ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แผลเก่า

แผลเก่า เป็นผลงานประพันธ์เรื่องแรกของ ไม้ เมืองเดิม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2489 ต่อมา เชิด ทรงศรี นำกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำสถิติรายได้สูงสุดเมื่อออกฉายครั้งแรก ลบสถิติภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เข้าฉายในเวลานั้นทั้งไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รางวัลชนะเลิศจากงานประกวดภาพยนตร์ ณ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุด เคยสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งล่าสุดเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2557

ขวัญเป็นลูกชายนายเขียน ผู้ใหญ่บ้านบางกะปิ เรียมเป็นลูกสาวตาเรือง อยู่คลองแสนแสบ เรียมมีพี่ชายชื่อ เริญ น้องชายชื่อ รอด ตาเรืองแพ้คดีรุกที่นาที่ผู้ใหญ่เขียนฟ้องร้อง จึงเป็นอริกับผู้ใหญ่เขียนเสมอมา แต่ขวัญกับเรียมรักกัน และแอบไปมาหาสู่เพื่อแสดงความรักกันตลอดมา ขวัญสาบานต่อเจ้าพ่อไทรว่า จะรักและซื่อตรงต่อเรียมตลอดไป ขณะนั้น ครอบครัวเรียมตามมาพบ จึงจับเรียมกลับไป ล่ามเรียมไว้ไม่ให้ไปพบกับขวัญอีก ขวัญซึ่งคิดถึงเรียมก็ลักลอบมาหา ได้พบและทำร้ายจ้อย นักเลงซึ่งสนิทกับครอบครัวเรียมและหลงรักเรียมอยู่ ตาเรืองเห็นว่า จะห้ามปรามขวัญกับเรียมไม่ได้ จึงขายเรียมให้ไปเป็นคนใช้คุณนายทองคำ เศรษฐินีม่ายในบางกอก ด้วยราคาหนึ่งร้อยบาท

คุณนายทองคำเห็นเรียมหน้าตาน่ารักและละม้ายโฉมยง บุตรสาวที่เพิ่งตาย จึงเอ็นดูและเลี้ยงเรียมเหมือนลูก เรียมจึงมีชีวิตเหมือนผู้ดีอยู่ในบางกอก เรียมยังได้พบสมชาย ลูกของพี่ชายคุณนายทองคำ ซึ่งเป็นคนรักของโฉมยง สมชายก็เหมือนคุณนายทองคำที่เมื่อเห็นเรียมก็รักใคร่ คุณนายเห็นทั้งสองสมน้ำสมเนื้อกันก็ส่งเสริม แต่เรียมยังคงรักขวัญอยู่

สามปีผ่านไป ขวัญซึ่งไร้เรียมใช้ชีวิตเหมือนรอวันตายไปวัน ๆ เข้าใจว่า เรียมไปได้ดีในบางกอกจนลืมคนเคยรักคนนี้เสียแล้ว เวลานั้น นางรวย แม่ของเรียมป่วย เรียมจึงขออนุญาตคุณนายกลับบ้านเดิมเพื่อมาเยี่ยมไข้ นางรวยเมื่อลูกสาวมาหาได้ไม่นานก็สิ้นใจ เมื่อกลับมาแล้ว เรียมได้พบกับขวัญ และแสดงให้เขาเข้าใจว่า ยังรักกันไม่เสื่อมคลาย

หลังเสร็จงานศพนางรวย สมชายมาตามเรียมกลับบางกอก เพราะคุณนายทองคำล้มป่วยลงเช่นกัน เรียมสองจิตสองใจ ใจหนึ่งไม่อยากกลับเพราะรักขวัญ ใจหนึ่งก็คิดถึงอนาคตอันรุ่งโรจน์ที่บางกอก ขณะนั้น สมชายก็พร่ำพรอดรักเรียม ขวัญแอบมาได้ยินก็โกรธจนบ้าคลั่ง เข้าทำลายเรือที่คนทั้งนั้นจะใช้ไปบางกอก ผู้คนจึงออกติดตามจับขวัญ สมชายใช้ปืนยิงขวัญตาย เรียมจึงคว้ามีดของขวัญมาเชือดคอตัวเองตายตามขวัญไป

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ฉบับ พ.ศ. 2483 เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม. ขาวดำ บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ สร้างโดยบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ของตระกูล วสุวัต นำแสดงโดย สมพงษ์ จันทร์ประภา ประพันธ์เพลงประกอบโดยพรานบูรพ์ เพลงประกอบทีมีชื่อเสียงคือเพลงขวัญของเรียม ขับร้องโดย ส่งศรี จันทรประภา และเพลงเคียงเรียม, สั่งเรียม, ลำนำแผลเก่า

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ฉบับ พ.ศ. 2489 เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 35 มม.สีธรรมชาติ พากย์ สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ นำแสดงโดย ชีพ ชูพงษ์ (ท้วม ทรนง) และพรทิพย์ โกศลมัชกิช เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ทำรายได้สามแสนบาท ฉายซ้ำอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497

ภาพยนตร์เรื่อง แผลเก่า ผลงานกำกับของ เชิด ทรงศรี เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 70 มม.สีอีสต์แมน เสียงพากย์ในฟิล์ม สร้างโดย เชิดไชยภาพยนตร์ จัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี รับบท "ขวัญ", นันทนา เงากระจ่าง รับบท "เรียม" ร่วมด้วย ส. อาสนจินดา, ชลิต เฟื่องอารมย์, เศรษฐา ศิระฉายา และศรินทิพย์ ศิริวรรณ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ใช้คำโฆษณาหนังว่า "เราจักสำแดงความเป็นไทยต่อโลก" เพลงประกอบเพิ่มจากเดิม คือ แสนแสบ ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (ชรินทร์ นันทนาคร เคยขับร้องบันทึกแผ่นเสียง เมื่อ พ.ศ. 2503) เพลงอื่นๆ ได้แก่ ลำนำแผลเก่า ขับร้องโดย ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และ ไพรวัลย์ ลูกเพชร, กุหลาบสีเขียว ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธ์

เนื่องจากเป็นเรื่องแนวย้อนยุค ในขณะที่ผู้สร้างส่วนใหญ่นิยมสร้างภาพยนตร์ร่วมสมัย จึงไม่มีตัวแทนจำหน่ายหรือสายหนังรายใดสนใจเลย แต่เมื่อออกฉาย ปรากฏว่าเป็นที่นิยม ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ได้รับการต้อนรับจากคนดูหรือสังคมไทยอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้รับรางวัลพระสุรัสวดี สาขาบทประพันธ์ยอดเยี่ยมและรางวัลเครื่องแต่งกายและแต่งหน้ายอดเยี่ยมจากการประกวดในประเทศ รวมทั้งโล่เกียรติยศภาพยนตร์ที่เชิดชูเอกลักษณ์ไทยยอดเยี่ยมจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

พ.ศ. 2524 "แผลเก่า" ได้รับรางวัลกรังด์ปรีซ์จากการประกวดภาพยนตร์ในงาน Festival des 3 Continents เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส

พ.ศ. 2541 "แผลเก่า" ได้รับเลือกจากหอภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศอังกฤษ (National Film and Television Archive) ร่วมกับนิตยสาร Sight and Sound ของสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (British Film Institute) และผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์จากทั่วโลก ให้เป็น 1 ใน 360 ภาพยนตร์คลาสสิคของโลก โดยมีการประกาศผลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544

พ.ศ. 2548 หอภาพยนตร์แห่งชาติ จัดตั้งโครงการ 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู โดยจัดฉายวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในโครงการ

พ.ศ. 2550 มูลนิธิหนังไทยร่วมกับหอภาพยนตร์แห่งชาติ นำผลงานภาพยนตร์ของเชิด ทรงศรี จำนวน 5 เรื่อง รวมทั้งแผลเก่า มาจัดฉายอีกครั้งในระหว่างวันที่ 21 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 เพื่อนำรายได้ไปจัดสร้างประติมากรรมขนาดเท่าตัวจริงของเชิด ทรงศรี เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา

พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ

พ.ศ. 2561 หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้นำ"แผลเก่า" กลับมาฉายอีกครั้งในโครงการ "ทึ่ง....หนังโลก" ฉายในวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 20.00 น. ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า ฉายด้วยระบบดิจิตอล DCP

(โดยหอภาพยนตร์ฯทำการบูรณะร่วมกับแลปฟิล์มที่ประเทศอิตาลี โดยต้นฉบับหนังดังกล่าว มาจากฟิล์มเนกาทีฟของคุณเชิดทรงศรี ซึ่งเคยมอบให้กับหอภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 2531)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406