ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แพร่

จังหวัดแพร่ (คำเมือง: ) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 17.70 ถึง 18.84 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง ) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น ) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนา

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยขุนสถาน (บางชื่อเรียกว่าดอยธง) สูง 1,630 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา

จากการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดแพร่ พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด หอกสำริด ที่อำเภอลองและอำเภอวังชิ้น ต่อมา มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ในถ้ำที่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ขวานหิน และเครื่องมือหิน จากการตรวจสอบอายุพบว่ามีอายุราว 4,000 ปี

จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและคำบอกเล่า รวมทั้งจากการสำรวจภาคสนาม พบที่ตั้งชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่ จำนวน 24 แห่ง ชุมชนของคนกลุ่มน้อย จำนวน 4 แห่ง ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

- อ.วังชิ้น ได้แก่ เมืองตรอกสลอบ บ้านแม่บงเหนือหรือขวานหินมีบ่า หรือที่เรียกว่า เสียมตุ่น หินไม่มีบ่าพบเพียงเล็กน้อย

- เมืองสองหรือเมืองสรอง ตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำสอง หรือแม่น้ำกาหลง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 3 ชั้น เชื่อกันว่าเป็นเมืองของพระเพื่อน-พระแพงในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ กลางเมืองมีซากเจดีย์เก่าแก่ ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุหินส้ม ปัจจุบันได้รับการบูรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า“ วัดพระธาตุพระลอ”

- ชุมชนโบราณบ้านแม่คำมี ลักษณะของชุมชนคือสร้างสองฝั่งลำน้ำแม่คำมี มีลักษณะแตกต่างจากชุมชนโบราณแห่งอื่นที่สร้างติดลำน้ำด้านเดียว มีแนวคันดินด้านทิศตะวันออกเหลืออยู่ 3 ชั้น

- บ้านพระหลวงธาตุเนิ้ง ชุมชนนี้ไม่ปรากฏคูน้ำและคันดินล้อมรอบแต่มีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระธาตุเนิ้ง (เจดีย์นี้มีลักษณะเอียงซึ่งอาจเกิดจากแผ่นดินไหว) ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ

- เวียงต้า ที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลูกคลื่นใกล้ภูเขามีแนวคันดิน 3 ชั้น นอกกำแพงวัดมีวัดเก่าแก่ คือ วัดต้าม่อน มีภาพเขียนฝาผนังเขียนเล่าชาดกเรื่อง “ ก่ำก๋าดำ” ปัจจุบันภาพจิตรกรรมนี้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

- เมืองลอง ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของอาณาจักรรับภาวะศึกสงครามกับอาณาจักรอยุธยา เมืองโบราณแห่งนี้มีชื่อเรียกอื่นๆอีก ได้แก่ “เมืองเววาทภาษิต” “เมืองกกุฎไก่เอิ้ก” และ “เวียงเชียงชื่น” เมืองลองมีแนวคันดินเป็นกำแพงล้อมรอบแต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำนา ในอดีตเมืองลองขึ้นกับเมืองลำปาง และได้รับการโอนมาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2474

- เมืองตรอกสลอบ บ้านนาเวียง อ.วังชิ้น มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ปัจจุบันวัดที่ตั้งในเขตเมืองได้รับการบูรณะและให้ชื่อว่า "วัดบางสนุก"

เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐานของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้น

- ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย(ไทยลื้อ ไทยเขิน)ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยมขนานนามว่า “เมืองพลนคร”

- ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชย สันนิษฐานว่าเมืองแพร่และมืองลำพูนเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน หลักฐานหนึ่งในประเด็นนี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือสัณฐานเค้าโครงของเมืองโบราณทั้งสองที่มีรูปร่างคล้ายหอยสังข์เหมือนกัน

- หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 24 - 25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “..เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง…เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว…” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826 จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่ และเชื่อว่าเมืองแพร่ ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

- ตำนานพระธาตุลำปางหลวง กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนมาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าวสัณนิษฐานว่าคือเมืองแพร่ นอกจากนี้ยังปรากฏเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาตลอดจนหมดยุคการปกครองโดยเจ้าเมือง

- พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนและวรรณกรรมทางศาสนา เรียกเมืองแพร่ว่าเวียงโกศัย ชื่อเวียงโกศัยน่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร ซึ่งสอดคล้องกับชื่อเมืองแพลในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล

จนถึงปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นมณฑลเทศาภิบาล และโปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์มาเป็นข้าหลวงเมืองแพร่คนแรก โดยมีเจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่ คือ เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ต่อมาเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในปี พ.ศ. 2445 จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวสังหาร ส่วนเจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯเกรงพระราชอาญา จึงหนีไปพำนักที่เมืองหลวงพระบาง ต่อจากนั้นมาก็ไม่มีตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่อีก

คนแพร่มักถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอว่า เมืองแพร่แห่ระเบิด จึงมีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างใด โดยศึกษาอ้างอิงกับเรื่องราวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากคุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตเสรีไทย รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกหลายคนได้ความว่า

นายหลง มโนมูล ซึ่งเป็นคนงานรถไฟสถานีแก่งหลวง ได้ไปพบซากระเบิด ที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามห้วยแม่ต้า เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่น เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณปี พ.ศ. 2485 – 2488) จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานฯ จึงไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟ ที่สถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุด และทำการถอดชนวนแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควักเอาดินระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในออก และช่วยกันหามขึ้นล้อ(เกวียน) นำไปพักไว้ที่บ้านแม่ลู่ตำบลบ้านปิน ต่อมานายหลงฯ ได้ไปลากต่อมาจากบ้านแม่ลู่โดยล้อ (เกวียน) ชาวบ้านทราบข่าว จึงแตกตื่นพากันออกมาดูทั้งหมู่บ้าน เดินตามกันเป็นขบวนยาว ติดตามมาตลอดทางจนถึงวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรอบ ๆ วัด พอทราบข่าวก็ออกมาต้อนรับพร้อมวงฆ้อง – กลองยาว ขบวนที่แห่กันมาจึงเคลื่อนขบวนเข้าวัดทำพิธีถวายให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อใช้เป็นระฆังของวัดจนถึงปัจจุบันนี้ ระเบิดลูกที่ 2 นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ส่วนลูกระเบิดลูกที่ 3 นายบุญมา อินปันดีใช้ช้างลากขึ้นมาจากห้วยแม่ต้า แล้วนำมาบรรทุกล้อ (เกวียน) ลากไปถวายที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ ผู้เป็นภรรยา ปัจจุบันลูกระเบิดที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่

จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดแพร่ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน

โดยรถไฟ : จังหวัดแพร่มีทางรถไฟตัดผ่านที่อำเภอเด่นชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน

เส้นทางที่ 1 กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่จังหวัดชัยนาท ตรงไปจังหวัดนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 125 (เลี่ยงเมืองพิษณุโลก-วังทอง) แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ตรงไป จ.อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายในการเดินทางมากที่สุด

เส้นทางที่ 2 กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 101) สายเก่า ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้ตรงไป ที่จังหวัดกำแพงเพชร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายเก่า กำแพงเพชร - น่าน) โดยผ่าน อ.พรานกระต่าย อ.คีรีมาศ ตรงไปจังหวัดสุโขทัย ผ่าน อ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย แล้วตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกเช่นเคย เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่าน อ.วังชิ้น แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกครั้ง ที่ อ.เด่นชัย ผ่านตรงไป อ.สูงเม่น และเข้าสู่จังหวัดแพร่ เช่นกัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่งโมงเศษ เส้นทางนี้ เคยเป็นเส้นทางสายเก่าของภาคเหนือเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย - พิษณุโลก) สำหรับผู้ที่จะไป จังหวัดแพร่ โดยใช้เส้นทางที่ 2 นี้ จะเหมาะเดินทางในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เพราะเส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 101 (ช่วงเด่นชัย-ศรีสัชนาลัย) จะโค้งดเคี้ยว และเส้นทางค่อนข้างแคบ ทับไปตามแนวป่าเขาสูง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

เส้นทางที่ 3 กรุงเทพฯ-ตากฟ้า-วังทอง-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีแล้ว ให้เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 11 (ตากฟ้า-วังทอง) ผ่าน จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร และ เข้าสู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-สุโขทัย) จากนั้นก็เลี้ยวขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) อีกครั้ง ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ แล้วตรงไป อ.เด่นชัย เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 101 ไปสู่จัหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมงเศษ

โดยรถประจำทาง : บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทเอกชนมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ และกรุงเทพฯ-แพร่-สอง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301