ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เลขาธิการพรรคประชาชนปฏิวัติลาว

พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (ลาว: ????????????????????, พักปะซาซนปะติวัดลาว; อังกฤษ: Lao People’s Revolutionary Party) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่จัดตั้งรัฐบาลในลาว มีกำเนิดจากพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2473 จนสลายตัวไปใน พ.ศ. 2494 เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ 3 ประเทศอินโดจีนมีพรรคเป็นของตนเอง พรรคได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2498 ใช้ชื่อว่า "พรรคประชาชนลาว" โดยเป็นองค์กรแกนนำของแนวลาวฮักซาดและขบวนการปะเทดลาว พรรคประชาชนลาวได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515

หลังจากประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 แล้ว เลขาธิการพรรคท่านแรกคือท่านไกสอน พมวิหาร ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2498 จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2535 กองประชุมพรรคจึงได้เลือกท่านคำไต สีพันดอน เป็นประธานพรรค ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2549 และกองประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 ของพรรค ได้เลือกตั้งท่าน จูมมะลี ไซยะสอน เป็นเลขาธิการคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และเป็นประธานประเทศคนปัจจุบัน จนถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559 กองประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 ของพรรค ได้เลือกตั้งท่าน บุนยัง วอละจิด เป็นเลขาธิการคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งเป็นรองประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน แทนที่ท่าน จูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศคนปัจจุบัน

เริ่มต้นมาจากคณะพรรคแคว้นลาว ซึ่งเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ลักทธิมาร์กซ์-เลนิน โดยท่าน มะหาคำแสน เมื่อปี พ.ศ. 2478 ภายใต้การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ของท่านโฮจิมินห์ ได้ดำเนินการปลุกระดมประชาชนให้มีน้ำใจรักชาติ ในปี พ.ศ. 2488 โดยอาศัยโอกาสที่เกิดจากชัยชนะของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับการลุกฮือขึ้นในทั่วประเทศของประชาชนเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 ประชาชนลาวภายใต้การนำพาของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ก็ได้ดำเนินการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจการปกครองในทั่วประเทศมาได้อย่างมีชัย ประกาศความเป็นเอกราชของชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติลาวต่อโลก เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2488

ปี พ.ศ. 2489 พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสได้กลับมารุกรานลาวเป็นครั้งที่ 2 โดยนำพาของคณะพรรคแคว้นลาว ได้เด็ดเดี่ยวปลุกระดมปวงชนลาวทั้งชาติ ลุกขึ้นต่อสู้ โดยร่วมสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับกำลังประกอบอาวุธของประชาชนเวียดนาม และกัมพูชา ตัดสินใจดำเนินการต่อสู้ยาวนานรอบด้าน เพื่อตีชนะศัตรูผู้รุกราน ฐานที่มั่นต่อต้านได้ก่อรูปขึ้นเป็นตัวตน ในหลายท้องถิ่นและหลายบริเวณ โดยนำพาของสหายไกสอน พมวิหาน ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2492 กองทัพลาวอิสระ ซึ่งคือกองทัพปฏิวัติ ได้รับการสร้างตั้งขึ้น ในเขตลาวฮุ่ง เมืองเซียงค้อ แขวงหัวพัน (ต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพประชาชนลาวในปัจจุบัน)

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2493 กองประชุมใหญ่แนวลาวต่อต้านทั่วประเทศได้เปิดขึ้นในแห่งหนึ่งของแขวงหัวพัน กองประชุมได้วางแนวทางปฏิวัติ เป็นเอกภาพในการต่อสู้กู้ชาติ หลังจากการพ่ายแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟูของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส พวกเขาจำต้องนอมจำนน ลงนามในสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2497 รับรู้ความเป็นเอกราชของสามชาติอินโดจีน รับรู้ฐานะถูกกฎหมายของบรรดากำลังประกอบอาวุธปฏิวัติ และรับรู้สองแขวงภาคเหนือ ได้แก่ หัวพัน และผ้งสาลี เป็นเขตคุ้มครองโดยตรงของกองกำลังปฏิวัติ เป็นเงื่อนไขให้พรรคต้องดำเนินการอย่างเปิดเผย กองประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ระหว่างวันที่ 10-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 จึงได้ตกลงให้สร้างตั้งพรรคของแต่ละประเทศขึ้น เพื่อนำพาการปฏิวัติของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อไปสู่ชัยชนะอย่างสมบูรณ์

กองประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 ที่เขตปลดปล่อยซำเหนือ ได้เปิดขึ้นอย่างปิดลับ โดยมี 25 สหาย เป็นผู้แทนให้สมาชิกพรรคทั่วประเทศจำนวน 420 สหายเข้าร่วม กองประชุมได้ลงมติสร้างตั้งพรรคของตรขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "พรรคประชาชนลาว" ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภารกิจของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และวีรบุรุษที่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติ เป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมกร และผู้ออกแรงงานเผ่าต่างๆ ในทั่วประเทศ กองประชุมได้เลือกตั้งคณะนำของพรรค อันมี 5 สหาย โดยสหาย ไกสอน พมวิหาน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคณะชี้นำศูนย์กลางพรรค เลขาธิการคณะพรรคทหาร และผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองประชุมได้วางนโยบายพื้นฐานและโครงการของพรรควางออก 12 ข้อ ซึ่งหมายจะสืบต่อต้านพวกจักรวรรดินิยมล่าเมืองขึ้น และลูกมือ ต่อสู้ทวงให้รัฐบาลราชอาณาจักรต้องจริงใจร่วมมือกับกำลังฝ่ายปะเทดลาว เพื่อปฏิบัติสัญญาหยุดยิง ปรับปรุงสันติภาพ ปฏิบัติสิทธิ์เสรีภาพประชาธิปไตย ดำเนินการเลือกตั้งในทั่วประเทศอย่างเสรี รวมประเทศลาวเป็นเอกภาพ สร้างตั้งรัฐบาลผสม สร้างตั้งแนวร่วมเอกภาพแห่งชาติอย่างกว้างขวาง ก่อสร้างและปรับปรุงกำลังประกอบอาวุธ ให้กลายเป็นกองทัพประชาชน เพื่อปกปักรักษาเขตที่มั่น เป็นกำลังหนุนหลังให้แก่การต่อสู้ทางการเมือง ทั้งเป็นเสาค้ำให้การปกปักรักษาสันติภาพ ออกแรงก่อสร้างพรรคให้กลายเป็นพรรคที่เข้มแข็งของชนชั้นกรรมกร และผู้ออกแรงงาน เพื่อให้มีความสามารถเพียงพอในการนำพาการปฏิวัติลาวหันไปสู่ชัยชนะสุดท้าย

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2499 กองประชุมสร้างตั้งแนวลาวรักชาติได้เปิดขึ้น โดยมีผู้แทน 200 กว่าคน ซึ่งเป็นขีดหมายใหม่ของความสามัคคีของชนชั้นต่างๆ ที่อ้อมข้างพรรค และในกองประชุมดังกล่าว ได้เปลี่ยนชื่อแนวลาวอิสระ เป็นแนวลาวรักชาติ พรรคได้นำพาประชาชนลาวบรรดาเผ่า ทำลายกลอุบายก่อสงครามกลางเมืองของพวกเขา ที่หมายจะดับสูญกองกำลังรักชาติ และพาไปถึงการลงนามในสนธิสัญญาเวียงจันทน์ พ.ศ. 2500 เพื่อสร้างตั้งรัฐบาลประสมแห่งชาติครั้งที่ 1 โดยมีผู้แทนของแนวลาวรักชาติเข้าร่วม เพื่อปฏิบัติตามสนธิสัญญาเวียงจันทน์ พรรคได้นำกองทหารของตน 2 กองพัน คือกองพันที่ 1 และ 2 เข้ารวมลาว ส่วนกำลังที่เหลือ ได้กลับสู่ภูมิลำเนาของแต่ละคน เพื่อปลุกระดมขวนขวายประชาชน ก่อสร้างรากฐาน แย่งเอากำลังสนับสนุนจากประชาชน สนับสนุนการต่อสู้ทางด้านการเมือง สมทบกับการเคลื่อนไหวของรัฐบาลประสม อันทำให้อิทธิพลของกำลังปฏิวัติแผ่กว้างอย่างรวดเร็ว

โดยความกลัวเติบใหญ่ของกำลังปฏิวัติ และได้รับความปราชัยของในกลอุบายล่อเสือออกจากถ้ำ หันเปลี่ยนโดยสันติ พวกจักรวรรดินิยมได้ใช้ความรุนแรงด้วยกำลังอาวุธ ต้านกับกำลังปฏิวัติ พวกเขาได้แทรกแทรงเข้าในกิจการภายในของลาว ในปี พ.ศ. 2501 พวกเขาได้ใช้กลุ่มฝ่ายขวาโค่นล้มรัฐบาลประสม ทำลายสัญญาเวียงจันทน์ จับกุมคุมขังบรรดาผู้นำแนวลาวรักชาติ เข่นฆ่านักรบปฏิวัติ ปิดล้อมสองกองพันที่เข้ารวมลาว ที่เซียงขวาง และทุ่งไหหิน

ต่อหน้าสภาพการตึงเครียดในเวลานั้น พรรคได้เปลี่ยนทิศการต่อสู้ สบทบด้วยการต่อสู้ทางด้านการเมือง และการต่อสู้ทางด้านอาวุธ มาในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 กองพันที่สองที่ได้ฝ่าวงปิดล้อมของศัตรูกลับสู่ฐานที่มั่นปฏิวัติได้อย่างองอาจกล้าหาญ จากนั้นถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 บรรดาผู้นำได้หลบหนีออกจากค่ายคุมขังกลับสู่ฐานที่มั่นปฏิวัติอย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ พวกจักรวรรดินิยมและพวกขวาจัดได้เพิ่มทวีปราบปรามกองกำลังปฏิวัติอย่างหนักหน่วง แต่การกระทำของพวกเขานั้น ยิ่งเพิ่มทวีความเคียดแค้นให้ประชาชนบรรดาเผ่า ตลอดถึงภายในของพวกเขาเอง ก่อเกิดมีความขัดแย้งกันเอง ก่อให้เกิดมีการรัฐประหารขึ้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 พรรคได้ใช้โอกาสดังกล่าว โดยมีแผนนโยบายสนับสนุนกองกำลังรัฐประหาร สมทบด้วยสภาพการดังกล่าว กำลังปฏิวัติได้เปิดสมรภูมิปลดปล่อยเอาทุ่งไหหินเซียงขวาง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2504 เปิดกว้างฐานที่มั่นปฏิวัติ ขยายเขตปลดปล่อยติดต่อแต่เหนือถึงใต้ในทั่วประเทศ พรรคได้ปลุกระดมปวงชนทำลายการโจมตีของศัตรู ปรับปรุงเพิ่มทวีความสามัคคีระหว่างแนวลาวรักชาติ และกำลังเป็นกลางรักชาติ ซึ่งแสดงออกในกองประชุมประสมการเมืองทั่วประเทศ

ด้วยน้ำใจรักชาติอันแรงกล้า พรรคและประชาชนลาวได้ต่อสู้จนศัตรูได้รับความปราชัยอย่างติดต่อกัน ได้ชัยชนะเป็นก้าวๆ สามารถทำลายทฤษฎีของจักรพรรดิล่าเมืองขึ้นแบบใหม่ ที่ใช้คนอินโดจีนฆ่าคนอินโดจีน ให้ปราชัยลง

ด้วยสภาพการอันไม่เอื้ออำนวย เพราะการผ่อนกำลังระหว่างพรรคและศัตรู หวังเป็นผลดีให้กับพรรค กองประชุมได้เปิดขึ้นในวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ที่เมืองเวียงไซ แขวงหัวพัน โดยมีผู้แทน 125 สหาย ที่เป็นตัวแทนให้แก่สมาชิกพรรค 21,000 สหาย กองประชุมได้วางหน้าที่พื้นฐานของการปฏิวัติลาว คือการสามัคคีประชาชนลาวบรรดาเผ่า โค่นล้มจักรวรรดินิยมผู้รุกราน และชนชั้นศักดินา สำเร็จการปฏิวัติชาติประชาธิปไตยในทั่วประเทศ กองประชุมใหญ่ได้คัดเลือกคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรค รวมมี 23 สหาย คัดเลือกกรมการเมืองมี 7 สหาย และคณะเลขา 4 สหาย ไกสอน พมวิหาน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคอีกสมัย ในกองประชุมครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนชื่อพรรคประชาชนลาว เป็นพรรคประชาชนปฏิวัติลาวจนถึงปัจจุบัน

โดยปฏิบัติตามหน้าที่ใหม่ของกองประชุมครั้งที่ 2 ของพรรควางออกนั้น กองทัพและประชาชนได้สืบต่อเอาชัยชนะอีกก้าวหนึ่ง คือสามารถทำให้สหรัฐฯ และรัฐบาลราชอาณาจักรจำต้องลงนามในสัญญาเวียงจันทน์ พ.ศ. 2516 เพื่อฟื้นฟูสันติภาพ และปฏิบัติความถูกต้องปรองดองชาติในลาว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 วันที่ 14 กันยายน ปีเดียวกัน อนุสัญญาว่าด้วยการสร้างตั้งรัฐบาลประสมชั่วคราวแห่งชาติ และจัดตั้งคณะมนตรีผสมการเมืองแห่งชาติ ได้ลงนามกันระหว่างสองฝ่ายที่นครเวียงจันทน์ ทำให้สงครามกลางเมืองในลาวยุติลง บรรดาผู้นำแนวลาวรักชาติได้เข้าสู่นครหลวงเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง เพื่อสร้างตั้งรัฐบาลประสมชั่วครามแห่งชาติ และคณะมนตรีผสมการเมืองแห่งชาติ กองทัพปฏิวัติได้เข้าสู่สองนครเป็นกลาง การลุกฮือขึ้นยึดอำนาจของประชาชนได้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในที่สุดโอกาสเอาชัยชนะสมบูรณ์ก็ได้มาถึง โดยกำแน่นกาละโอกาสพันปีมีครั้งหนึ่ง คือสภาพการของโลกเอื้ออำนวย โดยเฉพาะในเวียดนามและกัมพูชา พรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้เรียกร้องให้ทั่วกองทัพ ทั่วปวงชนลาว ปฏิบัติยุทโธบาบในระยะใหม่ โดยปฏิบัติ 3 บาดค้อนยุทธศาสตร์ โดยปฏิบัติตามคำเรียกร้องของศูนย์กลางพรรค ประชาชนลาวได้สามัคคีลุกขึ้นยึดอำนาจการปกครอง ทำลายระบอบการปกครองราชอาณาจักรในทั่วประเทศ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ประชาชนลาวได้ทำลายอำนาจการปกครองได้ทุกแขวง ในวันที่ 23 สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้โค่นล้มอำนาจการปกครองในนครเวียงจันทน์ และสร้างตั้งอำนาจการปกครองปฏิวัติขึ้นแทน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406