ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เรือหลวงจักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศร (อังกฤษ: HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม[N 1] ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย

เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล

กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวงแบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Baz?n-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์ เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต

เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเองอาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง

เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตรสามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน มีสกีจั๊ม 12? สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว

ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน

ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว

โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง

ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง

เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร

ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ

ในวันที่ 4-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เรือหลวงจักรีนฤเบศรออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย

ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน "โปเชนตง 1" และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน "โปเชนตง 2" โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง 1

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศรเรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศรพร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406