โครงการอีเด็น (อังกฤษ: Eden Project) คือกลุ่มอาคารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในคอร์นวอล สหราชอาณาจักร โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ของแร่ไธดรัสอะลูมิเนียมซิลิเกตห่างจากตัวเมืองเซนต์บลาเซ 1.25 ไมล์ (2 กิโลกเมตร) และห่างจากเมืองเซนต์ออสเทลล์ 3 ไมล์ (5 กิโลเมตร)
อาคารเหล่านี้ประกอบไปด้วยโดมต่างๆ ที่รวบรวมพืชจากทั่วโลก โดยพยายามทำให้เหมือนกับระบบนิเวศโลก โดมเหล่านี้ประกอบขึ้นโดยอาศัยรูปร่างหกเหลี่ยมเป็นร้อยๆแผ่น และรูปห้าเหลี่ยมในบางแห่ง เชื่อมกันจนเป็นอาคารขนาดใหญ่ อาคารนี้มีลักษณะโปร่งแสง สังเคราะห์ขึ้นจากพลาสติก ในโดมแรกนั้น เลียนแบบสิ่งแวดล้อมในเขตร้อน, โดมที่ 2 เลียนแบบเขตอบอุ่น และสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
โครงการนี้ เป็นแนวคิดของ ทิม สมิท และออกแบบโดยสถาปนิก นิโคลัส กริมชาว และออกแบบด้านวิศวกรรม โดย แอนโทนี ฮันท์ โดยความร่วมมือของ ดาวิส แลงดอน ซึ่งทำให้การบริหารโครงการนี้สำเร็จลุล่วง, เซอร์โรเบิร์ต แมคแอลไพน์ และอัลเฟรด แมคแอลไพน์ ดำเนินการด้านการก่อสร้าง และ มีโร ออกแบบและสร้างระบบนิเวศ โครงการนี้ใช้เวลากว่า 2? ปีในการก่อสร้างและเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2544
โครงการนี้ตั้งบนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์บนพื้นที่หลุมแร่ไธดรัสอะลูมิเนียมซิลิเกต ความน่าสนใจของโครงการนี้คือ การผสมผสานระหว่างระบบนิเวศ 2 ระบบคือ เขตร้อน และเขตอบอุ่น ประกอบไปด้วยสวนผัก และงานประติมากรรม อาทิ ผึ้งยักษ์, หุ่นยนต์ยักษ์ หรือที่เรียกว่า " RSA WEEE Man" สร้างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าๆ
อาคารเหล่านี้สร้างจากวัสดุเหล็กกล้าที่มีลักษณะคล้ายท่อ ส่วนมากมีรูปร่างหกเหลี่ยม ภายนอกส่วนที่หุ้มโลหะทำมาจากเทอร์โมพลาสติกชนิด ETFE ส่วนภายนอกนั้น กระจกเป็นสิ่งต้องห้ามในการเลือกนำมาติดตั้งเพราะน้ำหนักและอันตราย ส่วนลักษณะผนังนั้นทำจากวัสดุหลายชั้นของฟิล์ม ETFE ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ต ซึ่งครอบคลุมทุกบริเวณ และขยายออกได้เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน นอกจากนี้ วัสดุ ETFE ต่อต้านความเครียด (ค่าความเครียดในทางฟิสิกส์, อ. "Stains" ) และยังทำให้ฝุ่นผงที่มาเกาะชะล้างออกไปได้อย่างง่ายดายเมื่อฝนตก หากต้องการทำความสะอาดสามารถใช้วิธีการไต่จากหลังคาลงมาทำความสะอาดได้ แม้ว่า ETFE สามารถมีรูรั่วได้โดยง่าย แต่สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วยเทป ETFE
เทคโนโลยี ETFE จัดหาและติดตั้งโดยเวกเตอร์ โฟลเทก ผู้รับผิดชอบความคืบหน้าด้านวัสดุบุผนัง เหล็ก และรูปแบบบุผนัง ออกแบบ, จัดหา และติดตั้งโดย มีโณ (สหราชอาณาจักร) พีซีแอล ผู้เข้าร่วมพัฒนาแผนด้านภูมิศาสตร์ และสถาปนิก นิโคลัส กริมชาว และทีมงาน
คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิ, ความชื้นในแต่บะระบบนิเวศ) ออกแบบและติดตั้งโดยบริษัท HortiMaX จำกัด ผู้รับผิดชอบหน้าที่การดูแลรักษาควบคุมสิ่งแวดล้อมและระบบมอนิเตอร์
บริเวณใจกลางเป็นบริเวณใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเติมขึ้นมาในพื้นที่โครงการ และเปิดเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาในโครงการอีเด็น, ห้องเรียน และพื้นที่จัดนิทรรศการ ออกแบบเพื่อช่วยในให้เป็นสื่อระหว่างคและพืช อาคารเหล่านี้ได้แรงบันดาลใจจากพืช โดยสังเกตได้จากท่อนไม้บนหลังคาที่ทำให้อาคารนี้มีรูปร่างแปลกและแตกต่าง
โครงการอีเด็นกล่าวว่าพื้นที่นี้จะเป็นสัญลักษณ์ของความคงอยู่, แสดงถึงการปฏิรูประดับสากลแห่งมวลมนุษยชาติที่มีความสามารถในการเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ต่างๆได้ อาคารจะเป็นแบบของเกษตรกรรม และเทคโนโลยี, การเก็บเกี่ยว และพลังงานจากดวงอาทิตย์, ลม และฝน เพื่อแสดงถึงว่า "เราจะสามารถอยู่ได้อย่างไรในอนาคต"
ภายในบริเวณริมนั้นเป็นทะเลทราย, โอเอซิส และสวนน้ำ และอาคารจะทำมาจากไม้ และมีพื้นที่พอที่จะให้ศิลปินน้ำเสียงชั้นยอด, นักประพันธ์, นักดนตรี หรือแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำงานเป็นชุมชน เป็นครอบครัว แลกเปลี่ยนความคิดที่ดีที่สุดกัน และพัฒนาชีวิตและสภาพแวดล้อมทั้งปัจจุบัน และในอนาคต
ในบริเวณนี้ ผู้ที่คาดว่าจะได้รับคัดเลือกจัดโดย กองทุนล็อตเตอรีขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในโครงการที่แข่งขันเพื่อรางวัล 50 ล้านปอนด์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีผู้ชนะคือโครงการ ซัซทราน คอนเน็ก 2
โครงการอีเด็นมีการศึกษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยมุ่งไปที่การพึ่งพาอาศัยกันของพืช และมนุษย์ โดยพืชสามารถใช้ในการปรุงทำยาได้ ที่นี่ต้องใช้น้ำประมาณมหาศาลที่จะสร้างความชื้นภายในโดมระบบนิเวศเขตร้อน พร้อมๆกันกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางสุขาภิบาล น้ำเหล่านี้ได้มาจากการกลั่นน้ำฝนที่ถูกสะสมไว้ก้นหลุมของเหมืองแร่อันเป็นที่ตั้งของโครงการให้สะอาด ในความเป็นจริงแล้วโดยส่วนมากการใช้น้ำนั้นจะใช้ในการปรุงอาหาร และทำความสะอาด นอกจากนี้ กลุ่มอาคารต่างๆที่นี่ ก็ใช้ "ไฟฟ้าเขียว" นั่นคือใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมในคอร์นวอล ซึ่งเป็นที่แรกๆที่มีในยุโรป หนึ่งในบริษัทที่มีความขัดแย้งกับโครงการอีเด็นในบางเรื่อง ปัจจุบันมีหุ้นส่วนในกลุ่มบริษัทไรโอทินโท บริษัทเหมืองแร่ชาวบริติช ไรโอทินโทเริ่มต้นทำเหมืองแร่ไททาเนียมออกไซด์ที่ประเทศมาดากัสการ์ ซึ่งจะต้องถางป่าริมทะเลบริเวณกว้าง ทำให้ส่งผลค่อความหลากหลายต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์
"ศูนย์ผู้มาเยือน" ส่วนแรกของโครงการอีเด็น เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 และพื้นที่ทั้งหมดเปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2544
โครงการอีเด็นเป็นเจ้าภาพคอนเสิร์ต "คอนเสิร์ต8 ไลฟ์" หรือ "ความเสิร์ตความปรารถนาของแอฟริกา" ในชุดคอนเสิร์ต "8 ไลฟ์" เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 โดยใช้พื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง เจมส์ บอนด์ ตอน "ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ" นอกจากนี้ยังจัดหาพืชให้แก่สวนแอฟริกาของบริติชมิวเซียมอีกด้วย
ในปีพ.ศ. 2548 โครงการอีเด็นเริ่ม "เวลาแห่งของขวัญ" ระหว่างช่วงเดือนฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) จุดเด่นคือลานน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลสาบ ที่มีบาร์คาร์เฟ่เล็กๆตั้งอยู่ และตลาด[[คริสต์มาสลล พร้อมการประสานเสียงจากนักประสานเสียงชาวคอร์นเวล ซึ่งโดยปกติจะแสดงในพื้นที่ระบบนิเวศ
ในปี พ.ศ. 2549 และ 2550 โครงการอีเด็นเป็นเจ้าภาพชุดการแสดงดนตรีที่เรียกว่า "อีเด็นเซสชั่น" ที่มีศิลปินร่วมงานได้แก่ เอมี ไวน์เฮาส์, เจมส์ มอร์ริซัน, มิวส์, ลิลี่ อัลเลน, สโนว์พาโทรล และเดอะเมจิกนัมเบอร์
ในวันที่6 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โครงการอีเด็นจะเชิญผู้คนทั้งคอร์นวอล เพื่อทำลายสถิติโลกด้านผับควิซ เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ที่จะนำเงิน 50 ล้านปอนด์ของกองทุนสลากกินแบ่งมาสู่คอร์นวอล
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อโครงการอีเด็นในหนังสือพิมพ์คอร์นิชที่กังวลเกี่ยวกับปริมาณกองทุนที่โครงการได้รับถึง 130 ล้านปอนด์จากแหล่งกองทุนสาธารณะมายมาย กล่าวว่าโครงการควรช่วยเหลือตัวเองมากกว่านี้ อีกทั้งมลภาวะของคาร์บอนจากโครงการอีเด็นก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ที่มาเยือน บ้างมาโดยรถยนต์ส่วนตัว บ้างโดยสารเครื่องบินซึ่งล้วนก่อให้เกิดมลภาวะทั้งสิ้น นอกจากนี้ การจัดคอนเสิร์ตก่อให้เกิดกรีดล็อกในพื้นที่บริเวณของเซนท์ออสเทล
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โครงการอีเด็นล้มเหลวการประมูลกองทุนกว่า 50 ล้านปอนด์ในกองทุนล็อตเตอรีป๊อปปูลาโวต เมื่อได้รับคะแนนโหวตเพียงแค่ 12.07%