ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เสรีภาพทางศาสนา

เสรีภาพทางศาสนาในประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใดก็ให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในศาสนาของประชาชนทั้งสิ้น โดยตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ

บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่งบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนาหรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น

เสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาหรือ ความเชื่อ ในที่นี้นั้นหมายรวมถึงเสรีภาพในการยึดมั่นศรัทธาหรือมีความเชื่อที่แตกต่างจากบุคคลอื่น ในหลักการทางศาสนาหรือความเชื่อใด ๆ หรือเสรีภาพที่จะไม่นับถือศาสนาใด ๆ เสรีภาพในการ นับถือศาสนาจำเป็นต้องมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิที่จะคงไว้ในความเชื่อถือศรัทธา จึงไม่มีบุคคลใดที่จะถูกบังคับให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่เสรีภาพในการเลือกถือศาสนาด้วยมาตรการใด ๆ หรือให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

เสรีภาพในการนับถือศาสนาในประเทศไทย มีลักษณะเช่นเดียวกันกับเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ ตามที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองไว้ กล่าวคือ เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยเนื้อหาของการใช้เสรีภาพแล้วเป็นเสรีภาพที่สมบูรณ์และไม่อนุญาตให้มีการจำกัดใด ๆ ได้เลย รัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่มีอำนาจแทรกแซงเสรีภาพในการถือศาสนา

สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มกล่าวถึงเสรีภาพต่าง ๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของ ชนชาวสยามความว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการ ถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความนับถือของตน เมื่อไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” แนวความคิดการให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการ นับถือศาสนานี้เกิดจากคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าการให้เสรีภาพในประเทศไทยไม่มีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งไม่อาจเป็นการให้หลักประกันของประชาชนได้ จึงจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่าผู้ปกครองจะละเมิดมิได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญไทยฉบับ หลัง ๆ ทุกฉบับก็ได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพ ในศาสนาตลอดมา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันก็ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการ ถือศาสนาไว้เช่นเดียวกัน แต่มีบางกรณีที่เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง คือ กรณีที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของรัฐที่ต้องแต่งกายโดยหญิงมุสลิมต้องคลุมหน้า (หิญาบ) ตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม แต่ไม่อาจกระทำได้เนื่องจากผู้บริหารการศึกษาอ้างว่าไม่ได้บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ทำให้เป็นปัญหาแก่ผู้นับถือศาสนาในการปฏิบัติตน จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติขยายความหมายเสรีภาพในศาสนาในรัฐธรรมนูญ ให้มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น ส่งผลให้รัฐต้องอำนวยประโยชน์ให้บุคคลได้รับประโยชน์สมดังสิทธิที่ได้ รับรองไว้ และหลักการอีกประการหนึ่งคือ การใช้เสรีภาพจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย หากมีการใช้เสรีภาพที่ไม่ชอบย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังได้วางหลักไว้ว่าบุคคลจะไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลยก็ได้ รัฐจะบังคับให้ราษฎรนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งก็ไม่ได้ และยังได้วางหลักประกันความเป็นธรรมต่อบุคคลที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติอย่างได้เปรียบหรือเสียเปรียบอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาของตน ที่วางหลักไว้เช่นนี้เป็นการนำกรณีที่เคยมีปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล มาบัญญัติให้ชัดแจ้งว่าจะเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีบทบัญญัติ เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาในบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 1 (Amendment 1) กล่าวไว้ว่า “สภานิติบัญญัติจะต้องไม่ออกกฎหมายรับรอง การจัดตั้งศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือห้ามการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาโดยอิสระ” ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งกันเบื้องต้นในการพิจารณาของ สภาคองเกรสว่าสภานิติบัญญัติจะออกกฎหมายห้ามการปฏิบัติศาสนกิจโดยเสรีไม่ได้จริง ๆ หรือไม่ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไม่มีข้อแสดงเงื่อนไขจำกัดเสรีภาพไว้เลย แต่สิทธิของบุคคลที่จะกระทำตามความเชื่อของตนไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด รัฐอาจวางข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจได้ ถ้าความเชื่อของเขาไปขัดต่อหน้าที่ทางสังคมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสังคม

แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ยังมีข้อโต้เถียงกันมากและมีผู้ให้ความเห็น ซึ่งต่างกันออกไป แต่ศาลสูงของสหรัฐได้สร้างข้อจำกัดเสรีภาพดังกล่าวไว้อย่างเป็นทางการในคดี United States V. O’Brien โดยศาลได้ให้เหตุผลในการจำกัดเสรีภาพในการปฏิบัติศาสนาว่า จะต้องนำมาเปรียบเทียบกับประโยชน์ของรัฐหรือประโยชน์มหาชน (Government Interrest) ประโยชน์ของรัฐย่อมมีความสำคัญมากกว่า และรัฐสามารถปฏิบัติกิจการบางอย่างได้ตามรัฐธรรมนูญหากประโยชน์นั้น มีความสำคัญ มากพอ กล่าวคือถ้าประโยชน์ของรัฐมิได้กระทบต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเด่นชัด รัฐก็ควรมีความชอบธรรมที่จะปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้

ในประเทศเยอรมันได้มีการคุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้โดยถือตามหลักทั่วไปยอมรับว่า การใช้เสรีภาพของบุคคลย่อมต้องมีขอบเขตและเสรีภาพในการนับถือศาสนาแม้จะไม่มีกฎหมายจำกัดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน แต่ในบางกรณี การใช้เสรีภาพของบุคคลมีความจำเป็นที่จะต้อง อยู่ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ถ้าเสรีภาพนั้นขัดกับเสรีภาพพื้นฐานในเรื่องอื่นหรือกระทบต่อสังคมเพราะหลักการของสิทธิพื้นฐานย่อมมีหลักประกันว่าทุกคนในสังคมมีสิทธิที่จะมีชีวิตในสิทธิพื้นฐานตราบเท่าที่การใช้เสรีภาพของบุคคลในสิทธิเหล่านี้ไม่ละเมิดสิทธิหรือประโยชน์ของบุคคลอื่น แต่ถ้าในกรณีที่มีความขัดแย้งกันระหว่างสิทธิพื้นฐาน ศาลจะพิจารณาถึงประโยชน์และความจำเป็นทั้งสองด้านเพื่อความสมดุลในผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างสิทธิทั้งสอง

เคยมีคดีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง เป็นคดีการใช้เสรีภาพในศาสนาของโบสถ์เกี่ยวกับการตีระฆังในตอนเช้าวันอาทิตย์ ศาลต้องทำให้เกิดดุลยภาพกับสิทธิของบุคคลที่อยู่บริเวณใกล้กับโบสถ์ที่อาจจะถูกรบกวนโดยเสียงระฆัง และศาลจะต้องไม่ล่วงละเมิดคุณค่าพื้นฐานของการใช้เสรีภาพที่จะตีระฆังได้แต่ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบประโยชน์ของบุคคลอื่นอาจจะปรับในเรื่องเวลาในการตีระฆังเป็นการตีเพื่อบอกเวลาแทน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301