ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โคเบะ

โคเบะ (ญี่ปุ่น: ??? K?be-shi ?) เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง

โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ ค.ศ. 201 โคเบะไม่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากนัก แม้แต่เมื่อครั้งที่ท่าเรือโคเบะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในสมัยเอะโดะ จนกระทั่งมีการก่อตั้งเมืองขึ้นในปี ค.ศ. 1889 ในชื่อเมือง "คันเบะ" (??) เพื่อระลึกถึงผู้บริจาคในการสร้างศาลเจ้าอิกุตะ จากนั้น ในปี ค.ศ. 1956 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งให้โคเบะเป็นหนึ่งในเมืองของประเทศที่มีเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ

โคเบะเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่นที่มีการค้าขายกับทางประเทศตะวันตกนับตั้งแต่การยกเลิกนโยบายปิดประเทศ ในปี ค.ศ. 1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้เมืองโคเบะได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ก็สามารถซ่อมแซมบูรณะจนกลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งได้ บริษัทหลายๆแห่งได้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่โคเบะ และเมืองนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของเนื้อโคเบะอีกด้วย

มีการขุดพบการใช้เครื่องมือของมนุษย์ในยุคโจมงทางตะวันตกของโคเบะ ด้วยความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ของโคเบะทำให้มีการพัฒนาท่าเรือขึ้นที่บริเวณแห่งนี้ หลักฐานลายลักษณ์อักษรของโคเบะปรากฏครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิ ที่กล่าวถึงการตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ ค.ศ. 201

ในยุคนะระและยุคเฮอันนั้น ท่าเรือในบริเวณนี้ก็เป็นที่รู้จักในชื่อท่าจอดเรือแห่งโอวะดะ (โอวะดะโนะโทะมะริ) เป็นจุดที่เริ่มต้นของการเดินทางเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน เมืองโคเบะเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นเป็นช่วงเวลาสั้นๆเมื่อปี ค.ศ. 1180 เมื่อซะมุไรไทระ โนะ คิโยะโมะริสั่งให้พระจักรพรรดิอันโทะคุย้ายไปอยู่ที่เขตฟุคุฮะระในเขตเมืองโคเบะ แต่หลังจากนั้น 5 เดือน พระจักรพรรดิก็ย้ายกลับไปเคียวโตะอีกครั้ง ในช่วงปลายของยุคเฮอัง โคเบะเป็นสมรภูมิของสงครามเก็มเป อันเป็นเป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคเฮอังและยุคคะมะกุระ

หลังจากยุคคะมะกุระ โคเบะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับจีนและต่างประเทศ และในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โคเบะเริ่มเป็นที่รู้จักในชื่อ ท่าเรือเฮียวโงะ (??? เฮียวโงะสึ) เป็นท่าเรือสำคัญเคียงคู่กับท่าเรือของเมืองโอซะกะ

หลังจากนั้น เมื่อเข้าสู่ยุคเอะโดะ พื้นที่ทางตะวันออกของโคเบะอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลอะมะงะซะกิและพื้นที่ทางตะวันออกอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลอะกะชิ ส่วนพื้นที่ตอนกลางของเมืองถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ จนกระทั่งมีการยกเลิกไปเมื่อมีการยกเลิกระบบศักดินาในปี ค.ศ. 1871 เมื่อล่วงเข้าสู่ยุคเมจิ และมีการใช้ระบบการปกครองแบบจังหวัด ดังเช่นที่ใช้กันในทุกวันนี้

รัฐบาลบะกุฟุเปิดท่าเรือโคเบะให้ค้าข่ายกับต่างประเทศได้พร้อมท่าเรือโอซะกะเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1868 ก่อนที่จะเกิดสงครามโบชิงและการปฏิรูปเมจิขึ้น จากนั้นพื้นที่ของโคเบะจึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณคิตะโนะ ทางตอนเหนือของโคเบะในปัจจุบัน

เมืองโคเบะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1889 และเนื่องจากเมืองมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับศาลเจ้าอิกุตะ จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า "โคเบะ" ซึ่งมาจากคำว่า "คันเบะ" (??) ที่เป็นคำโบราณที่หมายถึงผู้ที่บริจาคในการสร้างศาลเจ้าแห่งนี้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โคเบะถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือการทิ้งระเบิด B-29 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1945 จนเป็นเหตุให้มีพลเรือนเสียชีวิต 8,841 ราย พื้นที่เมืองโคเบะลดลงไปกว่าร้อยละ 21 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องสุสานหิ่งห้อยจากค่ายสตูดิโอจิบลิ

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1975 เทศมนตรีเมืองโคเบะผ่านบัญญัติว่าด้วยการห้ามมิให้ยานพาหนะใดที่บรรทุกอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาเทียบท่าที่ท่าเรือโคเบะโดยเด็ดขาดหลังจากที่ได้รับการกดดันจากพลเรือนมาโดยตลอด

เมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงวัดขนาดได้ที่แมกนิจูด 7.2 เมื่อเวลา 5:46 นาฬิกา คร่าชีวิตชาวเมืองไป 6,434 ราย และประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 212,443 คน ท่าเรือและหลายส่วนของเมืองได้รับความเสียหาย หลังจากได้มีการบูรณะเมืองจนเข้าสู่สภาพปกติเรียบร้อยแล้ว เมืองโคเบะได้จัดแสดงแสงสี(Luminari)เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นเป็นประจำทุกปี

ท่าเรือโคเบะเคยเป็นท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดของญี่ปุ่นและติดอันดับท่าเรือชั้นนำของเอเชีย จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง ปัจจุบัน โคเบะเป็นท่าเรืออันดับที่ 4 ของญี่ปุ่นและเป็นท่าเรือที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดเป็นอันดับ 49 ของโลก (จากการจัดอันดับเมื่อปี 2012)

โคเบะตั้งอยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา เป็นเมืองที่ยาวและแคบ ทางตะวันออกติดกับเมืองอะชิยะ ทางตะวันตกติดกับเมืองอะคะชิ และมีเมืองอื่นๆที่สำคัญตั้งอยู่รอบๆ เช่น ทะกะระสึกะ นิชิโนะมิยะ และมิกิ

จุดสังเกตที่สำคัญของพื้นที่บริเวณท่าเรือโคเบะคือหอคอยท่าเรือ อันเป็นหอคอยเหล็กกล้าสีแดง และชิงช้าสวรรค์ยักษ์ในย่านฮาร์เบอร์แลนด์ นอกจกนี้ยังมีการถมทะเลเพื่อสร้างเป็นเกาะพอร์ทและเกาะร็อกโกเพื่อขยายพื้นที่ของเมืองอีกด้วย

สำหรับย่านไกลจากทะเลนั้น มีย่านโมะโตะมะชิ ซันโนะมิยะ และไชน่าทาวน์ เป็นย่านที่สำคัญของเมือง มีทางรถไฟหลายสายให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากฝั่งตะวันออกไปถึงฝั่งตะวันตกของเมือง โดยมีศูนย์กลางรถไฟหลักอยู่ที่สถานีซันโนะมิยะ สถานีโคเบะ และสถานรถไฟชิงกันเซ็งชินโคเบะ

จุดชมวิวที่สำคัญของเมืองอยู่บนภูเขาร็อกโก สูงจากระดับน้ำทะเล 931 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ทั้งเมือง และจะมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูใบไม้ร่วง

โคเบะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มีฤดูร้อนที่ร้อนและฤดูหนาวที่อากาศเย็น ความชื้นในช่วงฤดูร้อนจะสูงกว่าฤดูหนาว แม้ว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างต่ำกว่าบริเวณอื่นๆในเกาะฮนชู และเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตก

เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 โคเบะมีประชากร 1,530,295 คน คิดเป็น 658,876 หลังคาเรือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปีที่แล้ว ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 2,768 คนต่อตารางกิโลเมตร มีอัตราส่วนของผู้ชาย 90.2 คนต่อผู้หญิง 100 คน มีอัตราส่วนของประชากรอายุระหว่าง 0-14 ปีอยู่ที่ร้อยละ 13 อายุระหว่าง 15-64 ปีอยู่ที่ร้อยละ 67 และอายุเกิน 65 ปีอยู่ที่ร้อยละ 20

มีชาวต่างชาติที่ลงทะเบียนอาศัยอยู่ในโคเบะประมาณ 44,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลี (22,237 คน) ชาวจีน (12,516 คน) ชาวเวียดนาม (1,301 คน) และชาวสหรัฐอเมริกา (1,280 คน)

ท่าเรือโคเบะ เป็นท่าเรือที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการผลิตของเขตอุตสาหกรรมฮันชิง โคเบะเป็นเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่มีเรือเข้าออกมากที่สุดในภูมิภาค มากกว่าท่าเรือโอซะกะ และสูงเป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 2004 โคเบะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 6.3 ล้านล้านเยน คิดเป็นร้อยละ 34 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเฮียวโงะและคิดเป็นร้อยละ 8 ของแถบคันไซ รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 2.7 ล้านเยนต่อปี แบ่งเป็นประเภทหนึ่ง (เกษตรกรรม ประมง และเหมืองแร่) ร้อยละ 1 ประเภทที่สอง (การผลิตและอุตสาหกรรม) ร้อยละ 21 และประเภทบริการ ร้อยละ 78

มูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้ในปี 2004 ของโคเบะคือ 2.5 ล้านล้านเยน โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก อาหาร อุปกรณ์การขนส่ง และอุปกรณ์การสื่อสาร

สถานีซันโนะมิยะ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของโคเบะ โดยมีรถไฟเจอาร์สายโคเบะเชื่อมต่อโคเบะกับเมืองโอซะกะและเมืองฮิเมะจิ ส่วนรถไฟฮันกีวสายโคเบะและรถไฟฮันชิงสายโคเบะก็เชื่อมต่อโคเบะกับสถานีอุเมะดะในโอซะกะ นอกจากนี้ รถไฟใต้ดินโคเบะก็เชื่อมต่อกับรถไฟซันโย ชิงกันเซ็งที่สถานีชินโคเบะ และรถไฟฟ้าซันโยก็ให้บริการรถไฟเชื่อมต่อกับฮิเมะจิด้วยรถไฟด่วนโคเบะ

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟเชื่อมเมืองโคเบะกับส่วนอื่นๆในจังหวัดเฮียวโงะอีก เช่น รถไฟฟ้าโคเบะ รถไฟโฮะกุชินเคียวกุ และรถไฟโคเบะนิวทรานซิท

โคเบะเป็นศูนย์กลางของทางด่วน โดยเฉพาะทางด่วนเมชิน (นะโงะยะ - โคเบะ) และทางด่วนฮันชิน (โอซะกะ - โคเบะ) มีทางด่วนโคเบะ-อะวะจิ-นะรุโตะที่เชื่อมโคเบะกับนะรุโตะผ่านเกาะอะวะจิทางสะพานอะกะชิไคเกียวที่มีชื่อเสียงในฐานะสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

สำหรับการคมนาคมทางการอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติโอซะกะและท่าอากาศยานโคเบะที่อยู่ใกล้กับเมือง ขณะที่ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศของภูมิภาคคันไซจะอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ

เมืองโคเบะมีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 169 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 81 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 80,200 และ 36,000 คนตามลำดับ สำนักงานเขตโคเบะให้บริการการศึกษาระดับมัธยมปลาย 7 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดเฮียวโงะรับผิดชอบโรงเรียนมัธยมปลายอีก 18 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 43,400 คน

โคเบะยังมีมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนตั้งอยู่มากมาย โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคือ มหาวิทยาลัยโคเบะ

ภาพวาดนิชิกิเอะ แสดงเรือกลไฟของชาวต่างชาติกำลังเทียบท่าเรือเฮียวโงะในช่วงเปิดประเทศสู่โลกตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406