ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เอเชีย

เอเชีย เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประชากรเอเชียเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า

ตามบทนิยามที่เสนอโดยสารานุกรมบริตานิกา และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เอเชียมีพื้นที่ 4/5 ของทวีปยูเรเชีย โดยมีส่วนตะวันตกของยูเรเชียเป็นทวีปยุโรป เอเชียตั้งอยู่ทางตะวันออกของคลองสุเอซ ตะวันออกของเทือกเขาอูราล และใต้เทือกเขาคอเคซัส (หรือแอ่งคูมา-มานิช) และทะเลสาบแคสเปียนและทะเลดำ พรมแดนตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และเหนือติดมหาสมุทรอาร์กติก มีหนึ่งประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ไซปรัส เอเชียเป็นทวีปที่มีความหลากหลายมาก ทั้งกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความผูกพันทางประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล

เดิมที คำว่า "เอเชีย" นั้นเกิดจากแนวความคิดต้องการสร้างอารยธรรมแบบตะวันตก คำว่า "เอเชีย" ในฐานะที่เป็นชื่อสถานที่นั้น แม้ปรากฏในภาษาปัจจุบันหลายภาษาหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่ปรากฏแหล่งที่มาดั้งเดิมแน่ชัด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าเป็นหรือมาจากภาษา,ละตินแปลว่าดินแดนที่แตกต่างสุดแต่เท่าที่ทราบ "เอเชีย" เป็นชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดชื่อหนึ่งซึ่งได้รับการบันทึกเอาไว้ และมีผู้เสนอแนวคิดมากมายเกี่ยวกับศัพทมูลของคำนี้

คำ "Asia" ในภาษาละติน และคำ "????" ในภาษากรีกนั้นปรากฏว่าเป็นคำเดียวกัน นักประพันธ์ชาวโรมันแปลคำว่า "????" เป็น "Asia" และชาวโรมันเองตั้งชื่อท้องที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในทวีปเอเชียนี้ว่า "Asia" อนึ่ง ครั้งนั้นยังมีดินแดนที่เรียก "เอเชียน้อย" (Asia Minor) และ "เอเชียใหญ่" (Asia Major คืออิรักในปัจจุบัน) ด้วย เนื่องจากหลักฐานแรกสุดเกี่ยวกับชื่อ "เอเชีย" นี้เป็นหลักฐานภาษากรีก เมื่อว่ากันตามพฤติการณ์แล้ว จึงเป็นไปได้ว่า คำ "เอเชีย" มาจากคำ "????" ในภาษากรีก แต่ที่มาที่ไปเกี่ยวกับการรับหรือถ่ายทอดคำนั้นยังค้นไม่พบ เพราะยังขาดบริบททางภาษา

เฮรอโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ "เอเชีย" เรียกทวีป ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเขาประดิษฐ์คำนี้ขึ้น แต่เพราะข้อเขียนเรื่อง ฮิสตอรีส์ (Histories) ของเขาเป็นงานชิ้นเดียวที่บรรยายทวีปเอเชียไว้โดยละเอียดและเหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบัน เฮรอโดตัสนิยามคำว่า "เอเชีย" เอาไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ เขากล่าว่า เขาได้อ่านผลงานของนักภูมิศาสตร์หลายคนซึ่งปัจจุบันสาบสูญไปทั้งสิ้นแล้ว พบว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ถือกันว่า ชื่อทวีปเอเชียนั้นมาจากชื่อของนางฮีไซโอนี (Hesione) ภริยาของพรอมีเธียส (Prometheus) ขณะที่ชาวลิเดียถือว่า ชื่อทวีปเอเชียมาจากชื่อเจ้าชายเอเซียส (Asies) โอรสแห่งโคติส (Cotys) และนัดดาของพระเจ้าเมนีส (Manes) เฮรอโดตัสแสดงความเห็นแย้งว่า ชื่อ "เอเชีย" มาจากชื่อของพรายนางหนึ่งซึ่งเป็นเทพีประจำเมืองลิเดียตามความในเทพปกรณัมกรีก และแสดงความสงสัยไว้ว่า เหตุใดจึงเอานามสตรีสามนาง "ไปตั้งเป็นนามภูมิภาคซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" กล่าวคือ ชื่อนางยูโรปา (Europa) สำหรับยุโรป นางเอเชียสำหรับเอเชีย และนางลิเบีย (Libya) สำหรับแอฟริกา

ความสงสัยข้างต้นของเฮรอโดตัสอาจเป็นเพียงการแสดงความไม่เห็นด้วยหลังจากที่ได้อ่านวรรณกรรมกรีกหลายต่อหลายฉบับและได้สดับตรับฟังถ้อยคำของคนอื่น ๆ แต่มิได้หมายความว่า เขาไม่ทราบเหตุผลที่เอาชื่อสตรีเพศไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ เพราะตามศาสนากรีกโบราณแล้ว สถานที่ทั้งปวงมีเทพารักษ์เป็นสตรี และสถานที่อื่น ๆ หลายแห่งในครั้งนั้นก็เอาชื่อสตรีมาตั้ง เช่น เอเธนส์ (Athens), ไมซีนี (Mycenae) และธีบส์ (Thebes)

ก่อนสมัยวรรณกรรมของกรีกข้างต้น ท้องที่แถบทะเลอีเจียนนั้นตกอยู่ในยุคมืด โดยในครั้งที่เริ่มยุคมืดนี้ ผู้คนได้เลิกเขียนหนังสือเป็นพยางค์ แต่ก็ยังมิได้เริ่มใช้ตัวอักษร และนับขึ้นไปก่อนสมัยนั้นอีกซึ่งเป็นยุคสัมฤทธิ์ ปรากฏบันทึกหลายฉบับของจักรวรรดิอัสซีเรีย จักวรรดิฮิตไทต์ และรัฐไมซีเนียหลาย ๆ รัฐแห่งจักรวรรดิกรีก ที่เอ่ยถึงภูมิภาคซึ่งได้แก่เอเชียในปัจจุบัน บันทึกเหล่านี้เป็นเอกสารทางการเมืองการปกครอง ไม่มีเนื้อหาเชิงวรรณกรรมแม้แต่น้อย

บรรดารัฐไมซีเนียนั้นถูกกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งทำลายจนล่มจมไปทั้งสิ้นเมื่อราว ๆ 1200 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ใดแท้จริงยังไม่ทราบ แต่ก็มีสำนักทางความคิดสำนักหนึ่งถือสืบ ๆ กันมาจนบัดนี้ว่า เป็นการรุกรานของชาวดอริส (Dorian invasion) การที่หมู่พระราชวังถูกเพลิงเผาพลาญนั้นส่งผลให้เหล่าบันทึกทางการเมืองการปกครองข้างต้นซึ่งจารด้วยอักษรกรีกลงบนแผ่นดินเหนียวถูกอบเป็นแผ่นแข็ง แผ่นจารึกเหล่านี้ต่อมาได้รับการถอดรหัสโดยคณะผู้สนใจคณะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงนักวิทยาการเข้ารหัสลับผู้เยาว์รายหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ไมเคิล เวนทริส (Michael Ventris) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการจอห์น ชัดวิก (John Chadwick) ในการบุกเบิกท้องที่แถบนี้ นักโบราณคดีคาร์ล เบลเกน (Carl Blegen) ได้พบกรุสมบัติขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ซากเมืองพีลอส (Pylos) ในกรุนี้มีบัญชีรายชื่อบุคคลหญิงชายจำนวนมากซึ่งทำขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายประการ

หญิงชายจำนวนหนึ่งในกลุ่มที่ปรากฏนามในบัญชีข้างต้นถูกเอาตัวลงเป็นทาส และถูกใช้งานในการค้าขาย เช่น ให้เย็บปักถักร้อย โดยในเวลาที่ถูกเกณฑ์มา ลูกเล็กเด็กแดงของพวกเขามักถูกนำพามาด้วย คนทั้งนั้นถูกเรียกด้วยถ้อยคำหยาบช้าเพื่อใช้บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของพวกเขา เช่น มีการใช้ว่า "aswiai" แปลว่า นางคนเอเชีย (women of Asia) ข้อนี้ เบื้องต้นมีการตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขาถูกจับถูกคร่ามาจากเอเชีย แต่เมื่อปรากฏว่า บางคนถูกพามาจากแห่งอื่นก็มี เช่น กลุ่มที่เรียก "ไมลาเทีย" (Milatiai) นั้นมาจากอาณานิคมไมเลทัส (Miletus) ของกรีก ชัดวิกจึงตั้งสมมุติฐานว่า บัญชีรายชื่อข้างต้นระบุถึงสถานที่ที่คนเหล่านี้ถูกซื้อขาย มากกว่าจะเป็นสถานที่ที่ได้ตัวมา

คำว่า "aswiai" เป็นอิตถีลึงค์ซึ่งเป็นพหูพจน์ ส่วนอิตถีลึงค์เอกพจน์คือ "aswia" ซึ่งใช้เป็นทั้งชื่อประเทศประเทศหนึ่งและเป็นคำเรียกสตรีของประเทศนี้ด้วย และปุรุสลึงค์คือ "aswios" ในการนี้ ปรากฏว่า ประเทศ Aswia คือ สันนิบาตอัสสุวา (Assuwa league) ซึ่งเป็นสหพันธรัฐตั้งอยู่ตอนกลางของจักรวรรดิลิเดีย หรือทางตะวันตกของบริเวณแอนาโทเลีย (Anatolia) หรือที่เรียกกันว่า "เอเชียโรมัน" (Roman Asia, คือ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และถูกชาวฮิตไทต์ในรัชสมัยพระเจ้าทุดฮาลิยาที่ 1 (Tudhaliya I) ยึดครองเมื่อราว ๆ 1400 ปีก่อนคริสกาล จึงมีผู้เสนอว่า ชื่อทวีปเอเชียอาจมาจากชื่อสันนิบาตดังกล่าวก็เป็นได้

ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า "เอเชีย" ว่า คำนี้อาจมาจากคำในภาษาแอกแคด (Akkadian) ว่า "(w)a??(m)" มีความหมายว่า ออกไป (go outside) หรือ ขึ้น (ascend) สื่อว่า เป็นทิศทางที่ดวงตะวันขึ้นสู่ฟากฟ้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่า คำดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับคำในภาษาฟีนิเชีย (Phoenician) ว่า "asa" ซึ่งหมายถึง ตะวันออก ตรงกันข้ามกับชื่อทวีปยุโรปซึ่งตั้งสมมุติฐานกันว่า มาจากคำในภาษาแอกแคดว่า "er?bu(m)" ซึ่งหมายความว่า เข้าไป (enter) หรือ ลง (set) สื่อถึงอาการที่ตะวันตก

ที.อาร์. เรด นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เขากล่าวว่า คำ "เอเชีย" ในภาษากรีกนั้นต้องมาจากคำ "asus" ในภาษาอัสซีเรียที่หมายความว่า ตะวันออก เป็นแน่ ตรงกันข้ามกับคำ "ยุโรป" ที่มาจากคำ "ereb" ในภาษาเดียวกัน หมายถึง ตะวันตก ส่วนนักภาษาศาสตร์ดักลัส ฮาร์เปอร์ (Douglas Harper) บันทึกว่า "เอเชีย มาจากภาษาละตินซึ่งมาจากภาษากรีก ว่ากันว่ามาจากคำ asu ในภาษาแอกแคด แปลว่า 'ออกไป, ขึ้น' ซึ่งสื่อถึงดวงตะวัน ฉะนั้น เอเชียแปลว่า 'แดนอาทิตย์อุทัย' (the land of the sunrise)"

เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก

กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย

ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้

ทวีปเอเชียมีที่ราบลุ่มแม่น้ำหลายสาย ซึ่งแม่น้ำบางสาย เช่น แม่น้ำหวางเหอ (แม่น้ำเหลือง) แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ปัจจุบัน แม่น้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่สำคัญและเป็นเมืองใหญ่ ดินบริเวณนี้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำพัดพาไปทับถมจึงเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่

นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน

เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณทะเลแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์

เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ11,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คนต่อตารางกิโลเมตร

นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินช็อน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐฉาน เทือกเขาอาระกันโยมา พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เสรีเบกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น

เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)

ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น

ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ

ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี

ตุรกี ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน อาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปในบางครั้ง เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า

ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย มีการผลิตทั้งอุตสาหกรรมขนาดหนักและอุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การต่อเรือ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ โอะซะกะ นะโงะยะ นะงะซะกิ โยะโกะฮะมะ เป็นต้น

ประเทศเกาหลีใต้ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมรวดเร็วมากจนกลายส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย (รองจากญี่ปุ่น) อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ได้แก่ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของประเทศ เช่น โซล ปูซาน

ประเทศจีน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้รวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบมีมาก ค่าจ้างแรงงานต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่เชิญญชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อาวุธสงคราม การทอผ้า รถบรรทุก ฯลฯ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนสิน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

อุตสาหกรรมของไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบาและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของเล่นเด็ก เมืองหลักของอุตสาหกรรมไต้หวัน คือ ไทเป

ประเทศจีนเป็นผู้นำในการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยมีแหล่งประมงที่สำคัญอยู่ที่แม่น้ำแยงซีและมณฑลกวางตุ้ง

ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการทำประมงทางทะเลมากที่สุดในโลก มีเรือประมงที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีก้าวหน้า แหล่งสำคัญอยู่ที่ คูริลแบงก์ ทางเหนือของเกาะฮกไกโด

เป็นการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม อาศัยฝนตามธรรมชาติ ใช้ความรู้หรือเทคโนโลยีมาช่วยไม่มากนัก เช่น การเพาะปลูกในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ติมอร์-เลสเต เป็นต้น

เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้มาก โดยเฉพาะข้าว ประเทศที่ปลูกข้าวมาก ได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

เมืองที่เป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพมหานคร และจาการ์ตา เป็นต้น

ในปัจจุบัน ทุกประเทศได้ขยายน่านน้ำเศรษฐกิจจำเพาะจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น แต่การจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยจับปลาได้มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมา คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ตามลำดับ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406