทรงพระอักษรชุดนี้เป็นโต๊ะทรงพระอักษรในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นเกียรติแก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย)
ราชสกุล"มหิดล"นับว่ามีความใกล้ชิดกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งดำริพระอสสริยยศเป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระองค์เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นประจำ ด้วยเหตุที่ทรงสนิทสนมกับมิชชันนารีที่บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในสมัยอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ (M.B.Palmer) และ ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์ (E.M.Tate) ทรงสนพระทัยโครงการขยายการศึกษาของคณะมิชชันนารีและได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารแนวพระราชดำริปัจจุบันเก็บไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ทุกครั้งที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก เสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะโดยเสด็จด้วยทุกครั้งและทรงเป็นกันเองกับมิชชันนารี ทรงยินดีรับคำเชิญในการร่วมกิจกรรมของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มาโดยตลอด ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีเสด็จเยี่ยมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ทอดพระเนตรเห็นความทรุดโทรมของสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 3,000 บาท เพื่อปรับปรุงสนามฟุตบอลโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ให้เป็นสนามฟุตบอลที่ทันสมัย ต่อมาเมื่อคณะศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ ปาล์มเมอร์ ได้ร่วมกันสร้าง "อนุสรณ์ปาล์มเมอร์" ขึ้น และกราบทูลเชิญพระองค์เป็นองค์ประธานในการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์ และทรงยินดีรับคำเชิญนี้ ภายหลังจากการเปิดอนุสรณ์ปาล์มเมอร์แล้ว พระองค์เสวยพระกระยาหารและทรงซักถามถึงความเป็นไปของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และมีพระราชดำรัสขอให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยอย่าหยุดยั้งในการพัฒนาการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ
ต่อมาคณะผู้ริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย นำโดยอาจารย์อารีย์ เสมประสาท ได้นำคณะครูและนักเรียนเข้าเฝ้าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เพื่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยและพระองค์โปรดให้คณะครูและนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายภาพร่วมกับพระองค์ด้วย ยังความปิติเป็นล้นพ้นแก่ชาวโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยทุกคน และเมื่อคราวที่พระองค์เจริญพระชนมายุครบ 93 พรรษา โปรดให้วงดุริยางค์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย บรรเลงเพลงถวาย ณ วังสระปทุมในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ด้วย
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้พัฒนาอย่างยิ่งทั้งด้านการศึกษาและเทคโนโลยี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแต่พระราชาองค์นั้น คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเสนอแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยแก่อาจารย์อารีย์ เสมประสาท ว่า
ควรจะจัดโรงเรียนในลักษณะเดียวกันกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในชนบทเพื่อขยายการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค
ในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระชนมายุ 60 พรรษา โรงเรียนกุรงเทพคริสเตียนวิทยาลัยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการซึ่งเป็นอาคารสูง 16 ชั้น อันเป็นอาคารที่มีความทันสมัยทั้งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า "อาคารสิรินาถ"
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ไม่หยุดยั้งโครงการพัฒนาการศึกษา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราชาที่พระราชทานแนวพะราชดำริแก่คณะผู้บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจึงได้วางแผนการศึกษาและดำเนินการโครงการต่างๆอันเป็นการก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษหน้า
สมดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย) ที่ทรงประทานให้แก่นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2468 ว่า
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยมีสีประจำโรงเรียนคือ สีม่วงและสีทองซึ่งท่านอาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ เป็นผู้ที่ได้สถาปนาสีประจำโรงเรียน
ความหมายของสีนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นคือ
2. สีม่วงมาจากสีน้ำเงิน (พระมหากษัตริย์) ผสมกับสีแดง (ชาติ) สีทองคล้ายกับสีเหลืองอันหมายถึง ศาสนา
โรงเรียนได้ทำการเปิดสอนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1852 เพื่อสอนให้เยาวชนไทยรู้หนังสือ ดังนั้นในทุกๆปีทางโรงเรียนได้จัดงานฉลองครบรอบวันเกิดโรงเรียนหรือเรียกกันโดยทั่วไปกันว่า งานวันเกิดโรงเรียน เป็นประเพณีที่ทำกันต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเป็นการบริหารงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งถือเป็นเกียรติและภารกิจอันสูงสุดที่นักเรียนในแต่ละรุ่นต้องรับผิดชอบ ก่อนก้าวออกจากรั้วโรงเรียนไป งานโรงเรียนถือเป็นสีสันประจำปีที่ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ครูอาจารย์ และผู้ปกครองต่างให้ความร่วมมือกันในงานอย่างเต็มที่
โดยปกติ งานจะจัดในวันเสาร์ของเดือนสิงหาคม (หรือบางครั้งในเดือนกันยายน) ของแต่ละปี จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของงานในแต่ละปีคือชื่อประจำงาน และการแสดงละครเวทีซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นอกจากนั้นในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงคอนเสิร์ต การขายของที่ระลึก การประมูลตุ๊กตา และกิจกรรมเกมส์ชุมนุม เป็นต้น
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย