โทะริอิ (ญี่ปุ่น: ?? Torii ?, ความหมาย: ที่ของปักษา) คือซุ้มประตูแบบญี่ปุ่น ตั้งไว้เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ว่า อาณาเขตเบื้องหลังเสาโทะริอินี้เป็นอาณาเขตของเทพเจ้า เพื่อที่ผู้คนจะได้ไม่เผลอกระทำการอันจะเป็นการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โทะริอิสามารถพบได้ตามศาลเจ้าชินโตตลอดจนวัดพุทธบางแห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในแผนที่ของญี่ปุ่น จะใช้สัญลักษณ์โทะริอิ เป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งศาลเจ้าต่างๆ นอกจากนี้ อาจพบโทะริอิได้ถามทางเดินและท้องถนนทั่วไปที่แถวนั้นอาจมีเจ้าที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ หรือแม้แต่ในป่าหรือภูเขาลึกบางแห่ง
โทะริอิมีมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่อาจทราบได้ แต่บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนถึงโทะริอิ ถูกเขียนเมื่อ ค.ศ. 922 ในช่วงกลางยุคเฮอัง โทะริอิหินที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างในศตวรรษที่ 12 เป็นโทะริอิของศาลเจ้าฮะชิมังในจังหวัดยะมะงะตะ ใขณะที่โทะริอิไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1535 เป็นโทะริอิของศาลเจ้าคุโบฮะชิมัง ในจังหวัดยะมะนะชิ
โทะริอิแบบดั้งเดิมนั้นจะถูกสร้างด้วยไม้หรือหิน แต่ในปัจจุบัน โทะริอิบางต้นอาจถูกสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งโทะริอินั้น มีทั้งแบบทาสีและไม่ทาสี หากทาสี จะทาสีชาดที่ลำต้น และคานด้านบนสุดจะทาด้วยสีดำ ศาลเจ้าฟุชิมิ-อินะริ ในนครเคียวโตะ นั้น มีโทะริอิมากกว่าพันต้น แต่ละต้นจะจารึกชื่อผู้บริจาค
โทะริอิ มีความหมายว่า "ที่ของนก" ในญี่ปุ่น มีความเชื่อว่า นกถือเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกหลังความตาย ซึ่งความเชื่อนี้อาจจะมาจากบันทึกโบราณ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ ที่กล่าวถึงพิธีศพของ ยะมะโตะ ทะเกะรุ โอรสในจักรพรรดิเคโกในตำนาน ว่าเมื่อทะเกะรุสิ้นสิ้นชีพิตักสัยแล้ว ได้ปรากฎร่างนกสีขาวและบินไปเลือกสถานที่ฝังศพของตนเอง ด้วยเหตุนี้ สถานที่ฝังศพของเขาจึงถูกเรียกว่า ชิระโทะริ มิซะซะงิ (????, สุสานนกสีขาว)
โทะริอิมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแบบที่ง่ายที่สุดคือแบบ ชิเมะโทะริอิ หรือ ชูเร็นโทะริอิ (????) โดยโทะริอินั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ชิมเม (??) และ เมียวจิน (??)