โฟโตสเฟียร์
โฟโตสเฟียร์ (อังกฤษ: Photosphere) ของวัตถุทางดาราศาสตร์ หมายถึงย่านรอบนอกของวัตถุที่ส่งผ่านแสง คำนี้มาจากภาษากรีกโบราณว่า ????- ?????/photos (โฟตอส) แปลว่า "แสง" และ ??????/sphaira (สไฟรา) แปลว่า "ลูกบอล" ซึ่งสื่อถึงรูปร่างลักษณะของมันที่คล้ายพื้นผิวลูกบอลกลมที่ส่องแสงออกมา ย่านโฟโตสเฟียร์นี้กินพื้นที่ลึกลงไปในพื้นผิวของดาวฤกษ์จนกระทั่งแก๊สกลายเป็นทึบแสง ซึ่งเทียบเท่าค่า optical depth ที่ 2/3 โฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิระหว่าง 4500 ถึง 6000 เคลวิน (โดยมีค่าอุณหภูมิยังผลเท่ากับ 5800 เคลวิน) และมีความหนาแน่นประมาณ 2 x 10-4kg m-3 สำหรับดาวฤกษ์อื่นอาจมีโฟโตสเฟียร์ที่ร้อนกว่านี้หรือเย็นกว่านี้ โฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ประกอบด้วยเซลล์พาความร้อนเรียกว่า กรานูล (granule) ซึ่งเป็นเซลล์ของแก๊สที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1000 กิโลเมตร มีแก๊สร้อนพวยพุ่งในใจกลาง กับแก๊สที่เย็นกว่าแทรกอยู่ในช่องว่างแคบๆ ระหว่างเซลล์ แต่ละกรานูลจะมีช่วงอายุเพียง 8 นาที ซึ่งทำให้มันมีสภาพเปลี่ยนแปลงเหมือน "การเดือด" กลุ่มของกรานูลรวมกันเรียกว่า ซูเปอร์กรานูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงได้ถึง 30,000 กิโลเมตร และมีช่วงอายุสูงสุดราว 24 ชั่วโมง เรายังไม่สามารถสังเกตรายละเอียดขนาดนี้จากดาวฤกษ์ดวงอื่นได้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โฟโตสเฟียร์
|