โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน (อังกฤษ: Lavalin Skytrain) เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำเนินการโดยบริษัท ลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากประเทศแคนาดา ซึ่งชนะการประมูลเหนือคู่แข่ง คือ บริษัทร่วมค้า เอเชีย-ยูโร คอนซอร์เตียม (AEC) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ลงนามในสัญญาสัมปทาน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี มูลค่าก่อสร้าง 55,000 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลิน มีการศึกษาแผนแม่บทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในระยะแรกประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ
และมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่ห้วยขวาง ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินสิ้นสุดลงในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน หลังประสบปัญหาโครงสร้างทางการเงิน ที่กำหนดเงื่อนไขให้รัฐบาลไทยต้องค้ำประกันเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ย (ซอฟท์โลน) จากรัฐบาลแคนาดา และต้นทุนในการก่อสร้างสูงขึ้น เนื่องจากความผิดพลาดในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายระบบสาธารณูปโภค