แพทย์ (อังกฤษ: physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น ๆ
ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกเพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียนตามโครงการต่าง ๆ อีกหลายโครงการ.
การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียกชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า พรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทิร์น (Extern)
เมื่อนักเรียนแพทย์ในประเทศไทยศึกษาจบแพทยศาสตรบัณฑิต บัณฑิตแพทย์ต้องมีการทำงานหรือการชดใช้ทุนของแพทย์เป็นเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้ทำงานให้รัฐบาล ซึ่งหากผิดสัญญาต้องจ่ายค่าชดเชยให้รัฐตามแต่สัญญาซึ่งทำไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการศึกษากำหนด ในปีแรกแพทยสภากำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเรียกระยะนี้ว่า อินเทิร์น (Intern)
หลังจากที่บัณฑิตแพทย์สำเร็จการศึกษาออกมาและได้เพิ่มพูนทักษะตามจำนวนปีที่แพทยสภา (Medical Council of Thailand) เป็นผู้กำหนดแล้ว สามารถสมัครเพื่ออบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน (Medical Resident) และเมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่าง ๆ ได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทางได้ต่อไป
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ? อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม ? อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ? อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ? อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ? อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ? อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ? อายุรศาสตร์โรคเลือด ? อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ? อายุรศาสตร์โรคไต ? ตจวิทยา ? ประสาทวิทยา ? เวชบำบัดวิกฤต
กุมารศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ทรวงอก ? ประสาทศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ? ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ? ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ? ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ? ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ? ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ? กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ? กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ? กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ? กุมารเวชศาสตร์โรคไต ? กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ ? กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ? กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ? กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ? โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การบิน, เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก, สาธารณสุขศาสตร์, สุขภาพจิตชุมชน) ? เวชศาสตร์ครอบครัว ? รังสีวิทยา (รังสีวิทยาวินิจฉัย, รังสีร่วมรักษาของลำตัว, รังสีร่วมรักษาระบบประสาท, รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา, เวชศาสตร์นิวเคลียร์, ภาพวินิจฉัยชั้นสูง, ภาพวินิจฉัยระบบประสาท) ? วิสัญญีวิทยา (วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก, วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท) ? จิตเวชศาสตร์ ? จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ? นิติเวชศาสตร์ ? พยาธิวิทยา ? พยาธิวิทยาคลินิก ? พยาธิกายวิภาค ? เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ? จักษุวิทยา ? โสตศอนาสิกวิทยา ? เวชศาสตร์ฟื้นฟู ? ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ ? เวชศาสตร์การกีฬา ? เวชศาสตร์เขตเมือง ? เภสัชวิทยาและพิษวิทยา
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (จุลกายวิภาคศาสตร์, ชีวเคมี, จุลชีววิทยาคลินิก, ปรสิตวิทยา, ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก, เวชศาสตร์การบริการโลหิต) ? กายวิภาคศาสตร์ ? สรีรวิทยา ? เวชพันธุศาสตร์ ? คัพภวิทยา ? เวชศาสตร์การโรงพยาบาล ? ประวัติศาสตร์การแพทย์ ? แพทยศาสตรศึกษา ? โรงเรียนแพทย์ ? การแพทย์แผนไทย ? แพทย์ (แพทยศาสตรบัณฑิต) ? ผู้ช่วยแพทย์ ? สาธารณสุข