ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ

เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ (ญี่ปุ่น: ????? Yamato-gata senkan ?) เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) ดำเนินการจัดสร้างขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 72,000 ตัน ทำให้ยะมะโตะเป็นชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เรือชั้นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460 มม. (18.1 นิ้ว) 9 กระบอกซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการติดตั้งให้กับเรือรบ กระสุนปืนของแต่ละกระบอกหนัก 1,360 กก. มีพิสัยการยิงไกลกว่า 42 กม. เรือประจัญบานของชั้นนี้สร้างแล้วเสร็จตามแผน 2 ลำ (ยะมะโตะ และ มูซาชิ) ส่วนลำที่ 3 (ชินะโนะ) ถูกดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระหว่างการก่อสร้าง

จากภัยคุกคามจากเรือดำน้ำและเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ทำให้ทั้งยะมะโตะและมูซาชิใช้เวลาส่วนใหญ่ในฐานทัพเรือที่ประเทศบรูไน, ทรูก (Truk), และ คุเระ (Kure) โดยจัดวางกำลังหลายโอกาสเพื่อรับมือกับการตีโฉบฉวย (raid) ฐานทัพญี่ปุ่นของสหรัฐ ก่อนเข้าร่วมในยุทธนาวีอ่าวเลย์เต โดยอยู่ในกองกำลังกลางใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอกคุริตะ (Kurita) มูซาชิอับปางลงระหว่างการรบกับเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ชินะโนะจมลงใน 10 วันหลังจากการขึ้นระวางในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1944 โดยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส อาร์เชอร์-ฟิช (USS Archer-Fish) ส่วนยะมะโตะอับปางจมลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ระหว่างปฏิบัติการเท็งโง

วันก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดครองญี่ปุ่น นายทหารหน่วยรบพิเศษของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำลายบันทึก ภาพวาด และรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะไปเกือบทั้งหมด เหลือแต่เพียงบันทึกลักษณะและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน การทำลายเอกสารมีผลอย่างมาก จนถึง ค.ศ. 1948 ภาพถ่ายของยะมะโตะและมูซาชิมีเพียงที่ถ่ายโดยเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐที่มีส่วนในการโจมตีเรือรบทั้งสองเท่านั้น แม้จะมีรูปถ่ายและข้อมูลจากเอกสารที่เหลือรอดมาจากการทำลายถูกเปิดเผยมาบ้างเมื่อเวลาผ่านไป แต่การสูญเสียบันทึกส่วนสำคัญทำให้การศึกษาเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเป็นไปค่อนข้างยากยิ่ง เพราะจากการขาดเอกสารข้อมูลนี่เอง ทำให้ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับยะมะโตะนั้น มาจากการสัมภาษณ์นายทหารญี่ปุ่นหลังญี่ปุ่นยอมจำนน

การออกแบบเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจากการเคลื่อนไหวที่ต้องการขยายดินแดน (expansionist) ภายในรัฐบาลญี่ปุ่น อำนาจอุตสหกรรมของญี่ปุ่น และความต้องการกองทัพเรืออันทรงพลังเพียงพอจะคุกคามประเทศที่มีแนวโน้มเป็นคู่แข่งได้

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงบลง กองทัพเรือหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้มีโครงการที่จะก่อสร้างและขยายกองทัพอย่างต่อเนื่องในระหว่างสงครามโลกครั้งนั้น ด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาลที่เป็นผลจากโครงการดังกล่าว กดดันให้บรรดาผู้นำรัฐบาลเริ่มประชุมลดอาวุธ วันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ชาร์ลส์ อีแวนส์ ฮิวส์ (Charles Evans Hughes) ได้เชิญคณะผู้แทนจากประเทศมหาอำนาจทางทะเล ซึ่งประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มายังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อประชุมหารือถึงความเป็นไปได้ในการยุติการแข่งขันนาวิกานุภาพ ซึ่งรวมถึงการลดขนาดและอาวุธของกองทัพเรือ ผลการประชุมรัฐนาวีวอชิงตันในเวลาต่อมาได้ข้อสรุปเป็นสนธิสัญญารัฐนาวีวอชิงตัน (Washington Naval Treaty) ในบรรดาข้อกำหนดจำนวนมากนั้น มีการจำกัดมาตรฐานระวางขับน้ำของเรือรบที่จะสร้างขึ้นใหม่ในอนาคตเป็น 35,000 ตัน และขนาดลำกล้องปืนใหญ่ไม่เกิน 16 นิ้ว (406 มม.) ทั้ง 5 ประเทศตกลงที่จะไม่สร้างเรือหลวงเพิ่มเป็นเวลา 10 ปีและไม่แทนที่เรืออื่นที่สร้างก่อนสนธิสัญญาจนกว่าเรือมีอายุอย่างน้อย 20 ปี

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ความเป็นชาตินิยมอย่างเข้มข้น การเคลื่อนไหวนี้เรียกร้องให้มีการขยายตัวของจักรวรรดิญี่ปุ่นออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การที่จะผดุงจักรวรรดิที่กว้างใหญ่ที่มีระยะถึง 4,800 กม. จากประเทศจีนถึงหมู่เกาะมิดเวย์ จำต้องมีกองเรือขนาดใหญ่จึงจะควบคุมดินแดนญี่ปุ่นได้ แม้ว่าเรือประจัญบานทั้งหมดของญี่ปุ่นที่สร้างก่อนชั้นยะมะโตะจะสร้างเสร็จสิ้นก่อนปี ค.ศ. 1921 โดยตามข้อตกลงในสนธิสัญญานาวีวอชิงตันที่ห้ามปรับปรุงเรือที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ทั้งหมดก็ถูกบรณะหรือปรับปรุงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองในช่วงในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 ในการปรับปรุงนี้ยังรวมไปถึงความเร็วและอำนาจการยิงที่ญี่ปุ่นมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการพิชิตและปกป้องในความทะเยอทะยานที่จะเป็นจักรวรรดิ เมื่อญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติในปี ค.ศ. 1934 จากกรณีมุกเดน และประกาศยกเลิกสนธิสัญญาทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเคยทำไว้ ทำให้การออกแบบเรือประจัญบานไม่ถูกจำกัดตามสนธิสัญญาและสามารถสร้างเรือรบที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศมหาอำนาจทางทะเลอื่นๆ

ญี่ปุ่นซึ่งต้องการรักษาอาณานิคมที่ผลิตทรัพยากรไว้ทำให้นำไปสู่ความเป็นไปได้ของการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพอันดับแรกของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็มีอำนาจทางอุตสาหกรรมมากกว่าญี่ปุ่นซึ่งคิด 32.2% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นคือ 3.5% ของการผลิตทั่วโลก นอกจากนี้ สมาชิกคนสำคัญหลายคนของรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกายังสัญญาว่า "จะเอาชนะญี่ปุ่นในการแข่งขันด้านนาวีด้วยอัตราส่วนสามต่อหนึ่ง" ดังนั้น อำนาจทางอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจึงไม่มีหวังที่จะแข่งขันชิงชัยกับสหรัฐอเมริกาได้ ด้วยเหตุนี้ เงื่อนไขการออกแบบเรือประจัญบานลำใหม่จึงต้องเหนือกว่าแบบลำต่อลำเมื่อเทียบกับเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในเรือแบบเดียวกัน เรือประจัญบานที่ออกแบบแต่ละลำต้องมีความสามารถในการต่อสู้กับเรือหลวงฝ่ายศัตรูได้พร้อมกันทีละหลายลำ และต้องไม่มีค่าใช้จ่ายมากเท่ากับสหรัฐอเมริกาในการสร้างเรือประจัญบาน ผู้บัญชากองทัพบกและกองทัพเรือของญี่ปุ่นจำนวนมากหวังว่าเรือเหล่านี้จะขู่ขวัญสหรัฐอเมริกาในเข้าระงับการรุกรานในมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น

การวางแผนสร้างชั้นเรือประจัญบานใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นหลังจากญี่ปุ่นได้ออกจากสันนิบาตชาติและประกาศยกเลิกสนธิสัญญานาวิกวอชิงตันและสัญญารัฐนาวีกรุงลอนดอน จากปี ค.ศ. 1934 ถึง 1936 แบบเรือขั้นต้น 24 แบบก็เสร็จสิ้น แบบขั้นต้นนี้แตกต่างกันอย่างมากในเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ การขับเคลื่อน ระยะทำการ และเกราะ หมู่ปืนหลักมีขนาดอยู่ระหว่าง 460 มม. (18.1 นิ้ว) และ 410 มม. (16 นิ้ว) ขณะที่อาวุธรองประกอบด้วยปืนที่ขนาดต่างกันไม่ว่าเป็น 155 มม. (6.1 นิ้ว) 127 มม. (5.0 นิ้ว) และ 25 มม. (0.98 นิ้ว) การขับเคลื่อนส่วนมากออกแบบให้เป็นเครื่องยนต์ลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลและกังหันไอน้ำ มีหนึ่งแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียวและที่เหลือใช้กังหันไอน้ำเพียงอย่างเดียว ระยะทำการที่ความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.) ต่ำที่สุดคือ 6,000 ไมล์ทะเลในแบบ A-140-J2 ถึงสูงสุด 9,200 ไมล์ทะเลในแบบ A-140A และ A-140-B2 เกราะต่างกันไประหว่างสามารถป้องกันปืนใหญ่ 410 มม.ถึง 460 มม.

หลังจากการพิจารณาทบทวนก็ได้เลือก 2 แบบจาก 24 แบบคือแบบ A-140-F3 และ A-140-F4 ความแตกต่างที่สำคัญคือระยะทำการ (4,900 ไมล์ทะเลกับ 7,200 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต) แบบทั้งถูกนำมาศึกษาในข้อมูลข้นต้นครั้งสุดท้ายซึ่งแล้วเสร็จในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 มีการปรับปรุงแบบขั้นสุดท้ายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1937 โดยพลเรือตรี ฟุกุดะ เคนจิ (Fukuda Keiji) มีระยะทำการ 7,200 ไมล์ทะเลจากการตัดสินใจครั้งสุดท้าย และยกเลิกเครื่องยนต์ลูกผสมดีเซลกับกังหันไอน้ำไปใช้แค่เพียงกังหันไอน้ำ การยกเลิกเครื่องยนต์ดีเซลจากแบบแปลนของเรือนั้นเนื่องมาจากปัญหากับเครื่องยนต์บนเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำชั้น ไทเงอิ (Taigei) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่คล้ายกันกับเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งบนเรือประจัญบานชั้นใหม่ เครื่องยนต์นั้นต้องการ "การซ่อมแซมอย่างมากและการบำรุงรักษาบ่อยครั้ง" เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้สาเหตุเกิดจาก "ข้อบกพร่องในการออกแบบขั้นพื้นฐาน" นอกจากนี้หากเครื่องยนต์เกิดเสียไม่สามารถซ่อมแซมได้ เกราะป้องกันหนา 200 มม.ที่ใช้ปกป้องพื้นที่บริเวณนี้จะกลายเป็นตัวขัดขวางในการที่จะเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่แทนที่เครื่องเก่า

แบบสุดท้ายมีมาตรฐานระวางขับน้ำ 64,000 ตัน มีระวางขับน้ำเต็มที่ 69,988 ตัน ทำให้เป็นแบบชั้นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา ปืนใหญ่หลักในแบบเป็นปืนขนาด 460 มม. 9 กระบอก แบ่งเป็น 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอกซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเรือพิฆาตในยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1930 แบบได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็วจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น มีเสียงคัดค้านจำนวนมากจากนักบินของกองทัพเรือซึ่งต้องการให้สร้างเรือบรรทุกอากาศยานมากกว่าที่จะสร้างเรือประจัญบาน[A 2] ในท้ายที่สุด เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะมีแผนการจะสร้างทั้งสิ้น 5 ลำ

ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนสร้างเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะไว้ทั้งสิ้น 5 ลำใน ค.ศ. 1937 แต่ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์เพียง 3 ลำโดยเป็นเรือประจัญบาน 2 ลำและเรือบรรทุกอากาศยาน 1 ลำ การสร้างเรือทั้งสามเป็นความลับสุดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของอเมริการู้ถึงการดำรงอยู่และข้อมูลลักษณะของเรือ ในข้อเท็จจริงแล้ว สำนักข่าวกรองทหารเรือของสหรัฐอเมริการู้แต่เพียงชื่อของ ยะมะโตะ และ มูซาชิ ในตอนปลายของปี ค.ศ. 1942 ในช่วงแรกนี้สมมติฐานของสำนักข่าวกรองในลักษณะรายละเอียดของเรือค่อนข้างไกลจากความจริงมาก พวกเขาคาดเดาความยาวของเรือได้ถูกต้อง คาดคะเนความกว้างไว้ 110 ฟุต (กว้างจริง 127 ฟุต) และระวางขับน้ำ 40,000–57,000 ตัน (ความเป็นจริง 69,000 ตัน) นอกจากนี้ยังคาดว่าป้อมปืนหลักของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะทั้ง 9 กระบอกมีขนาด 16 นิ้วซึ่งกว่าจะรู้ถึงความจริงก็ถึงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 สี่เดือนหลังจากยะมะโตะอับปาง ทั้ง Jane's Fighting Ships และสื่อตะวันตกได้รายงานถึงลักษณะเรือผิดพลาด ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1944 Jane's Fighting Ships ได้ลงรายการระวางขับน้ำของยะมะโตะและมูซาชิเป็น 45,000 ตัน ทั้ง นิวยอร์กไทมส์ และ Associated Press ก็เหมือนกันรายงานว่าเรือทั้งสองมีระวางขับน้ำ 45,000 ตัน ความเร็ว 30 นอต แม้หลังเหตุการณ์การอับปางของยะมะโตะในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เดอะไทมส์ ของกรุงลอนดอนยังคงให้ข้อมูลว่ามีระวางขับน้ำ 45,000 ตัน อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ของเรือและสมมุติฐานของข้อมูลเรือมีอิทธิพลต่อวิศวกรของกองทัพเรืออเมริกาเป็นอย่างมากในการออกแบบเรือประจัญบานชั้นมอนทานาทั้ง 5 ลำซึ่งสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจการยิงของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ

ยะมะโตะได้รับการสั่งต่อเรือในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1937 วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1940 และขึ้นระวางในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เรือได้ทำการฝึกซ้อมจนกระทั่ง 27 มีนาคม ค.ศ. 1942 เมื่อพลเรือเอก อิโซรกคุ ยามาโมโต้ เห็นสมควรว่าเรือสามารถเข้าปฏิบัติการได้แล้ว โดยเข้าอยู่ในสังกัดหมวดเรือประจัญบานที่ 1 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 ระหว่างยุทธนาวีมิดเวย์ยะมะโตะได้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของกองเรือผสมแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นแต่กลับไม่ได้เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังข้าศึกเลยในระหว่างสงคราม สองปีต่อมา เรือยะมะโตะและเรือมูซาชิซึ่งเป็นเรือในชั้นเดียวกันได้ใช้เวลาส่วนมากจอดอยู่ที่ฐานทัพเรือทรูกและคุเระเป็นระยะๆ มูซาชิได้กลายเป็นเรือธงของกองเรือผสมแทนที่ยะมะโตะ ในระหว่างช่วงเวลานี้ ยะมะโตะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมวดเรือประจัญบานที่ 1 ได้มีโอกาสหลายครั้งในการเข้าร่วมต่อต้านการโจมตีฐานทัพของญี่ปุ่นบนเกาะจากเรือบรรทุกอากาศยานสหรัฐฯ ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1943 เรือได้รับความเสียหายอย่างมากจากตอร์ปิโดด้วยฝีมือของเรือดำน้ำ ยูเอสเอส สเคท (USS Skate) ทำให้ต้องหันหัวกลับไปยังคุเระเพื่อซ่อมแซมและพัฒนาโครงสร้างให้ดีขึ้น

ในปี ค.ศ. 1944 หลังได้รับการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานจำนวนมากและปรับปรุงหมู่ปืนรอง ยะมะโตะได้เข้าร่วมกองเรือที่ 2 ในยุทธนาวีทะเลฟิลิปปิน ทำหน้าที่คุ้มครองหมวดเรือบรรทุกอากาศยานของญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 ที่ยุทธการอ่าวเลย์เต เรือได้ใช้ปืนใหญ่ประจำเรือกับศัตรูเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เรือสามารถช่วยจมเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ยูเอสเอส แกมเบียร์ เบย์ (USS Gambier Bay) และเรือพิฆาต ยูเอสเอส จอนห์ส์ตัน (USS Johnston) ก่อนที่กองกำลังภาคกลางจะถอนตัวจากการรบ ความเสียหายเล็กน้อยที่คุเระในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ทำให้เรือได้รับการปรับปรุงอาวุธต่อสู้อากาศยานใหม่ ยะมะโตะจมลงในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1945 โดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกอากาศยานอเมริการะหว่างปฏิบัติการเท็งโง ถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 10 ลูก ลูกระเบิด 7 ลูกก่อนที่จะจมลง ลูกเรือ 2,498 นายจาก 2,700 นายสูญหาย รวมถึงพลเรือโท เซอีชิ อิโต (Seiichi It?) การอับปางของยะมะโตะถูกมองว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญของชาวอเมริกัน และ ฮานสัน ดับเบิลยู. บาล์ดวิน (Hanson W. Baldwin) บรรณาธิการทางทหารของ นิวยอร์กไทมส์ เขียนไว้ว่า"การจมของยะมะโตะ เรือประจัญบานลำใหม่ของญี่ปุ่น ... เป็นข้อพิสูจน์ที่น่าประทับใจถึงความอ่อนแอของญี่ปุ่นทั้งในอากาศและในทะเล"

มูซาชิได้รับการสั่งต่อเรือในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1937 วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1938 ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และขึ้นระวางในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 เรือได้ทำการซ้อมรบผิวน้ำและต่อต้านอากาศยานที่ฮะชิระจิมะ (Hashirajima) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 มูซาชิได้ขึ้นเป็นเรือธงของกองเรือผสมแทนที่ยะมะโตะซึ่งเป็นเรือในชั้นเดียวกัน มูซาชิได้เคลื่อนย้ายไปมาตามฐานทัพเรือทรูก โยะโกะซุกะ บรูไน และคุเระ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1944 ในวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1944 เรือประสบความเสียหายใกล้กับหัวเรือจากตอร์ปิโดที่ยิงจากเรือดำน้ำสหรัฐฯ ยูเอสเอส ทันนี (USS Tunny) หลังจากเข้าซ่อมแซมและปรับปรุงตลอดทั้งเดือนเมษายน ค.ศ. 1944 มูซาชิได้เข้าร่วมหมวดเรือประจัญบานที่ 1 ในโอะกินะวะ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 มูซาชิเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือที่ 2 มีหน้าที่คุ้มกันเรือบรรทุกอากาศยานของญี่ปุ่นในระหว่างยุทธนาวีทะเลฟิลิปปิน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 เรือได้ออกจากบรูไนไปกับกองกำลังภาคกลางของพลเรือเอก ทะเกะโอะ (Takeo Kurita) เข้าสู่ยุทธการอ่าวเลย์เต มูซาชิอับปางเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ในระหว่างยุทธนาวีทะเลซิบูยัน จากระเบิด 17 ลูกและตอร์ปิโด 19 ลูก ลูกเรือตายและสูญหาย 1,023 นายจาก 2,399 นาย

ชินะโนะแต่เดิมคือเรือรบหมายเลข 110 วางกระดูกงูเป็นลำที่ 3 ในชั้นเรือประจัญบานยะมะโตะ มีการปรับปรุงแบบเล็กน้อย ความหนาของเกราะลดลงเล็กน้อยจากแบบดั้งเดิมซึ่งประกอบไปด้วย เกราะข้างลำเรือ ดาดฟ้า และป้อมปืน การลดน้ำหนักของเรือนี้ทำให้สามารถปรับปรุงส่วนอื่นๆได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนป้องกันของส่วนควบคุมการยิงและตำแหน่งเฝ้าระวัง นอกจากนี้ปืนใหญ่รองได้เปลี่ยนเป็นปืนชนิด 98 ขนาดลำกล้อง 10 ซม./65 (10 cm/65 caliber Type 98) แทนปืนขนาด 12.7 ซม.ที่ใช้บนเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะที่สร้างขึ้น 2 ลำแรก แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่า แต่ก็มีศักยภาพสูงกว่าปืน 127 มม.ในแง่ความเร็วปากลำกล้อง ระยะยิงสูงสุด เพดานยิงต่อต้านอากาศยาน และอัตราการยิงเป็นอย่างมาก

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ที่มิดเวย์ การสร้างชินะโนะถูกระงับและได้มีการสร้างตัวเรือใหม่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานทีละเล็กทีละน้อย เรือได้รับการออกแบบให้เป็นเรือสนับสนุนขนาด 64,800 ตันที่มีความสามารถในการขนส่ง ซ่อมแซม และเติมเชื้อเพลิงให้แก่กองบินของเรือบรรทุกอากาศยานลำอื่น แม้ว่าแต่เดิมจะมีกำหนดการให้เรือขึ้นระวางในตอนต้นปี ค.ศ. 1945 แต่การก่อสร้างได้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหลังยุทธการทะเลฟิลิปปิน ด้วยเหตุนี้ชินะโนะจึงได้ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1944 และขึ้นระวางในวันที่ 19 พฤศจิกายนซึ่งเป็นเวลาเพียงเดือนกว่าหลังจากมีการปล่อยลงน้ำ ชินะโนะออกเดินทางจากโยะโกะซุกะเพื่อไปคุเระ 9 วันต่อมา ในตอนเช้าของวันที่ 29 พฤศจิกายน ชินะโนะโดนโจมตีด้วยตอร์ปิโด 4 ลูกจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส อาร์เชอร์-ฟิช แม้จะดูเหมือนว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะจัดการได้ แต่การควบคุมน้ำที่ท่วมในเรือกลับย่ำแย่เป็นเหตุให้เรือเอียงไปทางกาบขวา เพียงเวลาสั้นๆก่อนเที่ยงวัน เรือก็พลิกคว่ำและอับปางลง นำเอาลูกเรือ 1,435 นายจาก 2,400 นายจมไปกับเรือด้วย จนถึงทุกวันนี้ ชินะโนะเป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดที่โดนโจมตีและจมลงโดยเรือดำน้ำ

เรือรบหมายเลข 111 เป็นเรือไม่มีชื่อ วางแผนสร้างเป็นลำที่ 4 ในเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะและเป็นเรือลำที่ 2 ใช้แบบตามชินะโนะที่ได้รับการปรับปรุง เรือได้วางกระดูกงูหลังจากปล่อยยะมะโตะลงน้ำในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 และก่อสร้างไปจนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นเริ่มมีคำถามถึงโครงการสร้างเรือหลวงที่มีความทะเยอทะยานนี้กับการมาถึงของสงคราม ทรัพยากรที่จำเป็นในการสร้างเรือจะกลายเป็นสิ่งที่ได้มายาก เป็นผลให้เรือลำที่ 4 ซึ่งสร้างเสร็จเพียง 30% ถูกแยกชิ้นส่วนในปี ค.ศ. 1942 วัสดุที่ได้นำไปปรับปรุงเรือประจัญบาน อิเซะ และ เฮียวกะ ไปเป็นเรือลูกผสมระหว่างเรือประจัญบานและเรือบรรทุกอากาศยาน

เรือลำที่ 5 เรือรบหมายเลข 797 มีแผนที่จะสร้างตามแบบของชินะโนะแต่ไม่ได้สร้าง ไม่เคยแม้แต่จะได้วางกระดูกงู นอกจากนี้ในแบบเรือ 797 ได้มีการปรับเปลี่ยนเอาปืนกาบเรือขนาด 155 มม.ออกและเพิ่มปืนขนาด 100 มม.ลงไปแทน ประมาณกันว่ามีปืนขนาดนี้ประมาณ 24 กระบอก ยะมะโตะที่ปรับปรุงท้ายสุดในปี ค.ศ. 1944 มีบางส่วนที่ปรับปรุงคล้ายกับแบบของเรือนี้

แม้ว่าอาวุธยุทธภัณฑ์ของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะในแบบอย่างเป็นทางการแต่เดิมจะเป็นปืนขนาด 40 ซม./ลำกล้อง 45 (15.9 นิ้ว) แบบ 94 แต่ความเป็นจริงแล้วกลับเป็นปืนขนาด 46 ซม./ลำกล้อง 45 (18.1 นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถติดตั้งในเรือรบได้ รวมทั้งสิ้นสามป้อม แต่ละป้อมหนัก 2,774 ตัน ปืนแต่ละกระบอกยาว 21.13 ม. (69.3 ฟุต) หนัก 147.3 เมตริกตัน (145.0 ตัน) กระสุนที่ใช้เป็นกระสุนเจาะเกราะระเบิดแรงสูงยิงได้ไกลถึง 42.0 กิโลเมตร (26.1 ไมล์) ที่อัตรายิง 1? ถึง 2 นัดต่อนาที ปืนหลักยังสามารถยิงกระสุนต่อต้านอากาศยาน 3 ชิกิ สึโจะดัง ("Shiki ts?j?dan, Common Type 3 (กระสุนร่วมแบบ 3)") หนัก 1,360 kg (3,000 ปอนด์) ได้[A 3] สายชนวนถูกตั้งเวลาให้ระเบิดเมื่อยิงออกไปได้ไกลเพียงพอ (ทั่วไปจะตั้งไว้ที่ระยะห่าง 1,000 เมตร (1,100 หลา)) เมื่อระเบิด กระสุนจะแตกออกจะกลายเป็นชิ้นเหล็กจำนวนมาก และปล่อยหลอดที่บรรจุระเบิดเพลิงจำนวน 900 ชิ้น เป็นรูปทรงกรวยหันไปทางอากาศยานที่บินเข้ามา หลอดจะลุกไหม้เป็นเวลา 5 วินาทีที่อุณหภูมิ 3,000 ?C (5,430 ?F) ก่อนจะกระจายเป็นเปลวเพลิงไปรอบๆ ไกล 5 เมตร (16 ฟุต) แม้จะมีสัดส่วนถึง 40% ของกระสุนหลักบนเรือในปี ค.ศ. 19443 ชิกิ สึโจะดัง กลับไม่ค่อยได้ใช้เพื่อต่อต้านอากาศยานฝ่ายศัตรูนัก เพราะจะเกิดความเสียหายที่ลำกล้องปืนหลักเมื่อยิงด้วยกระสุนชนิดนี้ มีการระเบิดก่อนเวลาของกระสุนชนิดนี้และทำให้ปืนหลักกระบอกหนึ่งของเรือมูซาชิไม่สามารถใช้งานได้ระหว่างยุทธนาวีทะเลซิบูยัน กระสุนจะสร้างม่านเพลิงเพื่อให้อากาศยานที่เข้าโจมตีไม่สามารถบินผ่านได้ อย่างไรก็ตาม นักบินฝ่ายสหรัฐเห็นว่ามันเป็นดอกไม้ไฟมากกว่าอาวุธต่อต้านอากาศยาน

ในแบบทางวิศวกรรมเดิม ป้อมปืนรองของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะประกอบด้วยปืน 6.1 นิ้ว (15 ซม.) 12 กระบอก ติดตั้งในป้อมปืน 4 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอก (หัวเรือ 1 กระบอก ท้ายเรือ 1 กระบอก และกลางลำเรือ 2 กระบอก) และปืนขนาด 5 นิ้ว (13 ซม.) 12 กระบอก ติดตั้งในป้อมปืน 6 ป้อม ป้อมละ 2 กระบอก (กลางลำเรือฝั่งละ 3 กระบอก) นอกจากนี้เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะยังติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) 24 กระบอกกลางลำเรือ ในปี ค.ศ. 1944 เรือยะมะโตะได้รับการปรับปรุงปืนต่อสู้อากาศยานเพิ่มเติมเป็นพิเศษ โดยเปลี่ยนปืนรองเป็นปืน 6.1 นิ้ว (15 ซม.) 6 กระบอก ปืน 5 นิ้ว (13 ซม.) 24 กระบอก และปืนต่อสู้อากาศยาน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) 162 กระบอก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการในอ่าวเลย์เต

อาวุธยุทธภัณฑ์ของเรือชินะโนะต่างไปจากเรือในชั้นเนื่องจากเรือได้รับการดัดแปลง ในฐานะที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับบทบาทในการสนับสนุน จึงมีการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานมากเป็นพิเศษ ปืนบนเรือประกอบด้วย ปืน 5 นิ้ว (13 ซม.) 16 กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 1 นิ้ว (2.5 ซม.) 125 กระบอก และจรวดต่อสู้อากาศยาน 336 ลูกในฐานยิงจรวดลำกล้อง 5 นิ้ว (13 ซม.) 28 ลำกล้อง 12 ฐาน ปืนเหล่านี้ไม่เคยได้ใช้ต่อสู้กับเรือหรืออากาศยานฝ่ายศัตรูเลย

จากการออกแบบเพื่อให้สามารถต่อสู้กับเรือประจัญบานฝ่ายข้าศึกได้พร้อมกันทีละหลายลำ ยะมะโตะจึงได้รับการติดตั้งเกราะโลหะหนาดังที่อธิบายโดยนักประวัติศาสตร์นาวี มาร์ค สทิลล์ (Mark Stille) ว่า "เป็นระดับการป้องกันที่ไม่มีใครเทียบเท่าในการต่อสู้กันซึ่งหน้า" เกราะหลักข้างลำเรือหนา 410 มม. และยังมีผนังกันหนา 355 มม.ถัดมาจากเกราะข้างลำเรือ นอกจากนี้ รูปร่างของตัวเรือด้านบนมีความก้าวหน้าในการออกแบบเป็นอย่างมาก ลักษณะที่โค้งไปด้านข้างของเกราะนั้นเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้โครงสร้างที่แข็งแกร่งในขณะที่ได้น้ำหนักที่เหมาะสม เกราะของป้อมปืนหลักนั้นหนากว่าเกราะข้างลำเรือ ด้วยความหนาถึง 650 มม. แผนเกราะกาบเรือและป้อมปืนหลักทำจากเหล็กทำแข็งแบบวิกเกอส์ (Vickers) ซึ่งเป็นเกราะโลหะผิวหน้าแข็ง เกราะดาดฟ้าหนา 75 มม.ทำมาจากโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม จากการทดสอบวิธีกระสุนที่สถานที่ทดลองในคะเมงะบุกิ (Kamegabuki) พิสูจน์ว่าดาดฟ้าที่เป็นโลหะผสมนั้นเหนือกว่าแผ่นโลหะวิกเกอส์เนื้อเดียว 10–15% และยังเพิ่มด้วยการออกแบบส่วนผสมระหว่างโครเมียมและนิกเกิลในโลหะผสม ปริมาณนิกเกิลที่สูงนั้นสามารถทำให้แผ่นโลหะสามารถม้วนงอโดยไม่เกิดการแตกหักขึ้น

มีการนำการเชื่อมโลหะแบบการเชื่อมอาร์คซึ่งเป็นการเชื่อมโลหะแบบใหม่ในสมัยนั้นมาใช้กับเรือในชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับเกราะชั้นนอก ด้วยเทคนิคนี้ เกราะข้างส่วนล่างจึงได้รับการเพิ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรือซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิถีกระสุนของเรือประจัญบานชั้นโทะซะ (Tosa) และกระสุนชนิดใหม่แบบ 91 ของญี่ปุ่นที่สามารถเคลื่อนตัวไปในน้ำได้ไกล และยังใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเรือทั้งหมด เมื่อรวมแล้ว เรือชั้นยะมะโตะประกอบไปด้วยห้องผนึกน้ำ 1,147 ห้อง ซึ่ง 1,065 ห้องอยู่ใต้เกราะดาดฟ้าเรือ

อย่างไรก็ตาม เกราะของเรือชั้นยะมะโตะยังคงมีจุดอ่อนที่ร้ายแรงหลายจุด ซึ่งเป็นเหตุให้เรือในชั้นอับปางลงในปี ค.ศ. 1944–45 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดรอยต่อระหว่างกาบเรือล่างและกาบเรือบน ที่กลายมาเป็นจุดอ่อนใต้เส้นแนวน้ำที่อ่อนไหวโจมตีด้วยตอร์ปิโดจากเครื่องบิน นอกจากนี้เรือยังมีจุดอ่อนทางโครงสร้างบริเวณหัวเรือ ซึ่งมีเกราะบางกว่าปกติ ตัวเรือ ชินะโนะ มีโครงสร้างอ่อนแอที่สุด มีการติดตั้งเกราะน้อยและไม่มีห้องผนึกน้ำเมื่อเวลาเรืออับปาง

เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะติดตั้งหม้อน้ำแบบคัมปง 12 หม้อซึ่งจะไปขับกังหันไอน้ำ 4 กังหัน แต่ละกังหันจะติดตั้งใบจักรที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร แหล่งกำลังนี้ทำให้เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะมีความเร็วสูงสุด 27 นอต (50 กม./ชม.) ซึ่งแสดงเป็นกำลังได้ 147,948 แรงม้า (110,325 kW) ความสามารถทางความเร็วของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะทำให้การร่วมขบวนกับเรือบรรทุกอากาศยานเร็วนั้นมีขีดจำกัด นอกจากนี้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือประจัญบานทั้งสองอยู่ในระดับสูงมาก นี่คือเหตุผลหลักที่ไม่ได้ใช้เรือนี้ในรบระหว่างช่วงการทัพหมู่เกาะโซโลมอนหรือการรบในระหว่างช่วง "island hopping (กบกระโดด)" ในช่วงปี ค.ศ. 1943 ถึงตอนต้นของปี ค.ศ. 1944 ระบบขับเคลื่อนของชินะโนะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีความเร็วสูงสุด 28 นอต (52 กม./ชม.)

มีการออกแบบเรือประจัญบานใหม่สองลำให้มีขนาดใหญ่กว่าเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเพื่อใช้ในแผนกองเรือ 1942 แบบเรือประจัญบานใหม่ดังกล่าวเรียกว่า เอ-150 เป็นแบบที่ใช้สร้างเรือรบหมายเลข 178 และเรือรบหมายเลข 179 แบบ เอ-150 ได้เริ่มออกแบบทันทีหลังแบบของเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะเสร็จสิ้นราวๆ ปี ค.ศ. 1938–39 สิ่งพื้นฐานในแบบทางวิศวกรรมได้รับการออกแบบเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1941 แต่รูปแบบสงครามได้กลายเป็นการสู้รบบนเส้นขอบฟ้าแทน ทำให้การสร้างเรือประจัญบานหยุดชะงักลงเพื่อสร้างเรือรบที่เป็นที่ต้องการก่อน เช่น เรือบรรทุกอากาศยาน และเรือลาดตระเวน แต่การสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 4 ลำในยุทธนาวีมิดเวย์ (จาก 10 ลำของกองทัพเรือญี่ปุ่นในขณะนั้น) ทำให้การสร้างเรือหยุดลงอย่างถาวร ในหนังสือเล่มที่ 3 ของหนังสือชุด Battleships (เรือประจัญบาน) Axis and Neutral Battleships in World War II (เรือประจัญบานอักษะและฝ่ายเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2) ผู้แต่ง วิลเลียม เอช. การ์ซคี (William H. Garzke) และ โรเบิร์ต โอ. ดับบลิน (Robert O. Dulin) ยืนยันว่าเรือนี้เป็น "เรือประจัญบานที่ทรงอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์" เพราะหมู่ปืนหลักมีขนาดใหญ่โตถึง 510 มม. (20 นิ้ว) และมีอาวุธต่อต้านอากาศยานจำนวนมาก

คล้ายกันกับกรณีเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ เอกสารส่วนมากและแบบทางวิศวกรรมทั้งหมดถูกทำลายเพื่อป้องกันการถูกยึดเมื่อสิ้นสุดสงคราม แต่ก็ยังมีข้อมูลหลงเหลือให้ทราบได้ว่าแบบสุดท้ายของเรือมีอำนาจการยิงเหนือกว่า และมีปืนกระบอกใหญ่กว่าเรือชั้นยะมะโตะ ด้วยหมู่ปืนหลักขนาด 500 มม. (20 นิ้ว) 6 กระบอก ในป้อมปืนแผด 3 ป้อม และปืนต่อต้านอากาศยานขนาด 100 มม. (3.9 นิ้ว) จำนวนมาก เรือกินน้ำลึกเท่ากับเรือยะมะโตะขณะที่มีเกราะข้างหนาถึง 460 มม. (18 นิ้ว)

จากเริ่มก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน ยะมะโตะ และ มูซาชิ ได้กลายเป็นสิ่งที่แสดงออกในเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยะมะโตะ เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้น เรือได้เป็นตัวแทนถึงความเป็นเลิศทางวิศวกรรมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น นอกจากนี้ทั้งจากขนาด ความเร็ว อำนาจการยิงของเรือทั้งสองลำแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นและความพร้อมที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนจากมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นรูปธรรม ชิเงรุ ฟูกุโดมิ (Shigeru Fukudome) เสนาธิการประจำส่วนปฏิบัติการของกองเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น บรรยายถึงเรือทั้งสองลำว่า "เป็นดั่งสัญลักษณ์ทางอำนาจของกองทัพเรือที่จัดเตรียมไว้ให้แก่ทหารและความเชื่อมั่นอย่างที่สุดในกองทัพเรือของพวกเขา"

เรื่องราวของยะมะโตะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอับปางของเรือ ได้ปรากฏบ่อยครั้งในศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมของญี่ปุ่น เช่น อะนิเมะเรื่อง เรือรบอวกาศยามาโตะ ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2005 เรื่อง ยามาโต้ พิฆาตยุทธการ และภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 เรื่อง 2199 ยามาโต้กู้จักรวาล (Space Battleship Yamato) ภาพลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม โดยปกติแล้วจะแสดงในรูปแบบภารกิจสุดท้ายของเรือ ในเรื่องความกล้าหาญ ความเสียสละแต่ก็ไร้ประโยชน์ เป็นสัญลักษณ์ของความพยายามของทหารเรือชาวญี่ปุ่นที่จะปกป้องบ้านเกิดของพวกเขา เหตุผลหนึ่งที่อาจทำให้เรือรบนี้มีความสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่นคือชื่อ "ยะมะโตะ" นั้น บ่อยครั้งถูกใช้ในบทกวีเพื่อใช้แทนประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นการอับปางของเรือประจัญบานเรือรบอวกาศยามาโตะสามารถอุปมาได้ถึงการสิ้นสุดของจักรวรรดิญี่ปุ่น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301