โรคหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (อังกฤษ: atherosclerotic heart disease หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (อังกฤษ: ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว. โรคนี้มีสาเหตุมาจากการสร้างคราบตะกอน (อังกฤษ: plaque) ขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ.
เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงตีบเพิ่มขึ้นตามอายุ, การสูบบุหรี่, คอเลสเตอรอลในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, และพบมากในผู้ชายและผู้ที่มีญาติใกล้ชิดกับ CAD. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจหดเกร็ง (อังกฤษ: coronary vasospasm), อาการกระตุกของเส้นเลือดของหัวใจ, ปกติมักจะเรียกมันว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของ Prinzmetal (อังกฤษ: Prinzmetal's angina).
การวินิจฉัยของโรคหัวใจขาดเลือดสามารถทำได้โดยวัดหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า, การทดสอบเลือด (cardiac marker), การทดสอบความเครียดหัวใจหรือภาพรังสีหลอดเลือด (อังกฤษ: coronary angiogram). ขึ้นอยู่กับอาการและความเสี่ยง, การรักษาอาจจะใช้ยา, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (อังกฤษ: percutaneous coronary intervention) (ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด (อังกฤษ: angioplasty)) หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: coronary artery bypass surgery (CABG)).
ณ ปี 2012 โรคนี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการตายในโลก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. มีหลักฐานที่จำกัดสำหรับการตรวจคัดกรองประชากร แต่การป้องกัน (ด้วยอาหารสุขภาพและบางครั้งยาสำหรับโรคเบาหวาน, คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง) ถูกนำมาใช้ทั้งในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
ในขณะที่อาการและสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจแสดงออกในสภาวะที่ก้าวหน้าแล้วของโรค, บุคคลส่วนใหญ่ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงหลักฐานการเป็นโรคเป็นเวลาหลายสิบปีขณะที่โรคก้าวหน้าไปก่อนที่จะเริ่มมีอาการครั้งแรก, ซึ่งมักจะเป็นโรคหัวใจแบบ "ฉับพลัน" เสียแล้ว. อาการของโรคหัวใจขาดเลือดคงที่จะรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: angina) (อาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง) และความอดทนกับการออกกำลังกายลดลง.
โรคหัวใจขาดเลือด (IHD) ที่ไม่เสถียรจะมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่นๆในขณะอยู่เฉยๆ, หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เลวลงอย่างรวดเร็ว. มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
อาการเจ็บมักลามไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย
เมื่อมีการตรวจโดยแน่ชัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตรวจโดยเดินออกกำลังกายบนสายพานหรือโดยวิธีการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และฉีดดูตำแหน่งการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นต้น แพทย์จะประเมินภาวะความรุนแรงของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางผ่านจุดที่อุดตัน โดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขา
ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ: ขยาย (จากสุรา) ? หนาตัวผิดปกติ ? ถูกจำกัด (เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบโลฟเฟลอร์, โรคแอมีลอยด์ของหัวใจ, ไฟโบรอีลาสโตซิสของเยื่อบุหัวใจ)