พระราชพิธีกาญจนาภิเษก (อังกฤษ: Golden Jubilee) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ตามคติสากล
พระราชพิธีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของไทย ในปี พุทธศักราช 2539 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยพระองค์ทรงครองราชสมบัติ เป็นปีที่ 50 ใน พุทธศักราช 2538 และครบรอบ 50 ปีจริงในวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2539 ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างวันที่ 8-10,12,14,23มิถุนายน ,7พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 รวมทั้งสิ้น 7 วัน
พระราชพิธีนี้ รัฐบาล สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา และ ประชาชนชาวไทย เป็นผู้ร่วมกันจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ
พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า และเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมณศักดิ์พระสงฆ์ 59 รูป ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
พิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย ณ บริเวณถนนราชดำเนิน จากท้องสนามหลวง ถึงลานพระราชวังดุสิต
ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เป็นหลักสำคัญ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพานเครื่องสูง 2 ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีช้าง 2 เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร ซึ่งสามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้
คณะกรรมการฝ่ายจัดทำของที่ระลึก ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐจัดทำของที่ระลึกเนื่องในวโรกาสดังกล่าว ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานของรัฐอื่น ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นที่ระลึก ประกอบด้วย ถนนกาญจนาภิเษก โดยกระทรวงคมนาคม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย และวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก โดยกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร จัดสร้างขึ้นโดยกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งมีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวง ล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรเทาปัญหาปริมาณการจราจรและการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหลวง รวมทั้งยังเป็นทางเลี่ยงที่จะเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงเส้นทางสายหลัก ที่มุ่งไปสู่ทุกภาคของประเทศ
ถนนวงแหวนสายนี้ มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 165 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นสามช่วงคือ ฝั่งตะวันตก เริ่มจากอำเภอบางปะอิน ผ่านอำเภอบางบัวทอง สิ้นสุดที่เขตบางขุนเทียน (68 กิโลเมตร), ฝั่งตะวันออก เริ่มจากอำเภอบางปะอิน ผ่านจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานครตอนเหนือ สิ้นสุดที่อำเภอบางพลี (63 กิโลเมตร) และ ฝั่งใต้ เริ่มจากอำเภอบางพลี เชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน สิ้นสุดที่เขตบางขุนเทียน (34 กิโลเมตร)
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญนามพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เป็นชื่อถนนวงแหวนสายนี้ พร้อมกันนั้น กรมทางหลวงยังดำเนินการ เปลี่ยนหมายเลขทางหลวง จากทางหลวงหมายเลข 37 เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 อีกด้วย
กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐบาลไทย กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น ขึ้นจำนวน 9 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสมหามงคลนี้ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ประกอบกับชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้ง ดังมีรายนามต่อไปนี้
กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐบาลไทย จัดตั้งวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาในขณะนั้น ขึ้นจำนวน 7 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสมหามงคลนี้ โดยใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ประกอบชื่อท้าย ดังรายนามต่อไปนี้
เฉลิมพระชนมพรรษา (ทุกปี) • การเสด็จออกมหาสมาคม (ในโอกาสสำคัญ) • สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ (โอกาสพิเศษ)