ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

คำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (อังกฤษ: Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น

ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1992) ใช้หมายถึงวิธีการสอนวิชาการทางแพทย์ และวิธีเพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัยตัดสินใจของแพทย์แต่ละบุคคล ๆ หลังจากนั้น คำก็เริ่มใช้กินความหมายมากขึ้นและรวมถึงวิธีการที่มีมาก่อนแล้ว คือวิธีการที่เน้นใช้หลักฐานในการแนะนำแนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งชุมชน (เช่นคำว่า "evidence-based practice policies" แปลว่า นโยบายการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ต่อจากนั้นอีก คำก็กินความมากขึ้น หมายถึงวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจในการแพทย์ทุกระดับ และแม้ในวิชาการสาขาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเรียกใช้คำที่กว้างขึ้นว่า evidence-based practice (ตัวย่อ EBP แปลว่า การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน)

ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการศึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยตัดสินใจในคนไข้รายบุคคล แนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งกลุ่มชน หรือการให้บริการทางสุขภาพโดยทั่ว ๆ ไป EBM สนับสนุนว่า โดยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจและนโยบายการปฏิบัติ ควรจะอาศัยหลักฐาน ไม่ใช่เพียงแค่อาศัยความเชื่อของแพทย์รักษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารเท่านั้น คือ เป็นแบบการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความคิดเห็นของแพทย์รักษา ซึ่งอาจจะจำกัดโดยความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือโดยความเอนเอียง มีการบูรณาการด้วยความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดจากสิ่งเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) และนำไปใช้ได้ EBM โปรโหมตระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย (formal) และชัดแจ้ง (explicit) ในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้เป็นข้อมูลกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ EBM สนับสนุนโปรแกรมการศึกษาเพื่อสอนข้อปฏิบัติของ EBM ต่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์รักษา และผู้กำหนดนโยบาย

ในความหมายที่กว้างที่สุด EBM หมายถึงการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการวินิจฉัยตัดสินใจการรักษาพยาบาล แพทย์มีประวัติยาวนานเกี่ยวกับการทำงานวิจัยพื้นฐาน (basic research) และงานวิจัยทางคลินิก (clinical research) กลับไปในประวัติไกลที่สุดอย่างน้อยถึงสมัยของนักปราชญ์ชาวเปอร์เซียคือแอวิเซนนา แต่ว่า จนกระทั่งถึงเร็ว ๆ นี้ การนำผลงานวิจัยมาใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจทางการแพทย์มักจะขึ้นอยู่กับบุคคล (โดยเป็นอัตวิสัย) โดยเป็นทักษะที่เรียกว่า "ความเห็นทางคลินิก" (clinical judgment) และ "ศิลปะทางการแพทย์" (the art of medicine) วิธีที่สืบกันมาในการวินิจฉัยตัดสินใจเกี่ยวกับคนไข้รายบุคคล ขึ้นอยู่กับแพทย์แต่ละคนที่จะตัดสินใจว่า หลักฐานงานวิจัยไหน ถ้ามี ควรจะพิจารณา และจะนำเข้ามาผสมผสานกับความคิดเห็นของตนและองค์ประกอบอื่น ๆ ได้อย่างไร ในกรณีที่เป็นข้อกำหนดระดับชุมชน แนวทางและนโยบายมักจะจัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ แต่ว่า ก็ยังไม่มีกระบวนการที่เป็นรูปนัย ในการกำหนดระดับขอบเขตผลงานวิจัยที่ควรจะพิจารณา หรือในการรวมหลักฐานเข้ากับความเชื่อของบุคคลากรของคณะกรรมการ โดยมีข้อสมมุติที่ไม่ได้ทำให้ชัดแจ้งว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจและผู้กำหนดนโยบายจะรวมหลักฐานเช่นนั้นเข้ากับความคิดเห็นของตนอย่างเหมาะสม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ของตนเช่น ระดับวิชาการศึกษา ประสบการณ์ และการศึกษาติดตามผลงานใหม่ ๆ ในสิ่งเผยแพร่ที่เกี่ยวข้อง

เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 มีจุดอ่อนหลายอย่างที่เริ่มปรากฎชัด ในการตัดสินวินิจฉัยทางการแพทย์ที่สืบต่อกันมาเช่นนี้ น.พ.วิทยาการระบาดชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงอัลแวน ไฟน์สไตน์ เขียนหนังสือเรื่อง Clinical Judgment (การวินิจฉัยทางคลินิก) ในปี ค.ศ. 1967 ที่เน้นเรื่องการคิดหาเหตุผลทางคลินิก และได้กำหนดความเอนเอียงหลายอย่างที่มีอิทธิพลวินิจฉัย ในปี ค.ศ. 1972 น.พ.ชาวสกอตแลนด์อาร์ชี่ คอเครน พิมพ์หนังสือ Effectiveness and Efficiency (ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ) ซึ่งกำหนดปัญหาการไร้ผลการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ที่สนับสนุนวิธีการรักษาแบบต่าง ๆ ที่เชื่อกันว่าได้ผล ในปี ค.ศ. 1973 ศาสตราจารย์ของวิทยาลัยดาร์ตมัธ น.พ.จอห์น เว็นน์เบอร์ก เริ่มพิมพ์งานถึงวิธีการหลากหลายที่แพทย์ใช้ไม่เหมือนกัน (ในประเทศสหรัฐอเมริกา) ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ตลอดจนถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 น.พ.เดวิด เอ็ดดี้ ได้พรรณนาถึงความผิดพลาดในการคิดหาเหตุผลทางคลินิก และช่องว่างที่มีในหลักฐาน ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 น.พ. อัลแวน ไฟน์สไตน์ ศาสตราจารย์ น.พ. เดวิด แซ็คเก็ตต์และคณะ ได้เผยแพร่ตำราทางวิทยาการระบาด ซึ่งแปลงวิธีการทางวิทยาการระบาด ใช้เป็นวิธีการตัดสินวินิจฉัยของแพทย์รายบุคคล ในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 กลุ่มนักวิจัยของบริษัทไม่ใช่เพื่อผลกำไร RAND Corporation แสดงว่า วิธีการรักษาเป็นจำนวนมากที่แพทย์ทำ เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับมาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกัน งานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เพิ่มความรู้เกี่ยวกับจุดอ่อนของการตัดสินวินิจฉัยทางการแพทย์ ทั้งในระดับการรักษาคนไข้เป็นรายบุคคล และในระดับชุมชน และนำไปสู่ระเบียบวิธีที่อาศัยหลักฐานเป็นสำคัญ

คำว่า "evidence-based medicine" ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีสองความหมาย คือมีการปฏิบัติเป็นสองสาขา ตามประวัติกาลที่เริ่มใช้แล้ว ความหมายแรกหมายถึงระเบียบวิธีให้มีการตรวจสอบอย่างชัดแจ้งของประสิทธิภาพการรักษา เมื่อมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติทางคลินิก (clinical practice guidelines) และนโยบายระดับชุมชน (population-level policies) อย่างอื่น ๆ ความหมายที่สองหมายถึงการสอนระเบียบวิธีทางระบาดวิทยาในการศึกษาแพทย์ และในการตัดสินวินิจฉัยคนไข้รายบุคคล

คำว่า "evidence-based" (ที่ไม่มี medicine ต่อท้าย แปลว่า อาศัยหลักฐาน) เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดย น.พ.เดวิด เอ็ดดี้ ในเรื่องนโยบายระดับชุมชน เช่นแนวทางการปฏิบัติทางคลินิก และความคุ้มครองตามสัญญาประกันสุขภาพที่บริษัทให้ในการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ ในปี ค.ศ. 1987 คุณหมอเริ่มใช้คำว่า "evidence-based" ในเวิ้ร์กฉ็อปและคู่มือที่ทำตามมอบหมายของสมาคมสภาการแพทย์เฉพาะทาง (Council of Medical Specialty Societies) เพื่อสอนระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย ในการออกแบบแนวทางการปฏิบัติทางคลินิก คู่มือนั้นเกิดการเผยแพร่อย่างแพร่หลายแม้ไม่ได้พิมพ์เป็นหนังสือที่วางตลาดขายทั่วไป และในที่สุดก็ได้รับการพิมพ์เป็นหนังสือโดยวิทยาลัยแพทย์อเมริกัน (American College of Medicine) ในปี ค.ศ. 1992 ส่วนในงานพิมพ์เผยแพร่ คุณหมอเริ่มใช้คำว่า "evidence-based" เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1990 ในบทความของ Journal of the American Medical Association (วารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน) (JAMA) ที่คุณหมอได้กำหนดหลักการออกแบบแนวทางการปฏิบัติทางคลินิก และนโยบายระดับชุมชน ซึ่งคุณหมออธิบายไว้ว่า

กำหนดหลักฐานที่มีอยู่อย่างชัดแจ้งเกี่ยวข้องกับนโยบาย และผูกนโยบายนั้นไว้กับหลักฐาน ปักหลักนโยบายหนึ่ง ๆ อย่างจงใจ ไม่ใช่กับข้อปฏิบัติที่ใช้ในปัจจุบันหรือความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญ แต่กับหลักฐานการทดลอง นโยบายนั้นต้องสอดคล้องกับและได้รับการสนับสนุนจากหลักฐาน หลักฐานที่เกี่ยวข้องกันต้องมีการสืบหา กำหนด และวิเคราะห์ ผู้กำหนดนโยบายต้องทำการตัดสินว่า นโยบายนั้นเหมาะสมกับหลักฐานหรือไม่ (และ) ต้องมีการบันทึกเหตุผล (นั้น)

คุณหมอได้กล่าวถึงนโยบาย "อาศัยหลักฐาน" ในบทความอื่น ๆ ที่พิมพ์ใน JAMA ในต้นปี ค.ศ. 1990 โดยเป็นส่วนของชุดบทความ 28 บทความ ที่พิมพ์ใน JAMA ในระหว่างปี ค.ศ. 1990-1997 เกี่ยวกับระเบียบวิธีเชิงรูปนัย (formal method) ในการออกแบบแนวทางการปฏิบัติและนโยบายระดับชุมชน

ส่วนคำว่า "evidence-based medicine" เริ่มมีการใช้ต่อมาอีกเล็กน้อย ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาแพทย์ การใช้คำนี้มีมูลฐานมาจากวิทยาการระบาดเชิงคลินิก ในเทอร์มฤดูใบไม้ตกของปี ค.ศ. 1990 ศาสตราจารย์ น.พ. กอร์ดอน กายแอ็ตต์ ใช้คำนี้พรรณนาโปรแกรมการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ (รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา) สำหรับผู้สนใจและนักศึกษาใหม่ อีกสองปีต่อมา ศ. กายแอ็ตต์และคณะ ได้พิมพ์เผยแพร่คำนี้เป็นครั้งแรก ที่พรรณนาวิธีการใหม่ในการสอนนักศึกษาแพทย์ ในปี ค.ศ. 1996 น.พ. เดวิด แซ็คเก็ตต์และคณะ ได้ทำคำนิยามของ "evidence-based medicine" ให้ชัดเจนขึ้นโดยกำหนดว่าเป็น

การใช้หลักฐานปัจจุบันที่ดีที่สุดอย่างระมัดระวัง ชัดเจน และเหมาะสม ในการตัดสินวินิจฉัยวิธีการรักษาสำหรับคนไข้รายบุคคล ... การปฏิบัติตามแพทย์ศาสตร์อาศัยหลักฐานหมายถึง การประมวลความชำนาญทางคลินิกของ (แพทย์)รายบุคคล กับหลักฐานทางคลินิกภายนอกที่ดีที่สุดที่ได้มาจากงานวิจัยแบบเป็นระบบ (systematic research)

สาขานี้ของ EBM มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะปรับปรุงการตัดสินวินิจฉัยของแพทย์แต่ละคน ให้มีกฎระเบียบและเป็นกลาง ๆ เพิ่มยิ่งขึ้น ให้สะท้อนถึงหลักฐานที่มาจากงานวิจัยเพิ่มยิ่งขึ้น คือ แพทย์ต้องใช้ข้อมูลที่ได้ในระดับชุมชน ในการรักษาคนไข้รายบุคคล โดยเข้าใจว่า แพทย์แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญทางคลินิกที่ปรากฎโดย

สาขานี้ของ EBM มีมูลฐานจากวิทยาการระบาดเชิงคลินิก (clinical epidemiology) ซึ่งเป็นสาขาที่สอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ปฏิบัติ ให้ใช้ผลงานวิจัยทางคลินิกและทางวิทยาการระบาดในการรักษาคนไข้ ระเบียบวิธีต่าง ๆ ได้มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อแพทย์ปฏิบัติเป็นบทความชุด 25 บทความชื่อว่า "Users’ Guides to the Medical Literature (คู่มือสิ่งตีพิมพ์ทางการแพทย์)" พิมพ์ใน JAMA ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2000 เป็นผลงานของคณะทำงานการแพทย์อาศัยหลักฐาน (Evidence based Medicine Working Group) ที่มหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ (รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา)

นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนิยามอื่น ๆ ของ evidence-based medicine ที่ใช้ในระดับคนไข้รายบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1995 โรเซ็นเบอร์กและโดนัลด์ให้ความหมายว่า

กระบวนการสืบหา ประเมิน และใช้ผลงานวิจัยที่ทันสมัยเป็นฐาน ของการวินิจฉัยตัดสินใจทางการแพทย์

การใช้ค่าประมาณความเสี่ยงและประโยชน์ (คือผลเสียและผลดี) เชิงคณิต ที่ได้มาจากผลงานวิจัยคุณภาพสูงที่ใช้ตัวอย่างเหมาะกับชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินทางคลินิก ในการวินิจฉัย การตรวจ และการบริหารคนไข้รายบุคคล

มีนิยามอื่น ๆ ที่มีการเสนอสำหรับคำว่า evidence-based medicine ระดับคนไข้รายบุคคล แต่นิยามที่อ้างอิงกันมากที่สุดเป็นของ น.พ. เดวิด แซ็คเก็ตต์และคณะ (ค.ศ. 1996)

ความหมายดั้งเดิมสองอย่างที่กล่าวมาแล้วเน้นความแตกต่างที่สำคัญเกี่ยวกับ evidence-based medicine ที่ใช้ในระดับชุมชนและคนไข้รายบุคคล เมื่อกำลังออกแบบนโยบายเช่นแนวทางการปฏิบัติที่จะใช้กับคนไข้เป็นจำนวนมาก ที่แพทย์แต่ละคนไม่มีโอกาสจะเปลี่ยน การกำหนดนโยบายอาศัยหลักฐานเน้นให้มีหลักฐานที่ดี เกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการตรวจวิธีการรักษาที่เป็นประเด็น ส่วนในการตัดสินวินิจฉัยสำหรับคนไข้รายบุคคล จะต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้เพิ่ม ซึ่งแพทย์แต่ละคนจะมีความยืดหยุ่นในการแปลผลงานวิจัย เพื่อใช้ร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์ ในปี ค.ศ. 2005 โดยเป็นการยอมรับว่ามี EBM สองสาขา น.พ.เดวิด เอ็ดดี้เสนอคำนิยามที่ครอบคลุมทั้งสองสาขาคือ

Evidence-based medicine เป็นกลุ่มหลักการและระเบียบวิธีที่ใช้เพื่อให้การตัดสินวินิจฉัย แนวทางการปฏิบัติ และนโยบายอื่น ๆ ทางการแพทย์ อาศัยหลักฐานที่ดีเกี่ยวกับอิทธิผลและประโยชน์ (ของวิธีการรักษา) คล้องจองกับหลักฐาน ในขอบเขตระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สาขาทั้งสองของ EBM ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1980 สมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society) ได้เริ่มยืนยันให้ทำงานเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและนโยบาย โดยมีหลักฐานเพื่อยืนยันอิทธิผล ในปี ค.ศ. 1984 USPSTF (คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการบริการป้องกัน [ทางสุขภาพ] ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสระของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา เริ่มการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อการแทรงแซงป้องกันเพื่อสุขภาพโดยใช้หลักอาศัยหลักฐาน ในปี ค.ศ. 1985 กลุ่มประกันสุขภาพ Blue Cross Blue Shield Association เริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดอาศัยหลักฐาน ในการจ่ายค่าคุ้มครองสุขภาพสำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 สมาคมแพทย์เฉพาะทางต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยแพทย์อเมริกัน (American College of Medicine) และองค์กรสุขภาพอื่น ๆ เช่น สมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่อาศัยหลักฐานเป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1991 Kaiser Permanente ซึ่งเป็น managed care organization ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เริ่มใช้แนวทางปฏิบัติอาศัยหลักฐาน ในปี ค.ศ. 1991 ริชาร์ด สมิธ เขียนบทบรรณาธิการใน BMJ เริ่มไอเดียของการใช้นโยบายอาศัยหลักฐานในสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1993 Cochrane Collaboration เริ่มสร้างเครือข่ายบุคคลากรใน 13 ประเทศเพื่อทำงานปริทัศน์แบบเป็นระบบ (systematic review) และตั้งแนวทางการปฏิบัติแบบเป็นระบบ (systematic guideline) ในปี ค.ศ. 1997 สำนักงานวิจัยและคุณภาพการรักษาสุขภาพ (Agency for Healthcare Research and Quality ตัวย่อ AHRQ) ของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งศูนย์การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน (Evidence-based Practice Centers) เพื่อทำรายงานเกี่ยวกับหลักฐาน และทำการประเมินเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติ ในปีเดียวกัน AHRQ ได้ร่วมกับสมาคมแพทย์อเมริกัน (AMA) และสมาคมผู้ขายประกันสุขภาพ America's Health Insurance Plans ได้จัดตั้งฐานข้อมูล National Guideline Clearinghouse ที่เก็บเอกสารเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและนโยบายอาศัยหลักฐาน ใน ปี ค.ศ. 1999 องค์กร National Institute for Clinical Excellence (NICE) ที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์เป็น 4 ประเด็น ก็ได้จัดตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักร

ในด้านการศึกษาการแพทย์ ได้มีการจัดโปรแกรมสอน EBM ในมหาวิทยาลัยแพทย์ในประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 ในสหราชอาณาจักรพบว่า เกิดกว่าครึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ในสหราชอาณาจักรมีโปรแกรมการสอนเกี่ยวกับ EBM แม้ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างระเบียบวิธีและเรื่องที่สอนเป็นอย่างมาก และโปรแกรมการสอน EBM นั้นถูกจำกัดโดยเวลาที่มีของหลักสูตรการแพทย์ ผู้สอนที่รับการฝึกแล้ว และเครื่องมือหนังสือที่ใช้ในการสอน มีการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมากที่ช่วยแพทย์ปฏิบัติให้เข้าถึงหลักฐานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 บริษัท UpToDate ได้รับจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยแพทย์ในการตัดสินวินิจฉัยการพยาบาลให้กับคนไข้ ในปี ค.ศ. 1993 Cochrane Center เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่งานปริทัศน์เกี่ยวกับหลักฐานทางแพทย์ ฺในปี ค.ศ. 1995 บริษัท BMJ Publishing Group ซึ่งตีพิมพ์ BMJ ได้เริ่มนิตยสารประจำทุก 6 เดือนชื่อว่า Clinical Evidence (หลักฐานทางคลินิก) ที่เผยแพร่สาระสำคัญอย่างย่อ ๆ เกี่ยวกับหลักฐานปัจจุบันที่มี ในเรื่องปัญหาสำคัญทางคลินิกเพื่อแพทย์รักษา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีโปรแกรมอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นเพื่อทำการเข้าถึงหลักฐานของแพทย์ให้ง่ายขึ้น

คำว่า evidence-based medicine ปัจจุบันใช้หมายถึงทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบแนวทางการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน และโปรแกรมที่ใช้สอนแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน โดยปี ค.ศ. 2000 คำว่า evidence-based medicine เป็นคำที่ใช้อย่างครอบคลุมโดยเน้นหลักฐานในการตัดสินวินิจฉัยทั้งในระดับชุมชนและคนไข้รายบุคคล ในปีต่อ ๆ มา คำว่า evidence-based ก็ได้ขยายกว้างออกไปในเขตอื่น ๆ ของวงการแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น evidence-based health services หมายถึงการบริการทางสุขภาพ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระดับสมรรถภาพของผู้มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการบริการด้านสุขภาพให้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มระดับการใช้งานของ EBM ในระดับองค์กรและสถาบัน นอกจากนั้นแล้ว แนวคิดนี้ก็เริ่มขยายออกไปนอกวงการรักษาพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น ในสุนทรพจน์รับตำแหน่งประธานราชสมาคมสถิติศาสตร์ (Royal Statistical Society) ในปี ค.ศ. 1996 ประธานเอเดรียน สมิธเสนอว่า ควรจะเริ่มใช้นโยบายอาศัยหลักฐานในเรื่องการศึกษา การจำขังนักโทษ การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และในหน่วยอื่น ๆ ของรัฐ

สาขาต่าง ๆ ของ evidence based medicine ล้วนแต่เน้นความสำคัญในการใช้หลักฐาน จากผลงานวิจัยรูปนัยเข้ากับนโยบายและการตัดสินวินิจฉัยทางการแพทย์ แต่ว่า ก็ยังมีความแตกต่างกันว่า หลักฐานว่ามีประสิทธิผลต้องมีคุณภาพดีแค่ไหนก่อนที่จะมีการใช้ในแนวทางการปฏิบัติ และในนโยบายความคุ้มครองตามสัญญาประกันสุขภาพ และก็ต่างกันในระดับที่นำมาใช้ได้เพื่อการตัดสินวินิจฉัยในรายบุคคล ดังนั้น แนวทางการปฏิบัติและนโยบายอาศัยหลักฐาน อาจจะไม่ง่ายที่จะใช้ร่วมกับการแพทย์ตามประสบการณ์ ที่โน้มไปทางการตัดสินวินิจฉัยทางคลินิกตามจริยธรรม และอาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง ความแข่งขัน และ "วิกฤติการณ์" ที่ไม่ได้ตั้งใจ

ผู้นำทางความรู้ (knowledge leader) ที่มีประสิทธิผลมากที่สุด (คือผู้จัดการขององค์กร และแพทย์ผู้นำทางคลินิก) จะใช้ความรู้ที่เปิดกว้างเกี่ยวกับการบริหาร เพื่อการตัดสินใจ ไม่ได้ใช้แต่หลักฐานรูปนัยเท่านั้น แนวทางปฏิบัติอาศัยหลักฐานอาจจะเป็นมูลฐานของ governmentality (คือการปกครองที่แบ่งออกเป็นผู้ปกครอง-ผู้รับการปกครอง) ในระบบสาธารณสุข ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปกครองควบคุมในระบบที่มีความเหินห่างระหว่างผู้ปกครอง-ผู้รับการปกครอง

แม้ว่า จะมีการพิจารณาว่า EBM เป็น gold standard (มาตรฐานทอง) ของการแพทย์ทางคลินิก แต่การใช้ EBM ก็ยังมีขอบเขตจำกัดและข้อวิจารณ์ ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่แก้ไม่ได้แม้ว่าจะได้มีการศึกษาและอภิปรายเกินกว่า 2 ศตวรรษแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

วิธีทดสอบสองวิธีคือ Berlin questionnaire (แบบสอบถามเบอร์ลิน) และ Fresno Test (การทดสอบเฟรซโน) เป็นวิธีการที่แสดงผลได้ตรงที่สุด และได้มีการใช้แล้วในสถานการณ์หลายรูปแบบ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ? อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม ? อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ? อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ? อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ? อายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ ? อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ? อายุรศาสตร์โรคเลือด ? อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ? อายุรศาสตร์โรคไต ? ตจวิทยา ? ประสาทวิทยา ? เวชบำบัดวิกฤต

กุมารศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ทรวงอก ? ประสาทศัลยศาสตร์ ? ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ? ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ? ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ? ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ? ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ? ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

กุมารเวชศาสตร์ตจวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ? กุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา ? กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม ? กุมารเวชศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ? กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ ? กุมารเวชศาสตร์โรคไต ? กุมารเวชศาสตร์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ ? กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ? กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ ? กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ ? โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์การบิน, เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก, สาธารณสุขศาสตร์, สุขภาพจิตชุมชน) ? เวชศาสตร์ครอบครัว ? รังสีวิทยา (รังสีวิทยาวินิจฉัย, รังสีร่วมรักษาของลำตัว, รังสีร่วมรักษาระบบประสาท, รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา, เวชศาสตร์นิวเคลียร์, ภาพวินิจฉัยชั้นสูง, ภาพวินิจฉัยระบบประสาท) ? วิสัญญีวิทยา (วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่ และทรวงอก, วิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท) ? จิตเวชศาสตร์ ? จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ? นิติเวชศาสตร์ ? พยาธิวิทยา ? พยาธิวิทยาคลินิก ? พยาธิกายวิภาค ? เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ? จักษุวิทยา ? โสตศอนาสิกวิทยา ? เวชศาสตร์ฟื้นฟู ? ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ ? เวชศาสตร์การกีฬา ? เวชศาสตร์เขตเมือง ? เภสัชวิทยาและพิษวิทยา

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (จุลกายวิภาคศาสตร์, ชีวเคมี, จุลชีววิทยาคลินิก, ปรสิตวิทยา, ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก, เวชศาสตร์การบริการโลหิต) ? กายวิภาคศาสตร์ ? สรีรวิทยา ? เวชพันธุศาสตร์ ? คัพภวิทยา ? เวชศาสตร์การโรงพยาบาล ? ประวัติศาสตร์การแพทย์ ? แพทยศาสตรศึกษา ? โรงเรียนแพทย์ ? การแพทย์แผนไทย ? แพทย์ (แพทยศาสตรบัณฑิต) ? ผู้ช่วยแพทย์ ? สาธารณสุข


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301