แร่ใยหิน (อังกฤษ: asbestos) เป็นกลุ่มของแร่ซิลิเกตที่เกิดตามธรรมชาติหกชนิดที่นิยมนำมาใช้ทางการค้าเพราะคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดี แร่ใยหินมีผลึกที่เป็นเส้นใยยาว (อัตราส่วนขนาดต่อความยาวราว 1:20) การหายใจเอาใยหินเข้าไปเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคปอดได้ ซึ่งมักพบบ่อยในคนงานเหมืองใยหิน
การทำเหมืองแร่ใยหินเริ่มขึ้นกว่า 4,000 ปีมาแล้ว แต่มีขนาดจำกัดจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การทำเหมืองแร่ใยหินมีปริมาณสูงสุดในราว ค.ศ. 1975 โดยมีการทำเหมืองในราว 25 ประเทศ เหมืองแร่ใยหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Jeffrey mine ในเมือง Asbestos รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา
แร่ใยหินเป็นที่นิยมของผู้ผลิตสินค้าและผู้สร้างอาคารในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสมบัติการดูดซับเสียง ความแข็งแรง ความทนไฟ ทนความร้อน ความต้านทานไฟฟ้า ความทนทานต่อสารเคมี และราคาที่ย่อมเยา แร่ใยหินใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าในเตาไฟฟ้าและฉนวนความร้อนในอาคาร กรณีที่ใช้ใยหินทำวัสุดทนไฟหรือทนความร้อนมักผสมกับซีเมนต์หรือทอถักทอเป็นแผ่น
สหภาพยุโรปได้ห้ามการใช้งานใยหิน รวมถึงการขุดทำเหมือง การผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใยหิน ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ตระหนักถึงอันตรายของใยหินและมีการออกกฎหมายควบคุมรวมถึงห้ามใช้ใยหินเป็นกรณีไป
ใน ค.ศ. 2009 มีการขุดแร่ใยหินราว 2 ล้านตันทั่วโลก โดยรัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด (50%) รองลงมาเป็นจีน (14%) บราซิล (12.5%) คาซัคสถาน (10.5%) และแคนาดา (9%).
ไครโซไทล์ (Chrysotile)ในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ (Serpentine)และแอมฟิโบล (Amphiboles)มีส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คุณสมบัติการสะสมและการสลายตัวในสิ่งมีชีวิตและผลกระทบต่อสุขภาพ แตกต่างกัน แร่ไครโซไทล์ (Chrysotile)นั้นมีอัตราการสะสมในสิ่งมีชีวิตต่ำและโอกาสในการก่อให้เกิดโรคน้อยกว่าแร่ใยหินแอมฟิโบล แร่ใยหิน 2 กลุ่มมีคุณสมบัติแตกต่างกันจากโครงสร้างของเส้นใย ดังนี้
ฝุ่นใยหินชนิดอะโมไซท์และโครซิโดไลท์เมื่อเข้าไปในปอดเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยไครโซไทล์ โอกาสเกิดโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจะมีมากกว่า 100 และ 500 เท่าตามลำดับ และโอกาสเกิดมะเร็งปอดมากกว่า 10 และ 50 เท่า ตามลำดับ การที่อันตรายมาก-น้อยต่างกันสาเหตุเนื่องมาจากโครงสร้างและความ สามารถในการละลายตัว (bio-durability) ของเส้นใยหินแต่ละชนิด
เส้นใยไครโซไทล์มีพิสัยความสามารถถูกละลายหรือสลายตัว (Solubility) สูงมากและคุณสมบัติความทนทานของเส้นใย (bio-persistent fiber) พิสัยจะอยู่ที่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าความทนทานของเส้นใยแก้วและหินเส้นใยไครโซไทล์จะมีค่าความทนทาน bio-persistence ต่ำกว่าเส้นใยเซรามิกส์หรือเส้นใยแก้วชนิดพิเศษ (ข้อมูลจาก Hesterberg และคณะ – 1998) และต่ำกว่าของใยหินกลุ่มแอมฟิโบลค่อนข้างมาก เพื่อตรวจสอบทฤษฎีดังกล่าว EC ได้จัดตั้งคณะทำงานทำการศึกษาการได้รับฝุ่นใยหินในระบบหายใจเป็นระยะเวลา 5 วัน หลังจากนั้นการตรวจสอบสภาพของปอดเป็นระยะๆ เป็นเวลา 1 ปี (รายงานของ Bernstein & Riego – Sintes 1999) พบว่าสำหรับเส้นใยที่ความยาวมากกว่า 20 ไมครอน จะใช้ระยะเวลาการย่อยสลาย 50% 2-3 วันจน 100 วันโดยประมาณ