ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แมนเชสเตอร์

แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: Manchester,  /?m?nt??st?r/ (วิธีใช้?ข้อมูล) ) เป็นนครและโบโรฮ์มหานคร ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีประชากรในปี ค.ศ. 2013 จำนวน 514,417 คน ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมากถึง 2.55 ล้านคน แมนเชสเตอร์ติดต่อกับที่ราบเชชเชอร์ทางทิศใต้ ติอต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ตัวเมืองของแมนเชสเตอร์นั้นมีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยมีสภานครแมนเชสเตอร์ เป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น

บันทึกประวัติศาสตร์ของแมนเชสเตอร์เริ่มต้นจากการตั้งถิ่นฐานและการก่อสร้างป้อมปราการในยุคโรมัน ชื่อว่า มามูคิอุม หรือ แมนคูเนียม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 79 ปีหลังคริสตกาล บริเวณเนินเขาใกล้จุดบรรจบของแม่น้ำเมดล็อกกับแม่น้ำเออร์เวลล์ ซึ่งอยู่ในเทศมณฑลแลงคาเชอร์ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางตอนใต้ของแม่น้ำเมอร์ซีย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเชสเชียร์ในช่วงศตวรรษที่ 20 ตลอดเวลาในยุคกลาง แมนเชสเตอร์ยังคงเป็นเมืองแมนเนอร์เล็ก ๆ แต่เริ่มขยายตัวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์เมื่อราวย่างเข้าศตวรรษที่ 19 ความเจริญรุ่งเรืองจากการผลิตสิ่งทอในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการพัฒนาของเมืองอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้แมนเชสเตอร์กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก

แมนเชสเตอร์ได้รับฐานะนครเมื่อปี ค.ศ. 1853 ซึ่งเป็นนครของอังกฤษแห่งในรอบสามร้อยปี คลองเดินเรือสมุทรแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นคลองเดินเรือที่ยาวที่สุดในโลกในขณะนั้น เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1894 ทำให้มีท่าเรือแมนเชสเตอร์ เชื่อมต่อเมืองไปยังทะเลเป็นระยะทาง 36 ไมล์ (58 กิโลเมตร) ไปทางทิศตะวันตก ความเจริญมั่งคั่งได้ซบเซาลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการเลิกสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต (en:deindustrialisation) แต่การลงทุนได้กลับมาเริ่มต้นจากเหตุระเบิดในแมนเชสเตอร์ ค.ศ. 1996 ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูเมืองครั้งใหญ่

ในปี พ.ศ. 2014 เครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครโลก (en:Globalization and World Cities Research Network) ได้จัดแมนเชสเตอร์เป็นนครโลกระดับบีตา และทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ หากไม่นับลอนดอน แมนเชสเตอร์มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนมากที่สุดอันดับสามในสหราชอาณาจักร รองจากลอนดอน และเอดินบะระ และได้การยอมรับจากหลายฝ่ายว่าเป็นเมืองรองของสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงจากการกีฬา ขนส่ง ดนตรี ธุรกิจขนาดใหญ่ ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม สื่อ และอุตสาหกรรม มีสถานีรถไฟแมนเชสเตอร์ลิเวอร์พูลโรดเป็นสถานีรถไฟขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองแห่งแรกของโลก และมีนักวิทยาศาสตร์ในเมืองที่แยกอะตอมได้เป็นครั้งแรก และพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (en:Manchester Small-Scale Experimental Machine) เครื่องแรกของโลก

ชื่อแมนเชสเตอร์มาจากชื่อในภาษาละติน คือ Mamucium หรือ Mancunium ซึ่งยังคงเป็นคำที่ใช้เรียกชาวเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ คือ แมนคูเนียน (Mancunians, /m??k?ju?n??nz/) มีการสันนิษฐานว่าเป็นการถอดคำเดิมในภาษาไบรโตนิกเป็นอักษรละติน ซึ่งอาจมาจากคำว่า mamm- ("เต้านม" หมายถึง "เนินรูปเต้านม") หรืออาจมาจากคำว่า mamma ("แม่" หมายถึง เทพธิดาแห่งแม่น้ำเมดล็อก) โดยความหมายทั้งสองปรากฏในภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาไบรโตนิก นั่นคือ คำว่า mam หมายถึง "เต้านม" ในภาษาไอริช และหมายถึง "แม่" ในภาษาเวลส์ และมีการเติมคำปัจจัย -chester ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า คือ ceaster ("ป้อมปราการ; เมืองที่มีกำแพงป้องกัน")

แมนเชสเตอร์ไม่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก มีเพียงการค้นพบชุมชนกสิกรรมขนาดใหญ่ระหว่างการก่อสร้างลานวิ่งที่สองของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์

มีการตั้งรกรากในแมนเชสเตอร์แล้วในยุคโรมันเป็นอย่างช้า นายพลโรมัน ไนอุส ยูลิอุส อากริโคลา (Gnaeus Julius Agricola) ได้ก่อสร้างป้อมที่มีชื่อว่า มามูคิอุม ราว 70 ปีหลังคริสตกาล ที่บริเวณเนินเขา ซึ่งแม่น้ำเมดลอกและแม่น้ำเออร์เวลล์ มาบรรจบกัน ฐานของป้อมรุ่นสุดท้ายยังคงปรากฏอยู่ที่คาสเซิลฟิลด์ ชาวโรมันถอนตัวออกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 และการตั้งถิ่นฐานได้ย้ายไปยังจุดที่แม่น้ำเออร์เวลล์และแม่น้ำเอิร์กบรรจบกันตั้งแต่ก่อนชัยชนะของชาวนอร์แมนที่อังกฤษในปีพ.ศ. 1609

โทมัส เดอลาแวร์ เจ้าคฤหาสน์ ได้ก่อตั้งโบสถ์ของวิทยาลัยขึ้นสำหรับตำบลในปีพ.ศ. 1964 โดยปัจจุบันเป็นมหาวิหารแมนเชสเตอร์ และสถานที่วิทยาลัยได้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเชแทมและโรงเรียนดนตรีเชเทม

ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 แมนเชสเตอร์มีช่างทอผ้าชาวฟลามส์ไหลบ่ามาจำนวนมาก โดยมักถือว่าเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอในภูมิภาค แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของการผลิตและค้าขายขนแกะและลินิน

เริ่มมีการใช้ฝ้ายปริมาณมากในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มต้นที่ผ้าฝ้ายผสมลินินเนื้อหยาบ แต่เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ก็เริ่มมีการผลิตและก็ได้เป็นวัสดุสำคัญแทนที่ขนสัตว์ แม่น้ำเออร์เวลล์และเมอร์ซีย์สามารถแล่นเรือผ่านได้ในปี พ.ศ. 2279 เปิดเส้นทางจากแมนเชสเตอร์ไปยังท่าเรือนฝั่งเมอร์ซีย์ คลองบริดจ์วอเทอร์ (Bridgewater canal) เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2304 นำถ่านหินจากเหมืองที่เวอร์สลีย์มายังใจกลางแมนเชสเตอร์ คลองนี้ขยายต่อไปยังเมอร์ซีย์ในปีพ.ศ. 2319 การแข่งขันและประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถ่านหินและค่าขนส่งฝ้ายดิบลดลงถึงครึ่งหนึ่ง แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นตลาดสำคัญของสิ่งทอจากเมืองรอบๆ ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า เปิดขึ้นในปีพ.ศ. 2272 และคลังสินค้าจำนวนมาก ช่วยพัฒนาการพานิชย์ของเมือง ในปีพ.ศ. 2323 ริชาร์ด อาร์กไรท์ (Richard Arkwright) เริ่มก่อสร้างโรงฝ้ายแห่งแรกของแมนเชสเตอร์

การปั่นฝ้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่แลงคาเชอร์ใต้และเชสเชอร์เหนือ เขตรอบนอกของแมนเชสเตอร์ และในช่วงหนึ่งแมนเชสเตอร์ได้เป็นศูนย์กลางการผลิตฝ้ายที่มีการผลิตมากที่สุด และในเวลาต่อมา เป็นตลาดสินค้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก แมนเชสเตอร์มีฉายาว่า "คอตตอโนโพลิส" และ "แวร์เฮาส์ซิตี" ในยุควิกตอเรีย

แมนเชสเตอร์พัฒนาอุตสาหกรรมในหลากหลายสาขา ทำให้ได้รับยกย่องว่า ในปี พ.ศ. 2378 "แมนเชสเตอร์เป็นเมืองอุตสาหกรรมแรกและที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่มีข้อสงสัย" ธุรกิจทางวิศวกรรมเริ่มแรกเกี่ยวข้องกับการค้าฝ้าย แต่ภายหลังขยายไปยังการผลิตทั่วไป อุตสาหกรรมเคมีก็เริ่มต้นจากการผลิตน้ำยาฟอกสีและย้อมสี และจึงขยายไปยังสาขาอื่น การค้าขายได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจการเงิน เช่น การธนาคารและการประกันภัย การค้าขายและประชากรที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีระบบขนส่งและจัดจำหน่าย ทำให้มีการขยายระบบคลอง และแมนเชสเตอร์กลายมาเป็นเมืองปลายทางหนึ่งในทางรถไฟโดยสารระหว่างเมืองสายแรกของโลก นั่นคือทางรถไฟลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ การแข่งขันระหว่างการขนส่งหลากหลายรูปแบบทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำ ในปีพ.ศ. 2421 จีพีโอ หรือสำนักงานไปรษณีย์ ให้บริการโทรศัพท์ครั้งแรกกับบริษัทในแมนเชสเตอร์

มีการขุดคลอง แมนเชสเตอร์ ชิป เคอนาล (Manchester Ship Canal) ช่วยให้เรือจากมหาสมุทรตรงเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์ได้ โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นบนชายฝั่งคลองนี้ที่แทรฟฟอร์ดพาร์ก ในฐานะศูนย์กลางของระบอบทุนนิยม ก็ได้มีการจลาจลจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน แมนเชสเตอร์เป็นหัวข้อศึกษาในเรื่อง ความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ (Die Lage derarbeitenden Klasse in England) ของฟรีดริช เองเงิลส์ โดยเองเงิลส์ได้ใช้เวลาพอสมควรในและรอบๆแมนเชสเตอร์ จำนวนโรงปั่นฝ้ายในแมนเชสเตอร์ขึ้นถึงจุดสูงสุด 108 แห่งในปีพ.ศ. 2396 ในปีพ.ศ. 2456 ร้อยละ 65 ของฝ้ายในโลกผลิตขึ้นในบริเวณนี้ แต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งลดโอกาสการส่งออกในเวลาต่อมา

บริเวณแมนเชสเตอร์มีการระดมกำลังอย่างหนัก เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แมนเชสเตอร์เป็นเป้าหมายหลักแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศเยอรมนี และการโจมตีทางอากาศได้ขยายไปยังเป้าหมายพลเรือนด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์กลางเมืองถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 376 คนและบ้านถึง 30,000 หลัง มหาวิหารแมนเชสเตอร์เป็นที่หนึ่งที่โดนโจมตีอย่างหนัก โดยต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึง 20 ปี

หลังจากสงครามสงบลง อุตสาหกรรมและการค้าฝ้ายยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และตลาดแลกเปลี่ยนได้ปิดตัวลงในพ.ศ. 2511 ในปีพ.ศ. 2506 ท่าเรือแมนเชสเตอร์เป็นท่าเรืออันดับสามของประเทศ มีการจ้างงานกว่า 3,000 คน แต่คลองไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ได้ การจราจรจึงลดลง และท่าเรือต้องปิดในปีพ.ศ. 2525 อุตสาหกรรมหนักซบเซาลงตั้งแต่ช่วงหลังปีพ.ศ. 2500 และลดจำนวนลงอย่างมากหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัฐบาลของมาร์กาเรต แทตเชอร์ (ตั้งแต่พ.ศ. 2522) แมนเชสเตอร์มีงานน้อยลงถึง 150,000 งานระหว่างปีพ.ศ. 2504 และ 2526

การฟื้นฟูเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 โดยมีสิ่งใหม่ๆเช่น เมโทรลิงก์ บริดจ์วอเทอร์คอนเสิร์ตฮอลล์ และแมนเชสเตอร์อีฟนิงนิวส์อารีนา การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มชื่อเสียงในต่างประเทศ

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2540 กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไออาร์เอ หรือพีไออาร์เอ) วางระเบิดขนาดใหญ่ใกล้ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 คน สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่อาคารโดยรอบ มีการจ่ายเงินประกันภัยสูงถึงกว่าสี่ร้อยล้านปอนด์

จากการลงทุนหลังเหตุระเบิดและคอมมอนเวลท์เกมส์ครั้งที่ 17 ศูนย์กลางของเมืองแมนเชสเตอร์ได้มีการปฏิรูปหลายสิ่ง มีหลายแห่งที่สร้างขึ้นหรือปรับปรุงใหม่ และได้กลายมาเป็นแหล่งชอปปิ้งและบันเทิงยอดนิยม แมนเชสเตอร์แอมเดลเป็นศูนย์การค้ากลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร

แมนเชสเตอร์ตั้งอยู่ที่พิกัด 53?28?0?N 2?14?0?W? / ?53.46667?N 2.23333?W? / 53.46667; -2.23333 ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระยะทาง 160 ไมล์ (260 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ในพื้นที่แอ่งกระทะติดต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นเทือกเขาที่พาดตัวไปตามนอร์ทเทิร์นอิงแลนด์ และติตด่อกับที่ราบเชสเชอร์ทางทิศใต้ แมนเชสเตอร์อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลิเวอร์พูล 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) และอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเชฟฟีลด์ 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) ทำให้นครแห่งนี้อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองนคร ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแมน้ำเออร์เวลล์ ใกล้จุดบรรจบกับแม่น้ำเมดล็อกและแม่น้ำเอิร์ก และอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ คือ อยู่ระหว่าง 35 เมตร ถึง 42 เมตร (115 ฟุต ถึง 138 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลแม่น้ำเมอร์ซีย์ไหลผ่านทางใต้ของแมนเชสเตอร์ ส่วนมากของเมืองชั้นใน โดยเฉพาะทางใต้ที่เป็นที่ราบ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเชิงเขาและทุ่งโล่งของเทือกเขาเพนไนนส์จากตึกสูงหลายที่ในเมือง ซึ่งมักจะปกคลุมด้วยหิมะในฤดูหนาว ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแมนเชสเตอร์มีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก ซึ่งก็คือสภาพอากาศ ความใกล้ชิดกับท่าเรือทะเลของลิเวอร์พูล การใช้พลังงานจากแม่น้ำ และแหล่งสำรองถ่านหินที่อยูใกล้เคียง

จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีพ.ศ. 2544 แมนเชสเตอร์มีประชากร 392,819 คน ลดลงจากปีพ.ศ. 2534 9.2 เปอร์เซนต์ ในจำนวนนี้ ประมาณ 8.3 หมื่นคนอายุต่ำกว่า 16 ปี 2.85 แสนคนอายุระหว่าง 16-74 ปี และ 2.5 หมื่นคนอายุ 75 ปีขึ้นไป

75.9 เปอร์เซนต์ของประชากรแมนเชสเตอร์ระบุว่าตนเกิดในสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีอัตราการจ้างงานต่อประชากรต่ำเป็นลำดับสองของสหราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่า มีประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวนมาก จากการประมาณการกลางปี พ.ศ. 2549 แมนเชสเตอร์มีประชากรประมาณ 4.52 แสนคน มีประชากรมากที่สุดในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือ ในประวัติศาสตร์ ประชากรของแมนเชสเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงยุควิกตอเรีย โดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 766,311 ในปีพ.ศ. 2474 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น

แมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงมากในเรื่องชีวิตกลางคืน วัฒนธรรมคลับดีเจสมัยใหม่เริ่มขึ้นที่เมืองนี้ และคลับที่นี่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ การเริ่มต้นของดนตรีเฮาส์ แมดเชสเตอร์ซาวนด์ (Madchester sound) และดนตรีแนว Ibiza

แมนเชสเตอร์เป็นต้นกำเนิดของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น นิวออร์เดอร์, เดอะสมิธส์, เดอะเคมิคอลบราเทอร์ส, เอ็มพีเพิล, แบดลีดรอนบอย, โอเอซิส, เอลโบว์, ซิมพลีเรด, เทกแดต และ เดอะสโตนโรสเซส

แมสเชสเตอร์ เป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองกีฬา มีสโมสรพรีเมียร์ลีก 2 สโมสรที่ใช้ชื่อเมืองในชื่อสโมสร คือ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ซิตีมีสนามกีฬาเหย้าคือสนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ จุคนได้เกือบ 48,000 คน ส่วนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มีสนามกีฬาเหย้าคือ โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร จุคนได้ 76,000 คน ถือเป็นสนามกีฬาในอังกฤษแห่งเดียวที่จัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดตัดสิน โดยเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2003 เป็นสนามที่จัดซูเปอร์ลีกแกรนด์ไฟนอลของรักบี้ลีก สโมสรคริกเกตแลนคาเชียร์เคาน์ตี ก็ใช้สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดเป็นกีฬาเหย้าเช่นกัน

บาธ ? เบอร์มิงแฮม ? แบรดฟอร์ด ? ไบรตันและโฮฟ ? บริสตอล ? เคมบริดจ์ ? แคนเตอร์บรี ? คาร์ไลล์ ? เชสเตอร์ ? ชิชิสเตอร์ ? คัฟเวนทรี ? ดาร์บี ? เดอแรม ? อีลี ? เอ็กซิเตอร์ ? กลอสเตอร์ ? เฮริฟอร์ด ? คิงส์ตันอะพอนฮัลล์ ? แลงคาสเตอร์ ? ลีดส์ ? เลสเตอร์ ? ลิชฟิลด์ ? ลิงคอล์น ? ลิเวอร์พูล ? นครหลวงลอนดอน ? แมนเชสเตอร์ ? นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ ? นอริช ? นอตทิงแฮม ? อ๊อกซฟอร์ด ? ปีเตอร์บะระห์ ? พลิมัธ ? พอร์ทสมัธ ? เพรสตัน ? ริพพอน ? เซนตอัลบันส ? ซาลฟอร์ด ? ซอลส์บรี ? เชฟฟีลด์ ? เซาแทมป์ตัน ? สโตก-ออน-เทรนต์ ? ซันเดอร์แลนด์ ? ทรูโร ? เวคฟิลด์ ? เวลล์ส ? เวสต์มินสเตอร์ ? วินเชสเตอร์ ? โวลเวอร์แฮมพ์ตัน ? วูสเตอร์ ? ยอร์ค


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406