ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แกเบรียล

หลุยส์ซา แกเบรียล บ็อบ (อังกฤษ: Louisa Gabrielle Bobb) (เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2513) เป็นศิลปินนักร้องหญิงชาวอังกฤษ ที่มียอดการขายในระดับทองคำขาว และเคยได้รับรางวัลบริตอะวอร์ดมาแล้ว และชื่อในวงการเพลงของเธอคือ แกเบรียล (อังกฤษ: Gabrielle)

แกเบรียลเกิดที่เมืองแฮคนี่ย์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอปรากฏตัวครั้งแรกด้วยภาพลักษณ์ที่แหวกแนว คือไว้ผมดัดหยิกสั้นและมักปิดตาข้างหนึ่งด้วยผ้าคาดตาสีดำแบบโจรสลัด (ซึ่งจริงๆแล้วเธอไม่ได้ตาบอด แต่มีปัญหาเกี่ยวกับหนังตาตกและเปลือกตาหลบลงข้างหนึ่ง)

เธอเปิดตัวด้วยซิงเกิลแรกที่มีชื่อว่า "ดรีมส์" ซึ่งสามารถขึ้นสู่อันดับ 1 ของ ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: UK Singles Chart) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 ส่วนซิงเกิลที่โดดเด่นอื่นๆ เช่นเพลง "โกอิงโนแวร์", "กิฟมีอะลิตเติลมอร์ไทม์", "วอล์กออนบาย" และ "อิฟยูเอเวอร์" ซึ่งเพลงนี้ได้ร้องร่วมกับนักร้องกลุ่มบอยแบนด์ อีสต์ เซเวนทีน อัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกของเธอชื่อ "ไฟด์ยัวร์เวย์"

หลังจากห่างหายไปจากวงการเพลงไม่กี่ปี แกเบรียลก็กลับมาอย่างงดงามด้วยซิงเกิล "ไรซ์" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ของเธอที่ขึ้นสู่อันดับ 1 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 และอัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกันนี้ ก็สามารถขึ้นสู่อันดับสูงสุดใน ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: UK Albums Chart) เป็นเวลา 3 สัปดาห์

หลังจากนั้นเธอก็ประสบความสำเร็จกับเพลง "เอาต์ออฟรีช" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "บันทึกรักพลิกล็อก" (อังกฤษ: Bridget Jones's Diary) เพลงนี้ขึ้นสู่อันดับที่ 4 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร และมีผลงานอัลบั้มรวมเพลง ดรีมส์แคนคัมทรู, เกรเทสฮิตส์ ชุดที่ 1 ซึ่งวางจำนายในช่วงปี พ.ศ. 2544

แกเบรียลเคยได้รับรางวัลจาก บริตอะวอดส์ ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 คือสำหรับศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (อังกฤษ: British Breakthrough Act) และครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2540 สำหรับศิลปินหญิงยอดเยี่ยม (อังกฤษ: Best British Female)

ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลแรกในชีวิตของเธอที่ชื่อว่า "ดรีมส์" เพลงนี้แต่งโดยแกเบรียลร่วมกับทิม ลอส์ และโปรดิวซ์โดยริชชี เฟอร์มี ซึ่งเพลงนี้สามารถขึ้นสู่อันดับ 1 บน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 โดยเพลงนี้ได้เข้าไปขึ้นอยู่บนชาร์ตของเกาะอังกฤษเป็นครั้งแรกด้วยอันดับที่ 2 ซึ่งเป็นชาร์ตที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาเมื่อเทียบกับนักร้องหน้าใหม่คนอื่นๆของอังกฤษในขณะนั้น เพลงนี้ได้เข้าสู่อันดับที่ 26 ในชาร์ต บิลบอร์ดฮอต 100 (อังกฤษ: Billboard Hot 100) ของสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่อันดับที่ 1 ในชาร์ต ฮอตแดนซ์คลับเพลย์ (อังกฤษ: Billboard Hot Dance Club Play) และในประเทศออสเตรเลีย เพลงนี้ได้เข้าสู่อันดับที่ 2 ใน ARIA Chart ตามมาด้วยซิงเกิลที่ 2 "โกอิงโนแวร์" จากอัลบั้มเดียวกัน ซึ่งแต่งโดยแกเบรียลและจอส แมคฟาร์เลน โปรดิวซ์โดย พีช แครกกี้ เพลงนี้เข้าสู่อันดับที่ 9 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร และอยู่อันดับที่ 18 ในชาร์ตเพลงของประเทศไอร์แลนด์ เป็นเพลงที่สองที่โด่งดังไม่แพ้กันจากอัลบั้ม "ไฟด์ยัวร์เวย์"

ในเดือนช่วงธันวาคม พ.ศ. 2536 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลที่ 3 คือเพง "ไอวิช" แต่งโดยแกเบรียลและจอน ดูกลาส แต่เพลงนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับสองเพลงก่อนหน้านี้ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ทั้งสองเพลง โดยเพลงนี้ได้แค่อันดับที่ 26 ของ ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เท่านั้น และเป็นเพลงเดียวที่ได้อันดับที่ต่ำสุดของเธอ ตามมาด้วย "บีคอสออฟยู" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 4 และเป็นซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มแรกนี้ เพลงนี้แต่งโดยแกเบรียล, จอส แมคฟาร์เลน และเรย์ เซนท์ จอห์น สามารถทำได้เพียงอันดับที่ 24 ของ ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เท่านั้น ส่วนอัลบั้มเต็ม "ไฟด์ยัวร์เวย์" นั้น อันดับสูงสุดได้อันดับที่ 9 ใน ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: UK Albums Chart)

ต่อมา พ.ศ. 2539 แกเบรียลได้ปล่อยอัลบั้มทีสอง ซึ่งใช้ชื่อของเธอเอง "แกเบรียล" เป็นชื่ออัลบั้ม อัลบั้มนี้เข้าสู่ ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร ในอันดับที่ 11 จนกระทั่งมียอดขายในระดับ ทองคำขาว ภายในประเทศ อัลบั้ม "แกเบรียล" ยังสามารถเข้าสู่อันดับที่ 80 ใน ชาร์ต MegaCharts ของประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วย เปิดตัวด้วย "กิฟมีอะลิตเติลมอร์ไทม์" เป็นซิงเกิลแรก ทำให้แกเบรียลกลับมาติด ท็อป 10 ของชาร์ตเพลงในเกาะอังกฤษได้อีกครั้ง ซึ่งสูงสุดติดอยู่ในอันดับที่ 5 และเป็นเวลา 20 สัปดาห์ที่ติดอยู่ในท็อป 20 ของเกาะอังกฤษ เพลงนี้ติดในอันดับที่ 9 ในชาร์ตเพลงของประเทศไอร์แลนด์ และเป็นซิงเกิลที่ 4 ที่ขายดีในสหราชอาณาจักร ตามมาด้วย "ฟอร์เก็ตอะเบาต์เดอะเวิลด์" เป็นซิงเกิลที่สองจากอัลบัม แต่งโดย แกเบรียล, วูล์ฟ, ดีน, บาร์สัน ซึ่งเคยร่วมแต่งเพลง "กิฟมีอะลิตเติลมอร์ไทม์" มาแล้ว แต่เพลงนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเพลงแรก สูงสุดได้แค่อันดับที่ 23 บนชาร์ตเพลงของเกาะอังกฤษเท่านั้น เป็นซิงเกิลที่ได้อันดับที่ต่ำที่สุดจากอัลบัมนี้ และเป็นซิงเกิลเดียวที่ไม่ติดท็อป 15 ตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 ด้วยเพลง "อิฟยูเรียลลีแคร์ด" ซึ่งแต่งโดย แกเบรียล, วูล์ฟ, ดีน, บาร์สัน เช่นเดียวกันกับสองเพลงแรก และเข้ามาติดอยู่ในท็อป 20 ของชาร์ตเพลงเกาะอังกฤษ โดยติดในอันดับที่ 15 บน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ตามมาด้วยเพลง "อิฟยูเอเวอร์" ที่ร้องร่วมกับวง อีสต์ เซเวนทีน (อังกฤษ: East 17) โดยเป็นเพลงที่นำเพลงเก่าเพลง "อีฟไอเอเวอร์ฟอลอินเลิฟ" มาร้องใหม่ เพลงนี้เข้าสู่อันดับที่ 2 ในชาร์ตเพลงของเกาะอังกฤษ และอยู่ในอันดับที่ 4 ในชาร์ตเพลงของประเทศลัตเวีย และเพลงนี้เป็น 1 ใน 3 เพลงของแกเบรียลที่ติดท็อป 20 ในประเทศออสเตรเลียด้วย โดยสูงสุดที่อันดับที่ 16 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดของซิงเกิลที่มาจากอัลบั้มสองอัลบั้มแรก และเพลงนี้ได้ติดอันดับที่ 11 ของซิงเกิลบอยแบนด์ที่มียอดขายยอดเยี่ยมแห่งยุค 90 ในประเทศอังกฤษด้วย โดยขายได้ถึง 510,000 ก็อปปี้ และได้รับสถิติยอดขายในระดับ ทองคำ ด้วย และในปี พ.ศ. 2540 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มนี้ ด้วยเพลง "วอล์กออนบาย" ซึ่งเพลงนี้ติดอยู่ในอันดับที่ 7 ในชาร์ตเพลงของประเทศอังกฤษ

แกเบรียล เริ่มบันทึกเสียงเพื่อลงอัลบั้มที่ 3 ของเธอ ที่ใช้ชื่อว่า "ไรซ์" ในช่วง ปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 อัลบั้ม "ไรซ์" วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายในสหราชอาณาจักร และวางจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของเธอ เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถทะยานขึ้นสู่อันดับที่ 1 ใน ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถึง 3 สัปดาห์ และได้รับสถิติ 4x ทองคำขาว เปิดตัวด้วย "ซันไชน์" ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ เข้ามาสู่อันดับที่ 9 เป็นเพลงที่ 6 ที่ติดท็อป 10 ตามมาด้วยซิงเกิล "ไรซ์" เป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบั้มนี้ เพลงนี้ขึ้นสู่อันดับที่ 1 ได้อย่างงดงาม ซึ่งเป็นเพลงที่ 2 ที่ขึ้นอันดับ 1 ต่อจากเพลง "ดรีมส์" เพลง "ไรซ์" แต่งโดย แกเบรียล, ออลลี่ ดากอส, เฟอร์ดี้ อังเกอร์-ฮามิลตัน และ บ็อบ ดีแลน และโปรดิวซ์โดย จอนนี ดอลล่า เพลงนี้อิงทำนองมาจากเพลง "นอกกิงออนเฮเวนส์ดอร์" (อังกฤษ: Knockin' on Heaven's Door) ของ บ็อบ ดีแลน (อังกฤษ: Bob Dylan) เพลงนี้อยู่ในอันดับ 1 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 จำหน่ายได้ถึง 460,000 ก็อปปี้ด้วยกัน ถือเป็นเพลงที่ขายดีอันดับที่ 14 ในช่วงปี พ.ศ. 2543 ส่วนตัวอัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้น ก็ติดท็อปอันดับ 1 อยู่ในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตนั้นรวมทั้งหมด 87 สัปดาห์ และซิงเกิลต่อมา "เว็นอะวูแมน" เป็นซิงเกิลที่ 3 จากอัลบั้ม "ไรซ์" ปล่อยในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2543 เพลงนี้ติดอันดับที่ 6 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร กลายเป็นเพลงที่ 8 ที่ติดท็อป 10 ต่อด้วยซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มนี้ "ชูดด์ไอสเตย์" เพลงนี้ติดอันดับที่ 13 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเพลงที่ 4 ที่ติดท็อป 15 โดยตัวมิวสิควิดีโอเพลงนี้ให้อารมณ์ที่เศร้าเหมือนตัวเพลงได้อย่างดี และบางส่วนของเพลงได้ถูกตัดไปเป็นเพลงประกอบของช่องข่าว บีบีซีนิวส์ ด้วย และในปี พ.ศ. 2547 เพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบละครเพลงของช่อง บีบีซี เรื่อง "แบล็คพูล" (อังกฤษ: Blackpool)

แกเบรียล ออกผลงานอัลบั้มรวมเพลงเป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อว่า "ดรีมส์แคนคัมทรู, เกรเทสฮิตส์ ชุดที่ 1" อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักรเป็นอย่างมาก มียอดขายในระดับ ทองคำขาว ถึง 4 ครั้ง และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของปี พ.ศ. 2544 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 76 ในรอบทศวรรษของสหราชอาณาจักร ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้คือ "เอาต์ออฟรีช" ซึ่งใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "บันทึกรักพลิกล็อก" (อังกฤษ: Bridget Jones's Diary) ด้วย เพลงนี้เข้าสู่อันดับที่ 4 ในชาร์ตของอังกฤษ และอันดับที่ 9 ในชาร์ตของประเทศออสเตรเลีย กลายเป็นซิงเกิลที่ 2 ที่โด่งดังที่สุดในประเทศนี้ และเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับที่ 37 ของปี พ.ศ. 2544 และยังคงอยู่ในชาร์ตเป็นเวลามากว่า 20 สัปดาห์ ส่วนในประเทศนิวซีแลนด์ เพลงนี้ถูกจัดให้เป็นซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2544 ในอันดับที่ 10 ด้วย เพลงนี้ขายได้ 320,000 ก็อปปี้ ในสหราชอาณาจักร และตามมาด้วยซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มรวมฮิตนี้คือเพลง "ดอนต์นีตเดอะซันทูไชน์ (ทูเมกมีสไมล์)" เพลงนี้เข้ามาสู่อันดับที่ 9 ในชาร์ตของเกาะอังกฤษ และเป็นเพลงที่ 10 ที่ติดท็อป 10

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 แกเบรียลได้ปล่อยอัลบั้มสตูดิโอลำดับที่ 4 ของเธอ ชื่อว่า "เพลย์ทูวิน" อัลบั้มนี้เข้ามาอยู่ในอันดับที่ 10 ในสหราชอาณาจักร และเป็นอัลบั้มที่มียอดขายดีที่สุดของปี พ.ศ. 2547 เป็นลำดับที่ 191 "สเตย์เดอะเซม" เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ สามารถเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 20 บน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ช่วยทำให้อัลบั้มเข้ามาติดท็อป 10 ของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม "สเตย์เดอะเซม" ถือได้ว่าเป็นซิงเกิลที่ได้ลำดับชาร์ตที่ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี ต่อมาซิงเกิลที่สองจากอัลบั้ม เพลย์ทูวินคือ "เท็นเยียส์ไทม์" เป็นซิงเกิลสุดท้ายที่มีการโปรโมทจากอัลบั้มนี้ เป็นซิงเกิลที่ได้ลำดับชาร์ตต่ำที่สุด และเป็นครั้งแรกที่เธอพลาดชาร์ตท็อป 40 ของชาร์ตเพลงในสหราชอาณาจักรไป ทำได้เพียงอันดับที่ 43 และอยู่ในท็อป 75 ได้เพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น และอีกหนึ่งซิงเกิลที่เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อใช้โปรโมทอัลบั้มเพลย์ทูวิน แต่ไม่ได้ถ่ายทำเป็นมิวสิกวิดีโอเพื่อออกเผยแพร่แต่อย่างใด คือเพลง "ยูยูสด์ทูเลิฟมี" และต่อมาก็มีการจัดทัวร์คอนเสิร์ตภายในสหราชอาณาจักรขึ้นมา ส่วนเพลง "ซัมไทม์" จากอัลบัมนี้ ได้ถูกนำไปบรรจุอยู่ในอัลบัมรวมเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ทุกหัวใจมีรัก (อังกฤษ: Love Actually) ด้วย

ในปี พ.ศ. 2550 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ มีชื่อว่า "วาย" ซึ่งเธอได้นำไปร้องสดในรายการ "เดอะ เนชันนัล ล็อตเตอรี่" (อังกฤษ: The National Lottery)เมื่อวันที่ 19 กันยายน เช่นเดียวกับรายการต่างๆในช่องโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเพลง "วาย" ไม่สามารถเข้ามาติดบนท็อป 40 ได้ จากนั้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อัลบั้มสตูดิโอลำดับที่ห้าที่ชื่อว่า "ออลเวส์" ก็ได้ถูกวางจำหน่ายออกมาภายในสหราชอาณาจักร อัลบั้มนี้ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ดนตรีในเชิงบวก สามารถเข้ามาอยู่ในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร ในอันดับที่ 11 และอีกเพียง 12 ก๊อปปี้เท่านั้นก็จะเข้ามาในอันดับที่ 10 "ออลเวส์" เข้ามาอยู่ใน ชาร์ตอัลบั้มอาร์แอนด์บีแห่งสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 4 ภายในอัลบั้มมีเพลง "วาย" ในแบบฉบับที่ร้องร่วมกับ พอล เวลเลอร์ (อังกฤษ: Paul Weller) และซิงเกิลสุดท้ายที่ปล่อยออกมาจากอัลบั้มนี้คือ "เอเวอรีลิตเติลเทียร์ดรอป" ซึ่งพลาดจากชาร์ตต่างๆไป

แกเบรียลได้วางกำหนดการออกทัวร์คอนเสิร์ตภายในสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 14 วัน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และนักวิจารณ์ก็ได้ให้ความคิดเห็นในเชิงบวกเกี่ยวกับการแสดงสดของเธอ หลังจากที่แกเบรียลไม่ประสบความสำเร็จกับซิงเกิล "วาย" และ "เอเวอรีลิตเติลเทียร์ดรอป" แกเบรียลก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า "ในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่ได้ชอบฟังเพลงเหล่านั้น แต่ฉันก็จะพบกับคนที่ชอบฟังเพลงของฉัน เพราะฉันได้ทำมันมาก่อน และฉันก็จะทำมันต่อไปอีกเรื่อยๆ ฉันเคยกล่าวไว้อย่างนั้น หากในครั้งแรกคุณไม่ได้ประสบความสำเร็จ ก็จงพยายามต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งนั่นแหละตัวฉัน เพราะฉันเป็นนักสู้ไม่ใช่คนขี้แพ้" แกเบรียลได้เข้าร่วมและร้องสดในงานเทศกาลดนตรี "เซอร์แมท อันปลักด์" (อังกฤษ: Zermatt Unplugged) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 พร้อมกับ อลานิส มอริสเซตต์ นอกจากนี้ยังไปแสดงสดในงาน "เบอร์มิงแฮม ไพรด์" (อังกฤษ: Birmingham Pride) ด้วยในปีเดียวกัน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 แกเบรียลได้ชนะรางวัล ไอเวอร์ โนเวลโล อะวอร์ด ในสาขา คอลเลคชันเพลงยอดเยี่ยม (อังกฤษ: Best Song Collection) จากการให้สัมภาษณ์ แกเบรียลได้เปิดเผยเกี่ยวกับการเขียนเพลงของเธอให้กับศิลปินคนหนึ่งว่า "มันเป็นอะไรที่ดีมากๆ ที่ได้ถูกขอให้ทำในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งมันก็ไม่ได้กดดันอะไรมากมาย" ซึ่งก็ยังมีคำกล่าวที่แสดงให้เห็นว่าการเดินทางในสายด้านดนตรีของเธอยังคงอีกยาวไกล อย่างที่เธอได้กล่าวว่า "ฉันได้มองไปที่ใครหลายๆคนอย่าง ดิออน วอร์วิค และ มาดอนน่า ในเรื่องการรักษางานสายอาชีพที่ตนเองรักให้ยาวนานได้อย่างไร ฉันไม่ได้ตามหลังมาดอนน่าสักเท่าไรนัก จริงๆนะ" แกเบรียล นักร้องอายุ 38 ได้กล่าวไว้ "มันเป็นอะไรที่ดีมากๆที่ยังได้ทำงานเพลงที่ฉันรักเช่นเดียวกับพวกเขาเหล่านั้น" แกเบรียลยังได้เป็นศิลปินรับเชิญพิเศษในทัวร์คอนเสิร์ตของ อัล กรีน ในสหราชอาณาจักร ในช่วง พ.ศ. 2551 ด้วย

ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ได้มีประกาศออกมาว่า แกเบรียลได้กลับเข้าสตูดิโออีกครั้งเพื่อเริ่มทำผลงานเพลงในอัลบั้มสตูดิโอชุดที่ 6 ของเธอเอง แกเบรียลได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณNว่า อัลบั้มใหม่นี้จะเป็นการทำงานเพลงร่วมกันกับโปรดิวเชอร์สองคน และเธอก็ได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ใหม่หลายๆคน ซึ่งก็มี ซิเอ็น (อังกฤษ: Syienc)(เคยโปรดิวซ์ให้กับ บียอนเซ่ และ แมรี เจ. ไบลจ์) และ นอติบอย (อังกฤษ: Naughty Boy)(เคยโปรดิวซ์ให้กับ เอเมลี แซนดี้) รวมถึงโปรดิวเซอร์คนอื่นๆด้วย เธอได้พูดถึงอัลบั้มใหม่นี้ว่า เป็นสไตล์ของแกเบรียลที่ทันใหม่มากขึ้น และวางแผนไว้ว่าจะเปิดตัวอัลบั้มในช่วงปี พ.ศ. 2556 ซึ่งนับว่าเป็นเวลา 6 ปีพอดี ตั้งแต่อัลบั้มสตูดิโอชุดล่าสุด "ออลเวส์" เมื่อปี พ.ศ. 2550 และนับว่าเป็นเวลา 20 ปีแล้วตั้งแต่ที่เธอเข้าสู่วงการด้วยซิงเกิลเปิดตัว "ดรีมส์"

ได้มีการประกาศในหนังสือพิมพ์ ซันเดย์ มิเรอ ว่า แกเบรียลได้ร่วมร้องเพลงในอัลบั้ม "โฮเทลคาบานา" ที่กำลังจะออกจำหน่ายของนอติบอยด้วย มีชื่อเพลงว่า "ฮอลลีวูด" เพลงนี้แต่งโดย เอเมลี แซนดี้ และโปรดิวซ์โดยนอติบอย เนื้อหาในเพลงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเกียรติยศที่มีเข้ามาและก็ต้องจากไป โดยอัลบั้มนี้คาดไว้ว่าจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2556

ในบทสัมภาษณ์ของ บีบีซี วันเอ็กซ์ตร้า มีการประกาศว่านอติบอยได้มีส่วนร่วมทำอัลบั้มครบรอบ 20 ปีของเธอด้วย

แกเบรียลจะเปิดตัวอัลบั้ม "นาวแอนด์ออลเวส์: ทเวนตี้เยียส์ออฟดรีมมิง" ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ตามด้วยการวางจำหน่าบซิงเกิล "เซย์กู๊ดบาย" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยอัลบั้มใหม่นี้จะมีเพลงใหม่จำนวน 7 เพลงด้วยกัน รวมทั้งเพลงฮิตในอดีต เพลงในอัลบั้มก่อนๆ และเพลงรีมิกซ์

สองอัลบั้มแรกของแกเบรียลนั้นได้แรงบันดาลใจจาก ศิลปินสไตล์เพลงคลาสสิกโซล อย่างเช่น มาร์วิน เกย์, แบร์รี ไวต์ และ บ็อบบี้ วอแมค อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งในอัลบั้มนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากสไตล์เพลงป็อปอังกฤษในช่วงต้นของยุค 80 อย่าง โซลทูโซล, ลิซา สแตนส์ฟิลด์ และ แมนทรอนนิก ส่วน "ไรซ์" อัลบั้มที่สามของแกเบรียลนั้นกล่าวถึง "การมองโลกในแง่ดี, ความโรแมนติก, ความศรัทธา, และความกระตือรือร้นในสัญชาตญาณของการอยู่รอด" ส่วนอัลบั้ม "เพลย์ทูวิน" นั้นเป็นการผสมผสานกันของสไตล์เพลงต่างๆ ซึ่งแกเบรียลได้กล่าวถึงอิทธิพลที่ได้รับว่า "อัลบั้มนี้มีส่วนผสมของแนวเพลง "คันทรี" มากขึ้น ดังนั้นมันจึงฟังดูน่าสนใจมาก" เพราะนี่คือยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่แกเบรียลได้ตัดสินใจนำแนวเพลงคันทรีมาผสมผสานในผลงานเพลงของเธอเอง "เพลงคันทรีไม่ใช่อะไรที่ผิด ใช่! ถึงฉันจะเป็นผู้หญิงผิวดำก็ตาม แต่ฉันก็ชอบคิดว่าฉันสามารถร้องเพลงสไตล์นี้ได้ อัลบั้มนี้จึงดูมีความหลากหลาย และคนที่ซื้ออัลบั้มนี้ไปฟังจะคาดหวังกันต่างๆนานาว่า มันคงเกี่ยวกับความรัก ชีวิตและเรื่องของการมองโลกในแง่ดี"

แกเบรียลกล่าวถึงคุณครูในโรงเรียนสมัยมัธยมปลายของเธอเอง ว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเธอมาก แกเบรียลบอกว่าเธอเป็นดั่ง "แรงบันดาลใจ เมื่อช่วงตอนที่ครูของเธอขอให้เธอนั้นแต่งบทกลอนเป็นครั้งแรก บทกลอนของเธอเริ่มที่จะพัฒนาไปสู่บท??เพลงและหลังจากนั้นเธอก็เริ่มร้องเพลง"และแรงบันดาลใจจากคนอื่นๆ คือศิลปินสไตล์ป๊อปยุค 80 อย่างเช่น มาดอนน่า, คัลเจอร์ คลับ, แฮร์คัท วันฮันเดรด, ดูแรน ดูแรน, อดัมแอนด์ดิแอนท์ และ แวม! "อย่างที่คุณรู้ มันคือสไตล์เพลงป๊อป และในเวลาเดียวกันนั้นฉันก็เป็นแฟนคลับตังยงของ ไมเคิล แจ็กสัน ด้วย ดังนั้นฉันจึงติดภาพลักษณ์ของเขามาด้วย อย่างที่คุณเห็น เขาดูสง่างามมาก เขาราวกับช้อคโกแลตแท่งดำสนิทที่แม้แต่คุณก็อยากจะลิ้มลองความหวานของเขา ตอนนั้นเมื่อฉันยังเป็นเด็ก มันเป็นความคิดที่ไร้เดียงสาเอามากๆในตอนนั้นน่ะ"

แกเบรียลเคยศึกษาที่โรงเรียน "จอห์นเซนเนอร์" เมื่อสมัยชั้นประถมศึกษา และต่อด้วยชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหญิงล้วน "โคลลิงวู๊ด" ในย่านเพคแฮม อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน

แกเบรียลได้สนับสนุน พรรคแรงงาน (Labour Party) อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2544

เธอเป็นผู้อุปถัมป์องค์กร เอเอซี รีเสิร์ช ทรัสท์ (อังกฤษ: AADC Research Trust) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือเด็กและครอบครัวของพวกเขาทั่วทั้งโลก ที่ได้รับผลกระทบจากโรคการขาดธาตุ เอ็นไซม์อะโรมาติคอะมิโนแอสิดดีคาร์บ็อกซีเล (อังกฤษ: Aromatic Amino Acid Decarboxylase) (เอเอดีซี) ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่มีผลกระทบต่อความสามารถทางด้านสมองในการผลิตสารเคมี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301