ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา คือเหตุการณ์ที่ชนพื้นเมืองชาวทุตซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารหมู่ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คนในประเทศรวันดา โดยกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่คือกลุ่มทหารบ้านหัวรุนแรงชาวฮูตู ได้แก่กลุ่มอินเตราฮัมเว (Interahamwe เป็นภาษากินยาร์วันดาแปลว่า "ผู้ที่สู้ด้วยกัน") และกลุ่มอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi แปลว่า "ผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน") โดยจะมี 2 กลุ่มนี้เป็นผู้กระทำการสังหารหมู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537 (1994)

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่เพียงเพราะจำนวนคนที่ถูกสังหารเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับเวลาอันสั้น แต่ยังเป็นเพราะว่าเหตุการณ์นี้ได้แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพขององค์การสหประชาชาติ (โดยเฉพาะสมาชิกสำคัญแห่งโลกตะวันตกคือสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส) ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แม้จะมีข่าวคราวมาก่อนว่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริงก็ตาม รวมไปถึงการนำเสนอข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกเมื่อเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงและความโหดร้ายทารุณของการสังหารหมู่ กระนั้น ประเทศโลกที่หนึ่งส่วนใหญ่รวมไปถึงประเทศฝรั่งเศส, เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา กลับมีท่าทีนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ โดยปฏิเสธที่จะออกมากระทำการแทรกแซง หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่ ส่วนประเทศแคนาดายังคงทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาความสงบในรวันดาจนถึงทุกวันนี้

ก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น สหประชาชาติได้เริ่มต้นภารกิจในการช่วยเหลือประเทศรวันดา (หรือ UNAMIR - United Nations Assistance Mission for Rwanda) ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2536 (1993) เพื่อช่วยลดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลรวันดา (ที่ประกอบไปด้วยชาวฮูตูเป็นส่วนใหญ่) กับกลุ่มกบฏชาวตุดซี หลังจากที่พันธไมตรีหรือข้อตกลงสันติภาพอะรูชา (Arusha Accords หรือ Arusha Peace Agreement) ได้ถูกลงนามในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ต่อมาสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ภารกิจสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2539 (1996) โดยก่อนหน้าที่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จะเกิดขึ้น รวมไปถึงช่วงระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สหประชาชาติไม่อนุญาตให้ UNAMIR เข้าทำการแทรกแซงหรือใช้กำลังในระยะเวลาที่เร็วหรือมีประสิทธิภาพพอที่จะยับยั้งการสังหารหมู่ในรวันดา แม้ว่า UNAMIR จะปรับขอบเขตอำนาจและกำลังพลของตนเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เกิดขึ้น รวมถึงเมื่อสถานการณ์ในประเทศได้เปลี่ยนไปก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น กระนั้นนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ยังคงมีข้อจำกัดทางกระบวนการและขั้นตอนหลายอย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้สหประชาชาติประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่ให้เกิดขึ้น โดยผู้นำภารกิจของสหประชาชาติภารกิจนี้ก็คือพลโทโรมิโอ ดาลแลร์ (Rom?o Dallaire) นายทหารชาวแคนาดา

หลายสัปดาห์ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มขึ้น สหประชาชาติไม่ได้ตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับการสะสมอาวุธของทหารบ้านชาวฮูตู อีกทั้งยังปฏิเสธข้อเสนอให้ออกคำสั่งห้ามดักล่วงหน้า แม้ว่า พ.ท. ดาลแลร์จะทำการเตือนสหประชาชาติหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในช่วงเวลาก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นมาจนถึงตอนที่เหตุการณ์กำลังดำเนินอยู่ แต่ทางสหประชาชาติก็ยังคงยืนกรานให้ยึดตามกฎการปะทะแบบเดิม ซึ่งทำให้กองกำลังรักษาความสงบของสหประชาชาติไม่สามารถที่จะทำการขัดขวางทหารบ้านฮูตูไม่ว่าในทางใด ๆ แม้กระทั่งปลดอาวุธ ยกเว้นเป็นเหตุให้ทหารสหประชาชาติต้องป้องกันตัวเอง ความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของสหประชาชาติที่ไม่สามารถทำการขัดขวางและยับยั้งการฆ่าได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพพอได้นำไปสู่การถกประเด็นว่าใครเป็นฝ่ายผิดกันแน่ในเวทีสากล ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะที่มีสัมพันธ์กับรวันดาผ่านทางองค์กรชุมชนผู้พูดภาษาฝรั่งเศสสากลหรือลาฟรังโคโฟนี - La Francophonie), ประเทศเบลเยียม (ในฐานะประเทศอดีตจ้าวอาณานิคมของรวันดา) และประเทศสหรัฐอเมริกา (ในฐานะตำรวจโลก) ซึ่งรวมไปถึงระดับบุคคลที่ทำการร่างนโยบายขึ้นมาได้แก่ชาค-โรเจอร์ส บูห์-บูห์ (Jacques-Roger Booh-Booh) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งประเทศแคเมอรูนและหนึ่งในผู้นำภารกิจ UNAMIR และประธานาธิบดีสหรัฐฯ บิล คลินตัน ที่กล่าวถึงการเพิกเฉยของสหรัฐฯ ว่า "เป็นสิ่งที่น่าสลดที่สุดภายใต้การบริหารของผม"

เหตุผลใด ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่โหดเหี้ยมอย่างนั้นขึ้นได้ ไม่มีสิ่งใด นอกจาก "ความเกลียดชัง" และ "ความมัวเมาอำนาจ"ในช่วงที่ชาวรวันดารอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ แต่ความช่วยเหลือต่าง ๆ ชักช้า ไม่ทันการ อืดอาด มีแต่ช่วยกันระดมคนของชาติตนออกจากรวันดา ปล่อยให้ชาวรวันดาฆ่าฟันกันเอง เลือดนองแผ่นดิน

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้จบลงในที่สุดเมื่อกลุ่มกบฏชาวเผ่าตุดซีชื่อว่าแนวร่วมผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandan Patriotic Front - RPF) ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้ง พอล คากาเม ได้ทำการล้มล้างรัฐบาลชาวฮูตูและเข้ายึดอำนาจ หลังจากนั้นในเวลาต่อมาก็มีผู้อพยพ และทหารบ้านฮูตูผู้พ่ายแพ้เป็นแสน ๆ คนก็ได้หลบหนีเข้าไปในประเทศซาอีร์ (Zaire ซึ่งก็คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน) ในภูมิภาคตะวันออกเนื่องจากกลัวการถูกล้างแค้นโดยชาวตุดซี หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความเกลียดชังและความรุนแรงระหว่างสองชนเผ่านี้ก็ลุกลามไปยังประเทศในภูมิภาค โดยเป็นเหตุให้เกิดสงครามคองโกถึงสองครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตั้งแต่ พ.ศ. 2539 มาจนถึง พ.ศ. 2546 (1996-2003) ความชิงชังและโกรธแค้นระหว่างสองชนเผ่ายังมีส่วนสำคัญในการเติมเชื้อปะทุความรุนแรงที่พัฒนามาเป็นสงครามกลางเมืองในประเทศบุรุนดีตั้งแต่ พ.ศ. 2536 (1993) มาจนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 (2005) อีกด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301