ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แวร์ซายส์

แวร์ซาย (ฝรั่งเศส: Versailles) เป็นเมืองที่โด่งดังในฐานะที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังแวร์ซาย แวร์ซายเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรฝรั่งเศสโดยพฤตินัยเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ นับจาก ค.ศ. 1682 ถึง 1789[ต้องการอ้างอิง] โดยปัจจุบันนี้เมืองแวร์ซายได้เป็นชานเมืองที่ร่ำรวยของกรุงปารีส และยังคงเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและตุลาการที่สำคัญ เมืองแวร์ซายตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงปารีส ห่างจากใจกลางเมืองมา 17.1 กิโลเมตร โดยสภาเมืองแวร์ซายมีหน้าที่ปกครองส่วนอีฟลินส์ จากการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมา เมืองแวร์ซายมีประชากรทั้งสิ้น 88,641 คน ลดลงจากที่เคยมีมากที่สุกถึง 94,145 คนในปี ค.ศ.1975

นอกจากนี้แวร์ซายยังเป็นที่รู้จักจากสนธิสัญญาที่สำคัญหลายฉบับที่ถูกลงนามในเมืองแวร์ซาย เช่น สนธิสัญญาปารีส (1783) ซึ่งยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน หรือสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งเป็นสนธิสัญญายุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

คำว่า แวร์ซาย สันนิษฐานว่ามาจากภาษาละติน versare หมายถึง การพลิกไปเรื่อยๆ ซึ่งนิยมใช้ในยุคกลางแทนความหมายของที่ที่ผ่านการไถหรือถางแล้ว (ที่ที่ถูก"พลิก"ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง) นอกจากนี้ลักษณะของคำนี้ยังคล้ายคลึงกับภาษาละตินคำว่า seminare หมายถึงการหว่าน ซึ่งเป็นที่มาของภาษาฝรั่งเศสคำว่า semailles

ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1788 ได้มีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น Versailles Berceau-de-la-Libert? หรือจุดเริ่มต้นแห่งเสรีภาพ แต่ข้อเสนอนี้ถูกต่อต้านจากชาวเมืองแวร์ซายและถูกยกเลิกไปในที่สุด

แวร์ซายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ห่างจากจุดศูนย์กลางของกรุงปารีสมา 17.1 กิโลเมตร ตัวเมืองตั้งอยู่บนที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 130 ถึง 140 เมตร (กรุงปารีสสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 33 เมตร) ล้อมรอบด้วบเนินเขาที่เต็มไปด้วยป่าไม้ โดยป่าทางตอนเหนือของเมืองเรียกว่า ป่ามาร์ลี่และ ป่า Fausses-Reposes ส่วนทางตอนใต้ของเมืองมีป่าซาโทรี่ และ Meudon เขตเมืองแวร์ซายมีพืนที่ 26.18 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ของพื้นที่ของเขตกรุงปารีส ในปีค.ศ. 1999 เมืองแวร์ซายมีอัตราความหนาแน่นของประชากรที่ 3,344 คนต่อตารางกิโลเมตร เทียบกับกรุงปารีสที่มีความหนาแน่น 20,696 คนต่อตารางกิโลเมตร เนื่องจากเมืองแวร์ซายในปัจจุบันเป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นตามคำสั่งของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ เมืองจึงมีผังเมืองที่เป็นระบบและสมมาตร โดยเมื่อเทียบกับมาตรฐานในการออกแบบเมืองในศตวรรษที่สิบแปด เมืองแวร์ซายเป็นเมืองที่ทันสมัยอย่างมาก นอกจากนี้เมืองแวร์ซายเองยังถูกนำไปเป็นแม่แบบในการออกแบบกรุงวอร์ชิงตัน ดีซี โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Pierre Charles L'Enfant

ชื่อเมืองแวร์ซายปรากฏครั้งแรกในเอกสารยุคกลางในปี ค.ศ. 1038 โดยในระบบขุนนางของฝรั่งเศสในยุคกลางนั้น เจ้าผู้ครองเมืองแวร์ซายจะขึ้นตรงต่อกษัตริย์โดยตรง ไม่มีข้าหลวงคอยดูแลเหมือนเมืองอื่น อย่างไรก็ตามตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแวร์ซายก็ไม่ได้ถูกจัดว่ามีความสำคัญมากนัก ตอนปลายของศตวรรษที่สิบเอ็ด เริ่มมีหมู่บ้านปรากฏรอบ ๆ ปราสาทและโบสถ์เซนต์จูเลียน (Saint Julien) และเนื่องจากการกสิกรรมและตำแหน่งของเมืองที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างปารีส นอร์ม็องดี และ Dreux หมู่บ้านได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เหมือนเมืองอื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในตอนปลายของศตวรรษที่สิบสาม หรือ ศตวรรษแห่งเซนต์หลุยส์ ที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสมีความมั่งคั่งอย่างมากจนมีโบสถ์สไตล์กอธิคเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่สิบสี่ เมืองได้ประสบกับหายนะหลายครั้ง ทั้งภัยสงครามจากสงครามร้อยปี และการระบาดของกาฬโรค เมื่อสิ้นสุดสงครามร้อยปีในศตวรรษที่สิบห้า เมืองเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ด้วยประชากรเพียงร้อยคน[ต้องการอ้างอิง]

ในปีค.ศ. 1561 Martial de Lom?nie ราชเลขาผู้ดูแลการคลังในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองแวร์ซาย และได้รับอนุญาตให้จัดงานประจำปีได้สี่ครั้ง และสร้างตลาดนัดทุกวันพฤหัสบดี ประชากรของเมืองได้เติบโตขึ้นเป็น 500 คน อย่างไรก็ตาม Martial de Lom?nie ถูกสังหารระหว่างการสังหารหมู่ในวันเซนต์บาร์โธโลมิว ในปี ค.ศ. 1575 Albert de Gondi ที่ติดตาม Catherine de' Medici มาฝรั่งเศสจากเมืองฟลอเรนซ์ ได้ซื้อตำแหน่งเจ้าเมืองแวร์ซาย ดังนั้นแวร์ซายจึงกลายเป็นสมบัติของตระกูลกอนดี ซึ่งเป็นตระกูลของสมาชิกสภาเมืองปารีสที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลในยุคนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1610 ตระกูลกอนดีได้เชิญพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส มาล่าสัตว์ในป่าใหญ่รอบเมืองแวร์ซายหลายครั้ง จนในที่สุดในปีค.ศ. 1622 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ตัดสินพระทัยซื้อป่าแปลงหนึ่งมาทำเป็นที่ล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ในปี ค.ศ. 1624 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ทรงได้ซื้อที่เพิ่มเติมและมอบหมายให้ Philibert Le Roy ทำการก่อสร้างที่พักเล็ก ๆ สำหรับล่าสัตว์ ด้วยอิฐสีแดงผสมกับก้อนหินโดยมีหลังคาเป็นหินชนวน จนในที่สุดในปี 1632 พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ตัดสินใจซื้อที่ดินและตำแหน่งคืนจากตระกูลกอนดี หลังจากนั้นได้ทำการต่อเติมที่พักให้กลายเป็นชาร์โตว์ขนาดเล็กระหว่างปี ค.ศ. 1632 และ 1634 เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม เมืองแวรืซายมีประชากรประมาณหนึ่งพันคน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ห้าพรรษาเท่านั้น เมื่อพระบิดาพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 สวรรคต พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังไม่ได้มีอำนาจการปกครองอย่างแท้จริงจนกระทั่งอีกยี่สิบต่อมา และเริ่มมีความสนพระทัยในเมืองแวร์ซาย เนื่องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงไม่ต้องการที่จะอยู่ในกรุงปารีส จากเหตุการณ์ฝังใจจากการกบฏ Fronde ดังนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่จึงมีคำสั่งให้สถาปนิก Le Vau และนักสถาปนิกภูมิทัศน์ Le N?tre ให้ดัดแปลงปราสาทในเมือง ในปี ค.ศ. 1678 หลังสนธิสัญญา Nijmegen พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ตัดสินใจย้ายราชสำนักและรัฐบาลมาอยู่ที่เมืองแวร์ซายอย่างถาวร ซึ่งเสร็จสิ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1682

ในขณะเดียวกัน เมืองก็ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากกฎหมายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ออกมาให้ใครก็ตามสามารถครอบครองที่ดินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีเงื่อนไขสองประการ คือ หนึ่ง ผู้ถือครองที่ดินจะต้องจ่ายภาษีในอัตรา 5 ชิลลิ่ง ต่อ arpent ต่อปี (หรือคิดเป็นสามเซนต์ต่อพันตารางฟุต (ประมาณ 93 ตารางเมตร) ตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2005) สอง บ้านจะต้องถูกสร้างตามแบบและขนาดที่กำหนดโดย Surintendant des B?timents du Roi ที่กำหนดให้เมืองถูกสร้างอย่างสมมาตรกับ Avenue de Paris ที่เริ่มจากทางเข้าปราสาท และความสูงของหลังคาจะต้องไม่เกินความสูงของ Marble Courtyard ที่ตั้งอยู่บยเนินเขาที่ทางเข้าของปราสาท เพื่อได้ไม่บดบังทัศนียภาพจากปราสาทนั่นเอง

เมืองเก่าของแวร์ซายและโบสถ์เซนต์จูเลียนถูกทำลายเพื่อเปิดทางให้สร้างบ้านพักอาศัยสำหรับข้าราชบริพารที่คอยดูแลปราสาท ย่านนอเตรอะดาม และย่านเซนต์หลุยส์ ถูกสร้างขึ้นทั้งสองฝั่งของ Avenue de Paris โดยมีโบสถ์ขนาดใหญ่ ตลาด และแมนชั่นของขุนนางอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นตามสไตล์ที่กลมกลืนกับแบบออกโดย Surintendant des B?timents du Roi การสร้างแวร์ซายใช้เวลาหลายปี และผู้คนก็ได้หลั่งไหลมายังศูนย์กลางของอำนาจการปกครองแห่งใหม่แห่งนี้ เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมืองแวร์ซายมีประชากร 30,000 คน

เมื่อราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 กลับสู่กรุงแวร์ซายในปีค.ศ. 1722 เมืองมีประชากร 24,000 คน โดยในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมืองได้เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของราชอาณาจักรที่ทรงอำนาจที่สุดในยุโรป และทั้งยุโรปต่างพากันชื่นชมสถาปัตยกรรมและการออกแบบของเมือง อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบอาคารที่เคยเข้มงวดในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ถูกละเลย ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ในเมือง และที่ดินที่เคยให้เปล่าในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ถูกขายทอดตลาดในราคาสูงลิบลิ่ว จนในปี ค.ศ. 1744 เมืองได้มีประชากร 37,000 คน โดยภูมิทัศน์ของเมืองได้ถูกเปลี่ยนไปมากในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และ 16 โดยอาคารมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ และพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าเองได้สร้างอาคารกระทรวงสงคราม และอาคารกระทรวงต่างประเทศอันเป็นที่ลงนามสนธิสัญญาปารีสที่ยุติสงครามปฏิวัติอเมริกัน และอาคารกระทรวงราชนาวี ในปีค.ศ. 1789 ประชากรได้พุ่งสูงถึง 60,000 คน ส่งผลให้แวร์ซายกลายเป็นเมืองใหญ่อันดับเจ็ดหรือแปดของฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปในยุคนั้น

ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง กรุงแวร์ซายจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยได้มีการประชุมสมัชชาแห่งชาติ (Estates-General) ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 และสมาชิกของสมัชชาแห่งชาติได้ทำปฏิญาณที่สนามเทนนิส (Tennis Court Oath) ว่าจะต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 และได้กลายเป็นสมัชชาประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Constituent Assembly) เพื่อล้มล้างระบบขุนนางในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1789 จนในที่สุดในวันที่ 5 และ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1789 กลุ่มสตรีจำนวนหนึ่งและทหารฝรั่งเศสบางส่วนเข้าบุกยึดปราสาทเพื่อประท้วงราคาของขนมปังที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราชสำนักต้องย้ายกลับสู่กรุงปารีส และเมื่อสมัชชาประชาธิปไตยแห่งชาติตัดสินใจย้ายสู่ปารีสเพื่อติดตามพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กรุงแวร์ซายก็สิ้นสุดฐานะเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของฝรั่งเศสที่ถือครองมานานกว่าศตวรรษ

หลังจากนั้น ประชากรในกรุงแวร์ซายก็ลดลงอย่างมาก จากประชากรกว่า 60,000 คน เหลือเพียง 26,974 คนในปี ค.ศ. 1806 ตัวปราสาทเองหลังจากถูกยึดเครื่องเรือน และราชพัสดุต่าง ๆ แล้วก็ถูกทิ้งร้าง โดยนโปเลียนเคยมาพักอาศัยอยู่หนึ่งคืน ก่อนจากไปโดยไม่กลับมาอีกเลย พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งขึ้นครองบังลังก์ หลังการปฏิวัติมิถุนายนช่วยให้ปราสาทรอดพ้นจากการเป็นซากปรักหักพัง โดยเปลี่ยนปราสาทให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอุทิศให้แก่ "ความรุ่งโรจน์ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1837 ส่วนเมืองแวร์ซายเองก็เงียบเหงาลง กลายเป็นที่ที่ผู้นิยมกษัตริย์มารำลึกถึงยุครุ่งโรจน์ของพระเจ้าหลุยส์เท่านั้น

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ส่งผลให้เมืองแวร์ซายกลับสู่เวทีโลกอีกครั้ง โดยในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871 ฝ่ายปรัสเซียซึ่งกำชัยในสงครามได้ประกาศให้กษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 (Wilhelm I) เป็นจักรพรรดิแห่งเยอรมนีในหอกระจก (Hall of Mirrors) เพื่อเป็นการแก้แค้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ทรงได้พิชิตเยอรมนีนับครั้งไม่ถ้วนเมื่อกว่าสองร้อยปีก่อน จากนั้นในเดือนมีนาคมปีนั้นเอง รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ย้ายที่ทำการรัฐบาลมาอยู่ที่เมืองแวร์ซายอีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายในปารีสการการลุกฮือของประชาชนชาวเมือง ซึ่งต่อมาได้ถูกบดขยี้โดยกองกำลังของรัฐบาลในเวลาต่อมา หลังการลุกฮือ รัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้นตัดสินใจที่ประจำอยู่ในเมืองแวร์ซายต่อไป และมีความคิดว่าอาจจะย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองแวรืซายเป็นการถาวรเพื่อเลี่ยงกระแสปฏิวัติที่ยังครุกรุ่นในกรุงปารีส

การฟื้นฟูราชวงศ์เกือบจะสำเร็จในปีค.ศ. 1873 เมื่อรัฐสภาฝรั่งเศสเสนอบังลังก์ให้ Henri, comte de Chambord แต่การปฏิเสธของเฮนรี่ที่จะยอมรับธงชาติฝรั่งเศสที่ถูกใช้ในสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ส่งผลให้การฟื้นฟูราชวงศ์ล้มเหลว เมืองแวร์ซายเองก็ได้เป็นศูนย์กลางของการปกครองอีกครั้ง และประชากรในเมืองก็ได้เพิ่มเป็น 61,686 ในปี ค.ศ. 1872 ใกล้เคียงกับขนาดของประชากรก่อนการฏิวัติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามเมื่อฝ่ายนิยมสาธารณรัฐกลับมาครองเสียงข้างมากอีกครั้ง และรัฐบาลใหม่ตัดสินใจที่ย้ายที่ทำการรัฐบาลกลับสู่กรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1879 ประชากรในเมืองแวร์ซายก็ลดลงเหลือ 48,324 ในปี ค.ศ. 1881 เมืองแวร์ซายไม่เคยได้เป็นที่ทำการของรัฐบาลอีกเลยจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมืองแวร์ซายก็ยังถูกใช้เป็นที่ประชุมของรัฐสภาเมื่อจะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อยามประธานาธิบดีจะแถลงต่อรัฐสภา เป็นต้น

ในที่สุด ในปี ค.ศ. 1911 ประชากรในเมืองแวร์ซายระดับก็กลับสุ่ระดับที่เคยเป็นที่ปี ค.ศ. 1789 ด้วยประชากร 60,458 คน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมืองแวร์ซายได้กลับสุ่เวทีโลกอีกครั้งในฐานะที่เป็นที่ลงนามสัญญาหลายฉบับเพื่อยุติสงคราม หลังปี ค.ศ. 1919 ชานเมืองกรุงปารีสได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเมืองแวร์ซายเองก็ถูกรวมเป็นเขตเมืองของกรุงปารีส ส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างมากทั้งในด้านประชากรและเศรษฐกิจ บทบาทของเมืองแวร์ซายในด้านการปกครองและตุลาการได้ถูกเสริมในทศวรรษ 1960 และ 1970 ส่งผลให้แวร์ซายกลายเป็นศูนย์กลางของชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงปารีสในที่สุด

เมืองแวร์ซายในปัจจุบันถูกเชื่อมต่อกับกรุงปารีสด้วยทางรถไฟหลายสาย อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมในเมืองแวร์ซายไม่เคยเจริญเติบโตจนโด่ดเด่นมากนัก แม้ว่าจะมีโรงงานเคมีและแปรรูปอาหารอยู่บ้างก็ตาม เศรษฐกิจของแวร์ซายในปัจจุบันขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก เช่น การท่องเที่ยว การประชุม เป็นต้น จากปีค.ศ. 1951 จนถึงปีค.ศ. 1966 เมืองแวร์ซายเคยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของกองกำลังพันธมิตรในยุโรป ก่อนจะย้ายไปอยู่ในเบลเยียมจนถึงปัจจุบันเมื่อฝรั่งเศสตัดสินใจถอนตัวจากองค์การนาโต้ ปัจจุบันนี้เมืองแวร์ซายยังคงเป็นศูนย์กลางทางทหารที่สำคัญ โดยเป็นที่ตั้งของฐานทัพซาโทรี่ ซึ่งเคยเป็นกองบัญชาการใหญ่ของกองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 จนถึงปี ค.ศ. 1999 และยังได้มีการแสดงทางทหารประจำปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301