เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร
จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์
ในทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
(Lipsey and others)ตามคำนิยามนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของมนุษย์
(Paul A. Samuelson)นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวสหรัฐอเมริกา ได้ให้นิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ คือการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกของคนและสังคม ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ และจำแนกแจกจ่ายผลผลิตเพื่อการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งของตนเองและของสังคม
เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ (อังกฤษ: Applied Microeconomics) เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตซึ่งรวมไปถึงการศึกษาที่เจาะจงเฉพาะด้านด้วย สาขาที่เกี่ยวกับทางด้านประยุกต์ส่วนมากมักจะใช้เรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีราคา (Price Theory), อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply), การจัดการอย่างเป็นระบบในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Organization) และ การควบคุม (Regulation) หัวข้อที่จะสนใจศึกษา อย่างเช่น การเข้าและการออกคนงานของบริษัท, นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, บทบาทของเครื่องหมายการค้า, กฎหมาย และ เศรษฐศาสตร์ เพียงเล็กน้อยหรือมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลักการเลือกใช้ เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์นั้น จะขึ้นอยู่กับ enforcement of competing, กฎหมาย, ระบบการปกครอง และ their relative efficiencies ยกตัวอย่างเช่น