ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ประเทศไทยมีจีดีพี 11.375 ล้านล้านบาท มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.02% ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงินเป็นอันดับที่ 29 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ในปี 2556 เศรษฐกิจไทยเติบโต 2.9% จีดีพีมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือน 54.4% การใช้จ่ายของรัฐบาล 13.8% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 26.7% ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคหลักในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 39.2% ของจีดีพี ภาคเกษตรกรรมเป็นสัดส่วน 8.4% ของจีดีพี น้อยกว่าภาคการขนส่งและการค้า ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัดส่วน 13.4% และ 9.8% ของจีดีพีตามลำดับ ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสัดส่วน 4.3% ของจีดีพี ภาคอื่น (ซึ่งรวมภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและร้านอาหาร) เป็นสัดส่วน 24.9% ของจีดีพี โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกคิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก

ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ทว่า จีดีพีต่อหัวในปี 2555 ค่อนข้างต่ำ ($7,188) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยจัดว่ามีจีดีพีต่อหัวกลาง ๆ รองจากประเทศสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซีย ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ประเทศไทยถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศ 171,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รองจากประเทศสิงคโปร์) ประเทศไทยยังมีปริมาณการค้าต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากสิงคโปร์

ธนาคารโลกรับรองประเทศไทยว่าเป็น "นิยายความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง" จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนา แม้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวต่ำ คือ 5,210 ดอลล่าร์สหรัฐ และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) อยู่ที่อันดับ 89 แต่ประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงจาก 65.26% ในปี 2531 เหลือ 13.15% ในปี 2554 ตามเส้นฐานความยากจนใหม่ของ สศช. ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศกัมพูชา โมนาโกและกาตาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ค่าแรงขั้นต่ำทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาทความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยถือว่าสูงสุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัวเรือนที่รวยที่สุด 20% มีรายได้ครัวเรือนเกินครึ่ง ดัชนีจีนีของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 0.51 ครอบครัวรายได้น้อยและยากจนกระจุกอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างมาก

เดิมประเทศไทยเคยเป็นเสือเศรษฐกิจโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 10.4% ต่อปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึง 2539 สมัยนายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 ถึง 2531 เปิดเศรษฐกิจไทยสู่การค้าระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ประชากรหลายล้านคนตกงานและยากไร้ และไม่จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมค่าเงินและเศรษฐกิจได้อีกครั้งหนึ่ง

นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ด้วยเจตนาจะเพิ่มกิจกรรมภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าและการลงทุนต่างประเทศ นับแต่นั้น การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจ "รางคู่" (dual track) ซึ่งรวมกิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นกับการสนับสนุนตลาดเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศของไทย

นโยบายดังกล่าวเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า ทักษิโณมิค อุปสงค์การส่งออกที่อ่อนทำให้อัตราเติบโตของจีดีพีใน พ.ศ. 2544 อยู่ที่ 2.2% แต่ในสามปีต่อมา กิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและการฟื้นฟูการส่งออกทำให้สมรรถนะของประเทศกลับคืนอีกครั้ง โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 5.3%, 7.1% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2548 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการขาดดุลการค้า ภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรง ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงขึ้นถึงที่สุด อนาคตที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลทักษิณ และผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 4.5%

ใน พ.ศ. 2548 ประเทศไทยยังมีบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอยู่ที่ -4.3% ของจีดีพี หรือ -7,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับแต่ พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอีกครั้ง และเศรษฐกิจลอยตัวขึ้นจากการเติบโตในภาคส่งออก อย่างไรก็ตาม รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งถอดทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง รักษาการนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่มั่นใจ

ในปี 2555 ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากอุทกภัยร้ายแรงเมื่อปีกลาย รัฐบาลยิ่งลักษณ์วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตั้งแต่ระบบจัดการน้ำระยะยาวจนถึงลอจิสติกส์ มีรายงานว่า วิกฤตยูโรโซนส่งผลเสียเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ทั้งโดยตรงและโดย้อม โดยกระทบส่งออกของประเทซ จีดีพีของประเทศไทยโต 6.5% โดยมีอัตราภาวะเงินเฟ้อทั่วไป 3.02% และมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของจีดีพีประเทศ

วันที่ 23 ธันวาคม 2556 เงินบาทไทยลดลงต่ำสุดในรอบสามปี เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองระหว่างหลายเดือนก่อน บลูมเบิร์กว่า เงินตราไทยอ่อนตัวลง 4.6% ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักตกลงด้วย (9.1%)

หลังรัฐประหารในปี 2557 ครึ่งปีแรก สำนักข่าวทั่วโลกเอเอฟพีจัดพิมพ์บทความซึ่งอ้างว่าประเทศไทยอยู่บน "ขอบภาวะเศรษฐกิจถดถอย" หัวเรื่องหลักของบทความคือการที่ชาวกัมพูชาเกือบ 180,000 คนออกจากประเทศไทยด้ยวเกรงการปราบปรามการเข้าเมือง แต่สรุปด้วยสารสนเทศว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวลง 2.1% ไตรมาสต่อไตรมาส ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2557 ทว่า นับแต่ยกเลิก การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เขาคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโต 2.5 ถึง 3% ในปี 2557 ตลอดจนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังของปี 2557 ยิ่งไปกว่านั้น เขายังอ้างการพิจารณาโครงการลงทุนค้างในอนาคตของคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งประเมินว่ามีมูลค่าราว 700,000 ล้านบาท ว่าเป็นกระบวนการทรงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดในราวเดือนตุลาคม 2557

ในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรรม การป่าไม้และการประมงสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นเพียง 8.4% ของจีดีพี ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ส่งออกกุ้งหลัก พืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ มะพร้าว ข้าวโพด ยางพารา ถั่วเหลือง อ้อยและมันสำปะหลัง

ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้กำหนดให้พื้นที่ของประเทศ 25% เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์และอีก 15% เพื่อการผลิตไม้อย่างเป็นทางการ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ถูกจัดตั้งสำหรับการรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและการพักผ่อน ในขณะที่ป่าเพื่อการผลิตเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมป่าไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ระหว่าง พ.ศ. 2535 และ 2544 การส่งออกท่อนซุงและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ลูกบาศก์เมตรเป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวระหว่างปี พ.ศ. 2547 ประกอบกับคลื่นสึนามิซึ่งถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันหลังจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2548-2549 ภาคเกษตรกรรมมีจีดีพีลดลงถึง 10%

แร่ธาตุหลักที่พบในประเทศไทย รวมไปถึง ฟลูออไรต์ ยิปซัม ตะกั่ว ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ แทนทาลัม ดีบุกและทังสเตน อุตสาหกรรมเหมืองดีบุกได้ลดลงอย่างรุนแรงหลังจาก พ.ศ. 2528 ประเทศไทยจึงกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2551 แร่ธาตุที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุด คือ ยิปซัม

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยิปซัมรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแคนาดา ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะจำกัดการส่งออกยิปซัมเพื่อป้องกันการตัดราคาก็ตาม ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ธาตุมากกว่า 40 ชนิด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 740 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มากกว่า 80% ของแร่ธาตุนี้บริโภคภายในประเทศ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รัฐบาลได้ผ่อนปรนข้อจำกัดอันเข้มงวดทำเหมืองโดยบริษัทต่างชาติ

ในปี พ.ศ. 2550 อุตสาหกรรมสร้างรายได้ถึง 43.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่มีแรงงานทำงานอยู่เพียง 14% ของแรงงานทั้งหมด สัดส่วนดังกล่าวตรงกันข้ามกับสัดส่วนของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 3.4% ต่อปีระหว่าง พ.ศ. 2538-2548 ภาคย่อยที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ การผลิต ซึ่งสร้างรายได้คิดเป็น 34.5% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2547

ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในตลาดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในปี พ.ศ. 2547 ประมาณการผลิตรถยนต์แตะระดับที่ 930,000 คัน มากกว่าสองเท่าของประมาณการผลิตในปี พ.ศ. 2544 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์หลักที่ดำเนินการในประเทศ ได้แก่ โตโยต้าและฟอร์ด การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กกล้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเผชิญกับการแข่งขันจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคพลังงานทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 3,400 ล้านล้านบีทียู ซึ่งคิดเป็นราว 0.7% ของปริมาณการบริโภคพลังงานของทั้งโลก ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายสำคัญ แต่รัฐบาลกำลังสนับสนุนการใช้เอธานอลเพื่อลดการนำเข้าปิโตรเลียมและสารเติมแต่งน้ำมัน เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE)

ในปี พ.ศ. 2548 ปริมาณการใช้น้ำมันต่อวันอยู่ที่ 133,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 48,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันสี่แห่งของไทยมีความสามารถทำงานได้ 111,780 ลิตรต่อวัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการขนส่งน้ำมันในภูมิภาค รองรับความต้องการของจีนตอนกลางและตอนใต้ ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2.99 ? 1010 ลูกบาศก์เมตร เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 2.2 ? 1010 ลูกบาศก์เมตร

ในปี พ.ศ. 2547 อีกเช่นกัน ปริมาณการบริโภคถ่านหินที่ประมาณกันไว้อยู่ที่ 30.4 ล้านตันขนาดเล็ก เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 22.1 ล้านตันขนาดเล็ก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการพิสูจน์อยู่ที่ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองอยู่ที่ 420 ลูกบาศก์กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณถ่านหินสำรองหมุนเวียอยู่ที่ 1,492.5 ล้านตันขนาดเล็ก

ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยบริโภคไฟฟ้าอย่างน้อย 117,700 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง การบริโภคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 133,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ในปี พ.ศ. 2550 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 44.7% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 37% ของกำลังแรงงาน

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นใดในทวีปเอเชีย (ราว 6% ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม กรุงเทพมหานครมีการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยวจากชาติในทวีปเอเชียด้วยกันได้สร้างรายได้อย่างมากให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ. 2550 นักท่องเที่ยวราว 14 ล้านคนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมเพศที่กำลังเฟื่องฟู อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยยังคงละเลยต่อสิทธิของกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศภายใต้กฎหมายแรงงานในความผิดทางอาญาของกลุ่มผู้ขายบริการ ทำให้ราชการคอร์รัปชั่นและพนักงานของรัฐเอาเปรียบกลุ่มผู้ขายบริการเหล่านี้

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่กำลังฟื้นตัว การกลับมาเติบโตของเศรษฐกิจจีน วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีผลกระทบน้อยกว่าที่กังวลล่วงหน้า ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 16% ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 แต่ในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้กลับมาจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศของ พ.ศ. 2552 จึงอยู่ที่ 14 ล้านคน ลดลงเพียง 4% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี พ.ศ. 2551

เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ตามพระราชบัญญํติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินมาใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กับอีกร้อยละ 80 ของรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ในแต่ละปี

สำหรับการก่อหนี้ภายในประเทศ รัฐบาลกู้เงินระยะยาวครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 โดยออกพันธบัตรจำนวน 10 ล้านบาท และก่อเงินระยะสั้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2488 ส่วนการก่อหนี้ต่างประเทศ เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2448 โดยรัฐบาลได้ขายพันธบัตรมูลค่า 1 ล้านปอนด์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 40 ปี นับเป็นการเปลี่ยนแนวคิดด้านนโยบายการคลังจากที่เคยใช้จ่ายเฉพาะรายได้จากภาษีอากรมารวมรายได้จากเงินกู้ด้วย

สิงหาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานประเมินหนี้สาธารณะของไทย พบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 44% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2554 เป็น 60% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2556 และจะเริ่มมีหนี้สาธารณะสูงกว่ากรอบวินัยการคลังในปีงบประมาณ 2557 กระทั่งมีหนี้สาธารณะ 70% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2559 ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีภาระด้านการคลังเพิ่มขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประเมิน 4 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่าอาจต้องใช้เงินสูงถึง 442,000 ล้านบาท หรือ 20% ของงบประมาณภาครัฐ

นอกจากนี้ การพิจารณาโครงสร้างรายรับ-รายจ่ายและงบประมาณภาครัฐ พบว่า งบประมาณรายจ่ายของประเทศระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง 2554 เพิ่มขึ้น 8.8% ของจีดีพี ขณะที่งบประมาณรายรับในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 4.2% ของจีดีพี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406