ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (เยอรมัน: Sachsen-Coburg und Gotha; อังกฤษ: Saxe-Coburg and Gotha) เป็นชื่อของดัชชีเยอรมันสองรัฐคือ ซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี บริเวณรัฐบาวาเรียและรัฐเทือริงเงินปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารวมเป็นรัฐเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2369 ถึงปี พ.ศ. 2461

ชื่อ ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา อาจหมายถึงตระกูลหรือราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากมายและหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองและราชสำนักยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา เป็นส่วนหนึ่งในดัชชีแซ็กซอนที่ปกครองโดยราชวงศ์เวตตินเชื้อสายของเจ้าชายเออร์เนส ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเกิดจากการรวมตัวของทั้งสองรัฐนี้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวกันเป็นรัฐร่วมประมุขในปี พ.ศ. 2369 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของดยุกพระองค์สุดท้ายแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก (Duke of Saxe-Gotha-Altenburg) โดยปราศจากรัชทายาทชาย ญาติในราชวงศ์เวตตินจึงได้แบ่งแยกดินแดนกันอีกครั้ง และดยุกแอร์นส์ที่ 1 แห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (Duke Ernst I of Saxe-Coburg-Saalfeld) (อดีตพระสวามีในเจ้าหญิงหลุยส์แห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก พระนัดดาหญิงองค์เดียวของดยุกพระองค์สุดท้าย) ได้ปกครองเมืองโกทา จึงเปลี่ยนพระยศเป็น ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก แม้ว่าในทางหลักการทั้งสองรัฐยังคงแยกกันอยู่

ดยุกแอร์นส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2387 และแอร์นส์ที่ 2 (Ernst II) ซึ่งเป็นพระโอรสและผู้สืบทอดทรงปกครองดินแดนต่อมาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2436 โดยไร้รัชทายาท ราชบัลลังก์ดัชชีจึงตกทอดไปสู่พระโอรสในพระอนุชาคือเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญของดัชชีทั้งสองไม่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์และรัชทายาทแห่งสหราชอาณาจักรสืบทอดราชบัลลังก์ดัชชีได้ ถ้ายังมีรัชทายาทผู้ชายที่เหมาะสมองค์อื่นอยู่ ดังนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ จึงทรงสละสิทธิ์การสืบทอดให้แก่พระอนุชาองค์ต่อไปคือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินเบอระ พระโอรสองค์เดียวในเจ้าชายอัลเฟรด ซึ่งมีพระนามเดียวกันคือ เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินบะระ ได้ทรงกระทำอัตตวินิบาตกรรมในปี พ.ศ. 2442 เมื่อดยุกอัลเฟรดสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 2443 ราชบัลลังก์จึงสืบทอดต่อมาโดยเจ้าชายชาลส์ เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งออลบานี พระโอรสพระชนมายุสิบเจ็ดชันษาในเจ้าชายลีโอโพลด์ พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสตราเธิร์น และ[เจ้าชายอาร์เธอร์พระโอรสมิทรงต้องการปกครองดัชชีซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา จึงได้ทรงประกาศการสละสิทธิ์การสืบราชสมบัติ) หลังจากการสืบทอดราชบัลลังก์โดยมีพระนามว่า คาร์ล เอดูอาร์ด และอยู่ภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการอันนำโดยเจ้าชายรัชทายาทแห่งโฮเอ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กจนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะในปี พ.ศ. 2448 พระองค์ยังคงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งออลบานี เมื่อพระองค์ทรงต่อสู้ร่วมกับฝ่ายเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงทรงถูกถอดถอนพระอิสริยยศของอังกฤษออกทั้งหมดในปี พ.ศ. 2462

ดยุกคาร์ล เอดูอาร์ดทรงปกครองอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อเหล่าสมัชชาแรงงานและทหารแห่งโกธาถอดถอนพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ในช่วงการปฏิวัติเยอรมัน รัฐดยุกทั้งสองซึ่งสูญสลายโดยผู้ครองรัฐที่กลายเป็นสามัญชน ได้แยกออกจากกัน แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐซัคเซิน-โคบูร์กก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาวาเรีย ส่วนรัฐซัคเซิน-โกทาก็ได้รวมเข้ากับรัฐเล็กอื่น ๆ เพื่อก่อตั้งเป็นรัฐใหม่คือรัฐเทือริงเงินในสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) เมื่อปี พ.ศ. 2463

เมืองหลวงของซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา คือ เมืองโคบูร์ก และ เมืองโกทา ในปี พ.ศ. 2457 พื้นที่และประชากรของรัฐดยุกทั้งสองมีรายละเอียดดังนี้

รัฐซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเป็นประเทศเดียวในทวีปยุโรปที่ได้แต่งตั้งกงสุลประจำสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา กงสุลท่านนี้มีชื่อว่า แอร์นส์ ราเวน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่มลรัฐเท็กซัส ราเวนขออนุมัติหนังสือรับรองกงสุลจากรัฐบาลของสมาพันธรัฐอเมริกาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 และได้รับการตอบรับ

ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเคยเป็นราชวงศ์ที่ครองราชบัลลังก์ในหลายประเทศของยุโรป และปัจจุบันมีสาขาสืบทอดที่ยังครองราชบัลลังก์เบลเยียม โดยผ่านทางเชื้อสายในสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และสหราชอาณาจักร รวมถึงเครือจักรภพโดยผ่านทางเชื้อสายในเจ้าชายอัลเบิร์ต ในสหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากเดิมเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปี พ.ศ. 2460 ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แซ็กซอน เชื้อสายเวตติน

สมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ทรงปกครองในหลายประเทศของทวีปยุโรป สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม พระอนุชาในดยุกแอร์นส์ที่ 1 เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเบลเยียมในปี พ.ศ. 2374 และเชื้อสายของพระองค์ยังคงปกครองอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเบลเยียม พระราชธิดาเพียงองค์เดียวของพระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์โลตาแห่งเม็กซิโก พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโกในทศวรรษที่ 1860 ราชบัลลังก์ของประเทศเม็กซิโก มีรากฐานจากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา นอกจากนี้แล้วเจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา พระนัดดาของดยุกแอร์นส์ยังได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส และเชื้อสายของพระองค์ทรงปกครองประเทศโปรตุเกสจนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2453

เชื้อสายอีกพระองค์หนึ่งในราชวงศ์มีพระนามเดียวกันว่า เฟอร์ดินานด์ ทรงเป็นเจ้าชายครองรัฐและต่อมาทรงเป็นกษัตริย์แห่งบัลแกเรีย รัชทายาทของพระองค์ยังคงปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2489 ประมุขแห่งราชวงศ์บัลแกเรียปัจจุบันคือ อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีซิมอนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย (Simeon II of Bulgaria) ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น ซิมอน ซักซ์โคบูร์กก็อตสกี (Simeon Sakskoburggotski) และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบัลแกเรียเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่อดีตกษัตริย์ทรงกลับมามีอำนาจอีกครั้งโดยผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

ในปี พ.ศ. 2369 เชื้อสายรองของราชวงศ์ได้สืบทอดทรัพย์สินของราชวงศ์โคฮารี (Kohary) ของประเทศฮังการี และเปลี่ยนมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหล่าเจ้าชายแห่งโคฮารีทรงร่ำรวยและเป็นขุนนางแห่งฮังการี และเจ้าชายครองนครในจักรวรรดิออสเตรีย ทุกพระองค์สามารถจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งบราซิล อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย เจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศส เบลเยียมและแซ็กโซนีได้ สมาชิกของราชวงศ์ประกอบด้วยเชื้อสายผ่านทางพระโอรสทุกองค์ในโยฮันน์ แอร์นส์ ดยุกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ ที่กำเนิดอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากการอภิเษกสมรสที่ฐานันดรศักดิ์เท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง (จนกระทั่งอภิเษกสมรส) พระชายาจากการอภิเษกสมรสที่ฐานันดรศักดิ์เท่าเทียมกันหรือได้รับอนุญาต และพระชายาม่ายจนกระทั่งการอภิเษกสมรสใหม่อีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่ใช้ชื่อว่า แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา เป็นชื่อทางการของราชวงศ์เบลเยียมต่อไป การตัดสินพระทัยของพระองค์เป็นแบบลับๆ และไม่ได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นจึงทำให้เกิดความสับสนในบางประเทศและแม้แต่ประเทศเบลเยียมว่าราชวงศ์เบลเยียมยังคงใช้ชื่อ แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ชื่อของพระราชวงศ์เปลี่ยนเป็น van Belgi?, de Belgique และ von Belgien (แห่งเบลเยียม) เนื่องจากว่าประเทศเบลเยียมมีภาษาราชการสามภาษา จึงต้องใช้สามภาษาเป็นชื่อทางการของพระราชวงศ์โดยไม่มีการเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง ทำให้เป็นราชวงศ์เดียวในโลกที่มีชื่อราชวงศ์ต่างกันสามชื่อแต่มีผลใช้ได้เท่ากัน ชื่อราชวงศ์นี้ใช้ในบัตรประจำตัวสมาชิกในพระราชวงศ์และเอกสารทางราชการต่างๆ (เช่น ทะเบียนสมรส ฯลฯ)

การขึ้นครองราชย์ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งในราชวงศ์เบลเยียม ราชสกุลของพระองค์จะเปลี่ยนเป็น der Belgen, des Belges และ der Belgier แปลว่า แห่งชาวเบลเยียม เพื่อบ่งบอกว่าประเทศเบลเยียมมีระบอบกษัตริย์อันเป็นที่นิยมทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี จากเว็บไซต์ทางการของราชสำนักแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "กษัตริย์อังกฤษเพียงพระองค์เดียวแห่งราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธาคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลาเก้าปี.......สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ที่ฟังดูเป็นเยอรมันมาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนชื่อแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธายังคงมีอยู่ในราชสำนักยุโรปหลายประเทศ รวมถึงโปรตุเกสและบัลแกเรีย และราชวงศ์เบลเยียมจนกระทั่งปี พ.ศ. 2463"

เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระโอรสพระองค์เล็กในดยุกแอร์นส์ที่ 1 เป็นพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเป็นพระภาติยะในดยุกแอร์นส์ โดยผ่านทางเจ้าหญิงวิคตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (Princess Victoria of Saxe-Coburg-Saalfeld) พระกนิษฐา ด้วยเหตุนี้ จากการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ตและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา จึงกลายมาเป็นชื่อราชวงศ์ของพระราชวงศ์อังกฤษ ตั้งแต่การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปี พ.ศ. 2460 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เนื่องจากการใช้ชื่อเยอรมันนับว่าเป็นการไม่รักชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ไม่ใช่ ราชสกุลส่วนพระองค์ ของทั้งเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระโอรสและธิดา แต่อันที่จริงแล้วทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักราชสกุลจริง (ราชวงศ์ไม่จำเป็นและไม่เคยต้องมีตัวบ่งบอกความเป็นราชวงศ์ทั่วไปเช่นนั้น) จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อพระองค์มีพระประสงค์จะทราบถึงราชสกุลที่แท้จริง หลังจากการค้นหาอันเหน็ดเหนื่อย สภาที่ปรึกษาได้สรุปว่าเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (จากการอภิเษกสมรส) ทรงมีราชสกุลส่วนพระองค์ว่า เวตติน (Wettin)

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนราชสกุลจากทั้ง เวตติน และ แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา เป็น วินด์เซอร์ อย่างไรก็ดี พระบรมราชโองการโดยคำแนะนำขององคมนตรีในปี พ.ศ. 2503 ได้แยกชื่อราชวงศ์และราชสกุลส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ออกจากกัน จึงมีผลบังคับใช้ว่าขณะชื่อราชวงศ์ยังคงเป็น วินด์เซอร์ เชื้อสายในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ จะทรงใช้ราชสกุลว่า เมานท์แบ็ทเท็น-วินด์เซอร์ อย่างไรก็ดี เจ้าชายฟิลิปทรงอยู่ในราชวงศ์ชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึกซ์บูร์ก (Schleswig-Holstein-Sonderburg-Gl?cksburg) และโดยหลักการยังรวมไปถึงเชื้อสายในพระโอรสอีกด้วย

ซัคเซิน-ไวมาร์ (1572–1806) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก-ไอเซนัค (1572–1596) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก (1596–1633, 1681–1699) ? ซัคเซิน-ไอเซนัค (1596–1638, 1640–1644, 1672–1806) ? ซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก (1603–1672, 1826–1918) ? ซัคเซิน-โกทา (1640–1680) ? ซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก (1681–1826) ? ซัคเซิน-มาร์คซูล (1662–1672) ? ซัคเซิน-เยนา (1672–1690) ? ซัคเซิน-ไอเซนแบร์ก (1680–1707) ? ซัคเซิน-ฮิลด์บูร์กเฮาเซิน (1680–1826) ? ซัคเซิน-เริมฮิลด์ (1680–1710) ? ซัคเซิน-ซาลเฟลด์ (1680–1735) ? ซัคเซิน-ไมนิงเงิน (1681–1918) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (1735–1826) ? ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค (1806–1918) ? ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (1826–1918)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301