เฮอังเคียว หรือ เฮอังเกียว (ญี่ปุ่น: ??? ?) คืออดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1337(ค.ศ. 794) โดยสมเด็จพระจักรพรรดิคังมุ ในจังหวัดเคียวโตะ หรือ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1074 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียว ในปี พ.ศ. 2411
ในปี พ.ศ. 1327(ค.ศ. 784) สมเด็จพระจักรพรรดิคัมมุ ได้ทรงมีคำสั่งย้ายเมืองหลวงจาก นะงะโอกะเกียว เมืองหลวงเก่าทางตอนใต้ของจังหวัดเกียวโตในปัจจุบัน มาสู่เฮอังเกียว ซึ่งใช้เวลาสร้างถึง 10 ปี
เฮอังเคียวในปัจจุบันก็ยังมีรูปร่างคงสภาพอยู่เหมือนเดิม คือรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าแบบจีน เป็นแบบจำลองย่อส่วนจาก นครฉางอัน ของราชวงศ์ถัง ตั้งอยู่ใจกลางอำเภอเมืองเกียวโตในปัจจุบัน กว้าง 4.5 กิโลเมตร และ ยาว 5.2 กิโลเมตร
แต่เมื่อมาถึงยุคกลาง ประชากรของเมืองเพิ่มมากขึ้น จึงมีการสร้างบ้านเรือนออกไปนอกพื้นที่เดิมื จนในที่สุดก็กลายมาเป็นเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางมาก
เมื่อมาถึงยุคคามาคุระ และยุคเอโดะ เฮอังเคียวก็หมดอำนาจลง เนื่องจากการปกครองได้เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตามแบบประเทศจีน มาเป็นระบอบโชกุน ซึ่งมีนักรบเป็นใหญ่ แต่ฮังเกียวก็ยังมีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น และเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิเรื่อยมา แต่ในบันทึกนั้น ไม่มีการบอกว่าเฮอังเคียวนั้นเป็นเมืองหลวงเลย
จนมาถึงในสมัยยุคเมจิ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่แบบตะวันตก สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิในยุคนั้น จึงต้องทรงย้ายที่ประทับไปสู่เมืองหลวงใหม่โตเกียวแทน ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเฮอังเคียว
ชื่อของนคร เฮอังเกียว เป็นการดึงคำว่า เฮ ของ นครหลวงแห่งเก่าคือ เฮโจวเกียว มา ผสมกัน คำว่า อัง ของนคร ฉางอัน รวมกัน
ในปี ค.ศ. 784 องค์จักรพรรดิมีพระบัญชาให้ย้ายเมืองหลวง จากนครเฮโจวเคียว ( นารา ) ซึ่งโดนกุมอำนาจโดยพระในศาสนาพุทธ ไปสู่ นะงะโอะกะ ที่อยู่ทางเหนือของ เฮโจวเคียว ประมาณ 30 ไมล์ โดนจำลองแผนเมืองที่ได้แบบอย่างมาจากนคาฉางอัน เช่นเดียวกับ เฮโจวเคียว แต่สามารถขยายเมืองหลวงไปได้กว้างไกลว่าเฮโจวเคียว โดยผู้คุมการก่อสร้างนครหลวงแห่งใหม่คือ ทะเนตสึงุ ( Tanetsugu ) สมาชิกของตระกูล ฟุจิวะระ( Fujiwara ) ที่กำลังไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจ
พระราชวังหลวง และ หน่วยราชการต่างได้ย้ายสู่ นะงะโอะกะ แม้ทะเนตสึงุ จะเป็นผู้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็บ่มเพาะศัตรูไว้มากมาย และศัตรูคนหนึ่งของเขา คือ องค์ชายรัชทายาท ซะวะระ พระอนุชาของจักรพรรดิคัมมุ และตระกูลบางตระกูลที่มีความแค้นกับตระกูล ฟุจิวะระ ได้ปล่อยข่าวลือ ( ซึ่งค่อนข้างถูกต้อง ) ว่ามีตระกูลเชื้อสายจากจีนให้เสนอที่ดินที่ใช้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ให้เพื่อแลกกับการให้ทะะเนตสึงุ สบัยสนุนในราชสำนัก เพียง 1 ปีหลังจากการย้ายเมืองหลวงไป นะงะโอะกะ ทะเนตสึงุได้ถูกลอบสังหาร เชื่อกันว่า ผู้จ้างวานลงมือคือ องค์ชาย ซะวะระ และ ตระกูลฝ่ายศัตรู
ฝ่ายฟุจิวะระใช้การโดนลอบสังหารของทะเนตสึงุเป็นเครื่องมือ กล่าวหาจนผู้ต้องสงสัยบางคนถูกสั่งประหาร และถูกเนรเทศ องค์ชายซะวะระ ถูกลงทัณฑ์ด้วยการโดนคุมขังไว้ในวัด หลังจากนั้นกูถูกเนรเทศไปยังเกาะอะวะจิ และสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้น เมืองนะงะโอะกะ เกิดหายนะอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังเกิดโรคระบาด สมัยนั้น เชื่อว่า เกิดจากวิญญาณอาฆาตขององค์ชายซะวะระ ในปี ค.ศ. 800 สำนักราชวังจึงแต่งตั้งองค์ชายซะวะระผู้สิ้นพระชมน์ไปแล้วถึง 5 ปี ให้มีตำแหน่งพระจักรพรรดิสุโด ( Sudou ) เพื่อคลายความอาฆาต
จากนั้น จักรพรรดิคัมมุ จึงมีพระดำริให้ย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง สู่หมู่บ้านเล็กที่ห่างไปทางเหนืออีก 10 ไมล์ เป็นสถานที่ที่เหมาะสมตามลักษณะฮวงจุ้ย ทั้งธาตุลม ทั้ง ธาตุน้ำ สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองได้เป็นอย่างดี และเหตุผลทางด้านไสยศาสตร์ ที่เชื่อว่า ในนะงะโอกะ กลายเป็นที่สิงสถิตย์วิญญาณอาฆาตของทั้งองค์ชายซะสะระ และ ฟุจิวะระ ทะเนตสึงุ กลายเป็นที่อัปมงคล
ในปี ค.ศ. 794 เป็นปีที่ย้ายไปสู่นครหลวงแห่งใหม่ สำนักพระราชวังประกาศชื่อนครหลวงแห่งนี้ว่า นครเฮอังเกียว นครหลวงแห่งความสงบสันติ และเป็นนครหลวงสืบต่อมากว่าพันปี