แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: ???? คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกงจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร
คงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกชื่อตามนามของพระแม่คงคา พระชายาของพระศิวะ ชาวฮินดูอาบน้ำในแม่น้ำแห่งนี้ เพราะความเชื่อว่าจะทำให้จิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ทุกวันชาวอินเดียนับล้านคนจะมาที่ริมฝังแม่น้ำคงคาเพื่อทำการอาบน้ำ และดื่มกินน้่ำจากในแม่น้ำคงคา รวมถึงการเผาศพที่ริมฝังน้ำด้วยและโปรยขี้เถ้าลงในน้ำ นั่นจึงทำให้แม่น้ำคงคาได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่มีความสกปรกและมลพิษมากที่สุดในโลก แต่ทว่าในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีลักษณะพิเศษกว่าแม่น้ำอื่นใด คือ มีปริมาณของออกซิเจนละลายในน้ำสูง และยังมีจุลินทรีย์ที่สามารถกินไวรัสรวมถึงเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย ยิ่งมีปริมาณของเสียปล่อยลงน้ำเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์เท่านั้น และทำให้น้ำในแม่น้ำคงคามีความสามารถที่จะปรับตัวไปสู่สภาพปกติมากกว่าแม่น้ำทั่วไปถึง 25 เท่า