แนวร่วมที่สอง (อังกฤษ: Second United Front) คือ การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรระหว่าง พรรคก๊กมินตั๋ง และ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ในช่วง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทั้งสองตกลงที่จะพักรบ สงครามกลางเมืองจีน ในช่วงปี ค.ศ. 1937 จนถึง ค.ศ. 1946
ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองแมนจูเรีย นายพล เจียงไคเช็ค ได้สังเกตว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะกลายมาเป็นอันตรายใหญ่หลวง เขาได้ปฏิเสธที่จะยอมร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกจากแผ่นดิน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 นายพลของพรรคก๊กมินตั๋งสองนาย คือ Zhang Xueliang และ Yang Hucheng ได้ลักพาตัวนายเจียงไคเช็คและบังคับให้เขาร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกว่า กรณีซีอาน ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงใจที่จะยอมสงบศึกกันเองและพุ่งเป้าไปเพื่อกำจัดกองทัพญี่ปุ่นในแผ่นดินจีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นเพียงผู้ก่อตั้งแนวร่วมแต่เพียงในนาม เพราะว่ากองกำลังคอมมิวนิสต์พบเจอกับกองทัพญี่ปุ่นเพียงน้อยครั้ง แต่ได้แดสงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการรบแบบกองโจร การร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างทั้งพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในระดับต่ำสุด แม้กระทั่งยังอยู่ใต้สภาวะพักรบกัน แต่ว่าทั้งสองพรรคก็ยังพยายามแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงดินแดนของจีน
สถานการณ์กลายเป็นความตึงเครียดระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเกิดการรบขึ้นระหว่างทั้งกองกำลังทั้งสองระหว่างปี ค.ศ. 1940 และ ค.ศ. 1941 นายพลเจียงไคเช็กต้องการให้กองทัพใหม่ที่สี่ของพรรคคอมมิวนิสต์ถอนตัวออกไปจากมณฑลอานฮุยและมณฑลเจียงซู ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก ผู้บัญชาการกองทัพใหม่ที่สี่ได้ประกาศถอนตัวแต่กลับถูกกองทัพชาตินิยมซุ่มโจมตีและพ่ายแพ้เมื่อถึงเดือนมกราคม 1941 เหตุการณ์ดังกล่าวได้ชื่อว่า กรณีกองทัพใหม่ที่สี่ ทำให้ฐานกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในภาคกลางของประเทศอ่อนแอลง และเป็นการสิ้นสุดการให้ความร่วมมือกัน และนำไปสู่สงครามกลางเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดินแดนที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครอง กองกำลังพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ได้ใช้กลศึกเพื่อรบกันเอง กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์สามารถทำลายหรือดูดกลืนกองทัพฝ่ายชาตินิยมหรือขับไล่กองกำลังเหล่านั้นไปสู่กองทัพญี่ปุ่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็มีอิทธิพลอย่างมากในภาคเหนือของประเทศจีน (ยกเว้น แมนจูกัว เท่านั้น)