ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โกศกุดั่นน้อย

พระโกศ คือที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์

พระโกศเป็นภาชนะเครื่องสูงมีรูปทรงเป็นกรวยมียอดแหลม อาจแยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเป็น 2 ประเภทคือ พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ และ พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ ซึ่งพระโกศพระบรมศพมี 2 ชั้น คือชั้นนอกเรียกว่า "ลอง" ทำด้วยโครงไม้หุ้มทองปิดทอง ประดับกระจกอัญมณี และ ชั้นใน เรียก "โกศ" ทำด้วยเหล็ก ทองแดงหรือเงิน ปิดทอง ลองชั้นนอกใช้ประกอบปิดโครงชั้นในสำหรับลอง หรือ พระลอง ที่ประดับอยู่ภายนอกของโกศ ต่อมานิยมเรียกพระลอง เป็นพระโกศแทน จนเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น เรียกพระลองทองใหญ่ ว่าพระโกศทองใหญ่ เป็นต้น

พระโกศมีการแบ่งลำดับตามฐานันดรศักดิ์อย่างชัดเจน แต่โกศพระศพนี้อาจมีการเลื่อนลำดับชั้นได้ เช่น พระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่องานถวายเพลิงพระศพจึงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ หรือในคราวที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ ครั้นเมื่องานถวายพระเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวงจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ

สำหรับพระโกศของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตามอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า ตามแบบแผนจะได้รับพระราชทานพระโกศทองน้อย แต่ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังถวายพระเกียรติสูงสุดตามโบราณราชประเพณี ดังนั้นพระโกศที่ใช้ในงานพระราชพิธีครั้งนี้จึงเป็นพระโกศทองใหญ่ หรือพระลองทองใหญ่ อันเป็นพระโกศที่มีลำดับชั้นสูงสุด

สำหรับพระโกศทองใหญ่ ซึ่งถือเป็นพระโกศที่ประกอบ พระอิสริยยศ ตามธรรมเนียมการประดับตกแต่งพระโกศ มีความลดหลั่นกันเป็นหลายชั้นตามพระเกียรติยศ พระบรมศพ หรือพระศพ

การใช้โกศบรรจุพระศพพระราชวงศ์ไทย เป็นธรรมเนียมทำกันมานานแล้ว โกศนั้นมีชั้นเชิงแตกต่างกัน การที่ไทยใช้โกศนี้ไม่มีผู้ใดทราบว่าเริ่มแต่สมัยใด สมเด็จกรมพระยานริศฯ ตรัสเล่าให้ว่า "น่าจะเป็นแต่สมัยที่ไทยโบราณยังเป็นชนที่ไม่มีถิ่นประจำและเร่ร่อนอยู่ จึงต้องเอาศพของพ่อเมืองขึ้นเกวียนไปด้วย และตั้งในเกวียนตั้งตามแบบโกศง่ายกว่าหีบยาว ๆ" การใช้โกศในไทยปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงการออกพระเมรุมาศและการบรรจุพระโกศอัฐิในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งโกศทั้งหลายเหล่านั้น น่าจะถูกทำลายตั้งแต่ครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 หมดแล้ว ส่วนโกศที่เก่าที่สุดที่พบอายุประมาณสมัยกรุงธนบุรี และจากตำนานพระโกศทั้งปวงนี้ตามพงศาวดารบ้าง บอกเล่าบ้าง สันนิษฐานเอาบ้าง เรียงลำดับตามเวลาดังนี้

ที่ 1 โกศแปดเหลี่ยม มีอยู่ 4 โกศ มีโกศหนึ่งที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อใด มีลวดลาย เป็นอย่างเดียวกับช่างครั้งรัชกาลที่ 1 แต่ฝีมือทำนั้นหยาบมาก ด้วยเหตุที่เวลาว่างการทัพศึกมีน้อย และโกศแปดเหลี่ยมนี้ เป็นอย่างเดียวกันกับพระโกศกุดั่น ที่ปรากฏว่าสร้างครั้งแรกในรัชกาลที่ 1 แต่โกศแปดเหลี่ยมมีมาอยู่ก่อนแล้ว เข้าใจว่าโกศแปดเหลี่ยมนี้เก่าแก่กว่าโกศอื่นทั้งหมด ด้วยทำยอดเป็นหลังคา ที่แปลงมาจามเหมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า (โกศที่เก่าแก่ที่สุด) ส่วนอีก 3 โกศนั้น สันนิษฐานว่าทำราวรัชกาลที่ 3 หรือ 4 อีกโกศหนึ่งกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำขึ้นในรัชกาลที่ 5 ใช้ประกอบศพหม่อมแม้น ในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครั้งแรก อีกโกศหนึ่ง กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ขอพระบรมราชานุญาตทำถวายในรัชกาลนี้ ใช้ประกอบศพเจ้าจอมมารดาสังวาล เป็นครั้งแรก

ที่ 2 โกศโถ มีอยู่ 2 โกศ โกศหนึ่งนั้นเก่ามากลวดลายและฝีมือเหมือนกับโกศแปดเหลี่ยมใบเก่า ใช้มาแต่รัชกาลที่ 1 แล้ว ซึ่งน่าจะประกอบกับฝีมือที่ทำรุ่นเดียวกับโกศแปดเหลี่ยม แต่ทำที่หลังโกศแปดเหลี่ยม และจะใช้เป็นยศสูงกว่าโกศแปดเหลี่ยม ในปัจจุบันใช้สำหรับพระราชทานพระราชาคณะและข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ ได้รับพระราชทานโกศเป็นชั้นต้น อีกโกศหนึ่งทำขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการเป็นผู้ทำ โดยรับสั่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์

ที่ 3 พระโกศกุดั่น 2 พระโกศ สร้างในรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2342) ทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี และเจ้าฟ้า กรมพระศรีสุดารักษ์ และมีการเล่าขานกันว่าพระโกศองค์หนึ่งชำรุดไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงค้นได้มาแต่ตัวพระโกศ จึงทรงทำฝาและฐานใหม่ประกอบเข้า เรียกพระโกศองค์นี้ว่า "กุดั่นใหญ่" ส่วนอีกองค์หนึ่งที่สร้างในรัชกาลที่ 1 ที่ไม่ชำรุดเรียก "กุดั่นน้อย" และถือว่าพระโกศกุดั่นใหญ่เกียรติยศสูงกว่าพระโกศกุดั่นน้อย

ที่ 4 พระโกศไม้สิบสอง มีตำนานว่าสร้างในรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2346) ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ลองทองจากพระโกศกุดั่นที่หุ้มไว้แต่เดิม มาหุ้มพระโกศไม้สิบสองแทน นำออกใช้ใครแรกประดิษฐานพระโกศแปดไม้สิบสองในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ที่ 5 พระโกศทองใหญ่ สร้างในรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2351) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้รื้อทองที่หุ้มกระโกศกุดั่นมาทำพระโกศทองใหญ่ขึ้นไว้ สำหรับพระบรมศพของพระองค์ แต่เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระอาลัยมาก จึงโปรดฯให้เชิญพระโกศทองใหญ่ไปประกอบพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเป็นครั้งแรก และเป็นประเพณีในรัชกาลต่อมา ที่พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นเป็นพิเศษนอกจากพระบรมศพ

ที่ 6 พระโกศพระองค์เจ้า มีอยู่ 2 พระโกศ เรียกกันแต่แรกว่าโกศลังกา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริให้สร้าง แต่ครั้งยังผนวช เป็นลองสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าขาว ยอดเป็นฉัตรระบายผ้าขวา ทรงพระศพพระเจ้าลุกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ (ก่อนมีพระโกศมณฑลน้อย) ต่อมาโกศนี้ สำหรับทรงพระศพพระองค์เจ้าวังหน้า และพระองค์เจ้าตั้ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ จึงทรงคิดทำประกอบนอกขึ้น และกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำเติมขึ้นใหม่อีกพระโกศหนึ่ง

ที่ 7 พระโกศทองน้อย สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394) โดยกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ โปรดให้สร้างขึ้น สำหรับทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโกศทองน้อยนี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ อยุธยา) สร้างเมื่อในรัชกาลที่ 5 อีกองค์หนึ่ง

ที่ 8 พระโกศมณฑปน้อย สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ 4 โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ สำหรับทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ ถ้าทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระโกศนี้หุ้มทองคำเฉพาะงาน

ที่ 9 พระโกศมณฑปใหญ่ สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2406) โดยกรมขุนราชสีหวิกรม เอาแบบมาแต่พระโกศมณฑปน้อย ทรงพระศพกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ด้วยเหตุที่กรมพระพิทักษ์เทเวศร์พระรูปใหญ่โต พระศพลงลองพระโกศสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยมขึ้นโดยเฉพาะ พระโกษมณฑปใหญ่นี้ต่อมาสร้างขึ้นอีกองค์หนึ่ง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่

ที่ 10 โกศเกราะ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2406) สำหรับศพเจ้าพระยานิกรบดินทร ด้วยท่านอ้วน ศพลงลองสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยม เรียกว่า "โกศเกราะ" เพราะลายสลักเป็นเกราะรัด

ที่ 11 โกศราชนิกุล โปรดฯให้กรมขุนราชสีหวิกรมสร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2406) พระราชทานให้ประกอบศพพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ท่านแรก

ที่ 12 พระโกศทองเล็ก โปรดฯให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2430) ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นทีแรก แล้วได้ใช้ทรงพระศพเจ้านายต่อมา

ที่ 13 พระโกศทองรองทรง โปรดฯให้กรมหมื่นปราปรปักษ์สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2443) พระโกศองค์นี้นับเหมือนพระโกศองค์ใหญ่ สำหรับใช้แทนที่พระโกศทองน้อย เวลาที่จะต้องหุ้มทองคำ เพื่อจะไม่ให้ต้องหุ้มเข้าและรื้อออกบ่อยๆ

เมื่อบรรจุพระศพลงพระโกศตามลำดันชั้นของโกศแล้ว จึงจะเชิญพระโกศทรงพระศพ ขึ้นประดิษฐานบนสถานที่ต่าง ๆ ตามพระอิสริยยศและเกียรติยศของโกศนั้น ๆ เป็นสำคัญ โดยแบ่งเป็นการประดิษฐานพระศพภายในพระบรมมหาราชวัง และ การประดิษฐานพระศพนอกพระบรมมหาราชวัง โดยประดิษฐานในพระราชวังแต่เดิมจะประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หอธรรมสังเวช หอนิเพธพิทยา หออุเทศทักษิณา ต่อมาในรัชกาลที่ 7 โรดเกล้าฯให้รื้อหอทั้งสามลงแล้วไปปลูกใหม่บริเวณริมกำแพงแก้ว โดยในปัจจุบันการประดิษฐานพระศพจะประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ศาลาสหทัยสมาคม (สำหรับพระศพ/ศพพิเศษ) โดยไม่ได้ประดิษฐานพระศพบนหอต่างๆ อีก แต่จะเชิญออกไปประดิษฐานยังพระที่นั่งหรือศาลาอื่นแทน อาทิ พระที่นั่งทรงธรรม ศาลามรุพงษ์ ศาลาบัณรศภาคย์ ฯลฯ โดยพระศพที่ประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจะประดิษฐานเฉพาะพระบรมศพของสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช และพระศพเจ้านายฝ่ายในเท่านั้น เว้นแต่ พระบรมศพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ส่วนการประดิษฐานพระศพนอกพระราชวังนั้น จะเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าเสียส่วนใหญ่และจะเป็นเจ้านายที่ออกวังไปแล้วหากเจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ยังวังของเจ้าพี่-เจ้าน้องก็อาจจะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดิษฐานพระศพยังวังนั้นๆ ได้เช่นกัน แต่ละสถานที่จะมีลำดับเกียรติต่างกัน ดังนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406