ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เหรียญรามมาลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี (The Honourable Order of Rama) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 สำหรับบำเหน็จความดีความชอบแก่ผู้ทำความชอบพิเศษเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ราชการทหาร ไม่ว่ายามสงบหรือยามสงคราม ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร

ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี แบ่งออกเป็น 6 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยชั้นเสนางคะบดีจัดเป็นชั้นสูงสุด พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีนั้น ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งเก่าและใหม่จะเข้าร่วมในพระราชพิธีเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ควรสวมสายสะพายรามาธิบดีเฉพาะงานที่เกี่ยวกับราชการทหาร ซึ่งมีหมายกำหนดการระบุไว้โดยเฉพาะว่าให้สวมสายสะพายรามาธิบดี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า "ราชการทหารเป็นกิจพิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ปฏิบัติราชการอย่างนั้นต้องออกกำลังแรงและปัญญาอย่างอุกฤษฐ์ ทั้งต้องพร้อมอยู่เสมอที่จะสละชีวิตเป็นราชพลีและเพื่อรักษาอิสรภาพบำรุงความรุ่งเรืองแก่ชาติบ้านเมือง สมควรจะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบสำหรับผู้ทำดีในราชการแผนกนี้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่ง" ดังนั้น พระองค์จึงทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อบำเหน็จความชอบแก่ผู้ทำดีในราชการทหาร ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 โดยกำหนดให้แบ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น 4 ชั้น พร้อมด้วยเหรียญราชอิสริยาภรณ์ โดยมอบหมายให้กระทรวงมุรธาธรเป็นผู้จัดทำ พร้อมกันนี้ โปรดเกล้าฯ ให้มีคณะที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบด้วย คณาธิบดี 1 เลขาธิการ 1 และที่ปรึกษา 5 คน สำหรับเป็นที่ปรึกษาประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีหน้าที่พิจารณาว่าผู้ใดสมควรที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอรับพระราชทานต่อไป

คณะที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีการแต่งตั้งขึ้น 2 ครั้ง โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์มีพระบรมราชโองการให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นคณาธิบดี พระยาสีหราชเดโชไชย (แย้ม ณ นคร) เป็นเลขาธิการ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์, หม่อมเจ้าพันธุประวัติ และพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) เป็นที่ปรึกษา

ส่วนคณะที่ปรึกษาประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชุดที่ 2 นั้น แต่งตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์มีพระบรมราชโองการให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นคณาธิบดี พระอาษาสงคราม (ต๋อย หัศดิเสวี) เป็นเลขาธิการ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน, พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร, หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร, หม่อมเจ้าอลงกฎ และพระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) เป็นที่ปรึกษา

อย่างไรก็ตาม หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ก็ได้ระงับไปชั่วคราว จนกระทั่ง มีการตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี พ.ศ. ๒๕๐๓ ขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะสมแก่ภาวะการปัจจุบัน รวมทั้งได้ยกเลิกคณะที่ปรึกษาแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลงด้วย และมีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ขึ้นอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นเสนางคะบดี ชั้นมหาโยธิน ชั้นโยธิน ชั้นอัศวิน และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ 2 ชั้น ได้แก่ เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร เหรียญรามมาลา โดยมีลักษณะและลำดับชั้น ดังต่อไปนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 มีชื่อว่า เสนางคะบดี และมีอักษรย่อว่า ส.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสายสะพาย มีดารา มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 7 จาก 36 ลำดับ 1 สำรับ ประกอบด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มีชื่อว่า มหาโยธิน และมีอักษรย่อว่า ม.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอ มีดารา มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 14 จาก 36 ลำดับ 1 สำรับ ประกอบด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 3 มีชื่อว่า โยธิน และมีอักษรย่อว่า ย.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอ ไม่มีดารา มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 19 จาก 36 ลำดับ 1 สำรับ ประกอบด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 มีชื่อว่า อัศวิน และมีอักษรย่อว่า อ.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อ มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 22 จาก 36 ลำดับ 1 สำรับ ประกอบด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 5 มีชื่อว่า เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร และมีอักษรย่อว่า ร.ม.ก. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับสูงสุดในหมู่เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ มีลักษณะ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 6 มีชื่อว่า เหรียญรามมาลา และมีอักษรย่อว่า ร.ม. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติรองจากเหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมรในหมู่เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ มีลักษณะ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้ทำความชอบพิเศษเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ราชการทหาร ไม่ว่ายามสงบหรือยามสงคราม หรือผู้มีเกียรติของต่างประเทศ ในอดีตนั้นจะมีคณะที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับทำหน้าที่พิจารณาว่าผู้ใดสมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีแล้วจึงนำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอรับพระราชทานต่อไป แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกคณะที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลง และกำหนดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและและเรียกคืนได้ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร แต่ยังคงไว้สำหรับพระราชทานสำหรับผู้ทำความดีความชอบเป็นพิเศษและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในราชการทหาร ไม่ว่าในยามสงบหรือในยามสงครามดังเช่นที่เคยเป็นมา

ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีตั้งแต่ชั้นที่ 4 ขึ้นไปนั้น จะได้รับใบประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกร ส่วนผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้นที่ 5 และ 6 นั้น จะได้รับการประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งเก่าและใหม่จะเข้าร่วมในพระราชพิธีเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเป็นพิเศษให้ใช้ประดับที่ธงชัยของกองทหารบกรถยนต์เพื่อเป็นเกียรติยศพิเศษ รวมทั้ง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้น 5 เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร สำหรับประดับธงชัยเฉลิมพล กองพันทหารราบที่ 1 กองพันทหารราบที่ 2 กองพันทหารราบที่ 3 และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มอบให้แก่ผู้ทำความดีในราชการทหาร โดยพระราชทานให้ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตและผู้วายชนม์ โดยที่ผ่านมานั้นผู้ได้รับพระราชทานจะเป็นบุรุษทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี พ.ศ. ๒๕๐๓ นั้นจะไม่ได้ระบุว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานให้แก่บุรุษเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑ นั้น มีการระบุถึงการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเฉพาะบุรุษเท่านั้น ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีมีจำนวนมาก อาทิ

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ควรสวมสายสะพายรามาธิบดี (ชั้นเสนางคะบดี) เฉพาะงานที่เกี่ยวกับราชการทหาร ซึ่งมีหมายกำหนดการระบุไว้โดยเฉพาะว่าให้สวมสายสะพายรามาธิบดีเท่านั้น อาทิเช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ส่วนผู้ที่เคยได้รับพระราชทานเหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมรมาก่อนนั้น สามารถประดับเหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมรได้ทุกโอกาสที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือที่มีกำหนดนัดหมายทางการให้ประดับเหรียญ รวมทั้งมีสิทธิประดับเครื่องหมายเข็มกล้ากลางสมรสอดบนแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ตลอดไป แม้จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่สูงขึ้นไปชั้นใดก็ตาม โดยให้ประดับในโอกาสที่มิได้ประดับเหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร ในกรณีที่แต่งเครื่องแบบให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา ส่วนในกรณีแต่งสากลให้ประดับที่คอพับของเสื้อชั้นนอกเบื้องซ้ายใต้ดุมเครื่องราชอิสริยาภรณ์

สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ตั้งแต่ชั้นอัศวินขึ้นไปนั้น จะมีเครื่องหมายสำหรับประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องหมายที่ใช้เป็นดุมเสื้อเป็นรูปดอกไม้จีบด้วยแพรแถบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเครื่องสากลโดยให้ประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อชั้นนอกเบื้องซ้าย และสามารถใช้ประดับเมื่อสวมชุดไทย โดยบุรุษมีสิทธิใช้ประดับเป็นดุมเสื้อเวลาแต่งเสื้อชุดไทยสีสุภาพ โดยประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย บริเวณปากกระเป๋าเสื้อ

ราชมิตราภรณ์ • มหาจักรีบรมราชวงศ์ (รายนาม) • นพรัตนราชวราภรณ์ (รายนาม) • จุลจอมเกล้า (รายนาม ป.จ., ท.จ.ว.) • รามาธิบดี (รายนาม) • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ (รายนาม ป.ภ.) • รามกีรติ • รัตนวราภรณ์ (รายนาม) • วัลลภาภรณ์ (รายนาม) • วชิรมาลา

รามาธิบดี (รามมาลา เข็มกล้ากลางสมร • รามมาลา) • กล้าหาญ • ดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ • ชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน • สงครามมหาเอเชียบูรพา • สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี • การรบ ณ สาธารณัฐเวียดนาม •) • พิทักษ์เสรีชน • ราชนิยม • ปราบฮ่อ • งานพระราชสงครามทวีปยุโรป • พิทักษ์รัฐธรรมนูญ • ศานติมาลา

ดุษฎีมาลา (เข็มราชการแผ่นดิน, เข็มศิลปวิทยา) • ช่วยราชการเขตภายใน • ราชการชายแดน • ช้างเผือก • มงกุฎไทย • ดิเรกคุณาภรณ์ • จักรมาลา • จักรพรรดิมาลา • ศารทูลมาลา • บุษปมาลา • ลูกเสือสรรเสริญ • ลูกเสือสดุดี • ลูกเสือยั่งยืน

สตพรรษมาลา • รัชฎาภิเศกมาลา • ประพาสมาลา • ราชินี • ทวีธาภิเศก • รัชมงคล • รัชมังคลาภิเศก • บรมราชาภิเษก • ชัย • พิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี • งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ • การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป • รัชดาภิเษก • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร • สนองเสรีชน • พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี • สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี • เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ • รัชมังคลาภิเษก • กาญจนาภิเษก • เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ • ฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี • เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (5 รอบ 60 พรรษา • 6 รอบ 72 พรรษา ) • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • กาชาด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406