โรคหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: Cardiovascular disease) (หรือเรียกว่าโรคหัวใจ) เป็นชั้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ (อังกฤษ: cardio), หรือหลอดเลือด(หลอดเลือดแดง, หลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดดำ) (อังกฤษ: vascular) หรือทั้งสองอย่าง
โรคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย. สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความหลากหลาย แต่หลอดเลือดแดงแข็ง, ไขมันเกาะจับเส้นโลหิต, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคหลอดเลือดแดงตีบ, ผนังของหลอดเลือดหนาและตีบและ/หรือความดันโลหิตสูงถูกพบมากที่สุด นอกจากนี้ ด้วยอายุที่สูงขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและโครงสร้างจำนวนมากได้เปลี่ยนแปลงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจและนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดแม้ในบุคคลที่ไม่มีอาการด้านสุขภาพ
แม้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก, แต่ตั้งแต่ปี 1970s อัตราการตายของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ลดลงในหลายประเทศที่มีรายได้สูง. ในเวลาเดียวกัน การเสียชีวิตโรคหัวใจและหลอดเลือดและผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ. แม้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมักจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ, พงศาวดารของโรคหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงแข็ง, เริ่มต้นในชีวิตในวัยเด็ก, ทำให้ความพยายามในการป้องกันเบื้องต้นมีความจำเป็นจากวัยเด็ก. เพราะฉะนั้น จึงให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในการป้องกันหลอดเลือดแข็งหรือตีบตันโดยปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยง, เช่นโดยรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ, การออกกำลังกาย, และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หลักฐานแสดงให้เห็นปัจจัยเสี่ยงจำนวนมากที่มีเกิดโรคหัวใจ ได้แก่: อายุ, เพศ, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือด, เบาหวาน, การสูบบุหรี่, การบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป, การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป, การบริโภคน้ำตาล, ประวัติครอบครัว, โรคอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย, ปัจจัยทางจิตสังคม, และมลพิษทางอากาศ. ในขณะที่การมีส่วนร่วมแต่ละส่วนของแต่ละปัจจัยเสี่ยงจะแตกต่างกันไปในระหว่างชุมชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์, ความสม่ำเสมอของการมีส่วนร่วมโดยรวมของปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้กับการศึกษาทางระบาดวิทยาก็มีความแข็งแรงอย่างน่าทึ่ง. บางส่วนของปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เช่นอายุ, เพศหรือประวัติครอบครัวจะไม่เปลี่ยนรูป; อย่างไรก็ตาม หลายปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำเนินชีวิต, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การรักษายาเสพติดและการป้องกันของโรคหัวใจสามวิธีของ Serrano ได้แก่: ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, และโรคเบาหวาน
อายุคือปัจจัยเสี่ยงทิ้งห่างที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคหัวใจ, ที่มีประมาณสามเท่าของความเสี่ยงในแต่ละทศวรรษของชีวิต. ประมาณว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมีอายุ 65 และมากกว่า. ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเป็นสองเท่าทุกๆสิบปีหลังจากอายุ 55.
คำอธิบายหลายอย่างได้รับการนำเสนอเพื่ออธิบายว่าทำไมอายุไปเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหัวใจ. หนึ่งของคำอธิบายนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือด. ในประชากรส่วนใหญ่ ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ. ในผู้ชาย, มันจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงที่อายุประมาณ 45-50 ปี. ในผู้หญิง มันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วจนอายุ 60-65 ปี.
นอกจากนี้ การที่มีอายุมากขึ้นยังเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางกลและทางโครงสร้างของผนังหลอดเลือด, ซึ่งนำไปสู่??การสูญเสียความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและการทำงานตามหน้าที่ของหลอดเลือดที่ลดลงและก็อาจเป็นผลนำไปสู่??โรคหลอดเลือดหัวใจ.
ผู้ชายมีความเสี่ยงของโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน. ทันที่ที่ผ่านวัยหมดประจำเดือน, มีการถกเถียงกันอยู่ว่าความเสี่ยงของผู้หญิงจะมีความคล้ายคลึงกับของผู้ชาย แม้ว่าข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติยังขัดแย้งในข้อนี้. ถ้าหญิงมีโรคเบาหวาน, เธอมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจมากกว่าชายที่เป็นโรคเบาหวาน.
ในหมู่ประชากรวัยกลางคน โรคหลอดเลือดหัวใจจะพบมากในผู้ชายเป็น 2-5 เท่ามากกว่าในผู้หญิง. ในการศึกษาทำโดยองค์การอนามัยโลก, เพศมีส่วนร่วมประมาณ 40% ของการเปลี่ยนแปลงในอัตราส่วนทางเพศของอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ. การศึกษาอีกอันหนึ่งรายงานผลที่คล้ายกันว่าความแตกต่างทางเพศจะอธิบายถึงเกือบครึ่งหนึ่งของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด. หนึ่งในคำอธิบายที่นำเสนอสำหรับความแตกต่างทางเพศในโรคหัวใจและหลอดเลือดคือความแตกต่างของฮอร์โมน. ในหมู่ผู้หญิง ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศที่โดดเด่น เอสโตรเจนอาจมีผลในการป้องกันผ่านระบบการเผาผลาญกลูโคสและการห้ามเลือด, และมันอาจมีผลโดยตรงในการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เอนโดทีเลียม. การผลิตเอสโตรเจนจะลดลงหลังวัยหมดประจำเดือน, และอาจมีการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญไขมันในสตรีที่มีต่อรูปแบบของไขมันมากขึ้นโดยลดระดับ คอเลสเตอรอลแบบ HDL และโดยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบ LDL และระดับโดยรวม. ผู้หญิงที่มีประสบกับการหมดประจำเดือนเร็ว, ตามธรรมชาติหรือเพราะพวกเขามีการผ่าตัดมดลูกอย่างใดอย่างหนึ่ง, จะมีแนวโน้มที่จะพัฒนาโรคหัวใจเป็นสองเท่าของผู้หญิงในกลุ่มอายุเดียวกันที่ยังไม่ได้ผ่านวัยหมดประจำเดือน[ต้องการอ้างอิง].
อนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ(อังกฤษ: Particulate matter (PM))ได้รับการศึกษาสำหรับผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวที่มีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD). ปัจจุบัน PM2.5 เป็นสิ่งสำคัญในที่ซึ่งการโน้มเอียงจะใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด. ทุกๆ 10 ?g/m3 ของ PM2.5 ที่มีผลกระทบระยะยาว, มีความเสี่ยงของการตายเพราะซีวีดีประมาณ 8-18%. ผู้หญิงมีความเสี่ยงสัมพันธ์ (อังกฤษ: relative risk (RR)) (=1.42) ที่สูงขึ้นสำหรับ PM2.5 ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย (=0.90). โดยรวม, ผลกระทบของ PM ในระยะยาวจะเพิ่มอัตราหลอดเลือดตีบตันและการอักเสบ. ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบระยะสั้น (2 ชั่วโมง), ทุก 25 ?g/m3 ของ PM2.5 มีผลในการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ 48%. นอกจากนี้ หลังจากนั้นเพียง 5 วันเท่านั้นของผลกระทบ, การเพิ่มขึ้นในความดันโลหิต systolic (2.8 มิลลิเมตรปรอท) และ diastolic (2.7 มิลลิเมตรปรอท) ที่เกิดขึ้นทุกๆ 10.5 ไมโครกรัม/m3 ของ PM2.5. งานวิจัยอื่นๆได้เกี่ยวพัน PM2.5ในจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ, การแปรปรวนในอัตราการเต้นหัวใจก็ลดลง (เสียง vagal ลดลง), และส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจล้มเหลว. PM2.5 มีการเชื่อมโยงไปยังการทำให้หลอดเลือดแดงคาโรติดหนายิ่งขึ้น??และเพิ่มความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.
การศึกษาที่มีพื้นฐานจากประชากรแสดงว่าหลอดเลือดแดงแข็งตีบ, ที่เป็นปูชนียบุคคลสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด, จะเริ่มขึ้นในวัยเด็ก. การศึกษาตัวกำหนดด้านพยาธิชีววิทยาของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตีบในเยาวชน (อังกฤษ: Pathobiological Determinants of Atherosclerosis in Youth Study) แสดงให้เห็นรอยโรคชั้นในที่ปรากฏให้เห็นในเส้นเลือดใหญ่ที่นำเลือดออกจากหัวใจด้านซ้าย (อังกฤษ: aortas) ทั้งหมดและมากกว่าครึ่งของหลอดเลือดหัวใจด้านขวาของเยาวชนอายุ 7-9 ปี.
นี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเมื่อพิจารณาว่า 1 ใน 3 คนจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดตีบตัน. เพื่อยับยั้งกระแสนี้ การศึกษาและการรับรู้ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือด แสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมาตรการในการป้องกันหรือย้อนกลับโรคนี้จะต้องกระทำ.
โรคอ้วนและโรคเบาหวานมักจะมีการเชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นเดียวกับประวัติของโรคไตเรื้อรังและภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด. ในความเป็นจริง โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นตัวคุกคามชีวิตมากที่สุดของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน, และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีสองถึงสี่เท่าที่มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน.
การตรวจคัดกรองด้วย ECGs (ทั้งที่ช่วงพักหรือกับการออกกำลังกาย) ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่ไม่มีอาการที่มีความเสี่ยงต่ำ. ในผู้ที่มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นหลักฐานสำหรับการคัดกรองที่มี ECGs ไม่เป็นที่สรุป.
ตัวชี้วัดโรค (อังกฤษ: biomarkers) บางตัวอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจทำนายความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต; อย่างไรก็ตาม มูลค่าทางคลินิกของ biomarkers บางตัวยังคงน่าสงสัย ในปัจจุบัน biomarkers ที่อาจสะท้อนความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือดจะรวมถึงสิ่งต่อไปนี้.
สำหรับผู้ใหญ่ที่วินิจฉัยแล้วไม่รู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง, หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด, การให้คำปรึกษาเป็นประจำเพื่อให้คำแนะนำแก่พวกเขาให้ปรับปรุงอาหารและเพิ่มการออกกำลังกายของพวกเขายังไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในพฤติกรรม ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ทำ
การรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ให้มากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดและความตายจากโรคนี้. มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าอาหารเมดิเตอร์เรเนียนอาจปรับปรุงผลลัพธ์ของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจจะปรับปรุงได้ถึงประมาณ 30% ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง. นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าอาหารเมดิเตอร์เรเนียนอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าอาหารไขมันต่ำในการนำการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวในปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่นระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตที่ต่ำกว่า). อาหารเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง (อังกฤษ: Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH)) (สูงในถั่ว, ปลา, ผลไม้และผัก และต่ำในขนมเนื้อแดงและไขมัน) ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดความดันโลหิตได้ และลดความหนาแน่นของไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลทั้งหมดหรือทำให้ต่ำลงได้ และปรับปรุงโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร (อังกฤษ: metabolic syndrome) แต่ผลประโยชน์ระยะยาวนอกบริบทของการทดลองทางคลินิกยังเป็นคำถาม. ปรากฏว่าอาหารที่มีเส้นใยสูงจะช่วยลดความเสี่ยงได้.
ปริมาณไขมันทั้งหมดที่รับประทานเข้าไปไม่ปรากฏว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าอาหารกรดไขมันทรานส์สูง(กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ไม่เกิดในธรรมชาติ แต่เกิดจากการทำขึ้น)สามารถเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้จริง. ทั่วโลก แนวทางการบริโภคอาหารจะแนะนำให้ลดไขมันอิ่มตัว. อย่างไรก็ตาม มีคำถามบางอย่างเกี่ยวกับผลกระทบของไขมันอิ่มตัวที่มีต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในวรรณกรรมทางการแพทย์. การทบทวนในปี 2014 ไม่พบหลักฐานของอันตรายจากไขมันอิ่มตัว. การทบทวนของ Cochrane ในปี 2012 พบหลักฐานการแนะนำของผลประโยชน์เล็กๆจากการแทนที่ไขมันอิ่มตัวโดยอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว. การวิเคราะห์แบบเมตาในปี 2013 สรุปว่าการทดแทนด้วยกรดไลโนเลอิก โอเมก้า 6 (ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง) อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. การแทนที่ของไขมันอิ่มตัวด้วยคาร์โบไฮเดรตไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มความเสี่ยง. ประโยชน์ที่ได้จากการแทนที่ด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายคู่ (อังกฤษ: polyunsaturated fat) ปรากฏว่ายิ่งใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม การเสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 (ไขมัน polyunsaturated อย่างหนึ่ง) ไม่ปรากฏว่ามีผลกระทบ.
ผลกระทบของการกินอาหารที่มีเกลือต่ำไม่มีความชัดเจน. การทบทวนของ Cochrane สรุปว่าผลประโยชน์ใดๆในคนที่มีความดันโลหิตสูงหรือความดันปกติที่บริโภคเกลือต่ำมีน้อย, ถ้าจะมี. นอกจากนี้ การทบทวนยังแนะนำว่าการกินอาหารเกลือต่ำอาจเป็นอันตรายในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบได้รับการวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการที่ไม่ได้รวมการทดสอบด้านหัวใจล้มเหลวในคนที่มีระดับเกลือและน้ำต่ำเนื่องจากยาขับปัสสาวะ. เมื่อการศึกษาครั้งนี้ออกมา, ส่วนที่เหลือของการทดลองแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากการบริโภคเกลือต่ำ. การทบทวนอีกอันหนึ่งของเกลือในอาหารได้ข้อสรุปว่ามีหลักฐานที่แข็งแกร่งที่ปริมาณเกลือในอาหารสูงไปเพิ่มความดันเลือดและทำให้สภาวะความดันโลหิตสูงเลวร้ายยิ่งขึ้น, และว่ามันเพิ่มจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, ในสองเหตุการณ์ข้างต้น เหตุการณ์หลังจะเกิดขึ้นโดยผ่านทางความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นและค่อนข้างจะผ่านทางกลไกอื่นๆทั้งสองอย่าง. หลักฐานระดับปานกลางพบว่าเกลือที่สูงเพิ่มปริมาณการตายของโรคหัวใจและหลอดเลือด และหลักฐานบางอย่างแสดงการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายโดยรวม, เส้นโลหิตในสมองแตกและภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโตเกิน.
ในขณะที่การรับประทานอาหารที่มีสุขภาพดีจะเป็นประโยชน์, โดยทั่วไปผลกระทบของอาหารเสริมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (วิตามินอี, วิตามิน C, ฯลฯ ) หรือวิตามินอื่นๆไม่ได้แสดงให้เห็นว่าได้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและในบางกรณีอาจเป็นได้ที่ส่งผลให้เกิดอันตราย. อาหารเสริมแร่ก็ยังไม่ได้พบว่ามีประโยชน์. ไนอาซิน, วิตามินบี 3 ประเภทหนึ่ง, อาจเป็นข้อยกเว้นที่มีการลดลงเล็กน้อยในความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง. อาหารเสริมแมกนีเซียมจะช่วยลดความดันโลหิตสูงในลักษณะที่ขึ้นอยู่กับจำนวนโดสของยา. การบำบัดด้วยแมกนีเซียมจะแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะที่เกี่ยวข้องกับ torsade de pointes ที่นำเสนอด้วยโรค long QT syndrome เช่นเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นพิษ digoxin intoxication-induced arrhythmias. สำหรับการเสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3, หลักฐานเพื่อสนับสนุนได้ขาดหายไป.
ยาแอสไพรินพบว่าเป็นประโยชน์โดยรวมในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำของโรคหัวใจเมื่อความเสี่ยงของการมีเลือดออกที่รุนแรงอันอาจมีผลมาจากการบริโภคยาชนืดนี้มันคุ้มค่ากับผลประโยชน์ที่ได้จากการแก้ปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด.
ยา Statins มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ไกลกว่าในคนที่มีประวัติของโรคหัวใจและหลอดเลือด. ในขณะที่อัตราการเกิดในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง, การลดลงของการเกิดเหตุการณ์จึงเห็นได้ง่ายขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง. ในกลุ่มที่ไม่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่มีปัจจัยเสี่ยง, ยากลุ่ม statin ยังเป็นประโยชน์ด้วยการลดลงของอัตราการตายและโรคหัวใจต่อเนื่อง. เวลาที่ใช้ตลอดทางที่ statins ให้การป้องกันโรคไม่ให้เสียชีวิตดูเหมือนจะเป็นเวลานาน, ประมาณหนึ่งปี, ซึ่งยาวนานกว่าระยะเวลาของผลกระทบของพวกมันในสารอินทรีย์จำพวกไขมัน (อังกฤษ: lipids).
โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาเบื้องต้นที่เน้นหลักในการแทรกแซงเรื่องอาหารและวิถีชีวิต
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุแถวหน้าของการเสียชีวิต. ในปี 2008, 30% ของการเสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมดที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด. การตายที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีสูงกว่าในประเทศที่รายได้ต่ำและปานกลางโดยกว่า 80% ของการเสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมดที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้น. นอกจากนี้ยังคาดว่าในปี 2030, กว่า 23 ล้านคนจะตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในแต่ละปี.
สำหรับสถานการณ์โรคหัวใจของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในพ.ศ. 2556 มีผู้เสียชีวิต 54,530 คน เฉลี่ยวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน อัตราการป่วยต่อประชากรทุก 1 แสนคน ในปี 2555 เท่ากับ 427 คน เพิ่มจากปี 2547 ซึ่งมีอัตราการป่วยเท่ากับ 185 คน
การศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดได้ดำเนินการในปี 1949 โดยเจอร์รี มอร์ริส โดยใช้ข้อมูลอาชีวอนามัยและถูกตีพิมพ์ในปี 1958. สาเหตุ, การป้องกัน, และ/หรือการรักษาทุกรูปแบบของโรคหัวใจและหลอดเลือดยังคงเป็นสาขาที่แอคทีฟของการวิจัยด้านชีวการแพทย์, มีหลายร้อยของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกตีพิมพ์เป็นประจำทุกสัปดาห์.
การเน้นที่ผ่านมาเร็วๆนี้อยู่ในการเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบเกรดต่ำที่ตีตราเครื่องหมายแสดงคุณภาพของโรคหลอดเลือดกับการแทรกแซงของมันที่เป็นไปได้. C-reactive protein (CRP) เป็นเครื่องหมายการอักเสบทั่วไปอันหนึ่งที่พบในระดับที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด. นอกจากนี้ osteoprotegerin ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบของปัจจัยการถอดความการอักเสบที่สำคัญที่เรียกว่า NF-?B ถูกพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคและการตายเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือด.
บางพื้นที่ที่กำลังมีการวิจัยรวมถึงการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการติดเชื้อด้วย Chlamydophila pneumoniae (สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคปอดบวม) และโรคหลอดเลือดหัวใจ. การเชื่อมโยงที่เรียกว่า Chlamydia เป็นไปได้น้อยที่จะปรากฏว่าดีขึ้นหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ.
การวิจัยหลายครั้งยังตรวจสอบประโยชน์ของเมลาโทนินในการป้องกันและการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ. เมลาโทนินเป็นสารคัดหลั่งต่อมไพเนียลและมันก็แสดงให้เห็นว่ามันสามารถลดคอเลสเตอรอลโดยรวมและระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูที่มีความหนาแน่นต่ำและความหนาแน่นต่ำมากให้ลดลง. การลดลงของความดันโลหิตก็เป็นที่สังเกตเมื่อปริมาณยา pharmacologic ถูกนำมาใช้ ดังนั้น มันจึงถือว่าเป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง. อย่างไรก็ตามการวิจัยเพิ่มเติมจะต้องมีการดำเนินการในการตรวจสอบผลข้างเคียงยาและปริมาณที่ดีที่สุด, และอื่นๆ ก่อนที่จะสามารถได้รับใบอนุญาตสำหรับการใช้งาน.
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ: ขยาย (จากสุรา) ? หนาตัวผิดปกติ ? ถูกจำกัด (เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบโลฟเฟลอร์, โรคแอมีลอยด์ของหัวใจ, ไฟโบรอีลาสโตซิสของเยื่อบุหัวใจ)