แถบปิดแผล คือ ผลิตภัณฑ์ทำแผลสำเร็จรูป สำหรับปฐมพยาบาลบาดแผล มักเป็นแผลขนาดเล็กที่เลือดหยุดไหลแล้ว
แถบปิดแผล ยี่ห้อแรกในโลกคือ แบน-เอด (Band-Aid) ผลิตโดย จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าที่ติดหู นิยมใช้เรียกแทนชื่อผลิตภัณฑ์ ในสหรัฐอเมริกา อินเดีย แคนาดา ออสเตรเลีย
ขณะที่ยี่ห้อแรกในประเทศไทยคือ ปลาสเตอร์ หรือ ปลาสเตอร์ยา (Plaster) ซึ่งกลายเป็นชื่อทางการค้าที่ติดหู นิยมเรียกแทนชื่อผลิตภัณฑ์เช่นกัน รวมถึงในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ (ในประเทศอื่นยังรวมถึงชื่อยี่ห้อที่เรียกใกล้เคียง เช่น sticking plaster หรือ Elastoplast)
ในหลายวัฒนธรรม รูปหรือคำที่เกี่ยวกับแถบปิดแผล ยังเป็นภาษาสัญลักษณ์สื่อความมหายถึง การได้รับบาดเจ็บ หรือการรั่วซึม เช่น "Band-aid solutions were used to fix the leak" ("สารละลายปิดแผลใช้เคลือบแก้ปัญหาการรั่วซึม")
เอิร์ล ดิกสัน (Earle Dickson) ลูกจ้างของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ประดิษฐ์แถบปิดแผลขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เพื่อภรรยาของเขาคือ โจเซฟิน ซึ่งมักมีดบาดขณะทำครัว
เดิมที ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เขาประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ภรรยาของเขา ได้ใช้แต่งแผลของเธออย่างสะดวก แม้ขณะที่เขาไปทำงานไม่สามารถอยู่ช่วยทำแผลได้
ต่อมา นายจ้างของเขาได้รู้แนวคิดของเขา จึงให้เขานำไปพัฒนาให้สามารถดำเนินสายการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย เขาจึงประสบความสำเร็จในอาชีพที่ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งท้ายสุดได้เป็นรองประธานบริษัท ก่อนเกษียณเมื่อ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)
แถบปิดแผลระยะแรก ที่ผลิตด้วยมือ ยังไม่มีชื่อเสียงนัก ต่อมา พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) จอห์นสันแอนด์จอห์นสันบุกเบิก เครื่องจักรผลิตแถบปิดแผลปลอดเชื้อ เครื่องแรก เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้แถบปิดแผลหลายล้านแถบได้จัดจำหน่ายไปทั่วโพ้นทะเล