ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โปเกมอน

โปเกมอน (ญี่ปุ่น: ???? Pok?mon ?) หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ (ญี่ปุ่น: ????????? Poketto Monsut? ทับศัพท์จาก Pocket Monster ?) เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่น และสร้างโดยซาโตชิ ทาจิริ เมื่อปี ค.ศ. 1996 แรกเริ่มออกจำหน่ายวิดีโอเกมแนวบทบาทสมมุติบนเครื่องเล่นสายเกมบอยชนิดเล่นเชื่อมกันได้ระหว่างเครื่องต่อเครื่องพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีค ตั้งแต่นั้นมา โปเกมอนกลายมาเป็นสื่อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและได้กำไรมากเป็นอันดับ 2 รองจากแฟรนไชส์มาริโอ โปเกมอนถูกจำหน่ายในรูปของอะนิเมะ มังงะ เกมสะสมการ์ด ของเล่น หนังสือ และสื่ออื่นๆ แฟรนไชส์โปเกมอนได้ฉลองครบรอบ 10 ปีไปเมื่อปี ค.ศ. 2006 และจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ยอดขายสะสมของวิดีโอเกม (รวมถึงเครื่องเล่นเกมคอนโซล เช่น นินเทนโด 64 ลายพิกะจู) ขึ้นถึงมากกว่า 200 ล้านสำเนา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 บริษัท 4คิดส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์โปเกมอนที่ไม่ใช่เกม ประกาศว่าบริษัทเห็นว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงตัวแทนแฟรนไชส์โปเกมอนใหม่ บริษัทโปเกมอนของสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันคือบริษัทเดอะโปเกมอน) สาขาย่อยของบริษัทโปเกมอนในญี่ปุ่น มีหน้าที่ตรวจตราลิขสิทธิ์โปเกมอนนอกทวีปเอเชีย

ชื่อโปเกมอนเป็นการย่อคำโรมะจิของยี่ห้อ พ๊อคเก็ต มอนสเตอร์ ญี่ปุ่น: Pocket Monsters  ????????? Poketto Monsut? ? ซึ่งเป็นการย่อคำที่พบได้ทั่วไปในญี่ปุ่น คำว่าโปเกมอน นอกจากจะอ้างถึงตัวแฟรนไชส์โปเกมอนแล้ว ยังหมายถึงสิ่งมีชีวิตในนิยาย 649 สปีชีส์ ที่ปรากฏตัวในสื่อโปเกมอนซึ่งได้ออกมาถึงเกมโปเกมอนรุ่นที่ห้าในชื่อ โปเกมอนแบล็ค 2 และไวท์ 2 และด้วยรุ่นใหม่ที่กำลังจะออกมาของโปเกมอนเอ็กซ์และวาย มีโปเกมอนชนิดใหม่ 6 ตัวปรากฏในสื่อสนับสนุนตัวเกมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

แนวคิดเกี่ยวกับโลกโปเกมอน ทั้งวิดีโอเกมและโลกนิยายของโปเกมอน เกิดมาจากงานอดิเรกสะสมแมลง ซึ่งซาโตชิ ทาจิริ กรรมการบริหารบริษัทโปเกมอนเคยทำเมื่อยังเด็ก ตัวผู้เล่นในเกมถูกกำหนดให้เป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ หรือนักฝึกโปเกมอน และมีเป้าหมายสองประการ (ในเกมโปเกมอนส่วนใหญ่) คือ สะสมโปเกมอนทุกชนิดในภูมิภาคที่เกมกำหนดเพื่อให้เติมเต็มโปเกเด็กซ์ หรือสมุดภาพโปเกมอน และเพื่อฝึกฝนทีมของโปเกมอนที่พวกเขาจับได้ให้เอาชนะทีมโปเกมอนของนักฝึกโปเกมอนคนอื่น และกลายเป็นนักฝึกโปเกมอนที่แข็งแกร่งที่สุดเรียกว่า โปเกมอนมาสเตอร์ รูปแบบการสะสม การฝึก และต่อสู้นั้นพบได้ในแฟรนไชส์โปเกมอนทุกเวอร์ชัน รวมถึงวิดีโอเกม ซีรีส์อะนิเมะ และมังงะ และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม (Pok?mon Trading Card Game)

ในโลกนิยายของโปเกมอนนั้น นักฝึกที่พบโปเกมอนป่าจะสามารถจับโปเกมอนตัวนั้นโดยโยนมอนสเตอร์บอล (อุปกรณ์ทรงกลมที่ออกแบบพิเศษที่ถูกผลิตออกมามาย) ไปที่มัน ถ้าโปเกมอนหลบหนีจากขอบเขตของโปเกบอลไม่สำเร็จ จะถือว่าโปเกมอนตัวนั้นเป็นของนักฝึกคนนั้นทันที ในภายหลัง มันจะเชื่อฟังคำสั่งของนักฝัก ถ้าหากผู้ฝึกไม่ขาดประสบการณ์จนทำให้โปเกมอนเอาแต่ใจตัวเอง นักฝึกสามารถส่งโปเกมอนตัวใดตัวหนึ่งของเขาออกไปเข้าร่วมต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่นในแบบไม่ถึงชีวิต ถ้าโปเกมอนฝั่งตรงข้ามเป็นโปเกมอนป่า นักฝึกสามารถจับโปเกมอนนั้นได้ด้วยมอนสเตอร์บอล และเป็นการเพิ่มโปเกมอนชนิดใหม่ในคอลเลคชันของเขา โปเกมอนที่มีเจ้าของอยู่แล้วไม่อาจถูกจับได้ เว้นแต่ในสถานการณ์พิเศษ ณ จุดใดจุดหนึ่งของเกม ถ้าโปเกมอนเอาชนะคู่ต่อสู้ได้จนคู่ต่อสู้หมดสภาพ (นั่นคือ หมดสติ) โปเกมอนที่ชนะจะได้รับค่าประสบการณ์ และอาจได้เพิ่มระดับหรือเลเวล เมื่อเลเวลเพิ่ม ค่าสถิติ (หรือค่าสเตต) ของในความสถัดแต่ละด้านของโปเกมอนจะเพิ่มขึ้น เช่น ค่าการโจมตีและค่าความเร็ว ตลอดเวลานั้น โปเกมอนอาจได้เรียนรู้ท่า (มูฟ) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ โปเกมอนหลายสปีชีส์ยังมีลักษณะพิเศษในการลอกคราบและเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นโปเกมอนสปีชีส์ใหม่ที่คล้ายๆกันแต่แข็งแกร่งขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า การวิวัฒนาการ

ในเนื้อเรื่องหลัก โหมดเล่นคนเดียวของแต่ละเกมต้องการให้นักฝึกโปเกมอนเลี้ยงดูทีมโปเกมอนเพื่อเอาชนะนักฝึกที่เป็นตัวละครที่ไม่ใช่ตัวผู้เล่น (non-player character: NPC) มากมายและโปเกมอนของพวกเขา แต่ละเกมได้ปูเส้นทางเป็นเส้นตรงผ่านภูมิภาคของโลกโปเกมอนสำหรับให้นักฝึกเดินทาง ดำเนินเหตุการณ์สำคัญ (event) และต่อสู้กับคู่ต่อสู้ในระหว่างทาง คุณลักษณะของแต่ละเกมจะเสนอนักฝึกโปเกมอนผู้ทรงพลัง 8 คน เรียกว่า ยิมลีดเดอร์ หรือหัวหน้ายิม ที่นักฝึกจะต้องเอาชนะเพื่อดำเนินเนื้อเรื่อง และจะได้เข็มกลัดยิมเป็นรางวัล และเมื่อได้เข็มกลัดครบ 8 อัน นักฝึกโปเกมอนคนนั้นจะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันในโปเกมอนลีกประจำภูมิภาค ซึ่งนักฝึกผู้มีพรสวรรค์ 4 คน (เรียกว่า Elite Four หรือ จตุรเทพทั้งสี่) จะท้าต่อสู้กับนักฝึกให้ต่อสู้ 4 ครั้งแบบรับช่วงต่อกัน ถ้านักฝึกเอาชนะฝีมือของบุคคลเหล่านี้ได้ เขาจะต้องท้าต่อสู้กับแชมเปียนประจำภูมิภาค (Regional Champion) ผู้เป็นนักฝึกระดับมาสเตอร์ที่เพิ่มเอาชนะจตุรเทพทั้งสี่ได้ นักฝึกคนใดที่ชนะการต่อสู้ครั้งสุดท้ายนี้จะกลายเป็นแชมเปียนคนใหม่ และได้ชื่อว่าเป็นโปเกมอนมาสเตอร์

เกมโปเกมอนดั้งเดิมเป็นเกมแนวบทบาทสมมุติ (role-playing games: RPG) ร่วมกับแนววางแผน และถูกสร้างขึ้นโดยซาโตชิ ทาจิริสำหรับเกมบอย เกมแนวบทบาทสมมุตินี้และภาคต่อ รีเมค และเวอร์ชันแปลภาษาอังกฤษถือว่าเป็นเกมโปเกมอน "ภาคหลัก" และเป็นเกมที่แฟนคลับส่วนใหญ่อ้างอิงถึงเมื่อพูดถึง "เกมโปเกมอน" ลิขสิทธิ์โปเกมอนทั้งหมดที่ตรวจสอบโดยบริษัทโปเกมอนถูกแบ่งหยาบๆออกเป็นเจเนอเรชัน เจเนอเรชันเหล่านี้เป็นการแบ่งภาคตามลำดับเวลาตามการออกจำหน่ายในทุกๆหลายปี เมื่อภาคต่ออย่างเป็นทางการของเนื้อเรื่องหลักออกจำหน่ายซึ่งนำเสนอโปเกมอนชนิดใหม่ ตัวละครใหม่ ระบบการเล่นใหม่ ภาคต่อภาคนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเจเนอเรชันใหม่ของแฟรนไชส์ เกมหลักและของเสริม อะนิเมะ และเกมสะสมการ์ดก็จะถูกปรับให้ทันสมัยด้วยคุณลักษณะใหม่ในแต่ละครั้งที่เจเนอเรชันใหม่เริ่มขึ้น แฟรนไชส์โปเกมอนได้เริ่มต้นเจเนอเรชันที่ห้าเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 ในประเทศญี่ปุ่น

แฟรนไชส์โปเกมอนเริ่มต้นเจเนอเรชันแรกด้วยการวางจำหน่าย พ็อคเก็ตมอนสเตอร์ อากะแอนด์มิโดริ (เร้ด และกรีน ตามลำดับ) สำหรับเครื่องเกมบอยในญี่ปุ่น เมื่อเกมได้รับความนิยมอย่างสูง เวอร์ชันปรับปรุง อาโอะ (บลู) ถูกจำหน่ายหลังจากนั้น และเวอร์ชันอาโอะถูกแก้ไขใหม่เป็น โปเกมอนเร้ดแอนด์บลู เพื่อจำหน่ายทั่วโลก เกมเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1998 ส่วนเวอร์ชันดั้งเดิม อากะ และ มิโดริ นั้นไม่เคยได้ออกจำหน่ายนอกประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น เวอร์ชันปรับปรุงต่อไปในชื่อ โปเกมอนเยลโลว์: สเปเชียลพิกะจูเอดิชัน ออกจำหน่ายเพื่อนำคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเครื่องเกมบอยคัลเลอร์มาใช้ รวมถึงนำเสนอเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกับอะนิเมะมากยิ่งขึ้น เกมเจเนอเรชันแรกนี้นำเสนอโปเกมอนเจเนอเรชันดั้งเดิม 151 ชนิด (เรียงโดยสมุดภาพโปเกมอนสากล ครอบคลุมฟุชิงิดาเนะ จนถึง มิว) และแนวคิดพื้นฐานของเกมเกี่ยวกับการจับโปเกมอน การฝึกฝนโปเกมอน การต่อสู้ และการแลกเปลี่ยนโปเกมอนทั้งกับคอมพิวเตอร์และตัวผู้เล่น เกมเวอร์ชันเหล่านี้ดำเนินเนื้อเรื่องในเขตภูมิภาคคันโต ซึ่งเป็นภูมิภาคสมมุติ แม้ว่าชื่อนี้จะไม่ได้ถูกใช้จนถึงเจเนอเรชันที่สอง

เจเนอเรชันที่สองของโปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1999 ด้วยการจำหน่าย โปเกมอนโกลด์แอนด์ซิลเวอร์ สำหรับเกมบอยคัลเลอร์ เช่นเดียวกับเจเนอเรชันที่แล้ว เวอร์ชันปรับปรุงชื่อ โปเกมอนคริสตัล ก็ถูกจำหน่ายในเวลาต่อมา เจเนอเรชันที่สองนำเสนอโปเกมอนตัวใหม่ 100 ชนิด (เริ่มที่ชิโกริต้า และสิ้นสุดที่ เซเลบี) รวมแล้วมีโปเกมอน 251 ชนิดให้สะสม ฝึกฝน และต่อสู้ นอกจากนี้ยังมีโปเกมอนมินิซึ่งเป็นเครื่องเล่นเกมมือถือออกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ในญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 และในยุโรปใน ค.ศ. 2002

โปเกมอนเข้าสู่เจเนอเรชันที่สามด้วยการออกจำหน่าย โปเกมอนรูบีแอนด์แซฟไฟร์ สำหรับเครื่องเกมบอยแอ็ดวานซ์ในปี ค.ศ. 2002 ตามด้วยเกมโปเกมอนเร้ดแอนด์บลูเวอร์ชันรีเมคในชื่อ โปเกมอนไฟร์เรดแอนด์ลีฟกรีน และเวอร์ชันปรับปรุงของโปเกมอนรูบีแอนด์แซฟไฟร์ในชื่อ โปเกมอนเอเมอรัลด์ เจเนเรชันที่สามนำเสนอโปเกมอนตัวใหม่ 135 ชนิด (เริ่มที่คิโมริ และสิ้นสุดที่เดโอคิชิสุ) รวมเป็น 386 ชนิด อย่างไรก็ตาม เจเนอเรชันนี้ยังได้รับคำวิจารณ์เกี่ยวกับการนำคุณลักษณะของเกมหลายประการออกไป รวมไปถึง ระบบกลางวันกลางคืนที่มีในเจเนอเรชันที่แล้ว และเป็นเวอร์ชันแรกที่ช่วยให้ผู้เล่นสะสมโปเกมอนเพียงจำนวนที่ระบบได้จัดประเภทไว้แทนที่จะต้องสะสมโปเกมอนทุกชนิด (202 ชนิดจาก 386 ชนิดสามารถหาจับได้ในเกมเวอร์ชันรูบีแอนด์แซฟไฟร์)

ในปี ค.ศ. 2006 ญี่ปุ่นได้เริ่มเจเนอเรชันที่สี่ของแฟรนไชส์ด้วยการออกจำหน่ายเกม โปเกมอนไดมอนด์แอนด์เพิร์ล สำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส เจเนอเรชันที่สี่นำเสนอโปเกมอนตัวใหม่อีก 107 ชนิด (เริ่มที่นาเอโทรุ และสิ้นสุดที่อาร์เซอุส) ทำให้มีโปเกมอนรวม 493 ชนิด "จอสัมผัส" ของนินเทนโด ดีเอส ทำให้เกมมีคุณลักษณะใหม่ เช่น การทำอาหารโปเกมอนหรือพอฟฟิน (poffin) ด้วยปากกาหรือสไตลัส (stylus) และการใช้ Pok?tch แนวคิดระบบการเล่นใหม่รวมไปถึงระบบการจัดประเภทโครงสร้างท่าต่อสู้ใหม่ ระบบการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นแบบออนไลน์และต่อสู้ผ่านการเชื่อมต่อนินเทนโดวายฟาย (Nintendo Wi-Fi Connection) การกลับมา (และส่วนเพิ่มเติม) ของระบบกลางวันกลางคืนจากเจเนอเรชันที่สอง การเพิ่มเติมการประกวดโปเกมอนของเจเนอเรชันที่สามให้เป็น "ซูเปอร์คอนเทสต์" (Super Contest) และภูมิภาคใหม่ชื่อ ซินโนะ (Sinnoh) ที่มีส่วนที่เป็นใต้ดินสำหรับระบบการเล่นแบบหลายคนนอกเหนือจากพื้นที่บนพื้นดิน เช่นเดียวกับโปเกมอนเยลโลว์ คริสตัล และเอเมอรัลด์ เวอร์ชันปรับปรุงของโปเกมอนไดมอนด์แอนด์เพิร์ลมีคือ โปเกมอนแพลตินัม ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ในญี่ปุ่น เดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 ในสหรัฐอเมริกา และเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ในออสเตรเลียและยุโรป เกมภาคเสริมในเจเนอเรชันที่สี่คือภาคต่อของโปเกมอนสเตเดียมที่ชื่อ โปเกมอนแบทเทิลเรฟโวลูชัน สำหรับเครื่องวี ที่สามารถเชื่อมต่อวายฟายได้ด้วย นินเทนโดประกาศในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ว่าภาครีเมคของโปเกมอนโกลด์แอนด์ซิลเวอร์ในชื่อ โปเกมอนฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์ ออกจำหน่ายสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส ภาคฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์นั้น เนื้อเรื่องจะอยู่ที่ภูมิภาคโจโตและออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 ในญี่ปุ่น

เจเนอเรชันที่ห้าของโปเกมอนเริ่มในวันที่ 18 กันยายนด้วยการออกจำหน่ายเกม โปเกมอนแบล็คแอนด์ไวท์ ในญี่ปุ่นสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส เดิมบริษัทโปเกมอนได้ประกาศเกมนี้ออกเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2010 ว่ายังไม่แน่นอนว่าจะออกจำหน่ายในปีนั้น ก่อนจะประกาศในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ว่าเกมจะออกจำหน่ายวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2010 เวอร์ชันนี้ฉากถูกตั้งอยู่ที่ภูมิภาคอิชชูหรือยูโนวา และใช้ความสามารถในการเรนเดอร์ 3 มิติของเครื่องนินเทนโด ดีเอสให้มีขอบเขตเหนือกว่าภาคแพลตินัม ฮาร์ตโกลด์และโซลซิลเวอร์ อย่างที่เห็นในฉากตัวผู้เล่นเดินผ่านมหานคร Castelia City มีโปเกมอนตัวใหม่ทั้งหมด 156 ชนิดแนะนำในเจเนอเรชันนี้ (เริ่มที่วิคทินี่ และสิ้นสุดที่เกโนเซคท์) รวมถึงกลไลเกมใหม่ เช่น ซีเกียร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบไร้สาย และความสามารถในการอัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับเกมลงอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ของผู้เล่นโปเกมอนแบล็คแอนด์ไวท์ออกจำหน่ายในยุโรปวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2011 ในอเมริกาเหนือวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2011 และออสเตรเลียในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2011 ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2012 นินเทนโดออกจำหน่าย โปเกมอนแบล็คทูแอนด์ไวท์ทูในญี่ปุ่นสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส และในอเมริกาเหนือและยุโรปเมื่อต้นเดือนตุลาคม

ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2013 นินเทนโดประกาศเกม โปเกมอนเอ็กซ์แอนด์วาย สำหรับเครื่องนินเทนโด 3ดีเอส อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจเนอเรชันที่หกของเกม เกมจะถูกเรนเดอร์ในแบบ 3 มิติ และออกจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013

แกนหลักของซีรีส์เกมโปเกมอนนั้นพัวพันกับการจับและการต่อสู้กับโปเกมอน เริ่มจากโปเกมอนเริ่มต้น ผู้เล่นสามารถจับโปเกมอนป่าโดยทำให้มันอ่อนแอและจับมันด้วยโปเกบอล ในทางกลับกัน พวกเขาสามารถเลือกที่จะต่อสู้กับมันให้ชนะแล้วโปเกมอนจะได้รับค่าประสบการณ์ เป็นการเพิ่มระดับหรือเลเวลและสอนท่าใหม่ ๆ ให้กับมัน โปเกมอนตัวหนึ่งสามารถวิวัฒนาการไปเป็นร่างใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้นได้ด้วยการเพิ่มระดับหรือด้วยการใช้ไอเทมที่เกมกำหนด ตลอดการเล่นเกม ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับนักฝึกโปเกมอนเพื่อดำเนินเรื่อง ด้วยเป้าหมายหลักคือหัวหน้ายิมที่หลากหลายและได้สิทธิในการเป็นแชมเปียนในทัวร์นาเมนต์ เกมภาคต่อๆมาได้เปิดตัวภารกิจรองมากมาย รวมถึงแบทเทิลฟรอนเทียร์ที่มีรูปแบบการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และการประกวดโปเกมอนที่จะได้เห็นการแสดงของโปเกมอนบนจอ

อีกมุมมองที่สอดคล้องกันของเกมโปเกมอน ตั้งแต่โปเกมอน เร้ด และ บลู บนเครื่องเกมบอย ไปจนถึงโปเกมอนแบล็ค และ ไวท์บนเครื่องนินเทนโด ดีเอส คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนหนึ่งในสามที่กำหนดไว้เป็นตัวเริ่มต้นของการผจญภัย เรียกโปเกมอนสามตัวเหล่านี้ว่า "โปเกมอนเริ่มต้น" (starter Pok?mon) ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช รูปแบบไฟ หรือรูปแบบน้ำได้ ตัวอย่างเช่น ในโปเกมอนเร้ด และ บลู (และเวอร์ชันรีเมค ไฟร์เร้ด และ ลีฟกรีน) ผู้เล่นสามารถเลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ แต่ในโปเกมอนเยลโล่ว์ ซึ่งเป็นภาคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องอ้างอิงตามเนื้อเรื่องของอะนิเมะ ผู้เล่นจะได้รับพิกะจู รูปแบบไฟฟ้า มาเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคนี้ ผู้เล่นจะได้รับโปเกมอนเริ่มต้นสามตัวของภาค เร้ด และ บลู ระหว่างทางในภายหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในเกมอื่น ๆ ของแฟรนไชส์ อีกมุมมองหนึ่ง คู่แข่งของผู้เล่นจะเลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่มีรูปแบบได้เปรียบกับโปเกมอนของเราเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช คู่แข่งก็จะเลือกโปเกมอนรูปแบบไฟ เป็นต้น แต่ในโปเกมอน เยลโล่ว์ ซึ่งมีข้อยกเว้นนั้น คู่แข่งจะเลือกอีวุยเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่ต่อมาอีวุยจะพัฒนาร่างได้เป็นธันเดอร์ส ชาวเวอร์ส หรือบูสเตอร์นั้น จะถูกตัดสินจากผลการต่อสู้กับคู่แข่งว่าแพ้หรือชนะในระหว่างทาง ในเกมบนเครื่องเล่น เกมคิวบ์ ที่ชื่อ โปเกมอนโคลอสเซียม และโปเกมอนเอ็กดี: เกลออฟดาร์คเนส ก็มีข้อยกเว้น นั้นคือในขณะที่เกมส่วนใหญ่ โปเกมอนเริ่มต้นจะเริ่มที่เลเวล 5 แต่เกมเหล่านี้จะเริ่มต้นการเดินทางที่เลเวล 10 และ 25 ตามลำดับ ใน โคลอสเซียม โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือเอฟี และแบล็คกี้ และใน เกลออฟดาร์คเนส โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือ อีวุย

สมุดภาพโปเกมอน (Pok?dex) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมมุติในอะนิเมะและวิดีโอเกมโปเกมอน สำหรับในเกมนั้น เมื่อใดที่โปเกมอนตัวหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นครั้งแรก ข้อมูลของมันจะเพิ่มเข้าไปในสมุดภาพนี้ แต่ในอะนิเมะหรือมังงะนั้น สมุดภาพโปเกมอนเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ปกติมีไว้เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของโปเกมอน สมุดภาพโปเกมอนยังใช้ในการอ้างอิงถึงรายชื่อโปเกมอนซึ่งโดยทั่วไปจะเรียงตามหมายเลข ในวิดีโอเกม นักฝึกโปเกมอนจะเห็นเป็นที่ว่างเปล่า ณ ขณะเริ่มต้นเกม ผู้ฝึกจะต้องพยายามเติมเต็มสมุดภาพโดยเผชิญหน้ากับโปเกมอน และจับมันให้ได้สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ผู้เล่นจะเห็นชื่อและรูปภาพของโปเกมอนหลังจากได้พบเจอโปเกมอนที่ไม่เคยเจอมาก่อน หลังจากการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นโปเกมอนป่า หรือการต่อสู้กับผู้ฝึกคนอื่น (ยกเว้นการต่อสู้แบบเชื่อมต่อเครื่องเล่นกับผู้เล่นคนอื่น เช่นในแบทเทิลฟรอนเทียร์) ในโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ข้อมูลโปเกมอนจะเพิ่มในสมุดภาพง่าย ๆ โดยดูรูปโปเกมอน เช่นในสวนสัตว์นอกเขตซาฟารีโซน ตัวละคร NPC ก็อาจทำให้สมุดภาพเพิ่มข้อมูลโปเกมอนเข้าไปได้โดยอธิบายลักษณะของโปเกมอนระหว่างการพูดคุยกัน ข้อมูลอื่น ๆ หาได้หลังจากผู้เล่นได้รับโปเกมอนสายพันธุ์นั้น ๆ แล้ว หรืออาจจะผ่านการจับโปเกมอนป่า การพัฒนาร่างของโปเกมอน การฟักไข่ (ตั้งแต่รุ่นที่สองเป็นต้นมา) หรือการแลกเปลี่ยนโปเกมอน ข้อมูลที่จะได้เห็นเหล่านั้นเช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ชนิดสายพันธุ์ และรายละเอียดสั้น ๆ ของโปเกมอน ในภาคต่อ ๆ มา สมุดภาพรุ่นใหม่อาจมีข้อมูลรายละเอียดที่มากขึ้นเช่น ขนาดของตัวโปเกมอนเปรียบเทียบกับตัวผู้ฝึก หรือรายชื่อโปเกมอนแยกตามถิ่นที่อยู่อาศัย (ข้อมูลนี้จะเห็นได้แค่ในภาคไฟร์เร้ดและลีฟกรีนเท่านั้น) สมุดภาพโปเกมอนล่าสุดสามารถจุข้อมูลของโปเกมอนทุกตัวที่รู้จักกันในปัจจุบัน เกมโปเกมอน โคลอสเซียม และโปเกมอนเอกซ์ดี:เกลออฟดาร์คเนส บนเครื่องเกมคิวบ์ มีระบบการช่วยเหลือข้อมูลโปเกมอนแบบดิจิทัล (Pok?mon Digital Assistant; P?DA) ดูคล้ายกับสมุดภาพโปเกมอน แต่สามารถบอกว่าโปเกมอนรูปแบบไหนได้เปรียบหรือเสียเปรียบโปเกมอนรูปแบบไหน และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถเฉพาะของโปเกมอนได้ด้วย

โปเกมอนฉบับอะนิเมะรวมถึงภาพยนตร์ดำเนินเนื้อเรื่องโดยแยกออกจากการผจญภัยต่าง ๆ ในวิดีโอเกม (ยกเว้นภาคเยลโล่ว์ ที่ดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องอะนิเมะ) โปเกมอนฉบับอะนิเมะเป็นเรื่องราวภารกิจอันยิ่งใหญ่ของตัวละครหลัก "ซาโตชิ" หรือ "แอช แคทชัม" (Ash Ketchum) เพื่อจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ในเรื่องการฝึกโปเกมอน เขาและเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เดินทางตามโลกที่มีโปเกมอนเต็มไปหมด ในภาคแรก (original series) เริ่มต้นในวันซาโตชิได้เป็นนักฝึกโปเกมอนวันแรก โปเกมอนตัวแรกซึ่งเป็นโปเกมอนคู่หูคือพิกะจู ซึ่งแตกต่างจากเกมที่จะได้เลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ ซีรีส์นี้ดำเนินไปตามเนื้อเรื่องของเกมโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ในเขตภูมิภาคที่ชื่อว่าคันโต ร่วมเดินทางไปกับ "ทาเคชิ" หรือ "บร็อก" (Brock) หัวหน้ายิมของเมืองนิบิ หรือพิวเตอร์ซิตี (Pewter City) และ "คาสึมิ" น้องสาวคนสุดท้องของกลุ่มพี่น้องหัวหน้ายิมในยิมของเมืองฮานาดะ หรือเซรูเลียนซิตี (Cerulean City) ซีซันต่อมาคือ Pok?mon: Adventures on the Orange Islands ซึ่งเป็นการผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรื่อง และเปลี่ยนตัวละครจากทาเคชิเป็น "เค็นจิ" หรือ "เทรซีย์" (Tracey) จิตรกรและผู้ดูแลโปเกมอน ซีซันต่อมา เป็นเนื้อเรื่องของโปเกมอนรุ่นที่สอง ประกอบด้วย Pok?mon: The Johto Journeys, Pok?mon: Johto League Champions และ Pok?mon: Master Quest ดำเนินเรื่องในเขตภูมิภาคโจโต มีตัวละครสามคนคือซาโตชิ ทาเคชิ และคาสึมิ เช่นเดิม

การผจญภัยยังคงดำเนินต่อในซีซัน Pok?mon: Advanced ของซีรีส์ Pok?mon: Advanced Generation ดำเนินเนื้อเรื่องตามเกมโปเกมอนรุ่นที่สาม ซาโตชิและเพื่อน ๆ เดินทางในเขตภูมิภาคโฮเอ็นซึ่งอยู่ทางใต้ ซาโตชิได้เป็นครูและผู้ให้คำปรึกษาให้กับนักฝึกโปเกมอนมือใหม่ที่ชื่อ "ฮารุกะ" น้องชายของเธอ "มาซาโตะ" ก็ร่วมเดินทางด้วย แต่ไม่ได้เป็นนักฝึกโปเกมอน แต่เขากลับรู้ข้อมูลโปเกมอนมากมาย ในซีรีส์นี้ ทาเคชิก็มาร่วมเดินทางกับซาโตชิ แต่คาสึมิต้องกลับไปที่ยิมฮานาดะเพื่อทำหน้าที่เป็นหัวหน้ายิม (คาสึมิ รวมถึงตัวละครอื่น ยังปรากฏในซีรีส์พิเศษ Pok?mon Chronicles ด้วย) ต่อด้วยซีซัน Pok?mon: Advanced Challenge, Pok?mon: Advanced Battle และจบซีรีส์ด้วยซีซัน Pok?mon: Battle Frontier ยึดหลักตามเนื้อเรื่องเกมภาคเอเมอรัลด์และมุมมองลักษณะของเกมภาคไฟร์เร้ดและลีฟกรีน

ซีรีส์ต่อไปคือโปเกมอน Diamond and Pearl โดยซีรีส์นี้มาซาโตะ น้องชายของฮารุกะ ได้ออกจากกลุ่มเพื่อเลือกโปเกมอนเริ่มต้นและออกเดินทางด้วยตัวเอง และฮารุกะได้ไปเข้าร่วมเทศกาล Grand Festival ที่โจโต ซาโตชิ ทาเคชิ และเพื่อนคนใหม่ "ฮิคาริ" ร่วมออกเดินทางไปตามภูมิภาคซินโอ

ซีรีส์ต่อไปคือพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เบส วิชเชส! (Best Wishes!) โดยซีรีส์นี้ฮิคาริและทาเคชิได้ออกจากกลุ่ม หลังจากที่ทาเคชิร่วมเดินทางด้วยกันมานานตั้งแต่ซีรีส์แรก ซาโตชิได้เจอเพื่อนใหม่ "ไอริส" และ "เดนท์" คู่หูคนใหม่และร่วมออกเดินทางไปตามภูมิภาคอิชชู

ซีรีส์ล่าสุดคือพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ XY โดยซีรีส์นี้ไอริสและเดนท์ได้ออกจากกลุ่มหลังจากร่วมเดินทางเป็นเวลานานในซีรีส์ที่ผ่านมา ซาโตชิได้ออกเดินทางไปตามภูมิภาคคาลอส

นอกจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ ยังมีโปเกมอนฉบับภาพยนตร์สร้างขึ้นทั้งหมด 15 ภาค โดยโปเกมอนสองภาคที่ชื่อ Pok?mon the Movie: Black—Victini and Reshiram และ White—Victini and Zekrom นั้นถือว่าเป็นภาคเดียวกัน ปัจจุบันภาพยนตร์ภาคที่ 16 กำลังอยู่ในกระบวนการสร้าง ในโปเกมอนฉบับภาพยนตร์บางภาค ยังมีการสะสมสินน้ำใจ เช่นการ์ดเกม ให้สะสมด้วย

การ์ตูนโปเกมอนนั้นมีหลายภาค จนถึงทุกวันนี้ โปเกมอนยังไม่มีตอนจบ การ์ตูนเรื่องนี้ถูกผลิตเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายตอน แบ่งได้เป็นหลายภาค โดยภาคแรกนั้นเป็นแบบฉบับดั้งเดิม (Original series) จำนวน 276 ตอน ภาคต่อไปคือ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน (Advance Generation) หรือ AG จำนวน 192 ตอน ภาคต่อไปคือ ไดมอนด์ แอนด์ เพิร์ล (Diamond & Pearl) หรือ DP จำนวน 191 ตอน ภาคต่อไปคือ เบสท์ วิช (Best Wishes!) หรือ BW จำนวน 142 ตอน และภาคล่าสุดคือ เอ็กซ์วาย (XY) ซึ่งทางญี่ปุ่นจะฉายในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556 นี้เป็นตอนแรกของซีรีส์

สำหรับประเทศไทยนั้น เคยมีการนำการ์ตูนโปเกมอนมาฉายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในรายการโมเดิร์นไนน์การ์ตูน

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน เป็นภาคต่อของพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ โดยบางครั้งจะเรียกคำย่อว่า "โปเกมอน AG"

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไดมอนด์ & เพิร์ล เป็นภาคต่อของ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน โดยบางครั้งจะเรียกคำย่อว่า "โปเกมอน DP"

พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เบส วิชเชส เป็นภาคต่อของ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ไดมอนด์ แอนด์ เพิร์ล โดยบางครั้งจะเรียกคำย่อเป็น "โปเกมอน BW" หรือ "โปเกมอน BW2"

มีการผลิตซีดีโปเกมอนขายในอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นเกี่ยวกับโปเกมอนฉบับภาพยนตร์ 3 เรื่องแรก หาซื้อได้บ่อย ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2544 ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2550 ซีดีที่ผลิตขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ได้วางขายโดยจุเพลงประกอบภาษาอังกฤษ 18 แทร็ก และเป็นการวางขายซีดีฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกที่วางขายมากกว่า 5 ปี เพลงประกอบภาพยนตร์โปเกมอนได้วางขายในญี่ปุ่นด้วย

โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม เป็นเกมสะสมการ์ด มีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกับการต่อสู้ของโปเกมอนในวิดีโอเกม ผู้เล่นใช้การ์ดโปเกมอนที่มีค่าความแข็งแกร่งและค่าความอ่อนแอบนการ์ดแต่ละใบ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้โดย "น็อคเอาต์" การ์ดโปเกมอนของเขา การ์ดเกมนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในอเมริกาเหนือโดยบริษัท วิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ (อังกฤษ: Wizards of the Coast) ในปี ค.ศ. 1999 อย่างไรก็ตาม เมื่อโปเกมอนรูบี้แอนด์แซฟไฟร์วางจำหน่ายออกมา บริษัทโปเกมอนได้เรียกคืนการ์ดเกมจากวิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ และเริ่มต้นตีพิมพ์จำหน่ายเอง การขยายกิจการของบริษัทในเวลาต่อมาคือการเปิดตัว โปเกมอนอีเทรดดิงการ์ดเกม ซึ่งเป็นการ์ดที่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องนินเทนโด อีรีดเดอร์ ต่อมานินเทนโดหยุดการผลิตของการ์ดเหล่านี้และปล่อย EX ไฟร์เร้ดและลีฟกรีนแทน นินเทนโดวางจำหน่ายเทรดดิงการ์เกมเวอร์ชันเกมบอยคัลเลอร์ในญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1998 และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในปี ค.ศ. 2000 ด้วย โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมนี้ยังประกอบด้วยการ์ดเวอร์ชันดิจิทัลจากการ์ดชุดดั้งเดิม และการ์ดเสริม 2 ชนิด (Jungle และ Fossil) รวมถึงการ์ดมากมายที่ผลิตขึ้นเฉพาะสำหรับเกม เกมภาคต่อเฉพาะเวอร์ชันญี่ปุ่นได้วางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2001

โปเกมอนฉบับมังงะ (หนังสือการ์ตูน) นั้นมีหลากหลาย โดยผู้ที่ผลิตวางขายในภาษาอังกฤษคือ Viz Communications และ Chuang Yi มังงะนั้นแตกต่างจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมากในเรื่องของนักฝึกโปเกมอน สามารถฆ่าโปเกมอนของฝ่ายตรงข้ามได้

โปเกมอนได้รับคำวิจารณ์จากศาสนิกชนของศาสนาคริสต์ ยูดาย ชาวคริสต์เห็นว่าเกี่ยวกับความลึกลับและรุนแรงของโปเกมอน รวมถึงโปเกมอนวิวัฒนาการของโปเกมอน (แม้ว่าจะคล้ายกับการลอกคราบมากกว่า แต่โครงการ ChildCare Action Project เชื่อมโยงมันเข้ากับเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ) ซึ่งเขาอ้างว่าขัดแย้งกับการกำเนิดทางไบเบิลของสรรพสิ่งที่รุนแรง ซึ่งคนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ จึงไม่เชื่อเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในวาติกันแย้งว่าโปเกมอนเทรดดิงการ์ด และวิดีโอเกมนั้น "มีจินตนาการสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม" และ "ไม่มีผลกระทบข้างเคียงในเรื่องหลักศีลธรรมเลย" ในสหราชอาณาจักร เกม "คริสเตียน เพาเวอร์ การ์ด" ได้เปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 โดยเดวิด เทต ซึ่งกล่าวว่า "บางคนไม่ชอบโปเกมอนและต้องการทางเลือกอื่น พวกเขาเพียงต้องการเกมของคริสต์ศาสนิกชนเท่านั้น" เกมนี้ดูคล้ายกับโปเกมอนเทรดดิงการ์ดแต่ตัวละครสำคัญบนการ์ดมาจากคัมภีร์ไบเบิล

ในปี ค.ศ. 1999 นินเทนโดหยุดผลิตการ์ด "Koga's Ninja Trick" เวอร์ชันญี่ปุ่นเนื่องจากรูปภาพแสดงให้เห็นถึงตัวมังจิ เครื่องหมายทางศาสนาพุทธซึ่งไม่มีนัยในด้านลบ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อต้านการสบประมาทของชาวยิวได้ประกาศต่อต้านเนื่องจากสัญลักษณ์นี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์สวัสติกะกลับด้าน ซึ่งถือว่าเป็นการโจมตีชาวยิว แม้ว่านินเทนโดจะตั้งใจว่าจะวางขายการ์ดเหล่านี้เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่นินเทนโดก็มีกำหนดการปล่อยเวอร์ชันอเมริกาเหนือในปีต่อมา กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่อต้านการสบประมาทเข้าใจว่าสัญลักษณ์ที่เป็นปัญหานั้นไม่มีเจตนาจะจู่โจมและยอมรับการที่นินเทนโดลบเครื่องหมายนี้ออกไป

ในปี ค.ศ. 2001 ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประกาศห้ามนำเกมโปเกมอนและการ์ดเข้าประเทศ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการสนับสนุนกลุ่มไซออนนิสม์ โดยดูจากสัญลักษณ์ ดาราแห่งเดวิด (Star of David) ที่แสดงบนการ์ด และมีความเกี่ยวโยงกับการพนัน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎของชาวมุสลิม โปเกมอนยังถูกกล่าวหาเนื่องจากส่งเสริมพวกวัตถุนิยมอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 1999 เด็กชายอายุ 9 ขวบ 2 คน ฟ้องร้องนินเทนโด เพราะเขาอ้างว่าเกมโปเกมอนเทรดดิงการ์ดทำให้เขาติดการพนันงอมแงม

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น 700 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน ซึ่งพบว่าเกิดขึ้นจากการดูการ์ตูนโปเกมอนตอนที่ 38 (ญี่ปุ่น: ??????????? Computer Soldier Porygon: EP038) เป็นผลให้ตอนนี้ไม่ได้ออกอากาศอีก ในโปเกมอนตอนนี้ จะมีการระเบิดขึ้นและมีแสงสีแดงกับสีน้ำเงินสลับกันอย่างรวดเร็ว และสิ่งนี้เรียกว่า "paka-paka" ซึ่งมีการระบุว่าแสงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการลมชัก แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยมีประวัติของโรคนี้มาก่อนก็ตาม จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo และเรื่องเซาท์พาร์ก ตอน Chinpokomon

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 บริษัทผู้ผลิตของเล่นขนาดเล็ก Morrison Entertainment Group ที่ตั้งอยู่ที่แมนฮัตตันบีช แคลิฟอร์เนีย ฟ้องร้องนินเทนโดว่าแฟรนไชส์โปเกมอนละเมิดตัวละครของมอนสเตอร์อินมายพ็อคเก็ต ที่ตนเป็นผู้ผลิต โดยผู้พิพากษาตัดสินว่าไม่ใช่การละเมิด ดังนั้น Morrison จึงฟ้องอุทธรณ์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001

เนื่องจากความนิยมของโปเกมอน ส่งผลให้มีโปเกมอนเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมสมัยนิยม ตัวละครของโปเกมอนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นบอลลูนรูปพิกะจูในขบวนพาเหรดวันขอบคุณพระเจ้าของเมซี่ (Macy's Thanksgiving Day Parade) เครื่องบินโบอิง 747-400 รูปโปเกมอน สินค้าโปเกมอนนับพัน และสวนสนุกโปเกมอนในเมืองนาโกยะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2005 และในไทเป ค.ศ. 2006 โปเกมอนยังปรากฏบนปกของนิตยสารไทม์ของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1999 การแสดงตลกชื่อ Drawn Together มีตัวละครชื่อ ลิงลิง (Ling-Ling) ที่มีลักษณะล้อเลียนพิกะจู และการแสดงอื่น ๆ อีกหลายการแสดงเช่น ReBoot เดอะซิมป์สันส์ South Park The Grim Adventures of Billy and Mandy และ All Grown Up! ที่ได้อ้างถึงโปเกมอนระหว่างเนื้อเรื่อง โปเกมอนยังถูกนำเสนอในรายการ I Love the '90s: Part Deux ของสถานีโทรทัศน์ VH1 อีกด้วย การแสดงสดชื่อว่า โปเกมอนไลฟ์ (Pok?mon Live!) ได้ทัวร์ไปในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี ค.ศ. 2000 โดยแสดงตามเนื้อเรื่องโปเกมอนฉบับอะนิเมะ แต่มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับต่อเนื่องของเนื้อเรื่องในการแสดงนี้ จิม บุทเชอร์ กล่าวถึงโปเกมอนว่าเป็นแรงบันดาลใจในซีรีส์นวนิยายเรื่อง Codex Alera

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 นินเทนโดเปิดร้านค้าชื่อว่า Pok?mon Center ณ ศูนย์กลางร็อกเฟลเลอร์ในนิวยอร์ก โดยออกแบบขึ้นหลังร้าน Pok?mon Center 2 แห่งในโตเกียวและโอซาก้า ซึ่งอาคารนี้ในเนื้อเรื่องเป็นที่ที่นักฝึกโปเกมอนนำโปเกมอนมารักษาอาการเจ็บป่วย ร้านค้านี้ขายสินค้าที่ระลึกเกี่ยวกับโปเกมอน มี 2 ชั้น โดยเรียงเป็นลำดับสินค้าตั้งแต่เสื้อยืดสะสม อุปกรณ์เครื่องเขียน pokemon card ไปจนถึงตุ๊กตาโปเกมอน ร้านแห่งนี้ยังเปิดตัว เครื่องแจกจ่ายโปเกมอน (Pok?mon Distributing Machine) ที่ผู้เล่นจะวางเกมโปเกมอนลงไปเพื่อรับไข่โปเกมอนที่แจกขึ้นเฉพาะเวลานั้นเท่านั้น นอกจากนี้ร้านแห่งนี้ยังมีโต๊ะสำหรับให้ผู้เล่นเข้าไปเล่นโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเพื่อดวลกัน ร้าน Pok?mon Center นี้ปิดตัวลงและสร้าง Nintendo World Store ขึ้นมาแทนที่ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2005

โจเซฟ เจ โทบินตั้งทฤษฎีว่าความสำเร็จของแฟรนไชส์โปเกมอนส่วนใหญ่มาจากรายชื่อยาวเหยียดที่เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และพูดถึงซ้ำ ๆ ในกลุ่มเพื่อนของตน โลกของเรื่องสมมุติมีโอกาสมากมายให้อภิปรายและสาธิตความรู้ต่อหน้าเพื่อน ๆ ในเวอร์ชันภาษาฝรั่งเศส นินเทนโดได้ใส่ใจโดยแปลชื่อของโปเกมอนเพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมและภาษาของฝรั่งเศส ชื่อโปเกมอนทุกชื่อแสดงความเป็นตัวตน ที่ทำให้เด็กเชื่อว่าชื่อนั้นมีอำนาจเชิงสัญลักษณ์ เด็ก ๆ สามารถเลือกโปเกมอนตัวโปรดและใช้แสดงความเป็นตัวเอง ขณะที่ในเวลาเดียวกันก็สนับสนุนความสอดคล้องเหมือนกันภายในกลุ่ม และแบ่งแยกกลุ่มของตนจากเด็กกลุ่มอื่นโดยประเมินจากสิ่งที่พวกเขาชอบและสิ่งที่ไม่ชอบจากทุก ๆ ตอน โปเกมอนได้รับความนิยมเพราะโปเกมอนให้ความเป็นอัตลักษณ์กับกลุ่มของเด็ก ๆ ในวงกว้างได้ และเสียมันไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเด็ก ๆ กลุ่มนั้นพบว่ากลุ่มอัตลักษณ์นั้นใหญ่เกินไปและตามหาอัตลักษณ์อื่น ๆ ที่จะแยกเขาออกมาอยู่ในกลุ่มที่เล็กลงได้

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 กิจกรรม "เดือนแห่งรูปโปรไฟล์โปเกมอน" (Pok?mon profile picture month) บนเว็บไซต์เฟซบุ๊กได้เริ่มขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 100,000 คน (โดยประมาณ) เปลี่ยนรูปภาพโปรไฟล์ในเฟซบุ๊กของตนเองให้เป็นรูปโปเกมอน ในปี ค.ศ. 2010 ประชาชนกว่า 252,000 คนตอบว่า "เข้าร่วม" กิจกรรม หรือมีคนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยสองเท่าของปีก่อนหน้า

ประวัติศาสตร์ของโปเกมอนเกิดขึ้นพร้อมกับคู่แข่งอย่างแฟรนไชส์ ดิจิมอน ที่เปิดตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน ฮวาน แคสโทร จากไอจีเอ็น ซึ่งกล่าวถึงดิจิมอนว่าเป็นอีก "มอน" หนึ่ง เขากล่าวว่าดิจิมอนไม่ได้รับความนิยมหรือความสำเร็จอยู่ในระดับเดียวกับโปเกมอน แต่ก็มียังแฟนคลับที่อุทิศตนให้ ลูคัส เอ็ม. โธมัส จากไอจีเอ็นกล่าวว่า โปเกมอนเป็น "การแข่งขันและการเปรียบเทียบเสมอมา" ของดิจิมอน อ้างว่าความสำเร็จของโปเกมอนมจากความง่ายของกลไกวิวัฒนาการเมื่อเทียบกับดิจิโวลูชัน แหล่งข้อมูลเช่น เกมโซน (GameZone) มองว่า สองแฟรนไชส์นี้มีแนวคิดและรูปแบบที่คล้ายกัน การโต้วาทีระหว่างแฟนคลับในเรื่องแฟรนไชส์ใดเกิดขึ้นก่อนยังคงมีอยู่ ในความจริง สื่อแรกของโปเกมอน นั่นคือโปเกมอนเร้ด และ กรีน ออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 ขณะที่ สัตว์เลี้ยงเสมือนจริงของดิจิมอนออกจำหน่ายในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1997


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406