ซิโดวูดีน หรืออะซิโดไทมิดีน (อังกฤษ: Zidovudine โดย INN หรือ azidothymidine มีชื่อย่อว่า - AZT) เป็นยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drug) เป็นยาตัวแรกที่ใช้เป็น ยาต้านไวรัส (antiviral drug) และใช้รักษา HIV ยาพวกนี้จำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า
ยา AZT เป็นยาในกลุ่ม Nucleosides Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับ thymidine ซึ่งเป็นหน่วยของสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต แต่จะแตกต่างกันที่โครงสร้างในตำแหน่งที่ 3 ของ AZT จะเป็น –N3 (azido group) แต่ของ thymidine จะเป็น –OH ยา AZT จะเข้าไปหยุดกระบวนเปลี่ยน RNA เป็น DNA (reverse transcription) โดยอาศัยโครงสร้างที่คล้ายกับหน่วยพันธุกรรมของมัน เข้าไปรวมตัวกับสาย DNA ที่ไวรัสสร้างขึ้น แต่เนื่องจากการมีหมู่ azido เข้ามาแทนที่ –OH ทำให้ไม่สามารถสร้างพันธะกับ nucleotide ตัวต่อไปได้ ทำให้เอนไซม์ Reverse Transcriptase ไม่สามารถนำ Nucleosides ตัวต่อไปมาเชื่อมต่อได้ ทำให้ไม่ได้ DNA ที่สมบูรณ์ กระบวนการจึงสิ้นสุดลง เมื่อ AZT เข้าสู่ร่างกายจะยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จำเป็นต้องผ่านเข้าเซลล์และถูกเติมหมู่ phosphate 3 หมู่ ก่อน โดย AZT จะถูกเติม phosphate โดยเอนไซม์ thymidine kinase, thymidylate kinase, และ diphosphate kinase ตามลำดับทำให้อยู่ในรูปที่เรียกว่า AZT-triphosphate ซึ่งเป็นรูปที่ออกฤทธิ์ได้ หลังจากนั้น AZT-triphosphate จะแย่งสารพันธุกรรมธรรมชาติในการจับกับเอนไซม์ reverse transcriptase ทำให้การเชื่อมต่อสาย DNA หยุดลง
ขนาดยา AZT สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (แรกเกิด-อายุ 4 สัปดาห์) ครบกำหนด 2 mg/kg ทุก 6 ชม. หรือ 4 mg/kg ทุก 12 ชม. 30-34 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.จนอายุ 2 สัปดาห์จากนั้นเพิ่มเป็นทุก 8 ชม.จนครบ 4 สัปดาห์ <30 สัปดาห์ 2 mg/kg ทุก 12 ชม.ตลอด 4 สัปดาห์
ในผู้ที่การทำงานของไตบกพร่อง (CrCl<15 mL/min) หรือ HD: 100 mgทุก 8 ชม. หรือ 300 mg ทุก 24 ชม. ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา ระบบทางเดินอาหาร: ไม่อยากอาหาร (20%), คลื่นไส้ (ผู้ใหญ่ 51%), คลื่นไส้/อาเจียน (เด็ก 8%), อาเจียน (ผู้ใหญ่ 17%) ระบบประสาท: ปวดหัว (63%) ระบบทางเดินหายใจ: ไอ (เด็ก, 15%) อื่นๆ : ไข้ (เด็ก, 25% ), รู้สึกไม่มีแรง (53%) ระบบต่อมไร้ท่อ: Lactic acidosis ระบบเลือด: โลหิตจาง (ผู้ใหญ่, 1%; เด็ก, 4%; ทารก, 22%), Granulocytopenic disorder (2%), Neutropenia (เด็ก, 8%; ทารก, 21%) ตับ: Hepatomegaly (เด็ก, 11%), Steatosis of liver ระบบภูมิคุ้มกัน: Immune reconstitution