เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่ บรรดาสมาชิกอาเซียน มี ภูมิศาสตร์ติดกับทะเลและ เป็นหมู่เกาะ อีกทั้งเมื่อนับความยาวของชายฝั่งและทะเลแล้ว ยังมีความยาวมากที่สุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งทรัพยากรธรรมทั้งน้ำมัน แหล่งอาหาร รวมถึงมีแหลมสุมาตราและช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของ การขนส่งสินค้า และ การเดินทางโดยเรือ
กล่าวถึงการพัฒนาความเงียบของเรือดำน้ำโซเวียต ซึ่งเริ่มจากการทำงานด้านจารกรรม ที่พยายามหลอกซื้อเครื่องกลึงใบจักรจากประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นเป็นต้นมา เรือดำน้ำของโซเวียตมีความเงียบมากขึ้น การพัฒนาความเงียบของของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของโซเวียตทำใหมันมีความเงียบมาก จนได้รับฉายาว่า หลุมดำแห่งห้วงมหาสมุทร
หลังจากที่เรือดำน้ำได้แสดงถึงความสามารถในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยก็ได้เห็นถึงความสำคัญของเรือดำน้ำจึงได้สั้งต่อเรือดำน้ำจากญี่ปุ่นจำนวน4ลำ ซึ่งเรือดำน้ำไทยก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าบุกไทยจนสงครามสิ้นสุดลง
ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทัพเรือจึงจัดเรือหลวงสมุยเดินทางฝ่าอันตราย เพื่อลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงจากสิงคโปร์มายังประเทศไทยหลายครั้ง จนกระทั่งในวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๘๘ ระหว่างการลำเลียงน้ำมันเป็นเที่ยวที่ ๑๘ เรือหลวงสมุย ภายใต้การนำของ นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล ได้ถูกเรือดำน้ำพันธมิตรโจมตีจมลง บริเวณนอกฝั่งรัฐตรังกานู ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓๑ นาย นอกจากนี้ กองทัพเรือยังสูญเสียกำลังพลจากการต่อสู้ป้องกันการโจมตีทางอากาศของเครื่องบินพันธมิตรในหลายพื้นที่ระหว่างสงครามเดียวกันอีก ๗ นาย
ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1988 เมื่อกองทัพเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม เกิดปะทะกันขึ้นบริเวณแนวปะการังจอห์นสันของหมู่เกาะสแปรตลีย์ ส่งผลให้เรือของเวียดนามจมไปหลายลำและลูกเรือกว่า 70 คนเสียชีวิต (จึงทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยึดเพิ่มอีก 6 เกาะ) และในเดือนกุมภาพันธ์ 1995 จีนจัดตั้งกองกำลังบนแนวปะการังมิสชีฟ กลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองกับฟิลิปปินส์ซึ่งประท้วงการกระทำของจีนและจับชาวประมงจีนไป 62 คน
ในปัจจุบันข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ระหว่างจีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไนและไต้หวัน จึงทำให้หลายประเทศในอาเซียนจำเป็นต้องจัดหาเรือดำน้ำโดยเร็วเพื่อใช้ในการปกป้องเกาะที่ยึดไว้อยู่ ซึ่งแบ่งได้เป็นจีน 9 เกาะ, ไต้หวัน 1 เกาะ, เวียดนาม 29 เกาะ, ฟิลิปปินส์ 11 เกาะ, มาเลเซีย 3 เกาะ ส่วนบรูไนอ้างสิทธิอย่างเดียว ไม่ได้ยึดเกาะ ซึ่งจีน ไต้หวัน และ เวียดนาม อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ทั้งหมด ส่วนมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์เพียงบางส่วน
ในอดีตได้เกิดการรบในปี 1974 โดยในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐเวียดนาม ทางกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งเรือคอร์เวต 4 ลำ กับเรือดำน้ำ 2 ลำ ต่อสู้กับเรือฟริเกต 3 ลำ กับ เรือคอร์เวต 1 ลำของกองทัพเรือเวียดนามใต้ และได้รับชัยชนะในการรบ จึงทำให้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปกครองหมู่เกาะพาราเซลตั้งแต่นั้นจนปัจจุบัน
ในปัจจุบันชาวเวียดนามได้มีการประท้วงจีนที่ได้ยึดหมู่เกาะพาราเซล (หลังเวียดนามใต้ได้รบแพ้จีนในการรบที่หมู่เกาะพาราเซลในปี พ.ศ. 2517) ซึ่งเวียดนามได้อ้างสิทธิ เวียดนามจึงได้ซื้ออาวุธเป็นจำนวนมาก ทั้งซื้อเรือรบ ซื้อจรวจต่อต้านเรือรบผิวน้ำและใต้น้ำและซื้อเรือดำน้ำจากรัสเซีย เพิ่มปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล
ฟิลิปปินส์มีแผนที่จะซื้อเรือดำน้ำ เพื่อปกป้องตนเองจากการถูกคุกคามจากเรือรบจีนที่มาตรงหมู่เกาะปะการัง สการ์โบโรห์ โชล ซึ่งอยู่ไกล้ฟิลิปปินส์มาก โดยหมู่เกาะปะการัง สการ์โบโรห์ โชล ได้ถูกจีนยึดไว้แล้ว จึงทำให้ฟิลิปปินส์ต้องเสริมสร้างแสนยานุภาพกองทัพโดยเร็วเนื่องจากกองทัพฟิลิปปินส์มีแต่อาวุธเก่าๆ
มาเลเซียได้ใช้เรือดำน้ำ เพื่อควบคุมช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลที่สำคัญของโลก ซึ่งเรือสินค้าโดยเฉพาะเรือบรรทุกน้ำมันใช้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งทางทะเลระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนสิงคโปร์ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องแคบมะละกา ที่ถือเป็นจุดเดินเรือสินค้านานาชาติ และยังถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโลก จึงต้องมีเรือรบที่ทรงประสิทธิภาพเข้ามาประจำการเพื่อดูแลอธิปไตยเหนือน่านน้ำ สิงคโปร์มีความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำ